ThaiPublica > Native Ad > โออาร์ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ จ.น่าน เติมเต็ม ‘โอกาส’ สร้างรายได้และความยั่งยืน

โออาร์ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ จ.น่าน เติมเต็ม ‘โอกาส’ สร้างรายได้และความยั่งยืน

1 มีนาคม 2024


นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR

ตลอด 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2565 ที่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) ประกาศวิสัยทัศน์แห่ง ‘โอกาส’ ของผู้คน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นับเป็นภาพสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกำไรและการตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่านั้น หากสิ่งสำคัญคือ ‘ความยั่งยืน’ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจ

โออาร์ ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด OR SDG คือ S-Small โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก D-Diversified โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด ซึ่งมีที่มาจาก Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งจะมาตอบโจทย์เป้าหมายระยะยาวของโออาร์ให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น

ในวันที่โลกเผชิญกับวิกฤติสภาวะภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โออาร์ ยังคงยึดมั่นในเป้าหมาย OR 2030 Goals โดยนำเป้าหมายมาติดตามและทบทวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนถูกผนวกเข้าไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง แบบ In Action ตั้งแต่กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายธุรกิจจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62 โครงการไทยเด็ด โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เป็นต้น

การลงมือปฏิบัติแบบ In Action และการมีส่วนร่วมทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กรที่ลงมือทำจริง เห็นได้จาก วันที่ 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2567 นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR นายจินตพันธุ์ ทังสุบุตร ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายธวัชชัย ชีวานนท์ และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณะกรรมการ OR พร้อมด้วย นายโกมล บัวเกตุ และคณะผู้บริหาร OR เยี่ยมชมการพัฒนาพื้นที่ปลูกกาแฟ ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในโครงการการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ระหว่าง OR และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยร่วมกันมอบโรงเพาะกล้ากาแฟ จำนวน 2 โรง และโรงตากกาแฟ จำนวน 2 โรง สำหรับบ้านปางยางและบ้านขุนกูล พร้อมระบบท่อน้ำเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

โรงตากกาแฟ

หนึ่งในพื้นที่ต้นแบบคือ อำเภอปัว จ.น่าน โดยข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ระบุว่า ประชากรใน อำเภอปัว จ.น่าน มีรายได้น้อยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ขาดองค์ความรู้ในปลูกกาแฟอย่างมีคุณภาพ ขาดแหล่งน้ำในการดูแลต้นกาแฟในช่วงฤดูแล้ง และไม่มีตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟที่แน่นอน

แม้พื้นที่ อำเภอปัว จ.น่าน จะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น ต้นกาแฟในพื้นที่มากกว่า 3,500 ต้น การปลูกข้าวโพด พืชผัก และเมลอน ตลอดจนมีเกษตรกรปลูกกาแฟในพื้นที่ประมาณ 39 ราย ได้ผลผลิตกาแฟเชอรี่ประมาณ 2,000 กิโลกรัม (หรือคิดเป็นกาแฟสารประมาณ 350 กิโลกรัม) แต่ด้วยปัญหาและข้อจำกัดข้างต้น ทำให้ โออาร์ เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาและต่อยอดให้กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างความยั่งยืนทุกมิติ

โออาร์ จึงนำร่องในพื้นที่ ตำบลภูคา อำเภอปัว จ.น่าน โดยมีเป้าหมายพื้นที่ ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ ครอบคลุม 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านปางยาง (มีชุมชนทั้งหมด 57 ครัวเรือน) และ หมู่ 2 บ้านขุนกูล มีชุมชนทั้งหมด 33 ครัวเรือน โดยมีเกษตรกรนำร่อง จำนวน 49 ราย (บ้านปางยาง 29 ราย และบ้านขุนกูล 20 ราย) และ โออาร์ จะรับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟในพื้นที่ผ่านโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต และโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ในมิติ โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก (Small) และ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด (Green)

