รายงานวิจัยฉบับใหม่ของธนาคารโลก(World Bank) พบว่าในภูมิภาคซึ่งมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีว่าเติบโตโดยพึ่งพาการผลิตเป็นหลัก การแปลงผ่านไปสู่ดิจิทัลกำลังเปลี่ยนภาคบริการให้เป็นภาคส่วนที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดของเศรษฐกิจในหลายประเทศ ภาคบริการถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และสามารถช่วยให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกหลุดพ้นจากกับดักผู้มีรายได้ปานกลาง
รายงาน “Services Unbound: Digital Technology and Policy Reform in East Asia and Pacific” หรือ บริการไร้ขอบเขตเทคโนโลยีดิจิทัลและการปฏิรูปนโยบายในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ชี้ว่าภาคบริการมีส่วนทำให้ผลิตภาพแรงงานเติบโตมากกว่าภาคการผลิตในทศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกบริการแซงหน้าการส่งออกสินค้า และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในการบริการเติบโตขึ้นเร็วกว่าการผลิตในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยถึง 5 เท่า นอกจากนี้ การบริการจ้างผู้หญิงในสัดส่วนที่สูงกว่าและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเศรษฐกิจพัฒนาขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนของภาคบริการในกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ในด้านผลผลิต เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 เป็นร้อยละ 53 ในประเทศจีน และจากร้อยละ 44 เป็นร้อยละ 48 ในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก(East Asia and Pacific-EAP) ขณะที่ในด้านการจ้างงานนั้น เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 47 ในจีน และจากร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 49 ในประเทศที่เหลือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
รายงานพบว่า การสนับสนุนของภาคบริการต่อการเติบโตของผลผลิตแรงงานโดยรวมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นสูงกว่า การสนับสนุนของภาคการผลิตในเศรษฐกิจหลักทั้งหมดในภูมิภาคนอกจากนี้ แม้ว่าการจ้างงานในภาคบริการส่วนใหญ่ในภูมิภาคนั้นยังคงเป็นบริการที่ต้องใช้ทักษะต่ำและผลิตภาพต่ำ เช่น การค้าปลีกและการขนส่งแบบดั้งเดิม แต่ผลิตภาพในบริการบางประเภท เช่น บริการทางธุรกิจ การเงิน และการสื่อสาร ก็ยังสูงกว่าในภาคการผลิต
ในปัจจุบัน ภาคบริการถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบด้านที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาค EAP ในทุกประเทศ ยกเว้น เวียดนาม การส่งออกบริการมีการเติบโตสูงกว่า การส่งออกการผลิตในช่วงปี 2554–2562 โดยเฉพาะในบริการแบบดิจิทัล ความสำคัญของภาคบริการจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่เพิ่มขึ้นและจำนวนประชากรสูงวัยทั่วทั้งภูมิภาค ความต้องการของผู้บริโภคจึงหันมาใช้บริการ
นอกจากนี้ภาคบริการมีแนวโน้มที่จะจ้างแรงงานที่มีทักษะมากกว่าภาคการผลิตหรือภาคการเกษตร สัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นของภาคบริการจะทำให้ความต้องการแรงงานที่มีทักษะนั้นเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อัตราการจ้างงานในภาคบริการมีแนวโน้มที่จะจ้างงานเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย และอัตราดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในภาคบริการอย่างรวดเร็ว กว่าในภาคการผลิตเมื่อระดับการพัฒนาเพิ่มขึ้น และภาคบริการ ยกเว้น การขนส่งนั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญสำหรับทุกหน่วยการผลิตที่เกิดขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการบริการจะช่วยให้ภูมิภาค EAP เคลื่อนไปสู๋การเติบโตแบบคาร์บอนต่ำ
“เอเชียตะวันออกเป็นที่รู้จักในฐานะมหาอำนาจด้านการผลิตอยู่แล้ว ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ เป็นแหล่งของนวัตกรรม งาน และการเติบโต” มานูเอลา วี. เฟอร์โร รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าว “รัฐบาลสามารถทำได้มากขึ้นเพื่อปลดปล่อยพลังของการบริการ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลสามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อเพิ่มผลผลิต”
รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลและการปฏิรูประลอกแรกได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น บริษัทในฟิลิปปินส์พบว่าประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปีจากการใช้ซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างปี 2554-2562 ส่วนในเวียดนาม การเปิดเสรีการขนส่ง การเงิน และบริการทางธุรกิจส่งผลให้มูลค่าเพิ่มต่อคนงานเพิ่มขึ้น 2.9% ต่อปีตั้งแต่ปี 2551-2559 ผู้ผลิตที่ใช้บริการเหล่านี้มีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น 3.1% ต่อปี โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับประโยชน์มากที่สุด
