ThaiPublica > เกาะกระแส > วิจัยกรุงศรีถอดบทเรียน Targeted monetary policy โลก สู่ตัวช่วยเศรษฐกิจไทยในยามอ่อนแรง

วิจัยกรุงศรีถอดบทเรียน Targeted monetary policy โลก สู่ตัวช่วยเศรษฐกิจไทยในยามอ่อนแรง

29 สิงหาคม 2019


วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) เผยแพร่บทวิจัย นโยบายการเงินผ่อนคลายแบบเจาะจงเป้าหมาย: ตัวช่วยเศรษฐกิจไทยในยามอ่อนแรง ซึ่งได้ ศึกษารูปแบบ Targeted monetary easing ของธนาคารกลางสำคัญได้แก่ ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางจีน เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน

นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary policy) เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญและถูกนํามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่าง ‘สมดุล’ เนื่องจากมีจุดเด่นในการดูแลและป้องกันความเสี่ยงบางจุดเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเป็นวงกว้างของการใช้นโยบายการเงินแบบปกติที่อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

ปัจจุบันไทยได้เริ่มดำเนินการใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมายแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นเฉพาะเครื่องมือดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (เช่น มาตรการกำกับดูแลรายสถาบันการเงิน และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน) ขณะที่เครื่องมือที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีจำกัด

รูปแบบ Targeted monetary policy ในต่างประเทศ โดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกัน มุ่งเน้นเสริมสภาพคล่องระยะยาว และลดต้นทุนการกู้ยืมให้ต่ำกว่าปกติ

Targeted monetary easing ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันในมิติของกลุ่มเป้าหมายและรายละเอียดต่างๆ (ตารางที่ 1) แต่รูปแบบโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ

    1) การเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระยะปานกลางและระยะยาว
    2) การช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมหรือลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าปกติ
    3) การปรับวิธีการเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในลักษณะที่ผ่อนคลายกว่าปกติ ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญของนโยบายการเงินในรูปแบบนี้ คือ การระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนแทนที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินให้แก่ทุกภาคเศรษฐกิจในวงกว้าง

สภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายแบบเจาะจงเป้าหมาย

ระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมาก แต่เม็ดเงินยังไม่ไหลไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง จากภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่า ภายหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ใกล้ศูนย์แต่ยังไม่สามารถช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ ธนาคารฯ จึงใช้เครื่องมือ TLTRO ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันยอดการปล่อยสินเชื่อแก่กลุ่มเป้าหมายหรือภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยการส่งผ่านผลของนโยบายการเงินไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่เป็นกลุ่มเป้าหมายปรากฎชัดเจนในอิตาลีและสเปนซึ่งเป็นประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว

การเติบโตของเศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนมีความแตกต่างกันมาก

ภาคเศรษฐกิจของจีนในช่วงที่ผ่านมามีการเติบโตที่ไม่สมดุล กล่าวคือ ผู้ผลิตรายใหญ่มีภาวะธุรกิจอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว แตกต่างจากผู้ผลิตขนาดกลางและเล็กที่เผชิญภาวะซบเซามาโดยตลอด ขณะเดียวกันภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงและเสี่ยงภาวะฟองสบู่ การใช้นโยบายการเงินแบบทั่วไปอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอหรืออาจสร้างผลข้างเคียงเชิงลบได้หากผ่อนคลายมากจนเกินไป ธนาคารกลางจีนได้ใช้มาตรการ Targeted RRR อย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้คืออัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารและอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเฉลี่ยลดลงต่อเนื่อง (ภาพที่ 2) ส่งผลให้ยอดปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจขยายตัวดีขึ้น โดยไม่ได้สร้างความเปราะบางให้แก่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สะท้อนได้จากราคาบ้านเฉลี่ยในแต่ละเขตเมืองปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงสินเชื่อประเภท Shadow Banking ของจีนหดตัวต่อเนื่อง

ตลาดการเงินมีความอ่อนไหวสูงต่อปัจจัยภายนอกประเทศ

ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2558 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกู้ยืมระยะ 1 ปี จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 1.5 ผลปรากฎว่า เงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันเป็นเหตุให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากในช่วงนั้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีนยังเป็นแบบคงที่ ทำให้รัฐบาลจีนต้องใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากในการพยุงค่าเงิน ประสบการณ์ดังกล่าวทำให้ปัจจุบันธนาคารกลางจีนหลีกเลี่ยงที่จะใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

Targeted monetary easing ที่เหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจไทย: มาตรการเสริมสภาพคล่องระยะยาวและลดต้นทุนทางการเงินเฉพาะกลุ่ม

จากบทเรียนในต่างประเทศสามารถแบ่งเครื่องมือ Targeted monetary easing ได้เป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกได้แก่ มาตรการเพิ่มสภาพคล่องในระบบ เช่น Targeted RRR ของจีน แต่เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ของไทยมิได้เผชิญปัญหาสภาพคล่องทั้งในภาพรวมและในระดับรายธนาคาร มาตรการนี้จึงไม่จำเป็นสำหรับไทย

กลุ่มที่สองได้แก่ มาตรการเสริมสภาพคล่องระยะยาวและลดต้นทุนการเงิน เช่น TMLF (จีน) TLTRO (ยูโรโซน) และ TFLS (อังกฤษ) เครื่องมือเหล่านี้โดยภาพรวมมีความคล้ายคลึงกับมาตรการสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ำที่ไทยเคยดำเนินการไปในปี พ.ศ. 2555 และน่าจะเหมาะสมกับระบบการเงินไทยที่มีลักษณะ Bank-based economy เพราะอาศัยการส่งผลกระทบผ่านกลไกสถาบันการเงิน ดังนั้น ไทยอาจยึดเครื่องมือในอดีตเป็นต้นแบบ แต่กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงแก่เสถียรภาพระบบการเงิน

