ThaiPublica > เกาะกระแส > ธปท.ชี้เศรษฐกิจ shock ภาษี GDP ปีนี้มีโอกาสต่ำกว่า 2.5%

ธปท.ชี้เศรษฐกิจ shock ภาษี GDP ปีนี้มีโอกาสต่ำกว่า 2.5%

17 เมษายน 2025


วันที่ 17 เมษายน 2568 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงาน Media Briefing เรื่อง “วิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นของนโยบายการค้าโลกต่อเศรษฐกิจไทย” โดย นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน

นายสักกะภพกล่าวว่า นโยบายการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลัก จะส่งผลต่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการค้าโลกอย่างมีนัย สถานการณ์คาดว่าจะยืดเยื้อ โดยผลกระทบจะส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทยในหลายช่องทาง และใช้เวลากว่าจะเห็นผลที่ชัดเจน

ในระยะสั้น ตลาดการเงินผันผวนขึ้น เริ่มเห็นการผลิต การค้า และการลงทุนบางส่วนชะลอเพื่อรอความชัดเจน ขณะที่จะเห็นผลของ tariff ต่อการส่งออกมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ ความรุนแรงของผลกระทบจะขึ้นกับภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บเทียบกับประเทศคู่ค้า และการตอบโต้ระหว่างประเทศเศรษฐกิจหลักและสหรัฐฯ ซึ่งผลต่อเศรษฐกิจการเงินไทยจะมีผ่าน 5 ช่องทางหลัก ดังนี้

1. ตลาดการเงิน: ราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินโลกและไทยผันผวนมากขึ้น โดยรวมสภาพคล่องและกลไกการทำธุรกรรม (market functioning) ยังเป็นไปตามปกติ ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากช่วงก่อนวันที่ 2 เมษายน เล็กน้อย (2.71% ณ 12.00 น. 17 เม.ย. 68 เทียบกับ JPY และ KRW ที่แข็งค่าขึ้น 4.75% และ 3.11% ตามลำดับ) สอดคล้องกับภูมิภาค ตามค่าเงิน USD ที่อ่อนเร็วจากความกังวลต่อผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนตลาดหุ้นปรับลดลงสอดคล้องกับภูมิภาค ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังไม่เห็นการทำธุรกรรมที่ผิดปกติจากกลุ่มนักลงทุนสถาบัน ในส่วนของภาวะการระดมทุนผ่านหุ้นกู้โดยรวมยังเป็นปกติ โดยต้องติดตามผลจากภาวะการเงินต่อธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก tariff อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี

2. การลงทุน: ความไม่แน่นอนที่ยังสูงต่อเนื่องทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุน ชะลอออกไป (wait and see) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นหลัก (อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร และยานยนต์) ซึ่งเริ่มเห็นผลดังกล่าวบ้างแล้ว จากการหารือกับผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าว
มีบางส่วนรอความชัดเจนเพื่อตัดสินใจการลงทุนใหม่จากแผนเดิมที่วางไว้ ในระยะต่อไป หากไทยถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นอาจเห็นการย้ายฐานการผลิตออกจากไทย

3. การส่งออก: เป็นช่องทางหลักที่ได้รับผลกระทบจาก tariff แต่ยังมีความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี เพราะมีการชะลอการบังคับใช้ reciprocal tariff ออกไป 90 วัน จึงคาดว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป และน่าจะเห็นการเร่งส่งออกใน Q2 เช่น อาหารแปรรูป โดย exposure ของการส่งออกไทยไปสหรัฐฯ คิดเป็น 18% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และคิดเป็น 2.2% ของ GDP โดย sector หลัก ๆ ที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป นอกจากนี้ จะมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยที่อยู่ใน supply chain ของโลก ที่ผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ด้วย (ยาง ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก และเคมีภัณฑ์ คิดเป็นประมาณ 4.3% ของการส่งออกไทย)

4. การแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้น: สินค้าไทยจะต้องเผชิญกับการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ได้น้อยลง และหันมาส่งออกไปยังตลาดเดียวกับไทย รวมถึงส่งมายังไทย โดยเฉพาะหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โลหะ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ ซึ่งจะซ้ำเติมปัญหาในภาคการผลิตที่มีอยู่เดิม

5. เศรษฐกิจโลกที่จะชะลอลง: การส่งออกโดยรวมและรายรับการท่องเที่ยวอาจถูกกระทบจากเศรษกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกจะปรับลดลง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าและเงินเฟ้อของไทยชะลอลงจากปัจจัยด้านอุปทาน

ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามสถานการณ์ภาพรวมอย่างใกล้ชิด และจะจับตาโอกาสที่อาจเกิด disruption ใน sector สำคัญที่ส่งออกไปสหรัฐฯ รวมถึงการเข้ามาแข่งขันของสินค้านำเข้า โดยจะติดตามข้อมูลเร็วด้าน (1) การค้า เช่น ธุรกรรมการส่งออกและนำเข้า (2) การผลิตและการจ้างงาน เช่น การแจ้งหยุดกิจการชั่วคราว ตาม ม.75 พรบ. คุ้มครองแรงงานฯ (3) ภาวะการเงิน เช่น ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ และต้นทุนการกู้ยืมผ่านหุ้นกู้ภาคเอกชน และ (4) sentiment การลงทุน เช่น การขออนุมัติส่งเสริมการลงทุน และการขอขยายเวลาการออกบัตรฯ เพื่อเลื่อนการลงทุนออกไป

นอกจากนี้ ธปท. จะดูแลการทำงานของกลไกตลาดต่าง ๆ (market functioning) ให้ดำเนินเป็นปกติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดูแลความผันผวนในตลาดการเงินที่สูงกว่าปกติในช่วงนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริง

อนึ่ง นโยบายการค้าโลกที่เปลี่ยนไป ถือเป็นปัจจัยที่จะเปลี่ยนโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยและโลกอย่างถาวร ทำให้ต้องเร่งปรับตัว โดยในระยะสั้น นอกจากเรื่องการเร่งเจรจากับสหรัฐฯ ไทยควรมีมาตรการรับมือ ทั้งการแข่งขันของสินค้าจากต่างประเทศ และป้องกันการนำเข้าสินค้ามาเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ผ่านไทย (transshipment) เช่น กำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าและความคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ การเร่งรัดกระบวนการไต่สวน (AD/CVD และ AC) ข้อพิพาทกับต่างประเทศ การเข้มงวดกับการตรวจสอบสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ป้องกันการสวมสิทธิจากประเทศที่สาม เป็นต้น

ในระยะยาว ไทยควรขยายตลาดและเสริมสร้าง supply chain โดยเฉพาะกับประเทศในภูมิภาค และต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้แข่งขันในห่วงโซ่อุปทานของโลกได้ เช่น ยกระดับภาคการผลิตและภาคบริการที่ไทยมีศักยภาพ เช่น สินค้าเกษตรแปรรูป อาหาร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยเฉพาะการวิจัยและนวัตกรรม ทักษะแรงงาน และการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

เศรษฐกิจถูก shock มากกว่าเดิมคาด GDP ต่ำกว่า 2.5%

ในช่วงถามตอบ ผู้สื่อข่าวถามว่า ณ ปัจจุบันธปท.สามารถประเมินได้หรือไม่ว่าการคาดการณ์ GDPปีนี้ที่ 2.5% นั้นยังคงเดิมหรือต้องปรับเปลี่ยน

นายสักกะภพกล่าวว่า ในการประชุมกนง.ครั้งที่ผ่านมาในเดือนกุมภาพันธ์ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตในระดับ 2.5% บวกลบเล็กน้อยซึ่ง“ครั้งนี้แน่นอนว่า ผลที่มา GDP คงปรับลดลง แต่จะปรับลงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งความชัดเจนของมาตรการภาษีจะเห็นได้ในฃ่วงครึ่งหลังของปี เพราะฉะนั้นต้องติดตามพัฒนาการต่อ และในการประชุมรอบนี้ จะนำข้อมูลเข้าไปพิจารณา แต่shock ครั้งนี้ ค่อนข้างใหญ่ แต่เจาะจงไปที่ภาคส่วนที่ส่งออก แต่แน่นอนเศรษฐกิจได้รับ shock ที่มากกว่าเดิม”

