ThaiPublica > เกาะกระแส > ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์ > ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์ – “สปป.ล้านนา สันกำแพง โต้!! ไม่คิดแบ่งแยกประเทศ” และ “คืนตำแหน่งให้ “ถวิล เปลี่ยนศรี” ภายใน 45 วัน”

ประเด็นฮอตรอบสัปดาห์ – “สปป.ล้านนา สันกำแพง โต้!! ไม่คิดแบ่งแยกประเทศ” และ “คืนตำแหน่งให้ “ถวิล เปลี่ยนศรี” ภายใน 45 วัน”

8 มีนาคม 2014


สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา สันกำแพง โต้!! ไม่คิดแบ่งแยกประเทศ

ไบร์ท พิชญทัฬห์ โต้ เตชะ ทับทอง เรื่องรายงานข่าวบิดเบือน

ชาวเน็ตตั้งคำถาม ที่มาของวลี “อย่ามาเจี๊ยบ”

กระแส ตุ๊ก ญาณี ถูกปลดจากรายการ วีไอพี ตั้งข้อสงสัยเหตุการเมือง

ศาลปกครองมีคำสั่ง คืนตำแหน่งให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี

อ่านต่อ…..

ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากสุดในโซเชียลมีเดียในรอบสัปดาห์ 2–8 มีนาคม 2557

เรื่องแรก จากการขึ้นป้ายที่มีชื่อข้อความ “สปป.ล้านนา” ทำให้เกิดควมเข้าใจว่ามีความต้องการแบ่งแยกประเทศส่วนหนึ่งออกเป็น “ประเทศล้านนา” ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จนทำให้มีผู้พูดถึงเป็นจำนวนมาก เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่และมีบทลงโทษที่รุนแรง จนทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้มีการสั่งการที่ให้ดำเนินการตามกฎหมายเอาผิดกับกลุ่ม “สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา สันกำแพง” หรือ “สปป.ล้านนา สันกำแพง” เพราะเข้าใจว่า สปป.ล้านนา นั้นเป็นชื่อย่อของ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนล้านนา”

ส่งผลให้ในสัปดาห์นี้ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา สันกำแพง นำโดยนายวันชัย จอมทัน ประธานรักษาการกลุ่ม พร้อมด้วยนางสาวพรปวีณ์ หิรัญเชรษฐ์ แกนนำกลุ่ม ต้องออกมาแถลงถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อสื่อ เหตุเพราะชื่อย่อที่ทำให้หลายคนคิดว่าเป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดในการแบ่งแยกประเทศ โดยนายวันชัย แถลงเรื่องดังกล่าวมีข้อความว่า สปป.ล้านนา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2556 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนแนวทางของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย นั่นคือ สนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่มีนโยบายแบ่งแยกดินแดนใดๆ ทั้งสิ้น

ที่มาภาพ : https://www.facebook.comAssemblyforthedefenseofdemocracylanna
ที่มาภาพ: https://www.facebook.comAssemblyforthedefenseofdemocracylanna

การติดป้ายข้อความที่เอ่ยถึงการขอแบ่งแยกประเทศนั้น เป็นการกระทำจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี และแอบอ้างใช้ชื่อ สปป.ล้านนา ทั้งขอยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนร่วมและรู้เห็นเป็นใจใดๆ เกี่ยวกับเรื่องการแบ่งแยกประเทศทั้งสิ้น พร้อมยังแจ้งต่อสื่อทุกแขนงให้มีการนำเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์ และวิเคราะห์ให้รอบด้าน

“ประเทศไทยถ้าคนดีอยู่ไม่ได้ก็น่าจะเป็นแบบสามจังหวัดภาคใต้ อย่ากดดันกันมากกว่านี้ครับ ไม่เกิดประโยชน์อันใด”

“ตีความให้มันวุ่นวาย เป้าหมายน่าจะปกป้องประชาธิปไตยสนับสนุนการเลือกตั้ง มากกว่า ใครคิดจะแบ่งแยกประเทศ ทำไปได้ไง ครอบครัวหนึ่ง มีลูกหลานย้ายไปทำมาหากิน กระจายทั่วประเทศ เยอะแยะมากมาย”

“มันมีจริงแหละครับ ที่ขยายความ “สปป.” ออกมาว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา นั่นมันแค่เลี่ยงความหมายเท่านั้นเอง ไม่งั้นจะมีกลุ่มออกมาร้องขอแยกประเทศเหรอ..อีกอย่าง คำว่า “สมัชชาปกป้องประชาธิปไตยล้านนา” มันก็แปลกๆ นะ ทำไมต้องล้านนา? ล้านนาไม่ใช่ประเทศไทยรึ?”

