ThaiPublica > เกาะกระแส > แถลงการณ์แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยยกเลิกข้อหาที่ไม่ชอบธรรมและปล่อยตัวผู้ชุมนุมโดยสงบ

แถลงการณ์แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยยกเลิกข้อหาที่ไม่ชอบธรรมและปล่อยตัวผู้ชุมนุมโดยสงบ

24 ตุลาคม 2020


วันที่ 24 ตุลาคม 2563 แถลงการณ์แอมเนสตี้เรียกร้องทางการไทยยกเลิกข้อหาที่ไม่ชอบธรรมและปล่อยตัวผู้ชุมนุมโดยสงบ

  • มีผู้ถูกดำเนินคดี 84 คนนับแต่วันที่ 13 ตุลาคม โดยใช้ข้อกล่าวหาที่กำกวมและมีแรงจูงใจทางการเมือง
  • การดำเนินคดีในข้อหาอย่างพลการเป็น “เพียงยุทธวิธีเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้ขบวนการ”

ในขณะที่การชุมนุมโดยสงบในประเทศไทยขยายตัวขึ้น ทางการไทยยังคงใช้กฎหมายที่มีเนื้อหากำกวมและจำกัดสิทธิมากเกินไป เพื่อคุกคามและปิดปากประชาชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้ ทางหน่วยงานเรียกร้องทางการให้ยกเลิกข้อหาทั้งหมดต่อผู้ชุมนุมอย่างสงบโดยทันที และให้ปล่อยตัวคนที่ยังถูกควบคุมตัวอยู่

“การชุมนุมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปทั่วประเทศไทย เป็นสัญญาณบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าประชาชนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ” ราชัด โคเซีย ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยและนโยบาย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

“แทนที่จะจัดพื้นที่ปลอดภัยให้ประชาชนเพื่อแสดงความคิดเห็น ทางการไทยกลับดำเนินคดีอาญาซ้ำแล้วซ้ำอีกกับการชุมนุมโดยสงบ ทั้งใช้กฎหมายที่ให้อำนาจอย่างกว้างขวางและมีเนื้อหากำกวม ข้อหาที่ทางการไทยใช้ดำเนินคดีกับแกนนำผู้ชุมนุมกลายเป็นเพียงยุทธวิธีเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้ขบวนการ และอีกทั้งเป็นข้อหาโดยพลการ ไม่เหมาะสม และมีแรงจูงใจทางการเมือง”

เหตุจากตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม มีผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 84 คน ทำให้มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวัน โดยการชุมนุมอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศไทยนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 การชุมนุมครั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่ได้ความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ในจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีนั้นรวมไปถึงเยาวชนสองคน อายุ 16 และ 17 ปี

การชุมนุมโดยสงบซึ่งมีข้อเรียกร้องสามข้อ ได้แก่ ให้ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ให้มีการปฏิรูปทางการเมืองซึ่งรวมถึงการแก้ไขรัฐธรรม และให้หยุดคุกคามผู้วิจารณ์รัฐบาลอย่างสงบ

สืบเนื่องจากการชุมนุมที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 ทางการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ “ร้ายแรง” ห้ามการชุมนุมของบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งห้ามการเผยแพร่ข่าวหรือข้อความออนไลน์ที่ “อาจทำให้เกิดความหวาดกลัว” กระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ยังมีผู้ถูกดำเนินคดีจำนวนมาก และอีกหลายคนยังคงถูกควบคุมตัว

มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ “ร้ายแรง” เมื่อต้นสัปดาห์นี้ในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 หลังจากนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชาแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์ในช่วงค่ำวันก่อนหน้า (แต่ทางการยังคงมีอำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 โดยมีเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19)

ในคำแถลงเมื่อวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2563 นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงผู้ชุมนุมว่า “ปฏิบัติตนด้วยความสงบ มีเจตนาดีที่ต้องการขอความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม และมีความจริงใจที่อยากจะเห็นประเทศดีขึ้น” แม้นายกฯจะกล่าวหาว่ามีผู้ชุมนุมส่วนน้อยที่ทำผิดทางอาญา โดยย้ำถึงบทบาทของการเปิดประชุมสมัยวิสามัญของรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 26 และ 27 ตุลาคม 2563 เพื่อ “พูดคุยกัน ทำงานด้วยกัน ผ่านระบบและกระบวนการของรัฐสภา”

“นายกรัฐมนตรียอมรับว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ชุมนุมด้วยความสงบ และการยกเลิกประกาศในสถานการณ์ฉุกเฉิน นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลตระหนักถึงสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมและหาทางลดความตึงเครียดในการใช้อำนาจของทางการ ณ เวลานี้ ทางการต้องทำมากกว่าแค่การแสดงวาทศิลป์ โดยต้องยกเลิกข้อหาต่อผู้ชุมนุมโดยสงบ และยกเลิกคำตัดสินต่อผู้ชุมุนมที่ถูกศาลลงโทษไปแล้วทั้งหมด การยกเลิกคำตัดสินต้องรวมไปถึงตั้งแต่ช่วงเวลาการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เนื่องจากผู้ชุมนุมได้ออกมาเรียกร้องโดยสงบ เพียงเพราะต้องการให้มีการปฏิรูป หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง” ราชัด โคเซียกล่าว

