ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ก.วัฒนธรรม ชูดนตรีพื้นบ้าน “ซอฟต์พาวเวอร์” จัดประกวด 4 ภาคสืบสานวัฒนธรรม

ก.วัฒนธรรม ชูดนตรีพื้นบ้าน “ซอฟต์พาวเวอร์” จัดประกวด 4 ภาคสืบสานวัฒนธรรม

24 เมษายน 2024


กระทรวงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ จัดประกวดดนตรีสืบสานศิลปวัฒนธรรมการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค ร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ชิงเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท ขณะที่เตรียมลุ้นยูเนสโกขึ้นทะเบียน ต้มยำกุ้ง-บาบ๋า–เพอรานากัน เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมภายในปีนี้

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2567 “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม”เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ) กล่าวว่านโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดันมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถต่อยอดด้านเศรษฐกิจโดยเรื่องของดนตรีพื้นบ้านก็ถือเป็นหนึ่งวัฒนธรรมที่จะผลักดันต่อยอดให้ได้รับความนิยมในระดับนานาชาติด้วย  ดังนั้นกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2567 “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

ทั้งนี้กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปินเพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน สร้างมิติใหม่ให้วัฒนธรรมมีความร่วมสมัย ยกระดับขีดความสามารถของดนตรี พัฒนาเทคนิคทางการแสดง ให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ)

นายเสริมศักดิ์ กล่าวถึงเป้าหมายในการจัดงานประกวดดนตรีพื้นบ้าน นอกจากต้องการการรักษาศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านดั้งเดิมเอาไว้แล้วยังเป็นการต่อยอดวัฒนธรรมพื้นบ้านในการสร้างรายได้ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติแล้ว ยังถือเป็นการเทิดพระเกียรติ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนเป็นวัน อนุรักษ์มรดกไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพอีกด้วย

“ดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างผลงานไว้ ซึ่งแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคจะมีเอกลักษณ์ของดนตรีและการแสดงพื้นบ้านเฉพาะตัวที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันดนตรีและการแสดงพื้นบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ หากไม่ช่วยกันอนุรักษ์ สืบสาน รักษาและต่อยอด อาจจะเสี่ยงต่อการสูญหายได้การจัดการประกวดดนตรีพื้นบ้านจึงมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม”

นายเสริมศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่ากระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายในการนผลักดันภูมิปัญหาและมรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก โดยได้เสนอ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ต่อยูเนสโกเพื่อเป็นมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อต่อยอดให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวดังกล่าว

ทั้งนี้ในปี2567 ยูเนสโก ได้พิจารณามรดกทางวัฒนธรรม ที่ไทยเสนอเข้าไป 2 รายการคือ  “ต้มยำกุ้ง” ภายใต้ชื่อ Tomyum Kung ซึ่งเสนอไปเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเนื่องจาก ต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนเกษตรกรรมริมแม่น้ำลำคลองในภาคกลางของไทย ที่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารผ่านการสังเกตและเรียนรู้จากธรรมชาติ

ส่วนรายการที่สอง คือ การแต่งกายบาบ๋า–เพอรานากัน ในภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นผ้าพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้เสนอร่วมกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นมรดกททางวัฒนธรรมร่วมกัน โดยคาดว่ายูเนสโกจะพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมทั้งสองรายการภายในปี 2567 นี้

สำหรับการจัดงานประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค ถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันงานทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุกรักษ์ และต่อยอดทางเศรษฐกิจ โดยการจัดงานประกวดดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 16 ผ่านกิจกรรมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

“การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านในปีนี้ ยังคงจัดประกวดภายใต้แนวคิด “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” ซึ่งจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 ปีนี้เป็นปีที่ 6 โดยเปิดโอกาสให้คณะนักแสดงได้มีโอกาสในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของวิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม วรรณคดี วรรณกรรมพื้นบ้าน ประเพณี ที่สื่อให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค” นายเสริมศักดิ์กล่าว

นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมเสริม กระทรวงวัฒนธรรม

ด้านนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมเสริม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ) กล่าวว่ากรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” เพื่อมุ่งส่งเสริม รักษา ต่อยอดและเปิดพื้นที่ให้ศิลปินพื้นบ้านในแขนงต่าง ๆ ทั้งเด็ก เยาวชน และประชาชนได้มีโอกาสร่วมถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมการแสดง และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ไปสู่สายตาประชาชน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมประกวดมาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2567  ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีคณะนักแสดงที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ภาคละ 5 คณะ  รวมทั้งสิ้น 20 คณะ และได้กำหนดการประกวดการแสดงรวมศิลป์พื้นบ้าน 4 ภาค ดังนี้

1.ภาคเหนือ ประกอบด้วยคณะกาสะลองเงิน จังหวัดเชียงราย, คณะลูกบัวสวรรค์ประทุมธานี,คณะลูกน้ำของ โรงเรียนอนุบาลน้ำของ จังหวัดเชียงราย, คณะคุ้มข้าวสตูดิโอ จังหวัดเชียงใหม่ และคณะต้นกล้าดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ ประกวดในวันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2567  ณ Convention Hall เซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่

2.ภาคกลางมีคณะกลางกรุง The Bangkok กรุงเทพมหานคร,คณะวิทยาลัยนาฎศิลปอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง,ดณะช่อพิกุล (วิทยาลัยนาฎศิลปสุพรรณบรี) จังหวั ดสุพรรณบุรี,คณะสืบสานศิลปิน จังหวัดนครปฐม,คณะละโว้เทพศิลปิน จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือ  ประกวดในวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567  ณ Convention Hall เซ็นทรัล เวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี

3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคณะสิดอกศิลป์ถิ่นสกล จังหวัดสกลนคร,คณะโรงเรียนบ้านหนองบง จังหวัดนดรราชสีมา,ดณะวงโปงลางหลานย่าโม จังหวัดนครราชสีมา,คณะวงโปงลางศิลป์ลำปาว สาวภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์  และคณะมหาชุมพล จังหวัดศรีสะเกษ ประกวดในวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 ณ Convention Hall เซ็นทรัล อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

4.ภาดใต้ คณะเพชรนคร จังหวัดนดรศรีธรรมราช,คณะเสน่ห์ศิลปินทักษิณา จังหวัดพัทลุง, คณะโรงเรียนนาทวีวิทยาดม จังหวัดสงขลา, คณะกันต์ยารมณ์ จังหวัดสงขลาและคณะโรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง ประกวดในวันพุธที่ 18 มิถุนายน 2567  ณ Convention Hall เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สำหรับผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภทจะได้รับรางวัล ดังนี้

1.รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร

2.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร

3.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)พร้อมเกียรติบัตร

4.รางวัลชมเชย ภาคละ 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมรางวัลละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พร้อมเกียรติบัตร