ThaiPublica > เกาะกระแส > EIC คาด กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021

EIC คาด กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ต่อเนื่องในปี 2021

19 พฤศจิกายน 2020


  • กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปีเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และให้เน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น
  • กนง. ประเมินสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง แต่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง และมีความกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • EIC ประเมินว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี2021 จากเศรษฐกิจไทยที่ในปี2020มีแนวโน้มหดตัวน้อยกว่าประมาณการเดิม และความส าเร็จของการผลิตวัคซีน COVID-19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐก ิจโลก รวมถึงการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยในปีหน้า
  • อย่างไรก็ดี จากการที่ กนง. ให้ความสำคัญต่อการดูแลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ นโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย (Low for long) จึงยังมีความจำเป็น เนื่องจากตลาดแรงงานของไทยยังคงเปราะบางรายได้ของแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต ่า สินเชื่อภาคธุรกิจ SMEs ยังคงหดตัว รวมถึงสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับสูงขึ้น
  • กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปีเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและให้เน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 18 พฤศจิยายน 2020

    กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปีโดย กนง. มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยดังนี้

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2020 ปรับตัวดีขึ้นกว่าคาด แต่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าและแตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณสองปีก่อนจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาด ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะรายได้ของแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต ่า ซึ่งจะกดดันการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเมื่อปัจจัยสนับสนุนชั่วคราวเริ่มหมดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มต ่ากว่าที่ประเมินไว้ด้านระบบการเงินยังคงมีเสถียรภาพแม้ว่าจะมีความเปราะบางขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน
  • สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบน้อยลงจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายในปี 2021 (1%-3%) ด้านการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
  • กนง. ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูงแต่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง และมีความกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องการสภาพคล่องยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs นอกจากนี้ กนง. ยังกังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็ว ซึ่งกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง จึงเห็นควรให้ติดตามตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม

    นโยบายการเงินควรเน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น และมาตรการการคลังมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ รวมทั้งผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง สำหรับมาตรการการคลังมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงควรเร่งเบิกจ่ายและให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางอย่างตรงจุด ควบคู่กับการเร่งดำเนินนโยบายด้านอุปทานเพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในระยะยาว

    กนง. ให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) นั้น กนง. ต้องพิจารณาปัจจัยด้าน1) เสถียรภาพด้านราคา 2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และ 3) การรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งจากการสื่อสารในครั้งนี้บ่งชี้ได้ชัดเจนว่า กนง. ให้ความสำคัญต่อการดูแลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากที่สุด นอกจากนี้ กนง. จะติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ความคืบหน้าของการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน ในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

    EIC ประเมินว่าโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมมีน้อยลง

    เนื่องจาก

  • เศรษฐกิจไทยที่ในปีนี้มีแนวโน้มหดตัวน้อยกว่าประมาณการเดิมของ EIC และ ธปท. ที่ -7.8% เนื่อง จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อนหน้าค่อนข้างมากจาก -12.1%YOYมาอยู่ที่ -6.4%YOY จากการฟื้นตัวที่เร็วกว่าคาดของการใช้จ่ายเพื่อบริภาคภาคเอกชนที่หดตัวเพียง -0.6% จากไตรมาสก่อนที่หดตัวถึง -6.8% สะท้อนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการบริโภคและการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวถึง 3.4%YOY และ 18.5%YOY จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ EIC จึงมองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะหดตัวน้อยกว่าที่ ธปท.คาดการณ์เป็นผลให้ความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอก เบี้ยมีน้อยลง
  • แนวโน้มความสำเร็จของการผลิตวัคซีน COVID-19 จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า โดยจากผลการทดสอบวัคซีนเบื้องต้นในระยะที่ 3 จาก Pfizer และ Moderna’s พบว่ามีประสิทธิภาพในการต้าน COVID-19 สูงถึง 90% และ 94.5% ตามลำดับ สะท้อนถึงโอกาสที่จะผลิตวัคซีนได้สำเร็จมีค่อนข้างมากซึ่ง EIC ประเมินว่า วัคซีนจะถูกแจกจ่ายเป็นวงกว้างจนก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 และกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021ปัจจัยข้างต้นนี้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและครัวเรือนฟื้นตัวซึ่งเป็นสิ่งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยในระยะต่อไป
  • จากการที่ กนง. ให้ความสำคัญต่อการดูแลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ นโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย (Low for long) จึงยังมีความจำเป็น โดย EIC มองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อเนื่องในปี2021 และผ่อนปรนเงื่อนไขของมาตรการที่ได้ดำเนินไป รวมถึงดำเนินมาตรอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อดูแลค่าเงินบาทเศรษฐกิจโลก และภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยในระยะต่อไป

    สินเชื่อภาคธุรกิจ SMEs ยังคงหดตัวและความเข้มงวดของมาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยอัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจ SMEs (วงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 500 ล้านบาท) ในไตรมาสที่ 3 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ -3.1%YOY แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากมาตรการ soft loan สำหรับอัตราการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (วงเงินสินเชื่อมากกว่า 500 ล้านบาท) ยังคงขยายตัวได้สูงถึง 10.8% YOY แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ 13.0%YOY ในด้านมาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่อภาคธุรกิจมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs ดังนั้น ธปท. จึงเตรียมผ่อนคลายเกณฑ์มาตรการ soft loan เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อดังกล่าวแก่ SMEs มากขึ้น

    ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non-PerformingLoan: NPL) ยังคงปรับสูงขึ้น แต่มาตรการการปรับโครงสร้างหนี้มีส่วนช่วยให้ NPL ไม่ปรับสูงขึ้นมาก โดยภาพรวม NPL ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 3 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.14% (จาก 3.09% ในไตรมาส 2/2020) จากสัดส่วน NPL ของภาคธุรกิจที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.07%มาอยู่ที่ 3.24% ซึ่งปรับแย่ลงทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs อย่างไรก็ดีสัดส่วน NPL ของสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจาก 3.12% มาอยู่ที่ 2.91% โดยเป็นการปรับลดลงของสินเชื่ออุปโภคบริโภคทุกประเภท ซึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และการบริหารหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น ธปท.จึงมีแนวโน้มที่จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาจพิจารณาใช้มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการหนี้เสีย อาทิ การทำ asset warehousing การจัดตั้ง asset management company (AMC) รวมถึงการลดอุปสรรคทางกฎระเบียบและภาษี

    นับตั้งแต่สิ้นเดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าถึง 3.3% ซึ่งเป็นการแข็งค่าอันดับที่สองในภูมิภาค (รูปที่ 1) เป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับสูงขึ้นหลังจากมีข่าวดีเกี่ยวกับการพัฒนาการผลิตวัคซีน COVID-19 ทำให้มีเงินไหลเข้ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะไทยที่ยังมีเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีทำให้นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์ไทย ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

    ธปท. จึงอาจพิจารณาดำเนินมาตรการทางการเงินเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท เช่น การลดการออกพันธบัตรรัฐบาลธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อลดการเข้ามาเก็งกำไร มาตรการชะลอการเก็งกำไรในทองคำ การส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น และผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการนำรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศกลับเข้าไทย นโยบายด้านการคลังอาจเข้ามามีส่วนช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ในระยะต่อไป โดยอาจมีการพิจารณาชำระหนี้ต่างประเทศเพื่อจ่ายเงินดอลลาร์และลดความต้องการเงินบาทในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนลง อีกทั้ง การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในระยะต่อไปก็จะมีส่วนช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทได้เช่นกัน

    บทวิเคราะห์โดย ดร. กําพล อดิเรกสมบัติ,วชิรวัฒน์ บานชื่น,พงศกร ศรีสกาวกุล