ThaiPublica > คอลัมน์ > ทำไมคนเราส่วนใหญ่มักจำว่า ความรักที่สั้นเเต่หวือหวา นั้นดีกว่าความรักที่ราบเรียบเเต่ยาวนาน

ทำไมคนเราส่วนใหญ่มักจำว่า ความรักที่สั้นเเต่หวือหวา นั้นดีกว่าความรักที่ราบเรียบเเต่ยาวนาน

17 กันยายน 2015


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
www.powdthavee.co.uk

คุณผู้อ่านเชื่อไหมครับว่าคำตอบของคำถามที่ว่า “ถ้าคนเราส่วนใหญ่มองย้อนกลับไปในอดีตความรักของตัวเอง คุณผู้อ่านว่าคนเรานั้นน่าจะจำได้ว่าชอบความรักเเบบไหนมากกว่ากัน ระหว่าง ก) ความรักที่หวือหวาเเต่มีระยะเวลาที่สั้น (คล้ายๆกันกับ holiday romance) เเละ ข) ความรักที่ราบเรียบเเต่ยาวนาน” จะมาจากงานวิจัยที่ทำกับอาสาสมัครชายที่มาตรวจสุขภาพของลำไส้ของตัวเองที่โรงพยาบาล (หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่าการตรวจ colonoscopy นั่นเอง)

สำหรับคุณผู้อ่านที่โชคยังดีอยู่ (เพราะว่าไม่เคยต้องผ่านการตรวจสุขภาพของลำไส้มาก่อน) เเละไม่ทราบว่าขั้นตอนของการตรวจ colonoscopy นั้นมีอะไรบ้าง วันนี้ผมจะถือโอกาสในการเล่าให้ฟังเเบบคร่าวๆนะครับ ในการตรวจ colonoscopy นั้น คุณหมอจะเริ่มการตรวจโดยการให้คุณนอนตะเเคงบนเตียงก่อน หลังจากนั้นคุณหมอก็จะทำการสอดสายเคเบิ้ล (ยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร) ที่มีกล้องอยู่ตรงปลายสายเข้าไปในช่องทวารหนักของคุณ หลังจากนั้นคุณหมอก็จะทำการค่อยๆสอดสายเข้าไปเรื่อยๆจนกล้องที่อยู่ที่ปลายสายของเคเบิ้ลเข้าไปอยู่ในลำไส้เล็กของคุณเพื่อที่คุณหมอจะได้ใช้กล้องในการตรวจดูว่าภายในลำไส้ของคุณนั้นยังดูเป็นปกติอยู่ไหม

ผมคงจะไม่ต้องบอกนะครับว่าการตรวจ colonoscopy นั้นมันฟังดูเจ็บปวดเเละทรมานขนาดไหน

ถ้าเป็นเช่นนั้นเเล้วคุณผู้อ่านว่า ถ้าคุณผู้อ่านจำเป็นต้องไปตรวจ colonoscopy ในอนาคต เเลัวคุณหมอให้คุณผู้อ่านเลือกได้ระหว่าง ก) การตรวจที่เจ็บมากเเต่เเผล็บเดียวเสร็จ เเละ ข) การตรวจที่เจ็บน้อยกว่านิดนึงเเต่นานกว่ากันเยอะ คุณผู้อ่านจะเลือกการตรวจเเบบไหนครับ

Can you see where I’m going with this?

ในปีค.ศ.1996 โดนัล เรเดลเมีย (Ronold Redelmeier) เเละเเดเนียล คาห์นีเเมน (Daniel Kahneman) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับ perception of pain (หรือความรู้สึกที่เกี่ยวกับความเจ็บปวด) ของอาสาสมัครที่มารับการตรวจ colonoscopy โดยในการทดลองของเขา ทั้งสองได้ให้อาสาสมัครเเต่ละคนจากทั้งหมด154 คนรายงานความเจ็บปวดของการตรวจในขณะที่กำลังได้รับการตรวจอยู่ (หรือที่เรียกกันว่า real-time evaluation) โดยใช้วิธีการกดปุ่ม (ยิ่งกดปุ่มเเรงเท่าไหร่ก็ยิ่งเจ็บมากเท่านั้น) เเละหลังจากการตรวจเสร็จสิ้นลงไปเเล้วประมาณชั่วโมงนึง ทั้งสองก็ให้อาสาสมัครเเต่ละคนประเมินประสบการณ์ย้อนหลังว่าการตรวจ colonoscopy ของเขานั้นเจ็บมากน้อยขนาดไหนจาก “1. เจ็บน้อยที่สุด” จนถึง “10. เจ็บมากที่สุด”

เพื่อเป็นการเเสดงให้เห็นภาพของผลงานวิจัยของทั้งสอง ผมขอยกตัวอย่างผลของ real-time evaluation ของอาสาสมัครจริงๆสองคนที่เข้าร่วมทำการทดลองไว้ข้างล่างนี้นะครับ

Reference: Redelmeier & Kahneman (1996)
Reference: Redelmeier & Kahneman (1996)

เราจะเห็นได้จากรูปว่า อาสาสมัคร A นั้นกดปุ่มเพื่อบอกว่าตัวเองกำลังเจ็บอยู่ตรงนาทีที่ 3 เเละนาทีที่ 8 ของการตรวจ colonoscopy ส่วน real-time evaluation ของอาสาสมัคร B เราจะเห็นได้ว่าเขากดปุ่มที่บอกว่าเจ็บบ่อยกว่าอาสาสมัคร A ถึงสี่ครั้งด้วยกัน (นาทีที่ 3, 6, 10, 14, 19 เเละ 22)