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของไทยอาจคล้ายคลึงกับจีน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยไม่ได้เกิดภาวะวิกฤตการเงินในวงกว้างเช่นเดียวกับยุโรป แต่มีการชะลอตัวเกิดขึ้นในบางกลุ่มที่การส่งผ่านผลกระทบของนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพต่ำ และมักอ่อนไหวต่อวงจรเศรษฐกิจ ทั้งยังเผชิญปัญหาในการเข้าถึงสภาพคล่อง เช่น กลุ่มธุรกิจ SMEs รวมถึงกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนจากปัญหา Asymmetric Information เช่น กลุ่มผู้ประกอบการ Start-ups หรือภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ อาทิ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล (คล้าย Funds-Supplying Operation ของญี่ปุ่น) นอกจากนี้ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายควรมีการกำหนดกลุ่มยกเว้น ได้แก่ สินเชื่อครัวเรือนทุกประเภท เนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนยังคงเร่งขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

จากความสำเร็จในหลายประเทศ วิจัยกรุงศรีคาดว่าการทำนโยบายแบบ Targeted monetary easing ในประเทศไทยจะช่วยส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้น เนื่องจากจะส่งผลด้านบวกต่อต้นทุนการเงินจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มภาวะการแข่งขันในตลาดการปล่อยสินเชื่อภาคธนาคาร ปัจจัยบวกทั้งสองนี้จะช่วยชดเชยปัจจัยด้านความเสี่ยงหรือภาวะ Procyclicality จากเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้การส่งผ่านสภาพคล่องของธนาคารไปสู่การปล่อยสินเชื่อในระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิจัยกรุงศรี มีมุมมองว่า Targeted monetary easing จะเป็นมิติใหม่ของเครื่องมือนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตกระจายตัวทั่วถึงในทุกภาคส่วนและยั่งยืน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมและเติมเต็มการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างน้อย 3 ประการ คือ

    1) ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินบรรลุเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพอย่างสมดุลโดยดูแลทั้งเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่กัน
    2) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายในมิติเชิงคุณภาพนอกเหนือจากเชิงปริมาณ ท่ามกลางข้อจำกัดที่ทำให้ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินด้อยลง รวมถึงขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่ค่อนข้างจำกัดในปัจจุบัน
    3) เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเชิงรุกช่วยสนับสนุนบางภาคเศรษฐกิจที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษแม้ในยามที่เศรษฐกิจยังไม่ประสบปัญหา แตกต่างจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบปกติที่มีลักษณะเชิงรับซึ่งมักจะตอบสนองหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจน

……

EXIM Thailand Rolls out “Loan for Thai Franchise/Thai Chain Buyers” to Drive Export of Goods and Services under Thai Brands/Chains, Particularly to CLMV

Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed at a seminar titled “Thai Franchise to Global” held by EXIM Thailand in collaboration with Department of Business Development, Ministry of Commerce, at Anantara Siam Bangkok Hotel that there are at present 49 Thai franchise brands operating overseas, most of which are in the food and beverage sector, followed by education and spa businesses. Approximately 80% of Thai franchise brands have expanded into CLMV (Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam) taking advantage of Thailand’s social and cultural similarities to those countries, thus responding well to their consumers’ lifestyles. Moreover, with robust economic growth, CLMV’s per capita income and purchasing power have consistently been on the rise. Over the next five years, CLMV’s economic growth is predicted to average more than 6% per year, almost doubling global economic growth, with an increase in purchasing power of 30% by 2023, while domestic production of goods and services is still inadequate to serve demand in terms of both quantity and quality.

Mr. Pisit said that, with such bright growth prospects of Thai franchise business abroad, EXIM Thailand has developed “Loan for Thai Franchise/Thai Chain Buyers” as a long-term credit facility, with a repayment period not exceeding that of the respective franchising/chain agreement. The minimum interest rate chargeable is LIBOR +3.50 % per annum in US dollar and prime rate per annum (currently 6.125% per annum) in Thai baht. Collateral will be considered as appropriate by the Bank. With the total target approval amount of 800 million baht, the credit facility is aimed to support entrepreneurs who wish to buy and run Thai franchise business overseas or engage Thai chains to operate their business overseas.

EXIM Thailand President further said that, to expand Thai franchise business abroad, entrepreneurs need to develop and ensure their Thai-brand businesses and services can respond to the fresh demand of the rapidly changing lifestyles in those markets today. They have to cater to the needs of new generation consumers and businessmen, whether they are locals or expatriates working in CLMV or even foreign tourists who expect good and high standard services. Entrepreneurs also have to understand different opportunities, rules and regulations in each market, run their business prudently in each stage from determination of marketing strategy and registration of trade mark to selection of determined and trustworthy franchisees. They need to understand the franchise system and be keen in managing and strengthening their supply chain with efficient management of raw material, packaging, processing and logistics costs.

“Start-up a franchise business in CLMV is an interesting venture for Thai entrepreneurs in view of such favorable factor as CLMV populations’ familiarity with Thai brands perceived through various media they have followed, our location in close proximity to their countries, Thai product reputation in terms of international standard quality and affordable prices. In addition, EXIM Thailand has representative offices in CLM (Cambodia, Lao PDR and Myanmar) that can work closely with the public and private sectors in the respective countries under Team Thailand to support the expansion of Thai franchise businesses which currently reach 584 franchise brands with more than 100,000 branches across Thailand,” added Mr. Pisit.