ThaiPublica > เกาะกระแส > ดีแทค-มูลนิธิชัยพัฒนา-เนคเทค ร่วมวิจัยเพาะ “เห็ดหลินจือ” ในอากาศหนาวเย็นด้วย 5G คลื่น 700 MHz

ดีแทค-มูลนิธิชัยพัฒนา-เนคเทค ร่วมวิจัยเพาะ “เห็ดหลินจือ” ในอากาศหนาวเย็นด้วย 5G คลื่น 700 MHz

19 พฤษภาคม 2022


เห็ดหลินเจือ

ดีแทค-มูลนิธิชัยพัฒนา-เนคเทค ร่วมมือวิจัยเพาะ “เห็ดหลินจือ” ในฤดูหนาวเลขตัวเดียวสำเร็จด้วย 5G คลื่น 700 MHz

  • เทคโนโลยีเกาะติดศึกษาเชิงลึกการเติบโตสายพันธุ์เห็ดหลินจือ
  • นำ 5G เชื่อมต่อ IoT และ Machine Leaning สร้างความต่างเพิ่มความแม่นยำเพาะปลูก
  • แก้ปัญหาความยากจนเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่อากาศหนาวเย็น

19 พฤษภาคม 2565 – ดีแทค ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา และเนคเทค สวทช. คิดค้นโครงการวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะกรณีศึกษาเห็ดหลินจือ นำเทคโนโลยี 5G คลื่น 700 MHz พร้อม IoT และ Machine Leaning ตอบโจทย์เพาะเห็ดหลินจือในฤดูหนาวเลขตัวเดียวสำเร็จ พร้อมนำองค์ความรู้มาพัฒนาการทำเกษตรแม่นยำ เก็บดาต้าปัจจัยแวดล้อม ลดการปนเปื้อนของเชื้อโรค สู่การควบคุมโรงเรือน ตั้งทุกค่า คำนวณเหมาะสมสภาพแวดล้อมเพาะปลูก ดึงธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติร่วมทดสอบและวิจัย เตรียมเผยแพร่องค์ความรู้ต่อเกษตรกรในพื้นที่หนาวเย็น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

เห็ดหลินจือมีคุณภาพทางโภชนาการและยาสูงมาก โดยเห็ดหลินจืออบแห้งมีมูลค่าประมาณกิโลกรัมละ 2,000 บาท และสำหรับสปอร์เห็ดหลินจือมีมูลค่าสูงถึงประมาณกิโลกรัมละ 20,000 บาท สามารถเพาะได้ดีในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส แต่ไม่สามารถเติบโตได้ในฤดูหนาวเลขตัวเดียว ซึ่งภาคเหนือของไทยระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิในฤดูหนาวอาจจะลดลงอยู่ที่ 7-10 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่สามารถเพาะเห็ดหลินจือได้ ดังนั้น ถ้าคิดค้นวิธีการเพาะปลูกในอากาศหนาวดังกล่าวได้จะสามารถถ่ายทอดความรู้และพัฒนาให้กับเกษตรกรไทย

ดีแทค-มูลนิธิชัยพัฒนา-เนคเทค จึงได้ร่วมมือทดลองเพาะเห็ดหลินจือในฤดูหนาว ในโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ด้วยเทคโนโลยี 5G และการนำเทคโนโลยี Machine Learning มาใช้ร่วมกับ IoT ซึ่งจะมีการเก็บดาต้าภาพถ่าย ขนาด รูปร่าง สี ตลอดช่วงการเจริญเติบโตด้วยระบบกล้องบันทึกภาพความละเอียดสูง รวบรวมเป็นฐานข้อมูลและใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพ ที่จะพัฒนาการเพาะเห็ดหลินจือได้แม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งคาดการณ์สภาพแวดล้อม ปรับสภาพความเหมาะสม อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น แสง และยังอัปเดตชุดข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถจัดการได้ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อพัฒนาการเกษตรที่จะมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งเป็นการสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย

นายดนุชา สินธวานนท์ (ซ้าย) กรรมการและรองเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา เข้าชมโครงการโรงเรือนควบคุมอัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยี IoT เซนเซอร์ จากเทคโนโลยี 5G บนคลื่น 700 MHz เพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนาการทำการเกษตรอย่างแม่นยำในการเพาะเห็ดหลินจือ ที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายประเทศ ตันกุรานันท์ (ขวา) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย (กลาง) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเยี่ยมชมเพื่อติดตามการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนำมาต่อยอดขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่ในด้านการเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้จาการเพาะเห็ดหลินจือมูลค่าสูงให้กับชุมชน

