ThaiPublica > Sustainability > Sustainable Business > กลยุทธ์ 4 ขา “ดีแทค” กับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ครึ่งหนึ่ง” ปี 2030

กลยุทธ์ 4 ขา “ดีแทค” กับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ครึ่งหนึ่ง” ปี 2030

3 มิถุนายน 2021


เปลี่ยน…ก่อนสภาพอากาศเปลี่ยน เจาะ 4 ขากลยุทธ์ดีแทคกับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ครึ่งหนึ่ง” ในปี 2030

เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ โดยคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ (IPBES) ได้ออกรายงานโดยระบุว่า

“ในอนาคต วิกฤตการณ์โรคระบาดมีแนวโน้มที่จะเกิดได้บ่อยขึ้น รุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและคร่าชีวิตผู้คนได้มากกว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นอกเสียจากว่า ผู้คนบนโลกจะร่วมใจกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีในการดำรงชีวิตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ”

อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เป็นอีกภาคธุรกิจที่มีความสำคัญ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางมาตรการทางสาธารณสุข แต่ขณะเดียวกัน โทรคมนาคมก็เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสัดส่วนราว 4% ของทั้งโลก หรือคิดเป็นมูลค่าราว 5 แสนล้านบาท (ข้อมูลโดย GSMA)

จากรายงานของสมาคม GSMA ในปี 2563 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมที่รวดเร็ว โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของเสาสัญญาณถึง 7% ต่อปี และจากการแนวโน้มการพัฒนาต่างๆ ทั้งเทคโนโลยี 5G และพฤติกรรมการใช้งานดาต้าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี ตามการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและบริการไลฟ์สตรีมมิ่ง

เปลี่ยนแบบติดสปีด

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี ฉายภาพผลกระทบของโควิด-19 ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคว่า

“การระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคการสื่อสารเติบโตอย่างก้าวกระโดด เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digitalization) ของประเทศในอัตราเร่ง การใช้งานดาต้าของลูกค้าดีแทคในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงการระบาดรอบแรกนั้น เติบโตสูงขึ้นถึง 23% จนปัจจุบัน ยอดการใช้ดาต้าต่อเดือนพุ่งสูงขึ้นเฉลี่ย 20 GB ต่อคนเลยทีเดียว”

ด้วย New Normal ด้านพฤติกรรม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดีแทคจึงได้เร่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะในปี 2564 ที่ดีแทคให้ความสำคัญกับการขยายสัญญาณบนคลื่น 700 MHz เพื่อให้ครอบคลุมประชากรให้ได้ 90% และถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2548 ดีแทคมีการขยายโครงข่ายมากถึง 3 เท่า

อย่างไรก็ตามด้วยการขยายโครงข่ายในระดับนี้ นอกจากปัจจัยด้านการบริหารต้นทุนแล้ว ดีแทคยังตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ตามมาด้วย

โดยพบว่าการใช้พลังงานในการให้บริการโครงข่ายมีสัดส่วนสูงถึง 94% ของกระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของบริษัท และเมื่อเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าพบว่าดีแทคใช้พลังงานเป็น 2 เท่าของประเทศมัลดีฟส์ทั้งประเทศ

“จากตัวเลขการใช้พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่พวกเราพบเจออยู่ทุกวัน ล้วนเป็นเครื่องเตือนใจให้ดีแทคต้องเปลี่ยนแปลงและลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งเราได้กำหนดเป้าหมายให้ดีแทคปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030”

4 ขากลยุทธ์มุ่งสู่เป้าหมาย

ทั้งนี้ ดีแทคได้ประกาศแผนกลยุทธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดำเนินงานใน 4 ด้าน ดังนี้

