
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 นางสาวเทียนทิพย์ นาราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอี ธนาคารทหารไทย หรือทีเอ็มบี เปิดตัว TMB BIZ WOW โปรแกรมคืนกำไรแก่ลูกค้าเอสเอ็มอี เพื่อให้ลูกค้าเอสเอ็มอี “ได้มากกว่า” (Get MORE with TMB) ที่เปลี่ยนธุรกรรมเป็นสิทธิประโยชน์ ช่วยต่อยอดธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อและบรรลุเป้าหมายการเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand)
“สิ่งนี้มาจากที่เราคิดว่าลูกค้าต้องการจริงๆคืออะไรต้องการผลิตภัณฑ์การเงินหรือประสบการณ์ใหม่จริงๆให้เขาเติบโตต่อไปได้ เราเริ่มจากประโยคที่ว่าเพราะคุณต้องได้มากกว่า จากที่สัมผัสธุรเอสเอ็มอี เขาดูตัวเล็กมากเมื่อคุยกับคู่ค้า กับลูกค้า หรือแม้กระทั้งมาที่ธนาคาร สิ่งแรกที่เดินไปหาคือสาขา แต่เขาไม่ได้รับความรู้ที่ต้องการ ไม่ได้รับบริการที่ต้องการ หรือแม้กระทั้งไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร จึงเป็นที่มาว่าวันนี้ถึงเวลาแล้วที่สิ่งที่ธนาคารต้องทำให้ลูกค้าเอสเอ็มอีต้องมีมากกว่าให้สินเชื่อ มีมากกว่าแค่บัญชีที่ไม่มีค่าธรรมเนียม หรือมีมากกว่าแค่แอพลิเคชั่นมือถือ เพราะธุรกิจธนาคารไม่ใช่แอพลิเคชั่น” นาวสาวเทียนทิพย์ กล่าว
ทีเอ็มบีจะยกระดับประสบการณ์ให้ลูกค้าเอสเอ็มอีใน 3 เรื่องสำคัญ 1) More Benefits – สิทธิประโยชน์ที่มากกว่า เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยการเปิดตัว TMB BIZ WOW โปรแกรมคืนกำไรครั้งแรกเพื่อเอสเอ็มอี โดยเฉพาะที่จะเปลี่ยนธุรกรรมการเงินเป็นสิทธิประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีให้ธุรกิจเติบโตและคล่องตัวขึ้น เช่น มีหลักสูตรความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มกำไร อย่างการสร้างสินค้าอย่างไรให้โดนใจลูกค้า การบริหารการลงทุนและภาษี ตัวช่วยเพื่อธุรกิจราบรื่น มีการเชื่อมโยงเครือข่ายช่องทางการเก็บสินค้า การส่งของทันต้นทุนถูก หรือการทำตลาดเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และไลฟ์สไตล์เหนือระดับแบบเจ้าของธุรกิจ ทั้งการพักผ่อนและเดินทาง โดยการทำธุรกรรมทุกครั้งจะสะสมแต้มเพื่อไปแลกบริการต่างๆเหล่านี้
2) More Time – คล่องตัวและมีเวลามากขึ้น ด้วย TMB SME One Bank บัญชีธุรกิจหนึ่งเดียวที่ช่วยประหยัดเวลาและไม่มีค่าธรรมเนียม ใช้คู่กับ TMB BIZ TOUCH โมบายล์แอปพลิเคชันแรกที่ออกแบบมาเพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา รับ โอน จ่าย ใช้วงเงิน OD อายัดเช็ค และโอนเงินไปต่างประเทศ ได้บนมือถือ และล่าสุดได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Online Loan Request ครั้งแรกที่เอสเอ็มอีสามารถคำนวณวงเงิน ให้เหมาะกับความต้องการของธุรกิจ เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เร็วและง่ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
