ThaiPublica > เกาะกระแส > นายกฯเลื่อน พ.ร.บ.สถานบันเทิง ฯ เหตุมีเรื่องเร่งด่วนกว่า – ลดค่าโอน-จดจำนองคอนโดต่ำ 7 ล้าน เหลือ 0.01%

นายกฯเลื่อน พ.ร.บ.สถานบันเทิง ฯ เหตุมีเรื่องเร่งด่วนกว่า – ลดค่าโอน-จดจำนองคอนโดต่ำ 7 ล้าน เหลือ 0.01%

8 เมษายน 2025


เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/
  • นายกฯเลื่อน พ.ร.บ.สถานบันเทิง ฯ เหตุมีเรื่องเร่งด่วนกว่า
  • ย้ำ ‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์’ เน้นแก้ปัญหาปากท้อง-เศรษฐกิจเป็นหลัก
  • ปัด ‘ทักษัณ’ บีบพรรคร่วม-โหวต‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์’
  • มอบคณะวิศวะฯ 4 สถาบัน จำลองตึก สตง.ถล่ม
  • มติ ครม.ลดค่าโอน-จดจำนองคอนโดต่ำ 7 ล้าน เหลือ 0.01% ถึง มิ.ย.ปี’69
  • มอบ ศธ.สร้างบ้านพัก ขรก. 91 โครงการ 1.1 พันล้าน
  • ผ่านร่าง กม.เพิ่มความคุ้มครอง-กำหนดคุณสมบัติ อสม.
  • ขยายเวลาให้ 4 แบงก์รัฐ แก้หนี้เกษตรกร
  • ทุ่ม 1.1 พันล้าน พัฒนาแหล่งน้ำ 12 จังหวัด
  • เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม. และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

    หารือพรรคร่วมรับมือ ‘แผ่นดินไหว-กำแพงภาษี’

    นางสาวแพทองธาร กล่าวว่า หลังการประชุม ครม. วันนี้ ได้มีการประชุมของหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยพรรค โดยได้พูดคุยและเล็งเห็นถึงปัญหาและวิกฤติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว การเยียวยาต่างๆ ฯลฯ

    “กระทรวงแรงงานบอกว่า จะดูแลแน่นอนทั้งคนไทยและต่างประเทศ และรัฐบาลจะดูเรื่องการยกเว้นกฎเกณฑ์ต่างๆ ด้วย เพื่อช่วยพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยมากขึ้น” นางสาวแพทองธาร กล่าว

    นางสาวแพทองธาร กล่าวต่อว่า การประชุมของหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ยังมีเรื่องภาษีอเมริกา ซึ่งจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการช่วงบ่ายของวันนี้ และจะชี้แจงรายละเอียดให้ทราบต่อไป

    “วาระต่างๆ ที่ได้สรุปร่วมกัน ก็เล็งเห็นถึงวิกฤติต่าง ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องอื่น ๆ คงจะรอได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และต้องรีบแก้ปัญหาก่อน พรรคร่วมก็ได้คุยกันหมดแล้วว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อบ้าง ส่วนใหญ่ก็เห็นตรงกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เกิดวิกฤติแล้ว หรือ ก่อนหน้านี้ ได้นั่งคุยกันในทุกขั้นตอน” นางสาวแพทองธาร กล่าว

    เลื่อน พ.ร.บ.สถานบันเทิง ฯ เหตุมีเรื่องเร่งด่วนกว่า

    ผู้สื่อข่าวบอกว่า หมายความว่า รัฐบาลจะเลื่อนการพิจารณา พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรใช่หรือไม่ โดย นางสาวแพทองธาร ตอบว่า “เดี๋ยวดูว่าในสภาจะอย่างไรต่อ เดี๋ยวจะดู แต่พรรคร่วมคุยกันว่าต้องเอาเรื่อง ‘เร่งด่วน’ ก่อน”

    ถามต่อว่า จากนั้นจะเอากลับมาพิจารณาใหม่ใช่หรือไม่ นางสาวแพทองธาร ยืนยันว่าใช่ และกล่าวต่อว่า “เราไม่ได้จะถอน หรือ ดึงกลับมา แน่นอนว่าระหว่างนี้ก็รับฟังความคิดเห็นได้เรื่อยๆว่าอะไรอย่างไรบ้าง”

    “จะบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้น รัฐบาลเล็งเห็นว่าเราควรเรียงเรื่องไหน เพราะเราทำตามกระบวนการ บางเรื่องไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้น อย่างเรื่องแผ่นดินไหว” นางสาวแพทองธาร กล่าว

    ถามย้ำว่า รัฐบาลจะนำเข้าพิจารณาในสภาสมัยประชุมหน้าใช่หรือไม่ นางสาวแพทองธาร ตอบยืนยัน และเสริมว่า “เรื่องในสภาจะให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตอบอีกที”

    ย้ำ ‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์’ เน้นแก้ปัญหาปากท้อง-เศรษฐกิจเป็นหลัก

    เมื่อถามว่า รัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น แต่จะเป็นการรับฟังรูปแบบใด โดย นางสาวแพทองธาร ตอบว่า “นอกจากรับฟังพูดคุยแล้ว คงต้องมีการชี้แจงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น”

    “จริงๆ แล้วภาพของเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ถูกมองเป็นภาพ ‘กาสิโน’ ซึ่งอันนั้นไม่ใช่ความตั้งใจของเราเลย ความตั้งใจของเราคือ ไปได้หมด ลูกเด็กเล็กแดงไปได้หมดในเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์นี้ ซึ่งมีทุกอย่างอยู่ในนั้น พอไฮไลท์คำว่ากาสิโน…มันไม่ใช่” นางสาวแพทองธาร กล่าว

    “เราไม่ได้บอกว่าจะทำกาสิโนทั้งประเทศให้ถูกกฎหมายหมด มันไม่ใช่เลย เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ คือ มีกาสิโนในนั้น ให้ license ในนั้น ถูกกฎหมายในนั้น ไม่ได้แปลว่าทุกที่ทุกทางต่อจากนี้ถูกกฎหมายหมด” นางสาวแพทองธาร เสริม

    “มันต้องใช้เวลาทำความเข้าใจในรายละเอียดนี้ให้ชัดเจน เพราะมีการพนันข้างนอกระบบ-นอกกฎหมาย มันสร้างผลเสียอีกมากมายที่มีอยู่ เราไม่ได้เน้นเรื่องกาสิโนเป็นหลักด้วยซ้ำ แต่ความตั้งใจนี้ถูกเรียกเป็นกาสิโนแทน มันกลายเป็น…อ้าว แล้วอย่างอื่นที่จะสร้างเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์อันยิ่งใหญ่ อย่างไร” นางสาวแพทองธาร เสริม

    “รัฐบาลจะรับผิดชอบเรื่องนี้ในการอธิบาย สื่อสารให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ามันแปลว่าอะไรกันแน่ เพราะเราไม่ได้คิดว่าอันนี้มันคือการทำกาสิโน ถ้าเป็นอย่างนั้นตั้งแต่แรก พรรคร่วมก็ไม่เห็นด้วยในการแถลงเป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว อันนี้เป็นเรื่องการทำเม็ดเงินที่จะเข้ามาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องเศรษฐกิจ เป็นเรื่องปากท้อง” นางสาวแพทองธาร ตอบ

    เมื่อถามว่า การเลื่อนพิจารณาออกไป เพราะเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายด้วยหรือไม่ นางสาวแพทองธาร ตอบว่า “จริงๆ รับฟังทุกฝ่าย แต่มันไม่ใช่เหตุผลนี้อยู่แล้ว”