“ถ้าแยกได้ ตั้งชื่อสกุลเงินเป็น รูปู ด้วยนะ ใช้แลกเงินตรากับเงินรูปี เผื่อจะได้สักประเทศ”

“ถ้าคุณเป็นคนดีจริง และยุติธรรมจริง ก็ต้องมองเห็นความดีของคนอื่นบ้าง แต่นี่คุณอยุติธรรม ทำให้คุณเลือกมอง แต่ความไม่ดีของคนอื่น โดยไม่มองตัวเอง แพร่เชื้อความเกลียดชังให้กับสังคมไทย เพื่อสนองกิเลสตัวเอง ใส่ร้าย ป้ายสีใคร ต่อใครตามอำเภอใจ คนเราถ้าเห็นเหมือน กันหมด มันก็หมายถึงหุ่นยนต์ ที่ไม่มี ชีวิตจิตใจ มองคนเห็นต่างว่าเขาไม่ดี คุณก็เห็นต่างกับเขา ทำไมคุณไม่ว่า ตัวเองไม่ดี”

“ขอให้พระสยามเทวาธิราชจงปกป้องคุ้มครองลูกหลานไทยบนผืนแผ่นดินนี้ให้อยู่รอดปลอดภัย มันผู้ใดก็ตามที่คิดร้าย ต่อแผ่นดินเกิดสมควรได้รับกรรมในขาตินี้ด้วย”

เรื่องที่สอง กลายเป็นเรื่องราวให้มีการโต้กลับกันในโซเชียลเน็ตเวิร์ก เมื่อเฟซบุ๊กของผู้ที่ใช้ชื่อว่า “เตชะ ทับทอง หนึ่งร้อยตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ” มีการเขียนข้อความถึงการรายงานข่าวของผู้ประกาศข่าวสาวช่อง 3 “ไบรท์ พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ” กรณีการเสียชีวิตของน้องขิม ในพื้นที่การชุมนุม กปปส. จังหวัดตราด ว่าเป็นรายงานข่าวที่บิดเบือน เพราะเด็กที่เสียชีวิตนั้นไปช่วยแม่รับจ้างล้างจานและไปช่วยแม่ซื้อของที่ห้าง ไม่ใช่การไปร่วมชุมนุม ทั้งยังมีข้อความเชิงเหน็บแนมส่งไปถึงสาวไบรท์อีกด้วย จนสาวไบรท์ต้องขอชี้แจงการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว โดยมีข้อความว่า

“การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานสามารถทำได้ แต่อย่าบิดเบือน และข่มขู่ ข้อเท็จจริงของข่าวที่รายงานเมื่อเช้าคือ

1. เหตุการณ์ที่ จ.ตราดมีเด็กเสียชีวิต 2 คน คนที่รายงานเมื่อเช้าคือ “ด.ญ.ณัฐชยา รอสูงเนิน หรือน้องขิม” ซึ่ง “เป็นคนละคน” กับ “ด.ญ.ฬิฬาวัลย์ พรหมช่วย” (ไม่ทราบชื่อเล่น) ที่วิ่งเล่นอยู่ในวันเกิดเหตุขณะแม่กำลังล้างจานแล้วถูกยิงเสียชีวิต

2.นางละมัย รอสูงเนิน ย่าของน้องขิมเล่าเหตุการณ์วันเกิดเหตุว่า ตนพร้อมนายมานะ รอสูงเนิน ผู้เป็นปู่ ได้พาน้องขิมพร้อมหลานๆ ไปฟังการปราศรัยของกลุ่ม กปปส. ที่ตลาดยิ่งเจริญ ก่อนกลับพาหลานไปนั่งทานก๋วยเตี๋ยวที่ร้านเกิดเหตุ / เช่นเดียวกับนายวัชระ พูนทอง ลุงของน้องขิมที่เล่าว่า น้องขิมติดตามปู่และย่า ไปฟังการปราศัยของกลุ่ม กปปส.ที่ต.แสนตุ้ง เนื่องจากนายมานะและนางละมัยชอบ กปปส. จนมาเกิดเหตุน้องขิมถูกยิงแล้วเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ที่มาภาพ : http://www.talkystory.comp=79341
ที่มาภาพ: http://www.talkystory.comp=79341

การโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กของ “เตชะ ทับทอง หนึ่งร้อยตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ” จึงเป็นการบิดเบือนและกล่าวหา โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลอย่างถูกต้อง/การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานสามารถทำได้ และยินดีเปิดรับฟังทุกฝ่ายนะคะ แต่ต้องไม่มีอคติ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อข่มขู่ และสร้างความเกลียดชัง”

ทางด้าน “เตชะ ทับทอง หนึ่งร้อยตัวแทนทำดีเพื่อพ่อ” ก็มีการโพสต์ข้อความโต้กลับ โดยสรุปได้ว่า ตนจะมีการระมัดระวังในการใช้ข้อความให้มากขึ้น ไม่ทำให้ต้องรู้สึกเหมือนกำลังรังแกใคร พร้อมทั้งขอบคุณการตอบกลับของ “ไบรท์” ที่ทำให้รู้ว่า ไบรท์รู้จัก “ข้อมูลที่ถูกต้องและละเอียดไม่บิดเบือน” พร้อมทั้งทำให้ตนอยากตื่นมานั่งดูรายการข่าวของสื่อที่มีมาตรฐาน เสนอไม่บิดเบือน ไม่เอนเอียง ไม่เลือกนำเสนอบางมุม ไม่เข้าข้างใครตามที่ไบรท์จะเป็นอย่างที่เขียนโต้ตอบมา

ในกรณีของ “น้องขิม” เตชะ ทับทอง กล่าวว่าไม่ได้พูดถึงน้องขิมหรือใคร แต่ไบรท์เองกลับกล่าวถึงน้องขิมเป็นหลัก และเน้นย้ำว่าเป็นการนำเด็กไปร่วมชุมนุมกับ กปปส. และเป็นลูกหลานของผู้ร่วมสนับสนุน จนทำให้ตนเองกลายเป็นผู้บิดเบือนไป ทั้งที่ตนไม่ได้กล่าวถึง

ซึ่งการโต้ตอบของทั้งคู่ ก็กลายเป็นคู่มวยเด็ด ที่ชาวเน็ตติดตามและพูดถึงเพราะต่างก็กล้าที่จะใช้คำพูดและการโต้ตอบกันอย่างตรงไป ตรงมา

“สื่อที่ดีจะต้องเสนอแต่ความจริง และส่งเสริมให้ผู้ชมกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง กรณีนี้ เด็กไปกับปู่ ย่าไปร่วมชุมนุน กปปส. เป็นความผิดด้วยเหรอ และพวกที่ไปปาระเบิด ยิงกราดใส่พวกชุมนุน พวกเขาทำถูกหรือไง จรรยาบรรณของสื่อไปไหนหมดไบร์ท”

“การทำงานของสื่อ…ยกตัวอย่าง อย่างคุณไบรท์ เขาตั้งทำงานอย่างจริงใจ…มาประกาศข่าวอย่างเต็มใจ…บางคนอาจจะอ่านดีหรือไม่ดีด้วยบุคลิกลักษณะ…แต่ในขณะเดียวกัน…คนดูข่าว ก็ชอบแต่ตำหนิ…ถามว่าคุณไปอ่าน อาจจะแย่กว่าเขาก็ได้…หรืออาจจะดีกว่า…แต่นั่นอย่าไปว่าเธอเลย ว่าเธออ่านข่าวไม่ได้เรื่อง…สิ่งที่อยากบอกอีกอย่าง…โดยเฉพาะตัว คุณไบรท์เอง เธอตั้งใจมาทำงาน มานำเสนอข่าว…มีคนเขียนสคริปข่าวมาให้และเธอก็ต้องอ่านและศึกษาก่อน…ไตร่ตรองก่อน…และเธอก็ไม่น่าคิดที่จะบิดเบือนข่าวด้วย…เอาสมองไหนคิด…(เป็นกำลังให้คุณไบรท์และผู้สื่อข่าวทุกคน)…ชอบไม่ชอบติได้แต่อย่าประจารณ์จนเกินเหตุ….(เพราะคุณคือผู้สื่อข่าวที่ทำให้เรารู้ทันเหตุการณ์บ้านเมือง) สู้ ๆ”