3) More Possibilities – ต่อยอดธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยคำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน ด้วย TMB BIZ Advisory บริการให้คำปรึกษาด้านการเงินจากผู้เชี่ยวชาญของทีเอ็มบี ด้วยระบบ VDO Conference ในห้องรับรองส่วนตัว ที่สาขาของทีเอ็มบี และโครงการ LEAN Supply Chain by TMB เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพแบบครบวงจร ด้านการบริหารจัดการการผลิต ลดสินค้าคงคลัง เพิ่มผลผลิตในองค์กร และลดระยะเวลาในการทำงาน โดยมีบริษัทร่วมอบรมแล้วกว่า 1,200 ราย ซึ่งลดต้นทุนไปได้กว่า 850 ล้านบาท และทำให้ทีเอ็มบีอย่างส่งต่อประสบการณ์ดังกล่าวไปยังเอสเอ็มอีทั่วประเทศ
นางสาวเทียนทิพย์ กล่าวเสริมว่าทีเอ็มบีเข้าใจดีว่าเอสเอ็มอียุคนี้ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันรอบด้าน และจากสถิติเราพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจเกิดใหม่กว่า 70,000 รายต่อปี แต่มีเพียง 50% เท่านั้นที่ก้าวผ่านปีแรกไปได้ ทีเอ็มบีจึงสร้างสรรค์ตัวช่วยทางธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอี ต้องได้มากกว่าและโตได้มากกว่าเมื่ออยู่กับเรา เช่น เราทราบว่าเอสเอ็มอีทำธุรกรรมเฉลี่ยกว่า 80-100 ครั้งต่อเดือน หรือมากกว่ามนุษย์เงินเดือนถึง 4 เท่า แทนที่จะปล่อยให้สูญเปล่า ลูกค้าสามารถร่วมรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW ที่เปลี่ยนธุรกรรมเป็นรางวัลที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตแบบยั่งยืนของ SME โดยเฉพาะ ทั้งนี้ เราภูมิใจที่เป็นธนาคารแรกที่เปิดกว้างด้านสิทธิประโยชน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อเติมเต็มในสิ่งเอสเอ็มอีขาดโดยที่ลูกค้าไม่ต้องร้องขอ ซึ่งเป็นเป้าหมายของเราเพื่อให้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายใน 5 ปีนับจากนี้
“อย่างที่ตอนนี้หลายธนาคารมีการไม่เก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งเราก็ทำมานานแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้ธนาคารมีการพัฒนายกระดับบริการ ตอนนี้พอไม่มีกำแพงค่าธรรมเนียมแล้ว ต่อไปก็จะต้องแข่งขันกันให้บริการลูกค้าให้ตรงความต้องการอย่างเดียวแล้ว อย่างที่ผ่านมาลูกค้าเอสเอ็มอีไม่ย้ายมาเพราะคู่ค้าใช้ธนาคารอื่น จะให้มาแล้วเสียค่าธรรมเนียมมันก็เป็นต้นทุน แต่ตอนนี้มันไม่มีแล้ว ซึ่งเรามั่นใจว่าเราเข้าใจธุรกิจเอสเอ็มอี เข้าใจว่าเขาต้องการอะไร แล้วเราก็สื่อสารว่าตรงนี้เป็นทางเลือกพร้อมให้บริการให้ประสบการณ์ใหม่ๆ แต่โจทย์ท้าทายจะเป็นการปรับองค์กรภายในให้สามารถตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งปรับมาตลอด เช่นเดี๋ยวนี้มีการออกไปหาลูกค้าถึงที่ มีการออกไปให้สมัคร TMB BIZ TOUCH จากเดิมที่มีข้อกำหนดว่าต้องมาสมัครที่สาขาก็ปลดล็อคไป หรือวิธีให้สินเชื่อก็ปรับมาใช้ข้อมูลธุรกรรม พฤติกรรมเพิ่มขึ้น ต่อไปคงจะเห็นธนาคารเปลี่ยนแปลงก้าวกระโดดและพัฒนาได้อีกมาก”