ThaiPublica > สู่อาเซียน > เปิดภัยไซเบอร์ ในเวที ASEAN+3 อินโดฯ ข้อมูลบุคคลรั่ว ใช้ AI สร้างข่าวปลอมป่วนเลือกตั้ง

เปิดภัยไซเบอร์ ในเวที ASEAN+3 อินโดฯ ข้อมูลบุคคลรั่ว ใช้ AI สร้างข่าวปลอมป่วนเลือกตั้ง

29 สิงหาคม 2024


เวทีสานพลังอาเซียนบวกสาม(ASEAN+3) เปิดภัยไซเบอร์ เผยตัวเลขคนไทยถูกหลอกซื้อ-ขายสินค้าบริการไม่ตรงปก สูญกว่า 6.9 ล้านบาท ขณะที่อินโดนีเซีย พบข้อมูลด้านสุขภาพประชากรรั่วไหล-ใช้เอไอสร้างข่าวปลอมป่วนเลือกตั้ง

สภาผู้บริโภคจับมือองค์กรของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนบวกสาม เปิดเวที “สานพลังอาเซียนบวกสาม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์” ถกหาแนวทางความร่วมมือระดับชาติปิดจุดเสี่ยงและป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 29 – วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สถานการณ์ปัญหาของแต่ละประเทศ การจัดการการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในระดับนานาชาติร่วมกัน

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ส่งผลดีต่อมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของไทย โดยล่าสุดในปี 2566 มีมูลค่าสูงถึง 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% จากปี 2565 โดยตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียที่มีมูลค่า 82,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดเวียดนามมีมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟิลิปปินส์ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย และสิงคโปร์ มีมูลค่า 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ และคาดว่าปี 2568 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 49,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค

ขณะเดียวกันการใช้เทคโนโลยีเอไอในเศรษฐกิจดิจิทัล ก็ได้สร้างความเสียหายและผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลกรวมทั้งไทย จากปัญหาการหลอกลวง การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการใช้อำนาจผูกขาดของผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โดยข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน (1 มี.ค. 2565 – 31 ก.ค. 2567) พบว่าผู้บริโภคไทยได้รับความเสียหายจากภัยออนไลน์สูงถึง 612,603 เรื่อง เสียหายรวม 69,186 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละกว่า 78 ล้านบาท โดยการร้องเรียนกรณีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการไม่เป็นขบวนการคือปัญหาใหญ่ที่สุดจำนวน 296,042 เรื่อง หรือมีสัดส่วน 44.08% ของข้อร้องเรียนทั้งหมด มูลค่าความเสียหาย 4,311 ล้านบาท รองลงมาคือกรณีหลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 82,162 เรื่อง สัดส่วน 13.46% ความเสียหาย 10,177 ล้านบาท หลอกให้กู้ยืมเงิน 63,878 เรื่อง สัดส่วน 10.47% ความเสียหาย 3,103 ล้านบาท หลอกให้ลงทุนผ่าระบบคอมพิวเตอร์ 45,787 เรื่อง สัดส่วน 7.50% แต่มีความเสียหายมากถึง 25,315 ล้านบาท และ การข่มขู่ทางโทรศัพท์ หรือคอลเซ็นเตอร์ 42,404 เรื่อง สัดส่วน 6.95% มีมูลค่าความเสียหาย 9,392 ล้านบาท

นอกจากนั้นพบการร้องเรียนผ่านสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จำนวน 11,629 เรื่อง สูงสุดคือปัญหาการซื้อขาย 5,300 เรื่อง คิดเป็น 45.7% ของข้อร้องเรียนทั้งหมด ถัดมาคือ ปัญหาเว็บไซต์ผิดกฎหมาย เช่น เว็บพนัน 4,100 เรื่อง สัดส่วน 35.4% และปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาการหลอกลวงลงทุน หลอกให้ทำงานออนไลน์ ปัญหาข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 2,200 เรื่อง หรือ 19% ในขณะที่สภาผู้บริโภค พบสถิติร้องเรียนในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 สูงถึง 1,386 กรณี สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทางกฎหมาย และตอกย้ำความเดือดร้อนจากภัยไซบอร์ที่ทุกภาคส่วนต้องรีบกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วน