    เรื่องภาษีของทรัมป์ มันเป็นเรื่อง priority ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออก หรือ ผู้ลงทุนหลายท่าน ก็เป็นห่วงเรื่องนี้ ซึ่งมันจำเป็น ถึงได้จัดประชุมขึ้น และคุยกันในเรื่องนี้ให้ชัดเจนและมีรายละเอียดยิ่งขึ้น เรื่องนี้สำคัญและเป็น priority” นางสาวแพทองธาร ตอบ

    นางสาวแพทองธาร ยังย้ำว่า รัฐบาลต้องสื่อสาร รวมถึงนายกฯ เองก็จะช่วยสื่อสารในเรื่องนี้ด้วย

    ผู้สื่อข่าวยังถามเรื่องการทำประชามติของพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร โดย นางสาวแพทองธาร ตอบว่า “เดี๋ยวรับฟังและคุยกันในคณะว่าทำอะไรได้บ้าง”

    ผู้สื่อข่าวบอกว่า พอถอนแล้ว รัฐบาลรู้สึกเบาใจขึ้น นางสาวแพทองธาร จึงย้ำว่า “ไม่ได้ถอนนะคะ ไม่ได้ถอนเรื่องนี้ มันเป็นญัตติด่วน แต่มันมีญัตติที่ด่วนกว่านี้”

    “เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์เป็นเรื่องที่เรามองเรื่องปากท้อง ไม่ได้มองเรื่องกาสิโน เพราะฉะนั้นความเข้าใจสำคัญ เรื่องนี้เป็นเม็ดเงินใหม่ที่จะมาการจ้างงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย เรามองเห็นโอกาสในการโตขึ้นของประเทศอย่างชัดเจน เห็นโอกาสในการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเป็นหลายร้อยหลายพันตำแหน่งในที่ที่เดียว เห็นตัวเลขเงินที่จะเข้ามาอย่างมากมายกับประเทศไทย เกิด destination ใหม่ในการท่องเที่ยว เราเห็นมุมนั้นอีกมากมายมากกว่า” นางสาวแพทองธาร กล่าว

    “แต่พอประเด็นนี้ถูกบิดไปมา ทั้งในเรื่องการเมืองก็มีมาก กลายเป็นว่ารัฐบาลจะมุ่งเน้นในการเปิดสถานที่พนันเสียแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่ความตั้งใจนี้เลย” นางสาวแพทองธาร ตอบ

    ปัด ‘ทักษัณ’ บีบพรรคร่วม-โหวต‘เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์’

    ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า มีกระแสว่านายทักษิณ ชินวัตร ขู่ว่าจะขับพรรคร่วมที่ไม่สนับสนุนเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ทำให้ นางสาวแพทองธาร สวนกลับว่า “นี่ค่ะ พรรคร่วมยืนอยู่ครบแล้ว สัมภาษณ์ได้”

    “เราไม่ได้พูดเรื่องนี้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ขับหรือไม่ขับ…ไม่ใช่…จริงๆ แล้วพรรคร่วมรัฐบาล และตัวดิฉันเองในฐานะผู้นำของพรรคร่วมรัฐบาล อยากให้พรรคร่วมเกิดความสบายใจและพร้อมที่จะเห็นด้วย ด้วยความเต็มใจ อันนี้คือสิ่งสำคัญ นี่คือ การนำแบบดิฉัน สมัยของดิฉันอยากให้พรรคร่วมมีความเต็มใจในการโหวตเห็นด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วหลักที่ถูกต้องตามปกติ พรรคร่วมทุกพรรคเห็นด้วยตรงกันเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่อยากให้ทำด้วยความรู้สึกเห็นด้วยตรงกัน และพร้อมจะนำไปด้วยกันอย่างเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกคนก็จะทำงานอย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น” นางสาวแพทองงธาร ตอบ

    ผู้สื่อข่าวยังถามว่า การเลื่อนพิจารณา ไม่ใช่การซื้อเวลาใช่หรือไม่ นางสาวแพทองธาร ตอบว่า “มันเป็นการเรียงลำดับความสำคัญ”

    โยนคณะทำงานแจง ‘ทรัมป์’ ขึ้นภาษี

    เมื่อถามถึงการประชุมรับมือภาษีทรัมป์ นางสาวแพทองธาร ตอบว่า “เรามีหลายประเด็นมากๆ เดี๋ยวบ่ายนี้จะประชุมในรายละเอียด แต่ตอนนี้มีหัวหน้าที่ไปคุยก่อนคือก็ท่านรองนายกฯ (พิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง) ที่จะคุยเรื่องนี้ก่อน พอไปก็เป็นตัวแทนนายกฯ ท่านก็รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจต่างๆ อยู่แล้ว แต่รายละเอียดเดี๋ยวจะมีทีมงานอีกที บ่ายนี้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมของอเมริกา จะเห็นภาพชัดขึ้น”

    ยันไม่รู้จัก ‘ไฮโซเก๊’ วอน ปชช.อย่าหลงเชื่อ

    จากนั้นนางสาวแพทองธาร กล่าวขอบคุณและเดินออกจากโพเดียม แต่ผู้สื่อข่าวได้ถามเรื่อง ‘ไฮโซเก๊’ ซึ่งอ้างว่ารู้จักกับนายกรัฐมนตรี ทำให้นางสาวแพทองธาร เดินกลับมาตอบว่า “ขออนุญาตสื่อมวลชนอย่างนี้ ฝากสื่อสารไปยังพี่น้องประชาชนด้วย เรื่องไฮโซเก๊เป็นเรื่องหนึ่งที่ talk of the town ตอนนี้”

    “ยืนยันว่าไม่จริง ไม่เคยรู้จัก ยืนยันแบบนี้ แต่ดิฉันเคยได้ยินแบบนี้มาหลายทีแล้ว เรื่องการแอบอ้างว่าสนิทกับนายกฯ เพื่อนดิฉันเองยังมาบอกเลยว่า รู้จักกับคน ๆ นี้ เขาบอกต้องให้งานอย่างนี้อย่างนั้น เพราะสนิทกับนายกฯ…ไม่มีนะคะ ท่านดูประวัติที่ผ่านมา ครอบครัวดิฉันโดนหลายเรื่องเหมือนกัน ถ้าจะต้องเสี่ยงอะไรแบบนี้ไม่ทำอยู่แล้ว มันไม่จำเป็นด้วย มาวิ่งอะไรแบบนี้มันเสี่ยง ดิฉันก็เข้ามาราวกับรู้สึกว่าเห็นทุกอย่าง การโดนอะไรแบบนี้มา ไม่ได้สนับสนุน และไม่อยากให้เชื่อ เพราะบางทีก็มี Message ที่มีหน้าดิฉันเลยส่งไปตาม dm ของคนต่างๆ แล้วจะให้สนับสนุนเงินอะไรแบบนี้ ไม่มีเวลาทำแบบนั้นเลยนะคะ ขอให้อย่าเชื่อและสื่อสารว่าไม่จริง” นางสาวแพทองธาร ตอบ

    นางสาวแพทองธาร เสริมว่า “ก่อนหน้านี้มีเรื่องท่านทักษิณที่จะแจกเงิน อันนี้เห็นบ่อยมาก…ไม่มี ไม่เคยมีเลย อย่าไปเชื่อ อย่าไปหลงกล นี่ก็เป็นรูปแบบคอลเซ็นเตอร์เช่นกัน อย่าไปเชื่อ”