โรงเพาะกล้ากาแฟ

จากความตั้งใจและเป้าหมายการขยายผลองค์ความรู้การทำงานพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟ ร่วมกับภาคีเครือข่ายในหลายพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้ได้มีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่ป่าผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกและผลิตกาแฟให้ได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ ควบคู่การอนุรักษ์ธรรมชาติ

วิธีการคือ (1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตกาแฟในพื้นที่ปลูกดั้งเดิม (2) ขยายพื้นที่การปลูกกาแฟในพื้นที่ปลูกดั้งเดิมและพื้นที่ปลูกใหม่ และ (3) รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ เริ่มเดือนมีนาคม ปี 2567

ทั้งนี้ โออาร์ ได้ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ สร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนในพื้นที่ จ.น่าน โดยนำต้นแบบการปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงา (ไม้เศรษฐกิจ) มาส่งเสริมในพื้นที่การปลูกไม้ร่วมเงา รวมถึงช่วยลดการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง และยังเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) ทำให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และตั้งเป้าว่า เกษตรกรจะมีกำไรจากการปลูกกาแฟอะราบิกาต่อไร่ เพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า (เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพด) และ เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า (เมื่อเทียบกับการปลูกฟักทอง) พร้อมด้วยเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าเสื่อมโทรม ลดการเผาป่า และลด PM 2.5

ถัดมาเป็นกิจกรรมมอบชุดถังขยะโครงการแยก แลก ยิ้ม ให้กับโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ซึ่ง โออาร์ ได้ดำเนินโครงการ แยก แลก ยิ้ม มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาครูและนักเรียนให้เกิดความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการขยะรอบตัว

สิ่งที่ โออาร์ เข้ามาเติมเต็มคือ องค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ต้นทาง และสร้างความตระหนักทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาวะและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพด้านชีวิตสังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม

สำหรับการมอบถังขยะ แยก แลก ยิ้ม ให้กับโรงเรียนดรุณวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดโครงการด้านขยะทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศ อีกทั้งตอบโจทย์ OR SDG มิติโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก (Small) และ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด (Green) อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมอบสิ่งของ เครื่องใช้ให้กับโรงเรียนบ้านปางยาง ตำบลภูคา อำเภอปัว จ.น่าน เพื่อตอบโจทย์ OR SDG มิติโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก (Small) โดยสนับสนุนการดำเนินงานด้านการศึกษา และเพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม

การส่งเสริมการศึกษาของ โออาร์ ผ่านโรงเรียนขนาดเล็กอย่างบ้านปางยาง ตำบลภูคา อำเภอปัว ซึ่งพื้นที่ตั้งใกล้เคียงพื้นที่ดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ในรัศมี 1 กิโลเมตร นับเป็นการสร้างระบบนิเวศภายในพื้นที่สวนกาแฟในมิติการศึกษา คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

ทั้งหมดนี้ คือการการันตีถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมผ่านแนวคิดการสร้างความยั่งยืน OR SDG ด้วยการยอมรับต่างๆ ทั้งในระดับสากลและระดับประเทศในปี 2566 โดยเป็นสมาชิกของ DJSI ที่มีผลคะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรม Retailing ได้รับรางวัล Best Sustainability Awards จาก SET Sustainability Awards 2023 และได้รับผลการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating 2023 ระดับสูงสุด AAA

เพราะการมุ่งสู่โอกาสเพื่อสังคมสะอาดและโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก คือ milestone ไปสู่ ‘สังคมที่ยั่งยืน’ และ ‘Net Zero’ ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) ตามแนวคิดการสร้างความยั่งยืน “OR SDG ดูแลสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในทุกๆ วัน” ซึ่งอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ใหญ่ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน” หรือ “Empowering All toward Inclusive Growth”

แนวคิดหลักหนังโฆษณาโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่ง ยืน (Sustainable Coffee Project) : จุดเริ่มต้นของโอกาส