
การแต่งตั้งประธานธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คนใหม่แทนนายปรเมธี วิมลศิริ ประธานคณะกรรมการคนปัจจุบันที่ครบวาระในเดือน กันยายน เป็นที่จับตาของสังคม หลังมีกระแสข่าวว่า รัฐบาลจะเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง โดยคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 8 ตุลาคม 2567
ล่าสุดมีกระแสโซเชี่ยลและสื่อต่างๆนำเสนอคัดค้านการแต่งตั้ง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง และล่าสุดตามโดยนางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะศิษยานุศิษย์ที่นัอมนำธรรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เขียนข้อความว่า
ในขณะนี้มีแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการสรรหาประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะยับยั้งหายนะทางเศรษฐกิจ
ที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งในเรื่องไม่ลดดอกเบี้ย และการคัดค้านนโยบายการแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท เป็นต้น ล่าสุดก็มีการคาดหมายว่ารัฐบาลจะส่งคนของตนเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อจะได้สามารถใช้ธปทเป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากภาพนี้เกิดขึ้น หายนะของเศรษฐกิจไทยก็จะตามมาอย่างแน่นอน เหมือนที่เราเห็นในต่างประเทศที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในธนาคารกลาง การกระทำดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจสั่นคลอน เพราะธนาคารกลางที่ถูกแทรกแซงจะไม่สามารถมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจจึงเสี่ยงที่จะเสียหายจากนโยบายที่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว
ในกรณีของประเทศไทยนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทซึ่งจะเป็นภาระทางการคลังอย่างมหาศาล ก็ได้สร้างความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว หาก ธนาคารแห่งประเทศไทยถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระ ความเสี่ยงของการ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก ผลเสียต่อธุรกิจและเศรษฐกิจ ย่อมตามมาอย่างแน่นอน
วงการเศรษฐกิจของไทยได้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียหายอันใหญ่หลวงของการแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ไม่ต้องการรับฟังคำเตือนเหล่านี้ ในขณะนี้ จึงมีเพียงแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการสรรหาประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไม่ให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจนี้ อันที่จริง กฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของการที่กรรมการสรรหาจะถูกแทรกแซงจากทางการเมืองหากกรรมการยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ
กฏหมายจึงได้ กำหนดให้กรรมการสรรหาเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกษียณอายุแล้วทั้งสิ้น เพื่อจะได้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซง ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งสำคัญๆของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระไม่ยอมรับการแทรกแซง ผู้ที่ได้รับการสรรหาจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่เข้าใจบทบาทของธนาคารกลาง และสามารถปฎิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม ดิฉันจึงได้แต่คาดหวังว่าคณะกรรมการสรรหาในครั้งนี้จะสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ด้วยหลักการเดียวกัน คงไม่มีท่านใดอยากจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบในการทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกผันไปสู่ก้าวแรกของความหายนะ
ขณะเดียวกัน คณะศิษยานุศิษย์ที่นัอมนำธรรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ออกหนังสือ ด่วนที่สุด เลขที่พิเศษ 002 /2567 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2567 ขอคัดค้านบุคคลซึ่งเกี่ยวโยงการเมืองเข้ามาแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีข้อความว่า
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (แพทองธาร ชินวัดร)
ตามที่ปรากฏกระแสข่าวเป็นวงกว้างว่า รัฐบาลนำโดย ฯพณฯ พยายามผลักดันบุคคลซึ่งเกี่ยวโยงกับ การเมืองเข้ามาแทรกแซงขนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งเห็นได้จาก รมว.คลังในรัฐบาลของทำนได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสรรหาประธานและกรรมการธปท.ชุดใหม่” โดยไม่ได้แต่งตั้งอดีตผู้ว่าธปท. คนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการสรรหาด้วย พฤติการณ์ดังนี้แตกต่างจากประเพณีปฏิบัติในหลายครั้งที่ผ่านมา ราวกับว่า รัฐบาลของท่านมีเจตนาแรงกล้าในการจัดส่งบุคคลที่ยึดโยงกับการเมืองให้เข้ามาแทรกแซงและครอบงำธปท.อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดให้จงได้
ทั้งนี้ มีกรณีตัวอย่างไม่น้อยจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในหลายประเทศ ที่ฉันเหตุแห่งความวิบัติ มาจากการเมืองเข้าแทรกแซงและครอบงำการทำงาน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยแห่งอธิปไดยทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ยิ่งกว่านโยบายทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งในที่สุดจะส่งผลร้ายเป็นการบั่นทอนความเข้มแข็งของธนาคารกลาง จนเบี่ยงเบนทำงไกลจากความถูกต้อง และหากธนาคารกลางไม่อาจคะคานอำนาจของรัฐบาลที่มุ่งสร้างภาพด้วยนโยบายประชานิยม หวังผลเพียงผลประโยชน์ของกลุ่มก้อนพวกพ้องและภาพลักษณ์ทางการเมืองเท่านั้น จนสุ่มเสี่ยงความหายนะแห่งอธิบโดยทางการเงินของชาติให้พังพินาศไปสิ้นได้อย่างน่าสังเวชใจ
คณะศิษยานุศิษย์องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ในฐานะประชาชนคนไทยที่เทิดทูนชาติ ศาสน์กษัตริย์เหนือศิรเกล้า ประการสำคัญ ได้ร่วมกันปกป้องทุนสำรองปราการดำนสุดท้ายของชาติอย่างหนักแน่นจริงจัง ตามคำเตือนอย่างเข้มข้นขององค์หลวงตา และได้ร่วมกันเสียสละเงินทองเข้าคลังหลวงกว่า ๑๓ ต้น ได้เห็นพ้องต้องกันว่า หาก ธปท.ถูกการเมืองเข้าแทรกแซง ย่อมบังเกิดมหันดภัยขั้นร้ายแรงต่อระบบการเงินมั่นคงของชาติให้วินาศไปได้อย่างง่ายดาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดพฤติการณ์เช่นนี้
คณะศิษย์ฯ จึงขอน้อมนำคำสอนขององค์หลวงตาฯ เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔๓ ตอนหนึ่งที่ว่า
“อำนาจอันใดก็ตามต้องให้มีประชาชนเป็นผู้ควบคุมอำนาจนั้นไว้ ไม่ใช่กฎหมายของคนสองสามคนเข้ามาตั้งเป็นเจ้าอำนาจวาสนาใหญ่โตเหยียบย่ำทำทำลายชาติไทยของเรา ก็เรียกรัฐบาลมหาภัยเท่านั้นเอง ไม่ใช่รัฐบาลที่ดีสมความมุ่งหมายของประชาชนที่ตั้งขึ้นมา”
จึงกราบเรียนด่วนที่สุดมาถึง ฯพณฯ เพื่อโปรดพิจารณา อย่านำการเมืองและอย่านำนำบุคคลที่มีหัวใจ ยึดโยงกับการเมืองเข้าแทรกแซงอำนาจหน้าที่แห่ง ธปท.โดยเด็ดขาด มิฉะนั้น คณะศิษย์ฯ ย่อมมิอาจยอมรับรัฐบาลประเภทที่ว่ามานี้ให้บริหารบ้านเมืองอีกต่อไปได้
อย่างไรก็ตามในเย็นวันที่ 8 ตุลาคม นางวิเรขา สันตะพันธุ์ เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ฝ่ายเลขานุการฯ มีความจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนสำหรับการพิจารณาของที่ประชุม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอขยายระยะเวลาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพื่อให้การพิจารณาคัดเลือกมีความรอบคอบที่สุด และจะรวบรวมกลับมานำเสนอคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยเร็ว