    “บางทีคอลเซ็นเตอร์ต่างชาติก็มี ที่ขึ้นเป็นหน้าคนมีชื่อเสียงคนหนึ่ง แต่เป็นอีกชื่อหนึ่งแล้วส่งมา ดิฉันก็เคยโดนส่งมาในสมัยก่อนที่คอลเซ็นเตอร์เยอะๆ อย่าไปเชื่ออะไรแบบนี้ ไม่มี ก็ขอให้ความเสียหายจบลงแบบนี้ละกัน” นางสาวแพทองธาร ตอบ

    มอบคณะวิศวะฯ 4 สถาบัน จำลองตึก สตง.ถล่ม

    ด้านนายจิรายุ รายงานข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีว่า วันนี้เวลา 08.30 น. นายกฯ รับฟังรายงานผลการตรวจสอบอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เนื่องจากครบกำหนดระยะดำเนินการในช่วง 7 วันนับจากสั่งการ และกล่าวขอบคุณทุกส่วนราชการ ภาคเอกชนและประชาชน

    นายจิรายุ รายงานว่า ช่วงที่ผ่านมา นายกฯ ได้ลงพื้นที่สถานที่เกิดเหตุด้วยตนเองหลายครั้ง เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ และญาติของผู้ประสบภัย โดยขอเน้นย้ำว่า การสืบสวนสอบสวนต้องทำอย่างใกล้ชิด ต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อให้ได้คำตอบ ไม่ใช่เพียงตอบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องตอบทั่วโลกได้ว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากมีจุดไหนที่ต้องดำเนินการ ให้ใช้กระบวนการทางกฎหมายดำเนินการอย่างเด็ดขาด และให้รวบรวมข้อมูลให้ครบ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน รัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนทุกหน่วยงานอย่างเต็มที่

    นายจิรายุ รายงานว่า คณะกรรมการฯ ยืนยันและให้ความมั่นใจกับประชาชนว่า กฎหมายของไทยที่ใช้สำหรับการก่อสร้างอาคารและตึกต่างๆ ในปัจจุบัน มีความเข้มงวด และครอบคลุมรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหว หากเกิดแผ่นดินไหวในระดับเดียวกับที่ผ่านมา จะไม่ส่งผลให้เกิดอาคารถล่ม เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาคารส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายรุนแรง มีเพียงอาคารที่ถล่มเพียงแห่งเดียว ซึ่งจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และมีข้อสงสัยหลายประเด็นที่สำคัญมาตั้งแต่ต้น รวมถึงในกระบวนการตรวจสอบ และขณะนี้ไซต์งานที่เกิดเหตุยังอยู่ระหว่างการเคลียร์พื้นที่ โดยได้รับรายงานจากกระทรวงมหาดไทยว่า จะต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการดำเนินการดังกล่าว

    นายจิรายุ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้ข้อสรุปว่า มีการมอบหมายให้คณะวิศวกรรมศาสตร์จาก 4 สถาบันการศึกษา และกรมโยธาธิการและผังเมือง ต่างคนต่างจัดทำแบบจำลองเหตุการณ์ (โมเดล) จำลองสภาพจริงของอาคารสำนักงานฯ สตง.(แห่งใหม่) กับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เพื่อค้นหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้อาคารถล่มลงมา โดยกำหนดเวลาทำโมเดล 90 วัน โดยระหว่างนี้ ขอให้ทบทวนกระบวนการตรวจสอบตึกทั้งเอกชนและราชการ

    นายจิรายุ กล่าวต่อว่า อีกประเด็นสำคัญจากการประชุม คือ การทบทวนกระบวนการตรวจสอบอาคาร และสิ่งปลูกสร้างใหม่ทั้งหมด ทั้งในภาคเอกชนและหน่วยงานราชการ รวมถึงการพิจารณาทบทวนขั้นตอนการอนุมัติในด้านต่าง ๆ ว่ามีความปลอดภัย และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องแผ่นดินไหว ซึ่งจะดำเนินการ 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ (1) ทำให้กระบวนการมีความคล่องตัว และตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น (2) เพิ่มมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับอาคารในอนาคตอีก

    สั่งเยียวยา-พัฒนาระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว

    นายจิรายุ กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ปัจจุบันเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 11 วัน โดยการดำเนินการกู้ชีวิต และค้นหาผู้ประสบภัย ยังต้องดำเนินการต่อไปควบคู่กับการรื้อถอนซากตึก และการสืบสวนหาสาเหตุ และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อาสาสมัครภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์บรรเทาทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว

    นายจิรายุ รายงานว่า นายกฯ สั่งการขั้นตอนต่อไป คือการเยียวยา การสืบหาต้นเหตุตึกถล่ม และการพัฒนาระบบเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพ ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดตามที่ได้สั่งการไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ยันรัฐบาลตั้งคณะทำงานรับมือ ‘ทรัมป์’ ตั้งแต่ 6 ม.ค.

    นายจิรายุ รายงานข้อสั่งการเรื่องกำแพงภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า มาตรการดังกล่าวถือเป็นการกำหนดกติกาการค้าโลกที่สร้างผลกระทบ ไปทุกประเทศทั่วโลก

    อย่างไรก็ตาม นายจิรายุ ชี้แจงว่า รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานตั้งแต่ก่อนการขึ้นภาษีตั้งแต่ 6 มกราคม 2568 ก่อนการรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 20 มกราคม 2568 โดยคณะทำงานได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรี เป็นระยะๆ ในการศึกษาและหามาตรการต่างๆ ไว้เจรจา และเตรียมมาตรการที่จะลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด

    ทั้งนี้ ขอให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งปรับตัวตามมาตรการใหม่นี้ โดยวันนี้เวลา 13.00 น. นายกรัฐมนตรีได้เชิญคณะกรรมการชุดดังกล่าว เข้ารายงานเรื่องนี้เป็นการเฉพาะกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องและจะมีการชี้แจงในรายละเอียดต่อไป

    นายจิรายุ ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจและได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและดำเนินการมาตลอดกว่า 4 เดือน และจะดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทยและพี่น้องประชาชนคนไทยเป็นที่ตั้ง

    สั่งทุกหน่วยงานดูแลนักท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์อย่างเต็มที่

    นายจิรายุ กล่าวต่อว่า ในช่วงปลายสัปดาห์นี้จะเป็นช่วงของเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจะมีงานเฉลิมฉลองและจัดกิจกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน โดยมีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที่ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในงานเทศกาล กิจกรรมต่างๆ ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ให้ดูแลนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

    นอกจากนี้ ยังมีข้อสั่งการถึงหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

    • กระทรวงคมนาคม จัดการขนส่งมวลชน และการบริการขนส่งสาธารณะทุกระบบให้เพียงพอ และต้องมีความปลอดภัยโดยให้เน้นที่ผู้ขับขี่รถโดยสารและผู้ให้บริการต้องมีความพร้อมเพื่อให้บริการได้อย่างปลอดภัย
    • สั่งการให้ตรวจสอบเส้นทางที่มีการก่อสร้างต่างๆ ว่ามีความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่พี่น้องประชาชน เช่น บริเวณถนนพระราม 2 และอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยง
    • หน่วยงานความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดูแลเส้นทางการจราจร ให้มีความคล่องตัว ให้มีป้ายบอกทางที่ชัดเจน กวดขันการขับขี่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ให้มีจุดตรวจจับ การดื่มแอลกอฮอล์
    • กระทรวงสาธารณสุข ให้เตรียมพร้อมดูแลผู้ป่วย ตลอดจน ผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
    • กระทรวงศึกษาธิการ ขอความร่วมมือ และอาสาสมัครนักเรียนอาชีวะ ช่วยซ่อมแซม รถที่เสียระหว่างเดินทาง
    • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอให้ดูแลให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดเตรียมตำรวจท่องเที่ยว หรืออาสาสมัคร ในการให้บริการและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