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคหรือสภาผู้บริโภคได้ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิผู้บริโภคแห่งอินโดนีเซีย (YLKI) และสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย (FOMCA) รวมทั้งองค์กรของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนบวกสาม ได้แก่ กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไทย จัดเวทีการประชุมใน “โครงการสานพลังอาเซียนบวกสามเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์” ระดับภูมิภาคครั้งแรก ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2567 เพื่อหารือประเด็นปัญหาความท้าทาย และติดตามข้อมูลใหม่ๆ รวมถึงหาความร่วมมือใหม่ในอาเซียนบวกสาม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทางไซเบอร์แบบองค์รวม โดยเฉพาะการก่ออาชญากรรมออนไลน์ข้ามชาติเพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงลำพังประเทศใดประเทศหนึ่ง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคไทยและอาเซียน มีการประสานความร่วมมืออย่างเข้มแข็งต่อการป้องกันและการจัดการปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ในหลายระดับ ทั้งในระดับรัฐมนตรี เช่น การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งมีความร่วมมือในระดับพหุภาคี เช่น การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย เป็นต้น ตลอดจนการจัดทำตราสารอาเซียน เช่น ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ เป็นต้น

น.ส.อันจานี่ วิดยา (Ms. Andjani Widya) นักการศึกษา มูลนิธิผู้บริโภคแห่งอินโดนีเซีย

น.ส.อันจานี่ วิดยา (Ms. Andjani Widya) นักการศึกษา มูลนิธิผู้บริโภคแห่งอินโดนีเซีย (YLKI) กล่าวว่า YLKI เป็นองค์กรผู้บริโภคในอินโดนีเซียที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัลและเอไอ พร้อมทั้งสนับสนุนมุ่งเน้นไปที่การรับรองให้ผู้บริโภคได้รับการปกป้อง ได้รับข้อมูล และมีอำนาจในการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ที่ดีของตนเองภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว และมาพร้อมแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการละเมิดข้อมูล การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์และการหลอกลวง โดยตัวอย่างเหตุการณ์ในอินโดนีเซียเมื่อเดือนพ.ค. 2565 ได้เกิดการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่กับหน่วยงานบริหารประกันสุขภาพ ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอินโดนีเซียหลายล้านคน ถูกเปิดเผยและขายในเว็บมืด และพบการใช้ข้อมูลเท็จและข่าวปลอมที่สร้างโดยเอไอก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2567

ในขณะที่ปัจจุบัน อินโดนีเซียไม่มีกฎระเบียบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ แต่ YLKI ก็ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิของตนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบายด้านนี้เพื่อพัฒนากฎระเบียบที่ปกป้องสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือที่เข้มแข็งกับนานาประเทศ ซึ่งการประชุมโครงการสานพลังอาเซียนบวกสามเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในเศรษฐกิจดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์ครั้งนี้ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งในการพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในอินโดนีเซีย

……………….
Unveiling Cyber Threats in the ASEAN+3 Forum

Indonesia Faces Data Breaches, AI-Generated Fake News Disrupts Elections

The Thailand Consumers Council, with ASEAN+3 consumer organizations, has launched the forum “Strengthening The ASEAN+3 on Consumer Protection in the Digital Economy and AI.” It focuses on national cooperation to reduce risks and prevent cybercrime. Thais have lost over 69 billion baht to fraud, while Indonesia deals with data leaks and AI-generated fake news affecting elections.

Ms. Boonyuen Siritham, Chairperson of the Thailand Consumers Council, highlighted that the rapid growth of technology and artificial intelligence (AI) has positively impacted Thailand’s digital economy. In 2023, the digital economy’s value reached 36 billion USD, a 16% increase from 2022, making Thailand the second-largest market in the ASEAN region after Indonesia, whose digital economy was valued at 82 billion USD. Vietnam’s market was valued at 30 billion USD, the Philippines at 24 billion USD, Malaysia at 23 billion USD, and Singapore at 22 billion USD. Projections suggest that by 2025, Thailand’s market value will increase to 49 billion USD.

