สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขอเสนอเรื่องสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และความคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยแบ่งตามประเด็นสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมจำนวน 57,399 เรื่อง ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ จำนวน 51,204 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 89.21 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6,195 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 10.79
2.หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ
จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก
ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนและสั่นสะเทือน ยังคงเป็นประเด็นการร้องทุกข์ที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแสดงดนตรีสด การเปิดเพลงเสียงดังของร้านอาหารและสถานบันเทิง การรวมกลุ่มมั่วสุมดื่มสุรา เสียงดังจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ เสียงดังจากการก่อสร้าง การประกอบกิจการ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลที่มีเสียงดังจากการจัดงานและการรวมกลุ่มสังสรรค์
ไฟฟ้าเป็นการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้บริการไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก ขอขยายเขตไฟฟ้า ขอติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง เป็นต้น รวมถึงสถานการณ์ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบจึงขอความช่วยเหลือให้ลดอัตราค่าไฟฟ้า ขอให้ตรวจสอบการคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ และขอผันผ่อนการชำระค่าไฟฟ้า
การเมืองประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการจัดตั้งรัฐบาล เช่น การหาเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาล นโยบายของพรรคการเมือง เป็นต้น
โทรศัพท์ประเด็นเรื่องโทรศัพท์ ส่วนใหญ่เป็นปัญหสการให้บริการผ่านโทรศัพท์ของหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น การรอสายนาน ต่อสายไปยังหน่วยงานย่อยภายในหลายครั้ง และคู่สายเต็ม เป็นต้น
ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน ส่วนใหญ่ขอให้แก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนผ่านทางโทรศัพท์และทางออนไลน์ เช่น หลอกลวงให้โอนเงินซื้อสินค้า ให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมา แสดงว่าปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่ แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้กำหนดมาตรการในการแก้ไขแล้วก็ตาม แต่กลุ่มมิจฉาชีพมีการเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการที่ใช้หลอกลวงอยู่เสมอทำให้ยากต่อการปราบปราม
น้ำประปา เป็นประเด็นเกี่ยวกับการให้บริการ และคุณภาพน้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหลหรือไหลอ่อนเป็นบริเวณกว้าง ขอขยายเขตการให้บริการ ท่อน้ำประปาแตกชำรุด น้ำประปาขุ่นและมีตะกอน เป็นต้น
ถนน ประชาชนขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนนชำรุด ทรุดตัว ขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลท์หรือถนนคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากถนนมีอายุการใช้งานมานานเป็นหลุมเป็นบ่อ และมีน้ำขัง เป็นต้น
ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขอความช่วยเหลือกรณีการถูกข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกหมิ่นประมาท เป็นต้น
ยาเสพติด เป็นการแจ้งเบาะแสแหล่งจำหน่ายและการเสพยาเสพติด ประเภทยาบ้าและยาไอซ์ ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบาย แผนการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวและแจ้งเบาะแสยาเสพติดเข้ามาเป็นจำนวนมาก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น ขอให้นำช้างไทยกลับจากประเทศศรีลังกา ไม่ควรนำหมีแพนด้าจากประเทศจีนเข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น โดยเมื่อเกิดเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ มีการรวมตัวแจ้งเรื่องดังกล่าวเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง
ข้อจำกัด ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ พบว่า
-ประชาชนเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ในการส่งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางไลน์สร้างสุข (@PSC1111) ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกมากที่สุด ทั้งนี้ ประชาชนมีความคาดหวังต่อการแก้ไขปัญหาและการได้รับแจ้งผลความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จากการประมวลผลข้อมูลพบว่าการแก้ไขปัญหาจากบางหน่วยงานมีความล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด หน่วยงานไม่แจ้งผลความคืบหน้าในการดำเนินการให้ผู้ร้องทราบเป็นระยะ ส่งผลให้ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์ไปยังหลายหน่วยงาน