“พอเป็นผู้หญิง ทำไมจะต้องบอก โดนรังแก หรือคนอื่นรังแกตลอดเลย กี่ครั้งกี่หน ที่ไบรท์ ติดสอยห้อยตามสรยุทธ อ่านข่าว บิดเบือน ค่อนข้างเอียงบ่อยครั้ง ไบรท์น่าจะรู้ว่าไม่ได้มีความสามารถเลย ที่มาอ่านข่าวคู่สรยุทธ ได้เพราะเป็นผู้หญิง และยอมสรยุทธ”

“ไม่เป็นไรเรื่องธรรมดาข่าวมันเยอะช่วงนี้ก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างให้อภัยค่ะ”

“น้องไบรท์ อ่ะ คุณสรยุทธเขาเรียกด้วยความเป็นเด็กน่ารักๆ ตามบุคลิกของน้อง แล้วคนอื่นก็ไปเรียนตามคุณสรยุทธ คนอื่นที่เรียก ก็เห็นความน่ารักของน้องด้วย ถ้าคุณไม่ชอบ คุณก็ไม่ต้องเรียกว่าน้องไบร์ท จบนะ”

“ไม่ชอบก็ไม่ต้องไปดูเค้า จะวิจารณ์เค้าเพื่ออะไร”

เรื่องที่สาม เป็นคำศัพท์ใหม่ที่มีผู้พูดถึงกันมาก จนสร้างความสงสัยว่าคืออะไร และมีที่มาจากไหนกับคำว่า “อย่ามาเจี๊ยบ” ซึ่งก็มาจากชื่อเล่นของ “หมวดเจี๊ยบ” โดยที่บล็อก OKnation ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้

“เจี๊ยบ” หมายถึง พูดจาโกหก สร้างเรื่อง บีบน้ำตา ดรามา กระแดะ หรืออาการร้องไห้ขี้มูกโป่งออกสื่อ บิดเบือนข้อเท็จจริง จากการสร้างวีรกรรมด้วยการเอาตัวเข้าไปเสี่ยงกับการลงทัณฑ์ของมวลมหาประชาชน

ตัวอย่าง “อย่ามาทำเป็นเจี๊ยบกับผมนะ” หมายถึง อาการกวนโอ๊ย วอน ด้วยการเสแสร้ง ทำเป็นมีจริตมารยาอย่างสตรีเพศ แท้ที่จริงมีเจตนาสวมรอย หรือพาตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับลูกกระสุนป๊อปคอร์นและการลงทัณฑ์ของมวลมหาประชาชน เมื่อจับได้ก็แกล้งร้องไห้ ขี้มูกโป่ง ฟ้องสื่อเพื่อส่งสารไปยังผู้ที่อยู่แดนไกล อาจเสแสร้งทำไปเพื่อเอาตำแหน่ง เป็นต้น

ทางด้านเว็บไซต์สำนักข่าวแนวหน้า ได้ลงกลอนของ “พี่คนดี กวีสมัครเล่น” โดยมีข้อความว่า

“อย่ามาเจี๊ยบ โปรดเงียบ อย่ามาเจ๋อ
ใครเชิญเหรอ เขาไม่เชิญ อย่าเดินหา
อย่ามาเจี๊ยบ อย่าหาทาง สร้างราคา
อย่ามาบีบ น้ำตา ไม่น่าดู

อย่ามาคิด ว่าคนอื่น อยากขืนใจ
ไม่ควรไป ก็ยังไป ทำไมหนู
ทำเบ้หน้า บีบน้ำตา หลั่งพรั่งพรู
อย่ามาเจี๊ยบ เห็นเห็นอยู่ เขารู้ทัน”

ทางด้านชาวโซเชียลเน็ตเวิร์กก็มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวลีนี้เช่นกัน ดังต่อไปนี้

“รับทราบ ต่อไปนี้จะใช้ศัพท์ให้ถูกต้อง”

“คำนี้มาจากการเมืองตอนนี้แหละครับ ลองหาอ่านดูครับ ลักษณะเหมือนกับ อย่ามานาธาน ประมาณนี้ครับ”

“อ้าว ชื่อเจี๊ยบด้วยอ่ะ รีบเปลี่ยนด่วน”

“อย่าเลยครับ สงสารคนชื่อเจี๊ยบ”

“สำหรับผมคำๆนี้ไม่ค่อยเท่าไรนะครับ แต่ถ้ามาบอกผมว่า ” คุณอย่ามาเหวงกับผมนะ” อันนี้ผมจะรู้สึกเสียความรู้สึก ว่าผมพูดกับใครไม่รู้เรื่องเลย ทำให้ใครมึน งง กับ ไม่เขาใจในสิ่งที่ผมพูด อันนี้ผมเสียความรู้สึกมากๆ เลย ดังนั้น “อย่ามาเหวงกับผมนะ”