Despite these economic gains, AI has also caused significant harm to consumers worldwide, including in Thailand. Issues include scams, the spread of false information, privacy violations, and monopolistic practices by platform providers. According to the Royal Thai Police, from March 1, 2022, to July 31, 2024, there have been 612,603 cases of online fraud reported in Thailand, leading to a total loss of 69.186 billion baht—an average of 78 million baht per day. The most significant issue was fraudulent sales or service transactions, accounting for 296,042 cases (44.08% of all complaints), with losses totaling 4.311 billion baht. Employment-related scams followed, with 82,162 cases (13.46% of complaints) leading to losses of 10.173 billion baht. Loan fraud ranked third, with 63,878 cases (10.47% of complaints) and losses amounting to 3.102 billion baht.

The Electronic Transactions Development Agency (ETDA) reported 11,629 complaints, primarily related to sales issues (5,300 cases, 45.7% of all complaints). Other complaints involved illegal websites like gambling sites (4,100 cases, 35.4%) and issues such as investment scams, online work fraud, and personal data problems (2,200 cases, 19%). The Thailand Consumers Council recorded 1,386 complaints in the first half of 2024, emphasizing the urgency for all sectors to address cyber threats promptly.

Ms. Saree Aongsomwang, The Secretary-General ,Thailand Consumers Council (TCC), stated that the Thailand Consumers Council, in collaboration with the Indonesian for Consumers Foundation (YLKI), the Federation of Malaysian Consumers Associations (FOMCA), and consumer organizations from the ASEAN+3 region, including Cambodia, Brunei, Malaysia, the Philippines, the Republic of the Union of Myanmar, the Lao People’s Democratic Republic, Singapore, the Socialist Republic of Vietnam, Indonesia, South Korea, China, Hong Kong, Japan, and Thailand, is organizing the first regional meeting under the “Strengthening The ASEAN+3 on Consumer Protection in the Digital Economy and AI.” from August 29-30, 2024. The objective of this meeting is to discuss challenges, exchange new information, and seek new collaborations within ASEAN+3 to collectively address holistic solutions to consumer rights violations in cyberspace, especially cross-border online crimes, as these issues cannot be resolved by any single country alone.

In recent years, Thailand Consumers Councils and consumer organizations in ASEAN have intensified cooperation to combat cybercrime across various levels, including ministerial levels such as the ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime, the Senior Officials Meeting on Transnational Crime, and the ASEAN Telecommunications and Information Technology Ministers Meeting. Multilateral efforts include the ASEAN Regional Forum on Political and Security Cooperation in the Asia-Pacific and collaborations with partners like China, Japan, South Korea, the United States, Australia, and Russia. Additionally, ASEAN has developed instruments such as the ASEAN Declaration to Prevent and Combat Cybercrime.

Ms. Andjani Widya, an educator at the Indonesian Consumers Foundation (YLKI), stated that YLKI plays a crucial role in protecting consumer rights in Indonesia’s rapidly expanding digital economy and AI sector. Their focus is on ensuring consumers are protected, informed, and empowered to make choices that benefit their well-being. Indonesia faces rising threats of data breaches, misuse of personal information, cybersecurity challenges, and scams. For instance, in May 2022, a significant data breach at the Indonesian Health Insurance Administration led to the sale of millions of citizens’ personal information on the dark web. Additionally, AI-generated fake news and false information emerged before Indonesia’s 2024 general elections.

Currently, Indonesia lacks specific regulations concerning artificial intelligence. Nevertheless, YLKI actively engages in projects to educate consumers about their rights and potential risks. They also collaborate with policymakers to develop regulations that protect consumer rights and ensure a safe digital environment. Furthermore, the meeting seeks to establish stronger cooperation with various countries. Strengthening The ASEAN+3 on Consumer Protection in the Digital Economy and AI serves as a platform to develop more effective tools for consumer protection in Indonesia.