ดร.อนุตรา วรรณวิโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า “การพัฒนาการเกษตรในปัจจุบันจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง นำมาสู่แนวคิดแผนการพัฒนาโครงการฯ นำเทคโนโลยีเข้าในปรับใช้ในการเกษตรในหลากหลายมิติ เช่น การจัดการผลิตพืช การใช้พลังงาน และการตลาด เพื่อให้สอดรับกับความท้าทายทางการเกษตรในอนาคต โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งหรือ IoT จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในโรงเรือนและนำมาซึ่งความต่อเนื่องของผลผลิต”

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เรานำความรู้ด้านเทคโนโลยี 5G ที่สร้างความแตกต่างและมีความแม่นยำสูงใช้ในการศึกษาเชิงลึกการเติบโตสายพันธุ์เห็ดหลินจือ โดยดีแทคมีส่วนร่วมออกแบบและวางแผนติดตั้งระบบเซนเซอร์ รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงการติดตั้งและดูแลเสาสัญญาณเพื่อขยายพื้นที่การสัญญาณเครือข่าย 5G บนคลื่นความถี่ 700 MHz นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนโครงสร้างระบบฐานข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อเก็บข้อมูลปัจจัยเพาะปลูก ตลอดจนจัดทำแอปพลิเคชันแสดงผลภาพถ่ายหน้าจอมือถือ เพื่อให้สะดวกในการดูแลและบริหารจัดการ”

“ดีแทคนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ประโยชน์ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีความจำเป็นในการเพิ่มเติมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภาพทางการผลิต นอกจากนี้ ยังคาดหวังในผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรที่ยากจน โดยนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการเกษตรต่างๆ โดยเฉพาะการเพาะปลูกพืชผลในโรงเรือนที่มีมูลค่าสูงอย่างเห็ดหลินจือ ที่ตลาดมีความต้องการสูง เป็นการนำเทคโนโลยีมาตอบโจทย์คุณภาพชีวิต สร้างรายได้และกำไรให้เกษตรกร” นายประเทศ กล่าว

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวได้ดำเนินมาสู่โครงการวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ กรณีศึกษาเห็ดหลินจือ ระยะที่ 3 พร้อมการนำเทคโนโลยี 5G สู่การควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดหลินจือในช่วงเดือนธันวาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 ส่งผลให้เห็ดหลินจือออกดอก และสามารถดักสปอร์ซึ่งเป็นผลผลิตหลักของตลาดได้สำเร็จ ถือเป็นการก้าวไปอีกขั้นของโครงการวิจัยโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะในการพิชิตโจทย์ความท้าทายอันเกิดจากธรรมชาติ

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) กล่าวเสริมว่า “จากผลการศึกษาในระยะที่ 1 และ 2 ทางคณะทำงานเห็นสมควรให้ทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการก่อน โดยเนคเทค ได้ติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ และระบบอัตโนมัติเพื่อการเกษตร ได้แก่ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้น และความเข้มแสง โดยทำการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไปยัง IoT Cloud Platform เพื่อติดตาม ควบคุมสั่งการระบบต่าง ๆ ภายในโรงเรือน ผ่านแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รวมถึงนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาใช้วิเคราะห์จำลองสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหลินจือ และทดสอบปัจจัยต่างๆ ภายในตู้ควบคุมหรือ Growth Chamber ขนาด 100 ก้อน พบว่าเราได้ข้อมูลสำคัญที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมตามความต้องการ และโรงเรือนขนาดเล็กขนาด 400-500 ก้อน เพื่อศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม และนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรือนเพาะเห็ดหลินจือขนาดใหญ่ ซึ่งจะขยายความรับผิดชอบนี้ให้แก่ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ หรือ National Biobank of Thailand ภายใต้กำกับดูแลของ สวทช. ที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยให้ได้ข้อมูลปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตของเห็ดหลินจือนอกฤดูกาลอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับปรับปรุงกระบวนการสู่การดำเนินงานโครงการในระยะที่ 3 ให้หมาะสมมากยิ่งขึ้น และการใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน อย่างเช่น AI ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ ขยายผลไปสู่เกษตรกรเพื่อช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในระยะยาว”

“สำหรับโครงการความร่วมมือทางด้านวิจัยที่เกิดขึ้น ถือเป็นอีกหมุดหมายสำคัญของการเตรียมพร้อมงานวิจัยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต ภายใต้ความท้าทายในยุคดิจิทัล ที่ข้อมูลถือเป็นหัวใจ AI เป็นสมองช่วยคิดวิเคราะห์ เครือข่าย (Network) เป็นเส้นเลือดใหญ่ในการส่งผ่านข้อมูล ดังนั้น การได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างมูลนิธิชัยพัฒนาและดีแทคจะทำให้เกิดระบบนิเวศน์ของการใช้เทคโนโลยีที่ก่อประโยชน์ต่อคนหมู่มาก เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของเนคเทคที่ต้องการเป็นฐานรากสำคัญด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศขั้นสูงของประเทศ” ดร.ชัย กล่าว

………….

