ThaiPublica > Thaipublica Sustainability > ซีพีเอฟ ชูโมเดล“คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ส่งเสริมเกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่า เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ซีพีเอฟ ชูโมเดล“คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ส่งเสริมเกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่า เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

31 มกราคม 2024


เราปรับ โลกเปลี่ยน We Shift, World Change เป็นรายงานพิเศษด้วยความร่วมมือระหว่างสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand-UNGCNT) และไทยพับลิก้า เพื่อนำเสนอ วิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน ในบริบทของธุรกิจขององค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาและสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เช่น คู่ค้า ลูกค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในการปรับตัว และการมีส่วนร่วมยกระดับชุมชนและสังคม ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นฐานรากของ “ความมั่นคงทางอาหาร” … คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) เป็นระบบการผลิตสินค้าเกษตร ที่สนับสนุนให้เกษตรกร มีความรู้ด้านมาตรฐานการผลิต และมีหลักประกันรายได้ที่มั่นคง แบบไร้ความเสี่ยงด้านราคาและการตลาด

คอนแทรคฟาร์มมิ่ง เป็นระบบการผลิตผลผลิต หรือ บริการทางการเกษตรที่ทำสัญญากันระหว่าง “ผู้ประกอบธุรกิจ” กับ “เกษตรกร” หรือ “กลุ่มเกษตรกร” โดยใช้กับการเพาะปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์หลายประเภท ช่วยเกษตรกรรายย่อยลดความเสี่ยงเรื่องราคา ความผันผวนด้านการตลาด ซึ่งคู่สัญญามีการตกลงในการบริหารจัดการร่วมกันและแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจจะถ่ายทอดวิธีการผลิต และจัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร ขณะที่เกษตรกรผลิตตามจำนวน คุณภาพ ระยะเวลาที่กำหนดหรือมาตรฐานของผู้ประกอบการ และส่งมอบผลผลิตในราคาที่ตกลงและประกันไว้ล่วงหน้า ระบบนี้ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และช่วยให้บริษัทผู้ประกอบธุรกิจมีหลักประกันเรื่องมีวัตถุดิบที่ได้คุณภาพได้ใช้ผลิตสินค้าได้ อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เป็นระบบที่ช่วยปิดความเสี่ยงของเกษตรกรไม่ถูกกดราคา ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้นำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ผ่าน “โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย” ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำฟาร์มปศุสัตว์ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ภายใต้มาตรฐานฟาร์มสีเขียว เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพ ให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับความเสี่ยงด้านการตลาด ด้วยการรับซื้อผลผลิตทั้งหมดของเกษตรกร โดยตกลงราคากันไว้ล่วงหน้า เกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับราคาผลผลิตที่ผันผวน CPF ได้ปรับปรุงระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ตามแนวทางสากลของ UNIDROIT หน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากล อันดับ 1 ของโลก ให้เป็นสัญญาที่มี “ความทันสมัย โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้” และเป็นบริษัทแรกที่ทำประกันภัยให้เกษตรกรกลุ่มประกันรายได้ เพื่อลดความเสี่ยงของโรงเรือนและอุปกรณ์ หากเกิดภัยพิบัติ ขณะเดียวกัน เกษตรกร ยังมีพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ.2560 ช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบที่เป็นธรรม และคุ้มครองเกษตรกรอีกด้วย

ปัจจุบัน บริษัทฯมีผู้เชี่ยวชาญ เป็น “พี่เลี้ยง” ช่วยให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ ให้เกษตรกรในโครงการอย่างใกล้ชิด เป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตในราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตลอดจนสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเกษตรกรให้สามารถริเริ่มและดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง

เกษตรกรรายย่อยในโครงการฯ ยังปรับตัวให้มีความทันสมัยสามารถผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคทั่วโลกที่ใส่ใจประเด็น “ความยั่งยืน” มากขึ้น ทั้งการนำระบบอัตโนมัติมาใช้จัดการฟาร์ม และช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน

วรากร ถี่สูงเนิน คอนแทรคฟาร์มมิ่งสุกรขุน “วรากรฟาร์ม” กล่าวว่า การทำคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟ มีการทำสัญญาชัดเจนและเป็นธรรม ระบบนี้ตนเองไม่คิดเรื่อง “เอาเปรียบ” หรือ “เสียเปรียบ” เพราะต้องมีความเข้าใจในบทบาทของแต่ละฝ่าย ถ้าสองฝ่ายพึงพอใจ ก็เป็นคู่สัญญาที่ win-win ทั้งคู่ และเติบโตไปด้วยกัน ที่สำคัญระบบนี้ช่วยสร้างความต่อเนื่องของอาชีพ แบบไร้ความเสี่ยง ซึ่งเป็นความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของครอบครัวอย่างยั่งยืน

“ตัวเราเองต้องรักษามาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ฟาร์มของเรา เป็น Smart Farm เพื่อยกระดับการบริหารจัดการฟาร์มให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน จากการทำฟาร์มอย่างรับผิดชอบ โดยเฉพาะด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม” วราภร กล่าว

ทางด้าน ธนะศักดิ์ อ่อนกิจ คอนแทรคฟาร์มมิ่งไก่เนื้อ “นัทลีฟาร์ม” กล่าวว่า ฟาร์มและบริษัทจะมีการเซ็นสัญญาใหม่ร่วมกันทุก 3 ปี เหตุผลที่เลือกทำคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับบริษัทซีพี เพราะเชื่อมั่นในความยุติธรรมและความมีมาตรฐาน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ร่วมกัน คือการสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภค

“ระบบคอนแทรคฟาร์ม ทำให้เกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นคงทางด้านรายได้ โดยช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน เทคโนโลยีการผลิต และมีตลาดที่แน่นอน เพราะมีซีพีเอฟทำหน้าที่เป็นตลาดรวบรวมผลผลิตทั้งหมด เราไม่ต้องกังวลว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร ช่วงที่ราคาตกต่ำเรายังมีรายได้ดี เพราะตกลงทำสัญญากันไว้แล้ว ยิ่งช่วงที่มีหมูเถื่อนระบาดราคาตลาดแย่ แต่เรายังทำหน้าที่เลี้ยงหมูคุณภาพได้อย่างไร้กังวล .. ถือเป็นความภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ” ธนะศักดิ์ กล่าว

CPF ริเริ่มโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงสัตว์รายย่อย ทั้งการเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ตั้งแต่ 2518 โดยบริษัทเป็นผู้ให้ความรู้และสนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ ผลักดันเกษตรกรสู่ระบบ Smart Farm เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทำให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีหลักประกันวัตถุดิบที่มีคุณภาพสำหรับการผลิตสินค้าได้อย่างเพียงพอและไม่หยุดชะงัก เพื่อส่งต่ออาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค

ความมุ่งมั่นขับเคลื่อนระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรของ CPF ช่วยส่งต่อมรดกอาชีพ จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่า ระบบนี้ เป็นโมเดลที่ช่วยสร้างอาชีพที่มั่นคงแก่เกษตรกรรายย่อยของประเทศไทย ให้เป็นห่วงโซ่การผลิตอาหารปลอดภัย และสร้างอาหารมั่นคงเพื่อผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน

ชม VDO คอนแทรคฟาร์มมิ่ง CPF” โมเดลสร้างอาชีพมั่นคงเกษตรกรรายย่อย