คำถามต่อมาซึ่งต่อเนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่คงปรับลดลงแล้ว ก็จะมีผลต่อเงินเฟ้อและการส่งออกเช่นเดียวกันใช่หรือไม่ และมีแนวโน้มที่จะหลุดนอกกรอบเป้าหมายต่อเนื่อง
นายสักกะเภพกล่าวว่า เงินเฟ้อคงอ่อนตัวลงอีก เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง จาก shock ที่กระทบอุปสงค์โลก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงค่อนข้างมาก ดังนั้นในประมาณการก็ต้องปรับเงินเฟ้อลง อย่างไรก็ตามที่มาของเงินเฟ้อชัดเจนว่า ครั้งนี้หากมีการปรับลดลง ก็มาจากด้านอุปทานเป็นหลัก จากราคาน้ำมัน ราคาไฟฟ้า และต้องพิจารณาแรงกดดันด้านอุปสงค์ ในไตรมาสแรกเงินเฟ้อที่ออกมาใกล้เคียงที่ประมาณ 1% ไม่ได้รับผลกระทบ แต่เริ่มเห็นผลกระทบหลังจากนั้น เนื่องจากปัะจจัยทางด้านอุปทาน

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าจะมีการประเมินเงินเฟ้อและหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในเรื่องกรอบเงินเฟ้อหรือไม่
นายสักกะภพกล่าวว่า เป็นกลไกปกติอยู่แล้ว โดยในฃ่วงปลายปีมีการทบทวน เงินเฟ้อในระยะปานกลาง เงินเฟ้อที่ลดลงจากปัจจัยอุปทานมีส่วนฃ่วยในแง่เศรษฐกิจ ต้นทุนการนำเข้าลดลง ประเทศไทยมีการนำเข้ามาก ดังนั้นก็จะเป็นตัวที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจในระดับหนึ่งด้วย คำถามก็คือ เงินเฟ้อที่ดลลงจากปัจจัยอุปทานสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้ลดลงต่อเนื่องหรือไม่ และจะยาวแค่ไหน ซึ่งต้องมีการประเมิน แต่จากในเบื้องต้นก็มีส่วนช่วยเป็นกันชนราคานำเข้า นอกจากนี้ยังไม่เห็นสัญญานว่าเงินเฟ้อที่ลดลงอุปสงค์และราคาลดลงเป็นวงกว้าง ที่จะสะื้อนอุปสงค์ที่อ่อนแอ แต่ในแง่เศรษฐกิจก็ยอมรับความเสี่ยงสูงขึ้น

ในการประชุมกนง.ครั้งที่ผ่านมา คณะกรรมการให้น้ำหนักกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ด้านเงินเฟ้อยังไม่มีลักษณะที่ต้องกังวล และเสถียรภาพทางการเงิน หนี้ครัวเรือนไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น และการปรับลดดอกเบี้ยได้นำความเสี่ยงของสงครามการค้ามาพิจารณาบ้างแล้ว แต่การประชุมในสิ้นเดือเมษายนี้ต้องติดตามผลต่างๆให้ครบถ้วนมากขึ้น

คำถามต่อมามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ GDP จะต่ำกว่า 2.5% และมีหลายสถาบันวิจัยประเมินว่าเศรษฐไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่
นายสักกะภพกล่าวว่า shock จากมาตรการภาษีครั้งนี้เป็น shock ที่มีผลต่อภาคส่วนส่งออกบางภาคที่ส่งออกไปสหรัฐฯปริมาณมาก เป็น shock ที่ใหญ่แต่มีความลึกในบางภาคส่วน ต่างจากช่วงการระบาดของโควิดที่มีผลในวงกว้าง โดยเทียบประมาณการเติบโตเศรษฐกิจในรอบนี้จากหลายสถาบันประเมินไว้ที่ 0.5-1% ขณะที่ช่วงโควิดเศรษฐกิจโลกติดลบ ดังนั้นขนาดของผลกระทบไม่เท่ากับช่วงโควิด