    นายจิรายุ รายงานว่า นายกฯ ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์เข้มงวด “ดื่มไม่ขับ” และเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ต้องตั้งเป้าให้อุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บลดลง และขออวยพรให้พี่น้องประชาชนทุกท่านเดินทางพักผ่อนและท่องเที่ยวให้สนุกปลอดภัย มีความสุขกับครอบครัว ในโอกาสสงกรานต์ปีใหม่ไทย

    มติ ครม.มีดังนี้

    นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษก ฯ และนายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษก ฯร่วมกันแถลงผลการประชุม ครม. ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ที่มาภาพ : www.thaigov.go.th/

    ปรับปรุงสนามกีฬาหัวหมาก 320 ล้าน รับ ‘ซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์’

    นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 320,268,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานที่ฝึกซ้อม/แข่งขัน (กีฬาทางน้ำ) ภายในสนามกีฬาหัวหมาก เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ

    ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (27 กันยายน 2565) เห็นชอบการรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ตามที่ กก. เสนอ สำหรับกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายในการจัดการเป็นเจ้าภาพให้ กก. (การกีฬาแห่งประเทศไทย) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความพร้อมในด้านต่างๆ และแนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงถึงความประหยัด การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม ความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ รวมทั้งกำหนดแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงินที่ต้องใช้ในการเป็นเจ้าภาพแข่งขันดังกล่าว โดยให้การกีฬาแห่งประเทศไทยพิจารณานำรายได้จากการบริหารสิทธิประโยชน์ในฐานะเจ้าภาพจัดการแข่งขัน รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคเอกชนมาสมทบการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดภาระต่องบประมาณในสัดส่วนที่เหมาะสม ตลอดจนจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อาทิ การบริหารจัดการรายได้จากการถ่ายทอดในช่องทางต่าง ๆ หรือกรณีที่รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่งตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

    โดย กก. (การกีฬาแห่งประเทศไทย) รายงานว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีสถานที่ฝึกซ้อม/แข่งขัน (กีฬาทางน้ำ) ที่ได้มาตรฐานตามที่สหพันธ์กีฬาทางน้ำโลก (World Aquatics) กำหนด เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ระหว่างวันที่ 9 – 20 ธันวาคม 2568 ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสงขลา และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ระหว่างวันที่ 20 – 26 มกราคม 2569 ณ จังหวัดนครราชสีมา ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงสถานที่ฝึกซ้อม/แข่งขัน (กีฬาทางน้ำ) ภายในสนามกีฬาหัวหมาก เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว และได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

    ลดค่าโอน-จดจำนองคอนโดต่ำ 7 ล้าน เหลือ 0.01% ถึง มิ.ย.ปี’69

    นายคารม กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

    1. ให้ความเห็นชอบมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย และร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ ดังนี้
      1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
      2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีห้องชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
    2. มอบหมายให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความเหมาะสมเพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินภารกิจปกติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    นายคารม กล่าวถึงวัตถุประสงค์มาตรการดังกล่าวว่าเป็นการสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีหลักการเช่นเดียวกับมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 เมษายน 2567) ตามข้อ 2 ซึ่งสิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยรวม 2 ฉบับ ดังนี้

    1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท ต่อสัญญา (จากเดิมร้อยละ 2) เหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน
    2. (จากเดิมร้อยละ 1) เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถวหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวโดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน

    ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีห้องชุดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยลดค่าจดค่าจดทะเบียนการโอนห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุดที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา จากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าจดทะเบียนจำนองห้องชุดอันเนื่องมาจากการจดทะเบียนการโอนในคราวเดียวกัน จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569

    กระทรวงการคลังได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าว จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสูญเสียรายได้จากค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ จำนวนไม่เกิน 20,014.65 ล้านบาท (1,334.31 ล้านบาทต่อเดือน) แต่จะช่วยสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชน รักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มูลค่าประมาณ 537,303.88 ล้านบาทต่อปี (44,775.32 ล้านบาทต่อเดือน) ซึ่งจะช่วยเพิ่มการบริโภคภายในประเทศได้ประมาณ 88,690.22 ล้านบาทต่อปี (7,390.85 ล้านบาทต่อเดือน) และเพิ่มการลงทุนได้ประมาณ 303,434.15 ล้านบาทต่อปี (25,286.18 ล้านบาทต่อเดือน) และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06 ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีมาตรการ

    นายคารม ให้ข้อมูลว่า เรื่องนี้เป็นการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และผู้ขายที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยอาคารพาณิชย์ และห้องชุดซึ่งจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสูญเสียรายได้ จึงเห็นควรให้มีความเห็นกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย ประกอบกับเรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 (7) (ฎ) ซึ่งกำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.01 ได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารชุด พ.ศ. 2553 ข้อ 1 (7) (ช) ซึ่งกำหนดให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.01 ได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

    ผ่านร่าง กม.เพิ่มอำนาจ จนท.ปราบภัยไซเบอร์-ดูแลคริปโต 2 ฉบับ

    นายคารม กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …และร่างพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….จำนวน 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ

    สาระสำคัญของร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ดังนี้

    1. แก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ
      1. แก้ไขวันใช้บังคับโดยกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (เดิม ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
      2. แก้ไขบทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” โดยกำหนดให้มีความหมายรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและเพิ่มบทนิยามคำว่า “กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล” และ “บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์”
      3. เพิ่มเติมให้มีการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเลขที่กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล และเพิ่มเติมให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์สินดิจิทัลเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อตรวจสอบและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล (เดิม ไม่ได้กำหนดไว้)
      4. เพิ่มเติมการกำหนดมาตรฐานหรือมาตรการเพื่อป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อคัดกรองจากข้อความที่เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นข้อความที่เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงซึ่งไม่ต้องกดเข้าไปอ่านเนื้อหาภายในข้อความนั้น เช่น ข้อความชักชวนให้เล่นการพนันออนไลน์ หรือข้อความที่หลอกลวงชักชวนให้นำเงินไปลงทุน (เดิม ไม่ได้กำหนดไว้)
      5. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการด้านการระงับการให้บริการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้ชัดเจนว่า เมื่อปรากฎพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการใช้บริการโทรคมนาคมเพื่อกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต้องแจ้งให้ สำนักงาน กสทช. สั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น หรือผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้อง ระงับการให้บริการโทรคมนาคม (เดิม กำหนดให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น ผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสำนักงาน กสทช. แล้วแต่กรณี สั่งระงับการให้บริการหมายเลขโทรศัพท์)
      6. เพิ่มเติมการระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือนำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือนำข้อมูลคอมพิเวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้ เมื่อปรากฎข้อมูลว่ามีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (เดิม ไม่ได้กำหนดไว้)
      7. แก้ไขเพิ่มเติมการคืนเงินให้แก่ผู้เสียหาย โดยให้นำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายกำหนดไว้ในกฎกระทรวง และเพิ่มเติมการดำเนินการกรณีที่ไม่มีผู้เสียหายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมายื่นคำร้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ครบกำหนดที่ต้องยื่นคำร้องคัดค้าน หรือมีเงินที่เหลือภายหลังจากได้คืนเงินแก่ผู้เสียหายแล้ว ให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (แต่ไม่ตัดสิทธิเจ้าของเงินที่จะขอรับเงินคืนจากกองทุนป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
      8. แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดภาระการพิสูจน์ของหน่วยงานเอกชนโดยให้หน่วยงานเอกชนมีภาระการพิสูจน์เพื่อไม่ต้องมีความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือมาตรการเพื่อป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกำหนดโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำที่กำกับดูแลแล้ว (เดิม ไม่ได้กำหนดไว้)
      9. เพิ่มบทกำหนดโทษกรณีผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ระวางโทษปรับ เนื่องจากเป็นนิติบุคคล เพิ่มบทกำหนดโทษกรณีที่ที่ผู้แทนสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องรับผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิ่มบทกำหนดโทษกรณีที่ผู้ซื้อเลขหมายโทรศัพท์หรือผู้ขายเลขหมายโทรศัพท์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการลงทะเบียนให้แก่ผู้ใช้บริการ ลงทะเบียนไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดโดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด (เดิม ไม่ได้กำหนดไว้)
    2. ตัดหลักการที่กำหนดมาตรการห้ามการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer (P2P) และตัดการกำหนดบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนโดยซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม P2P
    3. ตัดบทกำหนดโทษกรณีการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นการพนันหรือพนันออนไลน์
    4. เพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสัคมและกำหนดให้มีหน้าที่ เช่น แจ้งรายชื่อบุคคลหรือเลขที่กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