dtac, Chaipattana Foundation and NECTEC Reveal Major Breakthrough on Lingzhi Cultivation via 5G on 700 MHz

  • Pioneering technologies to better study Lingzhi mushroom cultivation
  • 5G network is deployed to support agriculture with IoT and machine learning
  • The project aims to increase annual yield and farmer revenue in cold climates

  • May 19, 2022 – dtac, together with Chaipattana Foundation and the National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC, under the National Science and Technology Development Agency (NSTDA), announced a major breakthrough in their quest to farm Lingzhi mushrooms in single-digit temperatures (off-season) through 5G networks on 700 MHz spectrum equipped with internet of things (IoT) and machine learning (ML) technology. This collaboration is enabling researchers to collect important data about cultivation factors and record high-resolution multispectral images for crop inspection. The partnership, continuing to focus on Lingzhi mushroom cultivation, also brings in the expertise of a new academic partner, the National Biobank. The resulting knowledge and expertise will be passed on to farmers in cold-weather areas, sustainably raising their quality of life and revenue.

    The medicinal mushroom Ganoderma lucidium, commonly called Lingzhi, offers a high commercial value of 2,000 baht per kilogram for dried Lingzhi and 20,000 baht per kilogram for their spores. However, it grows best in warm conditions between 7–10 degrees Celsius. In a place like Chiang Mai, Lingzhi mushrooms can be cultivated in all but the winter months of November to February, when temperatures hover at 7–10 degrees Celsius and is too cold for them to flourish. The joint research project aims to make off-season cultivation and high yields possible, enabling farmers to grow Lingzhi mushrooms all year round.

    dtac, Chaipattana Foundation and NECTEC teamed up in 2020 to create a pilot farm of smart greenhouses using dtac’s 5G network to support the full potential for IoT and machine learning (ML) applications at Chaipattana Foundation’s agricultural research and development site at Pong Nam Ron sub-district, Fang district, in Chiang Mai province. The collaborative research findings will be applied to large-scale farms, increasing revenue and margins for Thai farmers.

    IoT devices – carbon dioxide meters, lux light meters and high-resolution cameras – generate significant data that allows farmers to grow Lingzhi more precisely by forecasting important factors such as air quality, temperature, humidity and light. All datasets are displayed through a purpose-built mobile application, enabling farmers to generate higher yields.

    Anutra Wannaviroj, director of the Chaipattana Foundation’s Highland Agriculture Research and Development Project, said “Technology has become an integral role in agricultural development, by applying technologies in various aspects of farming, such as crop management, energy consumption and marketing. This is aligned with the challenges Thai farmers will face in the future, especially climate change. The foundation hopes that communications technology like the IoT will help address productivity problems in greenhouse farming.”

    Prathet Tankuranun, Chief Technology Officer of dtac, said, “We bring our technological expertise in 5G development to make Lingzhi mushroom farming more precise and effective. dtac is a part of the project’s network design and IoT device installation, as well as the 5G network expansion on the 700 Mhz spectrum. Additionally, we also support the cloud system that stores all data related to cultivation research and have developed a mobile application to help researchers monitor and understand that data.”

    In addition to data generated by various sensors, having detailed images throughout the mushroom growth cycle allows researchers to assess the size, shape and colour of the Lingzhi mushrooms and determine their quality. To facilitate this, dtac also provided the installation of high-resolution multispectral cameras.

    dtac hopes this use case will raise public awareness about the potential of 5G to grow and diversify the Thai economy, as well as tackle the agricultural challenges of climate change.

    “dtac is pleased to be showcasing 5G technology, especially in a project linked to agriculture, which requires specialized knowledge for product development. In addition, we hope that these research findings will be useful for Thai farmers who wish to diversify into controlled environment agriculture. dtac is also privileged to continue its long-term research and development partnerships with Chaipattana Foundation and NSTDA,” added Mr. Prathet.

    Thanks to these 5G and IoT solutions, researchers have been able to measure carbon dioxide and illumination levels, as well study greenhouse images between December 2021 and February 2022. This data gathering and analysis have translated into mature mushroom yields that are similar to in-season levels, when temperatures range between 25 and 28 degree Celsius. This success is an important step towards climate-change resilience in the agriculture sector.

    Chai Wutiwiwatchai, Executive Director of the NSTDA, said that the sensors, IoT cloud platform and cameras together have had a profound effect on the project. And with the simulation capabilities of the mobile app, the research team has been able to scale up the research and apply it across the greenhouse farm, under the responsibility of National Biobank (also under NSTDA).

    “This collaboration is another milestone for agricultural research in the real world amid numerous digital challenges. Data is a critical part of artificial intelligence, while a reliable, fast network is like the blood veins of data transfer. Partnering with Chaipattana Foundation and dtac will foster a strong digital ecosystem for the public good. It will allow every stakeholder to achieve their organizational vision via advanced technology and propel us towards a stronger Thailand” said Mr. Chai.