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ชัดเจน เนื่องจากยังมีพัฒนาการด้านภาษีอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถบอกได้ว่าหลังจากพ้นช่วงการระงับบังคับใช้ 90 วันไปแล้ว มาตรการภาษีจะเป็นอย่างไร ซึ่งผลกระทบหลักๆอยู่ในช่วงนั้น ที่ธปท.ประเมินไว้ผลกระทบก็ไม่ได้น้อย แต่ไม่รุนแรงเหมือนช่วงโควิด “ช่วงของ GDP ที่เป็นไปได้ค่อนข้างกว้าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ การเจรจาต่อรองและผลของภาษีจริง”

คำถามต่อมา ทิศทางในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.จะเป็นอย่างไร
นายสักกะภพกล่าวว่า การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.ไม่ได้เปลี่ยนไป โดยดูแลความเคลื่อนไหว ความผันผวนที่ผิดปกติจากปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้น หากเห็นความผันวนที่มากเกินไป มากกว่า ปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น ก็ต้องเข้าไปดูแล ต้องยอมรับว่า มีการดูแลช่วงที่ผันผวนเยอะอยู่แล้ว

“ธปท.ปล่อยให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ในฃ่วงที่เงินบาทอาจจะแข็งในช่วงหลังจากนี้เพราะเห็นเงินดอลลาร์ก็อ่อนลง เพราะตลาดมีการตีความว่าภาษีไม่น่าจะไม่มีผลดีกับสหรัฐฯ” ส่วนสัดส่วนของเงินทุนสำรองทางการ นายสักกะภพกล่าวว่า มีการประเมินตลอดเวลา ขณะที่การลงทุนน้นการกระจายความเสี่ยง ทั้งในสกุลเงิเนประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในเกณฑ์ดี และมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์อื่นด้วย เช่น ทองคำ ที่สำคัญมีการประเมินตลอดเวลาว่าแนวทางการกระจายความเสี่ยงที่ใฃ้อยู่นั้น ยังใช้ได้อีกหรือไม่

คำถามต่อมาธปท.กังวลกับเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าหรือไม่และจะส่งผลกระทบเพิ่มต่อผู้ส่งออกอย่างไร มองแนวโน้มค่าเงินบาทในระยะข้างหน้าอย่างไร
นายสักกะภพกล่าวว่า เงินบาทยังคงผันผวน เนื่องจากสถานการณ์ยังพัฒนาการต่อเนื่อง ยังไม่จบ ซึ่งอาจจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก็ได้ เงินบาทที่แข็งค่าหลังการกประกาศใช้ภาษี reciprocal tariffs(ภาษีที่เรียกเก็บในอัตราที่เท่ากันจากคู่ค้าเพื่อตอบโต้) และสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาค ธปท.ได้เข้าไปดุแลเพื่อให้ความผันผวนไม่มากจนเกินไป แต่ก็ไม่เห็นสัญญษนความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน

คำถามต่อมา ธปท.มองว่า นโยบายการเงินจำเป็นต้องผ่อนคลายหรือไม่ เพื่อประคองเศรษฐกิจและลดผลกระทบจาก shock ในครั้งนี้
นายสักกะภพกล่าวว่า shock ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็น shock ที่เกิดในภาคการผลิต โดยเฉพาะการส่งออก เพราะฉะนั้นนโยบายที่ตรงจุดและมี cost(ต้นทุน)น้อยที่สุดในการทำ คือ การปรับเรื่องการผลิต อาจจะไม่ใช่นโยบายที่เข้าไปดูและระยะสั้น ปัญหาตรงนี้เป็นปัญหาที่ยาว “ดังนั้นนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลัง เพื่อเข้าไปดูแลระยะสั้น ไม่ได้บอกว่าไม่จำเป็นต้องมี แต่ในแง่การแก้ปัญหา แก้ไม่ตรงจุด ที่ตรงจุดที่สุด คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การขยายตลาด การลดต้นทุนการผลิต”