“การปฏิรูปภายในประเทศเชิงลึกและความร่วมมือระหว่างประเทศที่มากขึ้นในด้านการเปิดเสรีและการควบคุมบริการสามารถช่วยให้ประเทศต่างๆ ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล” อาดิตยา มาตู หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารโลกในเอเชียแปซิฟิกกล่าว “ซึ่งจะทำให้เกิดวงจรที่ดีของโอกาสทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ในการพัฒนาพลังงานในภูมิภาค”
เพื่อกระตุ้นให้เกิดวงจรที่เที่ยงธรรมระหว่างโอกาสและขีดความสามารถ และเพื่อให้มีการพัฒนาบริการที่ครอบคลุมและยั่งยืน ประเทศในภูมิภาค EAP จำเป็นต้องดำเนินการ 3 นโยบาย
นโยบายแรก ประเทศต่างๆ ต้องดำเนินการทั้งการเปิดเสรีและการควบคุม ข้อมูลใหม่เผยให้เห็นว่าการเปิดเสรีการค้าบริการยังคงเป็นธุรกิจที่ยังไม่สมบูรณ์ แม้จะมีการปฏิรูปในอดีต แต่ประเทศใน EAP ยังคงมีระบบการบริการที่ค่อนข้างเข้มงวด การผลักดัน วาระการเปิดเสรีจำเป็นต้องจัดการกับข้อจำกัดทางนโยบายเกี่ยวกับการเข้ามาและการแข่งขันในตลาดบริการใน EAP ตั้งแต่การให้ใบอนญุาตแบบใช้ดุลยพนิจ และคลุมเครือไปจนถึงการจำกัดการเป็นเจ้าของของชาวต่างชาติ ในขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆ จะต้องวางกรอบการกำกับดูแลเพื่อจัดการกับการบิดเบือนทางการตลาดทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่ รวมถึงการกระจุกตัวและการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในตลาดที่ควบคุมโดยแพลตฟอร์มดิจิทัล
นโยบายที่สอง รัฐบาลจำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น ในช่วงหลายศวรรษที่ผ่านมา ความจำเป็นในการมีเครือข่ายสายคงที่(fixed-line)ที่จัดทำขึ้นโดยภาคส่วนสาธารณะที่ผูกขาดอย่างเชื่องช้าดูเหมือนว่าจะถูกกำจัดไป เนื่องมาจากการที่บริษัทเอกชนคู่แข่งได้ทำให้การเข้าถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ทางดิจิทัลจากการเข้าถึงบรอดแบนด์ความเร็วสูงได้ทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกคร้้ง ว่า รัฐบาลจะรับประกันการเข้าถึงที่เท่าเทียมสำหรับคนยากจนและประชากรที่อยู่ห่างไกลได้อย่างไร การจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีการแข่งขันแก่ผู้ให้บริการเอกชนอาจช่วยลดช่องว่างได้ ดังที่เห็นได้จากประสบการณ์กับกองทุนเพื่อการการเข้าถึงโทรคมนาคมพื้นฐานสากล ประเทศต่างๆ ยังต้องพิจารณาถึงขอบเขตที่ตลาดและสถาบันเอกชนสามารถใช้เพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับ เศรษฐกิจการบริการดิจิทัลอย่างน้อยที่สุด รัฐบาลสามารถจัดการกับช่องว่างและความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการเงินเพื่อการศึกษารับประกันคุณภาพของสถาบันการศึกษาโดยไม่ขัดขวางการแข่งขัน และจัดการกับความล้มเหลวในการประสานงานโดยรับประกันความสอดคล้องของนโยบายและการให้ข้อมูลแก่บุคคลและธุรกิจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโอกาสทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถของมนุษย์
นโยบายที่สาม EAP และประเทศอื่นๆ จะต้องส่งเสริมการปฏิรูปภายในประเทศฝ่ายเดียวด้วยการดำเนินการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความล้มเหลวของตลาดบริการที่มีมิติข้ามพรมแดน ตัวอย่างหนึ่งคือความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าความแตกต่างในแนวทางการกำกับดูแลระดับชาติด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะไม่ขัดขวางการรับส่งข้อมูลที่สำคัญต่อเศรษฐกิจการบริการทั่วโลก อีกตัวอย่างหนึ่ง คือความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งจำเป็นต่อการค้าและการท่องเที่ยวระดับโลกจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกต่อไป ในทั้งสองกรณี ประเทศต่างๆ เริ่มให้ความร่วมมืออย่างมีนัยสำคัญในเวทีระดับภูมิภาคและพหุภาคี
บทสรุป
นับจากนี้ไป สิ่งสำคัญสำหรับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค EAP คือการดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาที่คำนึงถึงการสร้างความสมดุลซึ่งกันและกันระหว่างโอกาสและขีดความสามารถ การส่งเสริมการพัฒนาโอกาสโดยไม่เพิ่มกำลังการผลิตอาจนำไปสู่การขาดแคลนได้ การพัฒนาขีดความสามารถโดยขาดโอกาสอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ วงจรที่เที่ยงธรรมที่ขับเคลื่อนการพัฒนาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินนโยบายอย่างสมดุลเท่านั้น ซึ่งการเติบโตของทรัพยากรจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และการเปลี่ยนแปลงในข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจะกระตุ้นให้มีการเติบโตของทรัพยากร