-ปัจจุบันหน่วยงานส่วนใหญ่ต่างมีระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้เป็นการเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน ส่งผลให้ข้อมูลเรื่องร้องทุกข์มีความซ้ำซ้อน กระจัดกระจาย มีรูปแบบการรายงานผลที่แตกต่างกัน ขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้การประมวลผลข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์แนวทาง/ทางเลือก เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารยังไม่มีประสิทธิภาพและไม่สะท้อนภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
-ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ประเด็นปัญหาที่มีประชาชนร้องเรียน/ร้องทุกข์เป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาเสียงดังรบกวน มีจำนวน 5,785 เรื่อง โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น เสียงดังจากสถานบันเทิง ร้านอาหาร สถานประกอบการ การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน การใช้ที่อยู่อาศัยเป็นอู่ซ่อมเครื่องยนต์ เสียงสุนัขเห่าหอน เสียงร้องของสัตว์ การมั่วสุมดื่มสุรา การแข่งรถจักรยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นมลพิษทางเสียงที่สำคัญที่ไม่เพียงก่อให้เกิดความหงุดหงิดรำคาญ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต การเรียนรู้ และการทำงานของประชาชนด้วย และจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เมื่อประชาชนได้แจ้งเรื่องเสียงดังจากสถานบันเทิง ร้านอาหาร สถานประกอบการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ไม่สามารถไปตรวจสอบที่เกิดเหตุได้ในทันที หรือเมื่อไปถึงสถานที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหายังคงเกิดขึ้นซ้ำบ่อยครั้ง
นอกจากนี้ ปัญหามีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและกฎหมายหลายฉบับ ขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการตรวจวัดระดับความดังของเสียง บุคลากรที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งมีบทลงโทษผู้กระทำผิดไม่รุนแรงทำให้ผู้ประกอบการขาดความตระหนักถึงผลกระทบของการอยู่ร่วมกันในสังคม ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการของสถานบันเทิงใน 4 พื้นที่ท่องเที่ยวนำร่อง ถึงเวลา 04.00 น. ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีการร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาเสียงดังรบกวนจากการประกอบกิจการของสถานบันเทิงเป็นจำนวนมาก การขยายระยะเวลาการเปิดให้บริการจึงอาจส่งผลให้มีการร้องทุกข์ในปัญหาดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นด้วย
-ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานปัญหาข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ดังกล่าวแม้ว่าจะไม่ส่งกระทบที่รุนแรงต่อประชาชน แต่การเกิดขึ้นบ่อยครั้งได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ที่ได้สะท้อนผ่านการแจ้งเรื่องที่มีเป็นจำนวนมาก และเพื่อให้ปัญหาได้รับการช่วยเหลือ/แก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจึงขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
-
1.กรณีการแก้ไขปัญหาของประชาชนมีความล่าช้า จึงควรกำหนดให้หน่วยงานระดับกระทรวงเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์กับศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ให้ครบถ้วนภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์/ร้องเรียน เพื่อประกาศเป็นข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) ให้ประชาชนทราบ
2. กรณีเรื่องร้องเรียนที่เป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ควรมีการดำเนินการเป็นเฉพาะเรื่อง และใช้กลไกของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หรือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่ได้รับผลกระทบมาร่วมแก้ไขปัญหาแยกเป็นรายประเด็น
3.กรณีเสียงดัง…
-
-กรณีเสียงดังรบกวนจากสถานบันเทิง เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรูปแบบ/แนวทาง/กระบวนงาน/ขั้นตอนในการระงับเหตุ
-หรือการแก้ไขปัญหาเสียงดังรบกวนของสถานบันเทิงใน ๔ พื้นที่ท่องเที่ยวนำร่อง และขอความร่วมมือให้รายงานสรุปผลการดำเนินการให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทราบทุกไตรมาส เพื่อจะได้นำกราบเรียน นายกรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเสนอของส่วนราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้นำเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของรัฐบาลในหลายขั้นตอน และหลายระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสนอข้อมูล ความคิดเห็น แจ้งเหตุและแจ้งเบาะแส ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วย จึงจำเป็นที่ภาครัฐต้องให้ความสนใจในการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อมูลดังกล่าว และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเรื่องราวร้องทุกข์เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และแนวทางดำเนินการเพื่อตอบสนองให้ตรงตามความต้องการของประชาชน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการประมวลผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ ทุก 3 เดือน
[pdf-embedder url=”https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2024/01/รายงานเรื่องร้องทุกข์-พ.ศ.-2566.pdf” title=”รายงานเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2566″]