    สาระสำคัญของ ร่างพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่…) ดังนี้

    1. กำหนดวันใช้บังคับโดยให้ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
    2. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ประกอบธุรกิจอยู่นอกราชอาณาจักรแต่ให้บริการแก่บุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ
    3. กำหนดลักษณะที่ถือว่าเป็นการให้บริการแก่บุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร เช่น มีการแสดงผลโดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นภาษาไทย สามารถเลือกชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท มีการรับชำระเงินผ่านบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย หรือมีเงื่อนไขให้ใช้กฎหมายไทยเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ธุรกรรมซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือกำหนดให้ดำเนินคดีในศาลไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ดศ. ได้ให้ความเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชกำหนด จำนวน 2 ฉบับ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว

    มอบ ศธ.สร้างบ้านพัก ขรก. 91 โครงการ 1.1 พันล้าน

    นายคารมกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้

    (1) เห็นชอบการจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 91 โครงการ รวม 1,253 หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ 1,170.77 ล้านบาท

    (2) วงเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเต็มจำนวน จำนวน 1,170.77 ล้านบาท โดยมอบสำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรเงินสนับสนุนจำนวนดังกล่าวให้กับ ศธ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งนี้ ให้สามารถก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณได้ ตามนัยมาตราแห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561

    สาระสำคัญของเรื่อง

    1. โครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) เป็นโครงการภายใต้แผนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) มีแนวทางการดำเนินงาน คือ
      1. ส่วนราชการ หน่วยงานที่ต้องการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) เป็นผู้สำรวจปริมาณความต้องการ กำหนดรูปแบบที่อยู่อาศัย และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องพร้อมประมาณการงบประมาณโครงการเสนอต่อ พม. (การเคหะแห่งชาติ)
      2. พม. (การเคหะแห่งชาติ) จะรวบรวม วิเคราะห์ และสรุปภาพรวมความต้องการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) เป็นรายปี แล้วเสนอขออนุมัติกรอบการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรี
      3. ให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะจัดทำโครงการเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี
    2. พม. (การเคหะแห่งชาติ) ได้สำรวจความต้องการในการจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของหน่วยงานราชการต่างๆ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามลำดับความพร้อมของข้อมูลที่หน่วยงานได้จัดส่งให้การเคหะแห่งชาติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) จำนวน 1 หน่วยงาน ได้แก่ ศธ. (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา : สอศ.)
    3. โครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของ ศธ. (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐ โดยการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยในรูปแบบบ้านหลวงที่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พร้อมสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่จำเป็น และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ห่างไกลจากภูมิลำเนาของตนให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ จากการได้รับการสนับสนุนสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย รวมถึงตอบสนองนโยบายของรัฐในการเสริมสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและที่อยู่อาศัย เป็นการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

    นายคารม ให้ข้อมูลว่า เป้าหมายการดำเนินโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของ ศธ. (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) รวม 91 โครงการ 1,253 หน่วย งบประมาณ 1,170,77 ล้านบาท ตอบสนองความต้องการของข้าราชการและพนักงานหน่วยงานของรัฐ จำนวน 1,253 ครัวเรือน หรือ คิดเป็นจำนวนข้าราชการ พนักงานหน่วยงานของรัฐและครอบครัวกว่า 3,759 คน

    ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม. กำหนดให้ ศธ. ดำเนินโครงการดังกล่าว พร้อมจัดทำรายละเอียด แบบรูปรายการประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละระดับ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด เป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของโครงการ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น และเหมาะสมตามขั้นตอนของกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป

    ผ่านร่าง กม.เพิ่มความคุ้มครอง-กำหนดคุณสมบัติ อสม.

    นายคารม กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. ….. ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ อสม. เป็นกำลังสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนตามหลักการสาธารณสุขมูลฐาน และยกระดับทักษะและขีดความสามารถของ อสม. ให้ดำเนินการตามหลักการดังกล่าวได้สัมฤทธิ์ผล ตลอดจนเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานบริหารกิจการ อสม. และดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพภายในชุมชนให้เป็นไปอย่างมีระบบ และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ

    สาระสำคัญคือ ร่างพระราชบัญญัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. ….เป็นการยกระดับกฎหมายจากระเบียบ (ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554) เป็นพระราชบัญญัติ เพื่อให้การดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับการคุ้มครองในระดับที่สูงขึ้น โดยร่างพระราชบัญญัตินี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ อสม. มี 3 ประเภท (เหมือนเดิม) ได้แก่ (1) อสม. (2) อาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และ (3) อาสาสมัครสาธารณสุขอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

    คำแนะนำของคณะกรรมการระดับประเทศ และกำหนดให้มีคณะกรรมการเป็น 2 กลุ่ม คือ

    กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุน อสม. แบ่งเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการระดับประเทศ คณะกรรมการระดับเขตสุขภาพ คณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร (เดิม กำหนดให้มี 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลาง คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระดับจังหวัด คณะกรรมการส่งเสริมและคณะกรรมการสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร) ซึ่งคณะกรรมการระดับประเทศทำหน้าที่ในการเสนอนโยบายด้านการดำเนินงาน อสม. คณะกรรมการระดับเขตสุขภาพทำหน้าที่ดำเนินการตามโยบายในการส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนสวัสดิการ ให้แก่ อสม. ที่คณะกรรมการระดับประเทศกำหนดไว้ และจัดสรรให้มี อสม. ในแต่ละจังหวัดในสัดส่วนที่กำหนด ส่วนคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะกรรมการกรุงเทพมหานครทำหน้าที่ลักษณะเดียวกัน โดยดำเนินการตามนโยบายที่คณะกรรมการระดับประเทศกำหนดไว้

    กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขอื่น (เพิ่มจากเดิม) ทำหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายเพื่อส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุน อสม. อื่นซึ่งเกิดขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รายละเอียด เช่น

    • ปรับปรุงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียน อสม. เช่น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ (เดิม ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ปี โดยมิได้กำหนดเกณฑ์อายุขั้นสูงและมิได้กำหนดลักษณะต้องห้ามไว้)
    • กำหนดบทบาทหน้าที่และมาตรฐานจริยธรรมของ อสม. โดยให้ อสม. มีบทบาทและหน้าที่ในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน ดำรงตนและปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามที่คณะกรรมการระดับประเทศกำหนดไว้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของ อสม. มีมาตรฐานยิ่งขึ้น (เดิม มิได้กำหนดบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการดำรงตนและปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมไว้)
    • ปรับปรุงวิธีร้องเรียน อสม. โดยให้ผู้ร้องเรียนยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการระดับจังหวัดต่อไป เพื่อให้วิธีปฏิบัติในการร้องเรียนมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น (เดิม กำหนดให้หัวหน้าครัวร้อน หรือผู้แทนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หลังหาเรือนร่วมกันลงลายมือร้องเรียน อสม. ต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งให้คณะกรรมการะดับจังหวัดพิจารณาต่อไป)
    • เพิ่มเหตุของการพ้นสภาพจากการเป็น อสม. ได้แก่ การไม่ผ่านการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานและได้รับโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (เดิม กำหนดไว้เพียง 4 เหตุ ได้แก่ ตาย ลาออก เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมีคำสั่งให้พ้นสภาพ)
    • เพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับ อสม. ได้แก่สิทธิในการรวมกลุ่มในลักษณะชมรม สมาคม หรือ มูลนิธิ และสิทธิในการแต่งเครื่องแบบ อสม. (เดิม มิได้กำหนดไว้)
    • สร้างเครือข่ายของ อสม.ให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนเพิ่มเติมในเรื่องการสนับสนุนกิจการ อสม. โดยให้ความช่วยเหลือเยียวยาและให้สวัดิการแก่ อสม. 2 กลุ่ม คือ 1) อสม. ที่ปฏิบัติงานอยู่ และ 2) อาสาสมัครสาธารณสุขอื่น เช่น อสม. ที่เป็นผู้สูงอายุซึ่งเคยปฏิบัติงาน จึงไม่ได้รับค่าป่วยการ (เนื่องจากร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดเพดานอายุขั้นสูงไว้ ทำให้ อสม. ผู้สูงอายุ ไม่ผ่านคุณสมบัติด้านอายุ และกำหนดให้มีการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจไม่ผ่านการประเมินมาตรฐานได้) โดยกำหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานกลางในการสนับสนุน ซึ่งเงิน-ทรัพย์สิน และดอกผลที่ได้รับเพื่อใช้ใช้ในการสนับสนุนกิจการดังกล่าว เช่น รายได้จากการบริจาค เงินสมทบจาก อสม. และรายได้อื่นๆ ไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

    ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นชอบในเรื่องไม่นำเงินส่งคลังด้วยแล้วตามนัยมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (เดิมมิได้กำหนดเงินและทรัพย์สินที่นำมาใช้ในการสนับสนุนกิจการ อสม.)

    เสนอ ‘วัดอรุณราชวราราม’ ขึ้นทะเบียนศูนย์มรดกโลก

    นายคารม กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

      (1) เห็นชอบเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม อัตลักษณ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ภายใต้ชื่อ “Phra Prang of Wat Arun Ratchawararam : The Masterpiece of Kung Rattanakosin” เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก

      (2) เห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกลงนามในเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม อัตลักษณ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”ภายใต้ชื่อ “Phra Prang of Wat Arun Ratchawararam : The Masterpiece of Krung Rattanakosin” เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซองศูนย์มรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

      (3) มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาตินำเสนอเอกสารการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม อัตลักษณ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ภายใต้ชื่อ “Phra Prang of Wat Arun Ratchawararam : The Masterpiece of Krung Rattanakosin” เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

    เห็นชอบกำหนดลักษณะเหรียญกษาปณ์ 6 ชนิด

    นายคารม กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

    นายคารม กล่าวต่อว่า ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. …. ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ รวม 6 ชนิด ได้แก่ (1) เหรียญกษาปณ์ทองคำ ชนิดราคาสามหมื่นบาท ประเภทขัดเงา (2) เหรียญกษาปณ์ทองคำ ชนิดราคาสามหมื่นบาท ประเภทธรรมดา (3) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคาหนึ่งพันบาท ประเภทขัดเงา (4) เหรียญกษาปณ์เงิน ชนิดราคาหนึ่งพันบาท ประเภทธรรมดา (5) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทขัดเงา และ (6) เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ประเภทขัดธรรมดา เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568

    ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 26,469 วัน ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 ในราชวงศ์จักรี ที่ทรงเจริญพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อที่จะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัย

    ขยายเวลาให้ 4 แบงก์รัฐ แก้หนี้เกษตรกร

    นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า ที่ประชุม ครม. มีมติพิจารณาตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

    1. รับทราบผลดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง (โครงการฯ) ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
    2. เห็นชอบให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรถูกต้องครบถ้วนแล้ว และเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non – Performing Loan : NPLs) ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
    3. เห็นชอบให้ธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง คิดดอกเบี้ยและเบิกจ่ายเงินชดเชยเงินต้นครึ่งหลัง (ร้อยละ 50) ที่พักไว้ทั้งจำนวนของเกษตรกร จำนวน 16,794 ราย และที่แจ้งเพิ่มเติมภายหลังที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ได้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ ให้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ต้องควบคุมกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรของแต่ละธนาคาร โดยไม่เกินกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้นจำนวน 15,481.66 ล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566
    4. เห็นชอบให้ขยายเวลาการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 โดยให้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการสิ้นสุดลงภายใน 150 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ทั้งนี้ ต้องเป็นเกษตรกรที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 และ 11 ธันวาคม 2567 ที่มาแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ภายในวันที่ 21 มีนาคม 2568 โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
      1. ให้เกษตรกรและสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ส่งมอบเอกสารแบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ (ปคน.1) (ปคน.2) และแบบ (ผค.1/4) ให้สถาบันเจ้าหนี้ให้แล้วเสร็จ ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมิมติ
      2. ให้สถาบันเจ้าหนี้ดำเนินการทำสัญญาให้แล้วเสร็จ ภายใน 150 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
      3. ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้วเสร็จจภายใน 150 วัน เช่น ติดปัญหาเรื่องหลักประกัน หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมายหรืออยู่ระหว่างการดำเนินการของส่วนราชการ ให้ขยายระยะเวลาการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารออกไปอีกแต่ไม่เกิน 150 วัน นับแต่วันที่ศาล มีคำสั่ง หรือคำพิพากษาถึงที่สุดหรือวันที่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
    5. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่ง นำมติคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบการขยายเวลาข้างต้นตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

    ทุ่ม 1.1 พันล้าน พัฒนาแหล่งน้ำ 12 จังหวัด

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมชลประทาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบฯ ปี 68 งบกลางฯ) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำและฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (โครงการฯ) จำนวน 554 รายการ วงเงิน 1,182,396,800 บาท

    นายอนุกูล ให้ข้อมูลว่า กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการฯ เพื่อซ่อมแซมอาคารและสิ่งปลูกสร้างทางชลประทานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 67 ซึ่งส่งผลทำให้การบริการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและกิจกรรมอื่นๆ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอันตรายที่อาจจะเกิดกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ประชาชนทั่วไปจากการใช้งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างทางชลประทานดังกล่าว และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำซ่อมแซม/ปรังปรุงอาคารและระบบชลประทานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และการใช้งานให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอุทกภัยจากน้ำท่วมรวมทั้งเพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค และกิจกรรมอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ทั้งนี้ โครงการฯ ใช้จ่ายงบฯ ปี 2568 งบกลางฯ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำและฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยใน 12 จังหวัด ดังนี้