มีผู้ถูกควบคุมตัวจำนวนทั้งหมด 90 คนนับแต่วันที่ 13 ตุลาคม โดยมีการตั้งข้อหากับ 84 คน หกคนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการดำเนินคดี ส่วนใหญ่จะได้รับการประกันตัวออกมา แต่ยังมีผู้ถูกควบคุมตัวอีกแปดคน รวมทั้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) พริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือ “เพนกวิน” แกนนำผู้ชุมนุมที่เป็นนักศึกษา อานนท์ นำภา ทนายความ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือ แบงก์ เอกชัย หงส์กังวาน และสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตนักโทษทางความคิด ภานุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ นักกิจกรรม และสุรนาถ แป้นประเสริฐ หรือ “ตัน” นักกิจกรรมด้านสวัสดิภาพเด็ก

“แกนนำผู้ชุมนุมเหล่านี้ถูกคุมขังเพียงเพราะแสดงความคิดเห็นของตนโดยสงบ เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน ไม่มีเหตุผลที่ต้องควบคุมตัวพวกเขา และต้องปล่อยพวกเขาทันทีและโดยไม่มีเงื่อนไข” ราชัด โคเซียกล่าว

ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีในข้อหาที่กำกวมและรุนแรงเกินเหตุ

คาดว่ามีบุคคล 84 คนที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาญานับแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2563 ส่วนใหญ่ (65 คน) ถูกดำเนินคดีจากการละเมิดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ “ร้ายแรง” ที่มีเนื้อหากำกวม และมีการยกเลิกไปเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม

หลายคนถูกดำเนินคดีในข้อหา ‘ยุยงปลุกปั่น’ (มาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหากำกวม และทางการมักนำมาใช้ปราบปรามผู้เห็นต่าง มีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินเจ็ดปี ส่วนบุคคลอื่นถูกดำเนินคดีในข้อหาเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเนื้อหากำกวมในหลายข้อบทเช่นกัน และมักถูกนำมาใช้เพื่อจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ดังที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล บันทึกไว้ ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นปีนี้

บุคคลทั้งสามคนได้แก่ บุญเกื้อหนุน เป้าทอง หรือ ฟรานซิส นักศึกษาระดับปริญญาตรี เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย และสุรนาถ แป้นประเสริฐ นักกิจกรรมด้านสวัสดิภาพเด็ก ถูกดำเนินคดีตามมาตรา 110 ของประมวลกฎหมายอาญา ในข้อหา “กระทำการประทุษร้ายเสรีภาพของพระราชินี” ซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต

ทั้งสามคนเข้าร่วมการชุมนุมโดยมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ขณะที่ขบวนเสด็จของพระราชินีเคลื่อนผ่านมา ทางการไม่ได้อธิบายอย่างน่าเชื่อถือว่าเหตุใดจึงเลือกดำเนินคดีกับสามคนนี้ ทั้งที่มีประชาชนรวมตัวอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจน ว่าการกระทำตามข้อกล่าวหาของพวกเขา ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายอย่างไรบ้าง ภายหลังบุญเกื้อหนุน เป้าทอง ได้รับการประกันตัวออกมา ส่วนอีกสองคนยังคงถูกควบคุมตัว

คาดว่ามี 54 คนที่ถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และบางส่วนอาจได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ร้ายแรงของพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือ “เพนกวิน” นักศึกษารัฐศาสตร์ อายุ 22 ปีที่ถูกดำเนินคดีอาญาอย่างน้อย 18 ข้อหา จากบทบาทในการประท้วงที่ผ่านมา รวมทั้งการชุมนุมเรียกร้องให้สอบสวนการอุ้มหายของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ บล็อกเกอร์ชาวไทยที่ลี้ภัยอยู่ในกัมพูชาและหายตัวไปที่นั่นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

“ทางการไทยต้องปฏิบัติตามพันธกิจล่าสุดที่จะลดความตึงเครียดของสถานการณ์ โดยต้องยุติการใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมิชอบ ยุติการจับกุมและการใช้กฎหมายคุกคามประชาชนจำนวนมาก” ราชัด โคเซียกล่าว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องทางการไทย ให้เคารพพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่จะมีสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ ที่เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รวมทั้งให้คุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยทั้งสองฉบับ


Thailand: Drop unjustified charges and release peaceful protesters

84 people charged since 13 October, usually on vague and politically motivated charges
Use of arbitrary charges are “merely tactics to scare the whole movement”

As peaceful protests in Thailand grow, the authorities continue to use vague, overly restrictive laws to harass and silence people, said Amnesty International today. The organization calls on the authorities to immediately drop all charges against peaceful protesters and release those still detained.