1. การมุ่งใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งดีแทคมีการดำเนินงานในส่วนนี้มาโดยตลอด อย่างบริเวณเสาสัญญาณที่จำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไป ซึ่งที่ผ่านมาการติดเครื่องปรับอากาศทำความเย็นทุกเสานั้นทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมาก แต่ปัจจุบัน ดีแทคได้เลือกใช้วิธีการอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การลดขนาดห้องควบคุม และการติดพัดลมแทนที่ อีกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารชุมสาย ซึ่งช่วยลดอาคารปฏิบัติงานชุมสายจาก 6 แห่งเหลือเพียง 2 แห่งทั่วประเทศ โดยที่ประสิทธิภาพในการให้บริการยังคงเดิม

ขณะเดียวกัน ดีแทคยังได้ใช้เทคโนโลยี Precision cooling และ Rack cooling ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจากความพยายามทั้งหมด ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานที่ศูนย์ชุมสายของดีแทคไปได้ถึง 32% เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มโครงการ

2. การมุ่งสู่การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบ ดีแทคตั้งเป้าหมายว่าจะต้องไม่มีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการดำเนินการไปทำลายด้วยการฝังกลบหรือ Zero Landfill ในปี 2563 ดีแทคสามารถรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้กว่า 178,052 กิโลกรัม ทั้งนี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจการให้บริการด้านโทรคมนาคมในปี 2563 นั้นกว่า 90% มาจากโครงข่ายสัญญาณและการดำเนินธุรกิจ และอีกราว 10% เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับจากผู้ใช้งานทั่วไปและสำนักงาน (ซากมือถือ พาวเวอร์แบงก์ อุปกรณ์เสริม) ซึ่งดีแทคดำเนินการดังกล่าวภายใต้ โครงการ‘ทิ้งให้ดี’ ผ่านการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการคัดแยกและจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีศักยภาพและเทคโนโลยีในการกำจัดและรีไซเคิลขยะตามมาตรฐานสากลโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการนำโลหะมีค่าและวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลกลับสู่กิจกรรมการทางเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง

3. การมุ่งใช้พลังงานทางเลือกในระบบโครงข่าย ในปีนี้ ดีแทคได้ตั้งโครงการนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ที่ศูนย์ปฏิบัติการชุมสาย (data center) ทั้ง 2 แห่งและเสาสัญญาณในบางพื้นที่ เพื่อจ่ายไฟใช้งานร่วมกับระบบ grid เพื่อทดสอบความคุ้มทุนและศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงข่าย

4. การมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Connectivity-based Enabler) ในภาคธุรกิจอื่นๆ โดยอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นมีบทบาทในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านการใช้เทคโนโลยี machine-to-machine (M2M) หรือที่รู้จักในชื่อ ‘อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)’ และการเพิ่มบริการโทรคมนาคมไร้สาย (mobile connectivity) อีกทั้งยังมีศักยภาพในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้มหาศาล โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงสุด ได้แก่ อาคารและที่อยู่อาศัย พลังงาน ขนส่ง เกษตรกรรม และภาคการผลิต

โดยที่ผ่านมา ดีแทคได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในการพัฒนารูปแบบทดสอบการใช้งาน อาทิ การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ และการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ ในโรงงานต่างๆ และภาคธนาคารที่ช่วยสร้างเสถียรภาพทางพลังงานและวางแผนการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความท้าทายของพลังงานสะอาด

แม้โครงการต่างๆ ของดีแทค จะสะท้อนถึงความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น คือความสามารถในการเข้าถึงและใช้แหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศความร่วมมือผ่านภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สมัยที่ 21 ภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) และให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25% ภายในปี 2573 อีกทั้งได้มีการกำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP) ตามทิศทางพลังงานโลก โดยมีเป้าหมายสัดส่วนในการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่า 30% ภายในปี 2580 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของดีแทคอย่างมีนัยสำคัญ