    1. จังหวัด ชุมพร จำนวน 17 โครงการ งบประมาณ 130,020,000 บาท
    2. จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 37 โครงการ งบประมาณ 19,763,800 บาท
    3. จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 197 โครงการ งบประมาณ 219,516,000 บาท
    4. จังหวัดตรัง จำนวน 6 โครงการ งบประมาณ 4,850,000 บาท
    5. จังหวัดสงขลา จำนวน 98 โครงการ งบประมาณ 308,340,000 บาท
    6. จังหวัดพัทลุง จำนวน 58 โครงการ งบประมาณ 38,812,000 บาท
    7. จังหวัดนราธิวาส จำนวน 63 โครงการ งบประมาณ 184,064,000 บาท
    8. จังหวัดปัตตานี จำนวน 33 โครงการ งบประมาณ 97,051,000 บาท
    9. จังหวัดยะลา จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 20,900,000 บาท
    10. จังหวัดระนอง จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 37,000,000 บาท
    11. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 41 โครงการ งบประมาณ 67,080,000 บาท
    12. จังหวัดสตูล จำนวน 1 โครงการ งบประมาณ 55,000,000 บาท

    รวมทั้งสิ้น จำนวน 554 โครงการ งบประมาณ 1,182,396,8000 บาท

    เคาะสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก 292 ล้าน

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยอนุมัติให้กรมทางหลวง ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ใช้งประมาณรายจ่ายประจำปี สำหรับวงเงินลงทุนที่ฝ่ายไทยต้องรับผิดชอบจำนวนรวมทั้งสิ้น 292.650 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 36 เดือน ตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เสนอ ประกอบด้วย

    • งานก่อสร้างสะพานคู่ขนาน งานบูรณะสะพานเดิม และงานก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งไทย โดยอนุมัติให้ใช้สัญญาก่อสร้างนานาชาติ หรือสัญญา FIDIC (Federation Internationale Des Ingenieurs-Conseils) ในการบริหารโครงการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐบาลมาเลเซีย และใช้เงินริงกิตมาเซีย (RM) เป็นสกุลเงินหลักในสัญญา โดยเป็นวงเงินที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบ จำนวน 23.239 ล้านริงกิต (181 ล้านบาท) และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด (ร้อยละ 10) อีกจำนวน 2.323 ล้านริงกิต (18 ล้านบาท) ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
    • งานก่อสร้างทางบริการฝั่งไทย วงเงิน 81.500 ล้านบาท ดำเนินการโดยหน่วยงานของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
    • งานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ในระยะเตรียมการและระยะก่อสร้าง) วงเงิน 12.150 ล้านบาท

    ทั้งนี้ ให้กรมทางหลวงหารือกับสำนักงบประมาณในรายละเอียด เพื่อพิจารณาจัดหาเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568แล้ว ทั้งนี้ ให้พิจารณาบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 หรือ เงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี (รายการที่ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว) ของกรมทางหลวงเอง สำหรับวงเงินที่เพิ่มขึ้นและจำเป็น ต้องใช้จ่ายภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 43.500 ล้านบาท และให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือในปีถัดไป

    มอบ รมว.คมนาคมเซ็น MOU สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่สอง และการปรับปรุงสะพานเดิมเชื่อมระหว่างอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ราชอาณาจักรไทย และเมืองรันเตาปันยังรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

    นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยและมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามร่างความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

    ทั้งนี้ โครงการก่อร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ออกแบบโดยกรมโยธาธิการมาเลเซีย เป็นการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 2 ช่องจราจร คู่ขนานกับสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก เดิม มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นรูปเรือกอและ ซึ่งสะท้อนศิลปะวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ สะพานคู่ขนานมีความยาว 116 เมตร กว้าง 14 เมตร ระยะห่างระหว่างสะพานเดิมกับสะพานใหม่ 8 เมตร โดยมีทางบริการระดับพื้นเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนรถไฟบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำในฝั่งไทย และใช้เขตทางรถไฟในการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบัน กรมทางหลวงอยู่ระหว่างขออนุญาตใช้พื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ สะพานคู่ขนานใหม่ขนาด 2 ช่องจราจร จะใช้รองรับการเดินทางฝั่งขาเข้าประเทศไทย ในขณะที่สะพานเดิมขนาด 2 ช่องจราจรใช้ในการเดินทางฝั่งขาออก

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการ ดังนี้

    • รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการก่อสร้างสะพานดอนกรีตเสริมเหล็กแห่งใหม่และการบูรณะปรับปรุงสะพานเดิมฝ่ายละครึ่งในจำนวนที่เท่ากัน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับองค์ประกอบอื่นที่อยู่ในพื้นที่ของแต่ละประเทศ ให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบเองทั้งหมด
    • ฝ่ายไทยและฝ่ายมาเลเซียจะรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับสะพานแห่งที่สองในเขตแดนของตน โดยข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องดำเนินการตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และจะต้องไม่ทำให้การก่อสร้างสะพานเกิดความล่าช้า
    • จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกัน จำนวน 2 ชุด ได้แก่ (1) คณะกรรมการงานโครงการ (Project Coordinating Committee: PCC) และ (2) คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการ (Project Management Committee: PMC) เพื่อรับผิดชอบการบริหารและจัดการโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานและการบูรณะปรับปรุงสะพานเดิม ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ที่ได้ตกลงกัน
    • กำหนดเขตการก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการผ่านแดน/นำเข้า/ส่งออกของบุคลากร ตลอดจนวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการและงานก่อสร้าง รวมถึงการจัดการด้านสาธารณูปโภคและอื่น ๆ ตามความจำเป็น

    นายอนุกูล กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก โดยเฉพาะมิติการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจของไทยและมาเลเซีย ภายใต้กรอบความร่วมมือ JDS แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: T-GT) และแผนงานพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคใต้ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง เชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้

    วงเงินสำหรับสัญญาก่อสร้างนานาชาติ (งานก่อสร้างสะพานคู่ขนานใหม่ งานบูรณะปรับปรุงสะพานเดิม และงานก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งไทย และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด) ตามผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านเทคนิคร่วมไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 และผลการประชุมประเมินปริมาณงานและค่าก่อสร้างเบื้องต้น (Value Engineering Lab: VE Lab) เมื่อวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2567 สรุปวงเงินที่ฝ่ายไทยต้องรับผิดชอบเป็นเงิน จำนวน 25.562 ล้านริงกิต หรือ 199 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 7.75 บาทต่อริงกิต โดยอ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลัง 180 วัน ณ วันที่ 17 มกราคม 2568) ประกอบด้วย วงเงินสำหรับงานก่อสร้างสะพานคู่ขนานแห่งใหม่ งานบูรณะปรับปรุงสะพานเดิม และงานก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งไทย จำนวน 23.239 ล้านริงกิตหรือ 181 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด (ร้อยละ 10) จำนวน 2.323 ล้านริงกิต หรือ 18 ล้านบาท (รองรับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน และการปรับปรุงแบบก่อสร้างที่อาจมีความจำเป็น)

    ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการข้างต้นทำให้ค่าก่อสร้างของโครงการฯ เพิ่มขึ้นจากวงเงินที่กรมทางหลวงได้เสนอขอรับการจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไว้ในวงเงิน 160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 199 ล้านบาท (เนื่องจากการกำหนดรายละเอียดการก่อสร้างเพิ่มเติม

    รับข้อเสนอ กสม.ให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีแต่งกายตามเหมาะสม

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า ที่ประขุม ครม. มีมติรับทราบข้อเสนอแนะกรณีการแต่งกายของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณา ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้กระทรวงยุติธรรมสรุปผลการพิจารณา หรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