“The steadily growing protests across Thailand are clear proof of how much people value their rights to freedom of expression and peaceful assembly,” said Rajat Khosla, Amnesty International’s Senior Director for Research, Advocacy and Policy.

“Instead of maintaining a safe space for people to express their opinions, authorities have repeatedly criminalized peaceful protests through Thailand’s vaguely worded and draconian laws. Charges brought against the supposed protest leaders are merely tactics to scare the whole movement. They are arbitrary, unwarranted and politically motivated.”

At least 84 people have been charged since 13 October, the start of a wave of near-daily mass rallies that followed regular protests across Thailand starting in February. The protests were prompted by the Constitutional Court dissolving the Future Forward party, popular with many young people. Among those charged are two children, aged 16 and 17.

The overwhelmingly peaceful protests have coalesced around three demands: dissolving the parliament and holding fresh elections; political reforms including reforms to the monarchy and revising the military-drafted constitution; and ending the harassment of peaceful government critics.

In response to mounting protests, on 15 October the authorities declared a “severe” state of emergency, banning gatherings of five people or more in the capital, Bangkok as well as the publication of news or online messages that “could create fear”, affect national security or damage public morale.

State of emergency lifted – but scores charged and many detained

The “severe” state of emergency was lifted earlier this week, on 22 October, following a televised address by Prime Minister Prayut Chan-O-Cha the previous evening. (Authorities continue to enjoy emergency powers under a separate Emergency Decree in effect since May 2020, ostensibly to control the COVID-19 pandemic.)

In his Wednesday speech, the Prime Minister described the protesters as “peaceful, well-meaning people who are genuine in their desire for a better society and a better nation”, although he accused a minority of committing crimes. He highlighted the role of the special parliamentary sessions scheduled on 26 and 27 October to “discuss and resolve these differences through the parliamentary process”.

“The Prime Minister acknowledged that protesters have been overwhelmingly peaceful and lifted the state of emergency. This was a welcome recognition by the government of the right to protest and a de-escalation in the authorities’ approach,” said Rajat Khosla.

“But the authorities must now move beyond rhetoric and drop the charges against peaceful protesters. This should include quashing convictions of all others penalized since the 2019 elections for peacefully calling for reform or expressing political views.”

A total of 90 have been detained since 13 October, with 84 charged. Six were released without any charges, most others released on bail. Eight remain in detention, including student protest leaders Panusaya “Rung” Sithijirawattanakul and Parit “Penguin” Chiwarak; lawyer Arnon Nampa; former prisoners of conscience Patiwat “Bank” Saraiyaem, Ekachai Hongkangwan and Somyot Pruksakasemsuk; activist Panupong “Mike” Chadnok and child welfare activist Suranat “Tan” Paenprasert.

“These protest leaders are behind bars solely for peacefully expressing their views on political reforms and human rights. There is no basis for their detention and they must be released immediately and unconditionally,” said Rajat Khosla.

Majority charged on vague, draconian charges

An estimated 84 people have been charged with crimes since 13 October, a majority of them (65) for breaches of the vaguely-worded “severe” state of emergency lifted on 22 October.
Several have been charged with ‘sedition’ (section 116 of the Penal Code), a broadly-worded law often used to quash dissent by authorities which carries a maximum jail sentence of seven years. Others have been charged for their social media activities under the Computer Crime Act, a law which also contains many vague provisions that have regularly been used to limit people’s freedom of expression, as Amnesty International documented in a report earlier this year.
Three people – undergraduate student Boonkueanoon “Francis” Paothong, pro-democracy activist Ekachai Hongkangwan and child welfare activist Suranat Paenprasert – have been charged under section 110 of the Criminal Code for “intending to cause harm to Her Majesty the Queen’s liberty”, a charge which carries a maximum sentence of life imprisonment.

The three were among a peaceful assembly on 14 October which the Queen’s motorcade passed through. Authorities have not credibly explained why these three were singled out for prosecution from among the masses gathered or what risk may have been brought by their alleged actions. “Francis” Paothong has been released on bail, while the other two remain in detention.
An estimated 54 people have been charged with multiple offences and some face lengthy jail sentences. In a particularly egregious example, 22-year-old political science student Parit “Penguin” Chiwarak faces at least 18 criminal charges for his alleged role in recent public protests, including calling for an investigation into the alleged abduction of Wanchalearm Satsaksit, a Thai blogger in exile in Cambodia who disappeared there in June.

“Thai authorities must build on their latest commitments to de-escalate the situation. They must end the legacy of misuse of emergency laws, mass arrests and legal harassment,” said Rajat Khosla.

Amnesty International calls on the Thai authorities to respect their international obligations to protect the human rights to freedom of expression and peaceful assembly under the International Covenant for Civil and Political Rights, as well as protect the rights of persons under the age of 18 who attend protests under the Convention on the Rights of the Child, both binding on Thailand.