ข่าวประชาสัมพันธ์

เมื่อโลกเปลี่ยนเร็วกว่าที่เคย ระบบเศรษฐกิจที่เคยเติบโตจากการขยายตัวของภาคการผลิตและตลาดแบบเส้นตรงต้องเผชิญกับข้อจำกัดจากปัจจัยภายนอกที่ทวีคูณเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือความเหลื่อมล้ำทางสังคม ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ การคาดการณ์อนาคตจึงไม่อาจยึดโยงกับเศรษฐกิจแบบเดิมได้อีกต่อไป
บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด ได้จัดงาน FUTUREADY Dinner Thought เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ BRANDi HopeQuarter เพื่อเตรียมความพร้อมต่อความไม่แน่นอนและความท้าทายในปัจจุบัน มุ่งเตรียมประเทศไทยให้พร้อมรับมือกับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ โดยไฮไลต์ของงานคือการรวมตัวของผู้บริหารระดับประเทศจากหลายอุตสาหกรรมที่มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย และยังได้มี 3 ตัวแทนของประเทศไทยที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกในสภาอนาคตโลก Global Future Councils แห่ง World Economic Forum (WEF) ได้แก่ ปิยะชาติ อิศรภักดี : การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจใหม่ที่เดินหน้าได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ด้านหลัง,ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล : บทวิเคราะห์ดินในฐานะทุนสิ่งแวดล้อมที่หล่อเลี้ยงความมั่นคงระยะยาว และ ดร.สันติธาร เสถียรไทย : แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ให้พร้อมรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุด ร่วมแบ่งปันมุมมองเชิงลึกจากเวทีโลก สู่บทสนทนาเชิงกลยุทธ์ในการผลักดันประเทศไทยไปข้างหน้า
นายปิยะชาติ อิศรภักดี กล่าวถึงวิวัฒนาการของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนผ่านมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านการแบ่งช่วงการพัฒนาออกเป็น 4 ยุคสำคัญ ดังนี้
-
1. Industrial Revolution : จุดเริ่มของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยงคนกับสินค้า และก่อให้เกิดสังคมบริโภคนิยม
2. Information Revolution : ยุคที่คนเชื่อมต่อกับข้อมูลข่าวสารผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เป็นจุดเร่งของการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยี
3. Interconnected Revolution : โลกปัจจุบันที่ผู้คนเชื่อมต่อกันผ่านโซเชียลแพลตฟอร์ม เกิดความหลากหลายทางสังคมที่ท้าทายต่อการบริหารจัดการระดับมหภาค
4. Intelligence Revolution : ยุคที่เรากำลังจะเปลี่ยนผ่านเมื่อ “ความฉลาด” กลายเป็นสิ่งที่ซื้อได้
“เราจำเป็นต้องสร้าง Authentic Intelligence ทำให้คนมีความรู้ในการใช้ AI ให้เป็นไปอย่างมีเป้าหมายและสร้างประโยชน์ในระยะยาว โดยสมการของการเติบโตทางเศรษฐกิจยุคใหม่จะต้องรวม “People, Planet และ Profit” ไว้อย่างสมดุล”
ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล กล่าวถึงแนวคิด เกษตรฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) ซึ่งให้ความสำคัญกับการฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล โดยเน้นว่า ‘เราไม่ควรเอาเงินไปสู้ธรรมชาติ แต่ต้องใช้ธรรมชาติไปสู้ธรรมชาติ’ พร้อมยกตัวอย่างการบริหารพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ด้วยการขุดดินทำแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำ ซึ่งไม่เพียงช่วยบรรเทาน้ำหลาก แต่ยังสร้างรายได้ควบคู่ ทั้งจากเกษตรกรรมและประมง ทั้งนี้แม้ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมถึง 47% ของพื้นที่ทั้งหมด แต่กลับสร้าง GDP เพียง 9%
ซึ่งสะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการนำ ทุน เข้ามาหนุนเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และยังจำเป็นต้องมี กลไกทางการเงิน (Financial Mechanism) ที่สามารถสร้างแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับชุมชนในการร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านนี้อย่างเป็นระบบ
ดร.สันติธาร เสถียรไทย เน้นย้ำถึงจุดเปลี่ยนของทุนมนุษย์ (Human Capital) ท่ามกลางโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงและแรงงานที่ขาดแคลน โดยระบุว่า จากนี้ไปความได้เปรียบอยู่ที่ใครเข้าถึง AI ได้มากกว่าและมนุษย์ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตั้งแต่คนเก่งที่ใช้ AI เป็น ไปจนถึงคนไม่เก่งและใช้ AI ไม่เป็น ซึ่งสะท้อนถึงความจำเป็นในการ Reskill แรงงานครั้งใหญ่ เพื่อไม่ให้ถูกแทนที่
โดยเน้นทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความชำนาญในการใช้ AI (Proficiency), 2. ความรู้เท่าทันภัย (Immunity),3. ความคิดเชิงลึก (Depth Knowledge and Thinking) และ 4. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านต้องเริ่มจาก การออกแบบงานใหม่ และ ปรับวิธีคิด ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันที่กำลังจะเข้าสู่ Intelligence Revolution แบบที่คุณอาร์มได้กล่าวไป
ทั้งนี้แบรนดิมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมสำหรับทุกอนาคตให้กับประเทศไทย และไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่เวทีงานข้างต้นเท่านั้น แต่ยังมีแพลตฟอร์มภายใต้ชื่อ “FUTUREADY” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายความคิดและสร้างความพร้อมสู่อนาคตทั้งในด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเพจเฟซบุ๊ก Futuready ที่จะนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และประเด็นที่น่าจับตามองในระดับโลกเพื่อให้ผู้อ่านรู้กว้าง (World Wide) ทันต่อทุกการเปลี่ยนแปลงของโลก และคิดคม (Deep Thought) เข้าใจครบและมองขาด สามารถเปลี่ยนทุกความท้าทายให้เป็นโอกาส และรายการสัมภาษณ์ FUTUREADY Leader ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้นำจากหลากหลายอุตสาหกรรมมาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด และถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อมในแบบฉบับของตนเอง ซึ่งได้มีการปล่อย EP แนะนำรายการไปแล้วเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ท้ายที่สุด เมื่อโลกไม่ได้เป็นเส้นตรง สิ่งที่เราคุ้ยเคยอาจไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์การเติบโตระยะยาว เศรษฐกิจแบบเดิมก็ไม่สามารถโตต่อไปได้ และการจะก้าวข้ามไปสู่เศรษฐกิจใหม่ก็ต้องอาศัยทั้งองค์ความรู้และความร่วมมือจากหลายภาคส่วน แนวคิด Future-ready จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมและบทสนทนาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อนาคตได้ที่ https://www.facebook.com/FutureadyOfficial/
,https://youtu.be/G21VC-QyVyg?si=q_xflalpLWPvRNPT
#FutureReady #FutureReadyThailand #GoodtoGREAT
#พร้อมสำหรับทุกอนาคต #รู้กว้าง #คิดคม