    “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศถูกบังคับให้สวมกางเกง โดยไม่อนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ และใส่เสื้อชั้นในเพื่อปกปิดอวัยวะสำคัญ ทั้งที่ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกแล้ว เป็นเหตุให้ถูกคุกคาม หรือ ก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ” นายอนุกูล กล่าว

    นายอนุกูล กล่าวถึงข้อเสนอแนะให้มีการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวคิดเพศวิถีแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังโดยตรงเร่งผลักดันนโยบายการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีให้แตกต่างจากนักโทษเด็ดขาด และให้ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีมีสิทธิและเสรีภาพที่จะพิจารณาความเหมาะสมของการแต่งกายเองได้

    ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย สำหรับผู้ต้องขังและการดำเนินการเกี่ยวกับการอนามัยและการสุขาภิบาลของผู้ต้องขัง ให้คำนึงถึงการรับรองสิทธิในการแต่งกายตามเพศสภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการสวมใส่เสื้อชั้นในของผู้ต้องขัง ที่มีความหลากหลายทางเพศที่ทำศัลยกรรมหน้าอกแต่ไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ เพื่อให้เรือนจำทั่วประเทศ มีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 247 (3) และพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (3)

    ต่ออายุสถานการณ์ฉุกเฉิน 3 จังหวัดชายแดน ถึง 19 ก.ค. 68

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้

    1. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2568 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2568 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 80 พร้อมทั้งร่างประกาศฯ รวม 2 ฉบับ ดังนี้
      1. ร่างประกาศ เรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปีนัง
      2. ร่างประกาศ เรื่องการให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
    2. รับทราบร่างประกาศ เรื่องการให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ

    อนุมัติ 370 ล้าน พัฒนาระบบเตือนภัยแผ่นดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก

    นายอนุกูล กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น 370,390,200 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดทำระบบเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

    สาระสำคัญ ดังนี้

  • ติดตั้งเครื่องตรวจติดตามการคลื่อนตัวของมวลหินพร้อมอุปกรณ์ 120 สถานี จำนวน 310,840,000 บาท
  • จัดทำระบบสารสนเทศดิจิทัลธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม จำนวน 40,351,000 บาท
  • เสริมสร้างประสิทธิภาพในการเตรียมพร้อมรับมือธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่มด้วยการสร้างภาคีเครือข่าย จำนวน 19,199,200 บาท
  • นายอนุกูล ให้ข้อมูลพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ และภูเก็ต และพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มประเทศไทย

    ส่วนงบประมาณ ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 370,390,200 บาท โดยระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี

    นายอนุกูล กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ โดยจะทำให้มีการติดตั้งเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดิน ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่มระดับสูง – สูงมาก รายลุ่มน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแผ่นดินถล่มและการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งสามารถสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารจัดการความเสียงจากธรณีพิบัติภัยได้อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ สามารถลดความสูญเสียจากธรณีพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมและทำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ปรับมาตรการ EV3 – ขยายเวลาผลิตรถชดเชย

    ด้้านนางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์แห่งชาติได้เสนอ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย สาระสำคัญ ดังนี้

    (1) ครม. รับทราบมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567

    (2) เห็นชอบ มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ) พร้อมมอบหมายหน่วยงาน ได้แก่

    • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) รับผิดชอบการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ ด้านการลงทุน
    • กรมสรรพสามิตดำเนินการออกประกาศที่เกี่ยวข้องและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
    • กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กำหนดวิธีปฏิบัติและค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมในการตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ ในด้านระดับการปล่อย CO2 การใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตและประกอบในประเทศไทย และการติดตั้งระบบด้านความปลอดภัย

    (3) เห็นชอบการขยายเวลาการผลิตชดเชยตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV3) (มาตรการ EV3) พร้อมมอบหมายหน่วยงาน และเห็นชอบการปรับปรุงเงือนไขมาตรการ EV3 โดยให้ผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 ที่ไม่สามารถผลิตชดเชยได้ครบตามเงื่อนไขที่กำหนด สามารถขยายเวลาผลิตชดเชยตามมาตรการ EV3 ไปผลิตชดเชยภายใต้เงื่อนไขมาตรการ EV3.5 ได้ โดยผู้เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด และ/หรือ ให้ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (Completely Built Up: CBU) ที่นำเข้าสำเร็จภายใต้มาตรการ EV3 ไปยังต่างประเทศโดยไม่นับเป็นยอดที่ต้องผลิตชดเชย และมอบหมายให้กรมสรรพสามิตดำเนินการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

    นางสาวศศิกานต์ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ โดยการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์แบบไฮบริด (HEV) และรถยนต์ Mild Hybrid Electric Vehicle (MHEV) ซึ่งจะปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่ นั่งไม่เกิน 10 คน แบบ HEV และ MHEV ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2569 – 2575 กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะรับสิทธิดังกล่าวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนที่จะได้รับสิทธิอัตราภาษีสรรพสามิตตามมาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านฯ อาทิ

    • รถยนต์ประเภท HEV: ระดับการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 6 และระดับการปล่อย CO2 เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 120 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 9
    • รถยนต์ประเภท MHEV: ระดับการปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 10 และระดับการปล่อย CO2 เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 120 กรัม/กิโลเมตร ให้ได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 12

    ในส่วนของการพิจารณาข้อเสนอการขยายเวลาการผลิตชดเชยตามมาตรการ EV3 ซึ่งมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 จะต้องผลิตรถยนต์หรือรถโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และรถจักรยานยนต์เพื่อชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน 1:1 (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ภายในปี 67 หรือ 1:1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ภายในปี 68 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การขยายระยะเวลาช่วยลดผลกระทบแก่อุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวม สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในประเทศและป้องกันปัญหาสงครามราคา จึงเห็นชอบการปรับปรุงเงื่อนไขมาตรการกรณีผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 ไม่สามารถผลิตชดเชยได้ครบตามเงื่อนไขที่กำหนด

    ด้านการพิจารณาข้อเสนอการขยายเวลาการนับมูลค่าของเซลล์แบตเตอรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศในการคำนวณมูลค่าเพิ่มในประเทศ ผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้าขอให้มีการพิจารณาขยายกรอบระยะเวลามาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีผลบังคับใช้ระหว่างปี 2565 – 2568 โดยให้นับมูลค่าของเซลล์แบตเตอรี่จากต่างประเทศสำหรับการนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่และนำไปผลิตหรือประกอบเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในเขตปลอดอากร (Free Zone) หรือเขตประกอบการเสรี รวมเป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศสำหรับการคำนวณมูลค่าเพิ่มในประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของราคายานยนต์ไฟฟ้า (BEV) หน้าโรงงาน จากเดิม สิ้นสุดภายในปี 2568 เป็น ให้สิ้นสุดภายในปี 2570 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณาแล้วเห็นควรไม่ขยายระยะเวลาดังกล่าวเพื่อเร่งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในประเทศไทยและเป็นปัจจัยสนับสนุนในการชักจูงผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าให้มาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

    ทั้งนี้ การกำหนดมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะทำให้มีการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสามารถรักษาฐานการผลิตยานยนต์ของประเทศไทยให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต และความต้องการของตลาดยานยนต์ในประเทศและต่างประเทศ สร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อยกระดับศักยภาพในหลากหลายมิติ ควบคู่กับการขยายโอกาสของประเทศไทยในเวทีโลก เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกและดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle: ZEV) ในปี 2573

    อ่าน มติ ครม.ประจำวันที่ 8 เมษายน 2568 เพิ่มเติม