“อย่างไรก็ดี ด้วยความต้องการในการใช้พลังงานของโทรคมนาคมที่มีรูปแบบเฉพาะ กล่าวคือ เสาสัญญาณจะตั้งกระจายเป็นใยแมงมุมย่อยทั่วประเทศ ต่างกับโรงงานที่มีพื้นที่หรือในนิคมที่มีโครงสร้างสาธารณูปโภคตั้งอยู่ในพื้นที่จุดเดียว ทำให้การเข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้นนวัตกรรมในการเข้าถึงพลังงานสะอาดจึงเป็นส่วนสำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนภารกิจการลดก๊าซเรือนกระจกในอนาคตอันใกล้นี้” ประเทศกล่าว

dtac on track to halve greenhouse gas emission

According to an IPBES report released in October 2020, “Future pandemics will emerge more often, spread more rapidly, do more damage to the world economy and kill more people than COVID-19 unless there is a transformative change in the global approach to dealing with infectious diseases. The same human activities that drive climate change and biodiversity loss also drive pandemic risk through their impact on our environment.”

The telecom industry has a significant role to play in mitigating climate change. It consumes around four percent of global energy as per a report from GSMA, the global association for mobile operators. And the need for mobile connectivity keeps growing.

In Thailand, according to the Renewable Energy for Mobile Towers report by GSMA, the number of mobile network sites is growing by 7 percent on average annually . This is fueled by the emergence of 5G and the explosive growth of data usage.

A Wake-up Call

“The Covid-19 outbreak has caused a rapid growth in connectivity as data usage surged 23 percent in the first quarter of 2020, reaching 20 gigabytes per person and month on average. The figures show the fast pace of digitalization in the second largest economy of Southeast Asia,” said Prathet Tankuranun, chief technology officer at dtac.

To serve customers’ growing needs, dtac has accelerated its network expansion. In 2021, dtac added over 6,000 sites on its 700 MHz spectrum.

Inevitably, this rollout has an environmental impact. According to dtac’s environmental impact assessment, around 94 percent of dtac’s power consumption is derived from network operations, corresponding to the total energy consumption of a small country.

“Global warming and dtac’s significant energy consumption are a wake-up call for us to change and take action. Hence, we set the ambitious target to halve our greenhouse gas emissions by 2030,” Mr. Prathet said.

The Path to Halving Emissions

dtac has outlined four strategies to achieve its GHG reduction targets:

Increase efficient energy use. Thanks to the advanced technology, dtac’s core network centers can be reduced to two from six nationwide. Additionally, dtac has adopted precision cooling to increase the efficiency of its air conditioners. This resulted in a 32 percent reduction of energy consumption across core network centers.

Recycle e-waste responsibly. To achieve its zero landfill policy, dtac has put in place the ‘Think Hai d’ initiative, encouraging customers to drop their unused electronics at drop-off points in dtac stores. dtac then works with qualified suppliers in e-waste classification and recycling using green technology. But network operations is the area that generates the highest amount of electronic waste, accounting for over 90 percent of dtac’s e-waste.

Adopt renewable energy. dtac is conducting a pilot project on using solar panels at both core network centers as well as some cell sites. This is to study the feasibility of renewable energy sources in network operations.

Develop connectivity-enabled solutions for energy use efficiency. Mobile operators play a significant part in slowing down climate change through the use of machine-to-machine (M2M) technology, also known as the ‘Internet of Things (IoT)’ and by expanding mobile connectivity services. The industry is also said to have the potential to improve work efficiency and greatly reduce the use of natural resources of other industries, especially those that consume the most energy, including real estate, energy, transportation, agriculture, and manufacturing industries. dtac has partnered with various industries to develop 5G use cases for energy efficiency, such as smart energy monitoring in factories and banking.

The Next Frontier: Clean Energy

Thailand ratified the Paris Agreement on Sept 21, 2016, making a commitment to reduce its GHG by 20-25 percent within 2030. And the government in 2018 developed and outlined the alternative energy development plan or AEDP 2018-2037, which calls for doubling installed domestic renewable energy usage to 30 percent by 2030. This will have a significant impact on dtac’s ability to reach its targets.

“The telco architecture includes tens of thousands of cell sites across the country, unlike manufacturing where all infrastructure is located in one area,” said Prathet Tankuranun. “This makes access to renewable energy sources much more complex. Therefore, energy innovation is vital to accessing clean energy nationwide, so that dtac can accomplish our goals in the near future.”