อาสาสมัคร A ใช้เวลาในการตรวจทั้งหมด 10 นาที ส่วนอาสาสมัคร B เขาใช้เวลาในการตรวจทั้งหมด 24 นาทีด้วยกัน

จากการดูจากรูปข้างบน ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านส่วนใหญ่ก็คงจะเห็นด้วยกับผมว่า ประสบการณ์ของการตรวจ colonoscopy ของอาสาสมัคร B นั้นเเย่กว่าประสบการณ์ของอาสาสมัคร A เยอะ

เเต่คุณผู้อ่านเชื่อไหมครับว่า พอโดนัล เรเดลเมีย เเละเเดเนียล คาห์นีเเมนให้อาสาสมัครทั้งสองลองทำการประเมินประสบการณ์ย้อนหลังของตัวเองหนึ่งชั่วโมงหลังจากการตรวจ กลายเป็นว่าอาสาสมัคร A กลับจำได้ว่าตัวเองเจ็บมากกว่าสิ่งที่อาสาสมัคร B จำได้เยอะ ถึงเเม้ว่าโดยรวมเเล้วอาสาสมัคร B จะประสบกับความเจ็บปวดในขณะที่กำลังทำ real-time evaluation มากกว่าอาสาสมัคร A เยอะก็ตาม

Peak-End Effect เเละ Duration Neglect

โดยรวมเเล้ว โดนัล เรเดลเมีย เเละเเดเนียล คาห์นีเเมน สรุปการทดลองของเขาทั้งสองว่า ตัวเเปรตัวสำคัญของความสามารถของคนเราในการจำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น (our ability to remember our past experiences) ไม่ใช่ระยะเวลา (duration) ของประสบการณ์นั้นๆ เเต่ขึ้นอยู่กับว่า 1) จุดสูงสุดของความรู้สึกของประสบการณ์นั้นๆอยู่ตรงไหน (how good/bad the peak of the experience is) เเละ 2) ประสบการณ์นั้นจบลงด้วยความรู้สึกยังไง (how quickly the feeling diminishes)

ลองย้อนกลับไปดูอาสาสมัคร A เเละ B นะครับ ถึงเเม้ว่าประสบการณ์ของความเจ็บปวดของ B จะนานกว่าประสบการณ์ของ A ก็ตาม เเต่จุด peak ของความเจ็บปวดที่สุดของทั้งสองนั้นเท่ากัน (=8 บน pain intensity scale) เเละถึงเเม้ว่า B จะประสบกับความเจ็บรวมกันเเล้วมากกว่า A เเต่ตอนจบของ A นั้นเป็นการจบเเบบ peak ที่สุด (พูดง่ายๆคือจบเเบบเเย่ๆ) เมื่อเทียบกันกับการจบของ B ซึ่งเป็นการจบเเบบที่ไม่ค่อยเจ็บมากเท่าไหร่

เเดเนียล คาห์นีเเมน เรียก cognitive bias สองตัวนี้ว่า peak-end effect เเละ duration neglect

บทเรียนจากการทดลอง

คุณผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า peak-end effect เเละ duration neglect เป็น bias ที่สำคัญในชีวิตของเรายังไง ผมขอยกตัวอย่างบางตัวไว้ข้างล่างตรงนี้นะครับ

ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็น manager ของบริษัทที่มีการบริการลูกค้าเป็นหลัก คุณก็ควรที่จะรู้ว่าระยะเวลาที่คุณใช้ในการบริการลูกค้านั้นไม่ค่อยจะมีความสำคัญต่อการประเมิน customer’s satisfaction ของลูกค้าซักเท่าไหร่ เเต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการ maximise customer’s satisfaction นั้นก็คือการจบการบริการตรงที่ประสบการณ์ของลูกค้านั้น peak ที่สุด

สมมติว่าคุณกำลังไปเที่ยวกับครอบครัวของคุณ เเล้วคุณพบว่าสี่วันเเรกของการไปเที่ยวนั้นช่างไม่สนุกเอาเสียเลย เเต่พอมาถึงวันสุดท้ายก่อนที่คุณกำลังจะกลับบ้านกลับกลายเป็นวันที่คุณสนุกกับครอบครัวของคุณที่สุด ด้วยสาเหตุของ peak-end effect เวลาที่คุณมองย้อนกลับไปถึงทริปที่เคยไปเที่ยวทริปนี้ โอกาสที่คุณจะจำว่า “ทริปนี้เป็นทริปที่สนุกมาก” ก็จะสูง (เเละโอกาสที่คุณจะวางเเผนที่จะไปเที่ยวทริปเดิมอีกก็จะสูงขึ้นตามๆกันไป)

สำหรับคุณสามีทั้งหลายที่ไม่ค่อยมี stamina จำไว้นะครับว่า ระยะเวลาของประสบการณ์ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญเท่ากับการจบเเบบดีๆ

อ่านเพิ่มเติม
Redelmeier, D. A., & Kahneman, D. (1996). Patients’ memories of painful medical treatments: real-time and retrospective evaluations of two minimally invasive procedures. Pain, 66(1), 3-8.