“มนุษย์เราทุกคนล้วนหา เหตุผล มารองรับความคิดเห็นของเราได้เสมอ แต่สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างคือ การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น”

เรื่องที่สี่ กระแสข่าวจากการที่พิธีกรชื่อดัง ตุ๊ก ญาณี จงวิสุทธิ์ ถูกปลดฟ้าผ่าจากตำแหน่งพิธีกรรายการ “วีไอพี” โดยที่บรรดาชาวโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างวิพากษ์วิจารณ์สาเหตุการถูกปลดจากรายการ ว่าเนื่องมาจากการแสดงเลียนแบบรักษาการนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในเวทีชิดลม

โดยค่ายโพลีพลัส ต้นสังกัด และสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 มีการแจกแจงสาเหตุดังกล่าวต่อสื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง แต่การเปลี่ยนตัวพิธีกร เป็นการเปลี่ยนทั้งคู่ คือ ตุ๊ก ญาณี จงวิสุทธิ์ และพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ เป็น หนูแหม่ม สุริวิภา กุลตังวัฒนา และ เจนนิเฟอร์ คิ้ม เพื่อเปลี่ยนรูปแบบรายการ อีกทั้งมีการคุยเรื่องดังกล่าวมาสักระยะหนึ่งแล้ว

ญาณี จงวิสุทธิ์ ที่มาภาพ : http://www.komchadluek.net
ญาณี จงวิสุทธิ์ ที่มาภาพ: http://www.komchadluek.net

ทางด้าน ตุ๊ก ญาณี หลังจากมีกระแสข่าว ก็ไม่มีสื่อใดติดต่อได้ จนสร้างกระแสให้ชาวออนไลน์คิดไปต่างๆ นานา แต่ในที่สุด ตุ๊ก ญาณี ก็ยอมให้สัมภาษณ์ต่อสื่อทางโทรศัพท์ถึงเรื่องดังกล่าว โดยได้ให้คำตอบคล้ายคลึงกับเหตุผลของต้นสังกัด เนื่องจากรายการนิ่งและมีรูปแบบเหมือนเดิมมานานเกือบ 10 ปี ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา ทั้งยังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วีวีไอพี” อีกด้วย

ในส่วนเรื่องการแสดงออกทางการเมืองอย่างชัดเจน ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและการทำงานอยู่บ้าง โดย ตุ๊ก ญาณี เล่าให้สื่อฟังว่า มีลูกค้าโทรมาด่าในร้าน “พิซซ่า พิซซ่า บาย ญาณี” แต่ตนไม่ถือสา เพราะคนคิดต่าง ไม่ใช่ว่าผิดหรือเราถูก

“ไม่อยากคิดเลย นี่ขนาดอาชีพดารายังโดนขนาดนี้ แล้วข้าราชการทั้งหลายที่โดนโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม คงเดือดร้อนกันเยอะ”

“แต่ค่ายโพลีพลัส เป็นของ อรพรรณ วัชรพล สะใภ้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คงไม่ต้องสงสัยอะไรแล้วกระมัง”

“ดารา เป็นคนของประชาชนไม่ควรแสดงออกทางการเมืองให้มาก”

“ชอบค่ะ..คำเดียวสั้นๆชอบที่คุณกล้าออกมาแสดงออกไม่กลัวว่าใครจะมาไล่คุณออกหรือยังไง…เพราะรู้อยู่ว่าทำแบบนี้สักวันจะต้องมีคำสั่งเบื้องบนลงมาแน่นอน…คนที่บอกว่าการเป็นนักแสดงให้เป็นกลางน่ะคุณควรไปบอกคนที่กุมอำนาจดีกว่าไหมให้เป็นกลาง…น่ะไม่ใช่เข้าข้างคนที่ให้ผลประโยชน์กับคุณ..เพราะนักแสดงเค้าเป็นเพียงคนที่สวมบทบาทให้เราดูให้เรามีความสุขให้เรา”

“ชอบคุณตุ๊ก คุณเป็นนักแสดงที่กล้าทำในสิ่งที่ถูกที่ควร ในขณะที่ดาราบางคนไม่กล้าเพราะกลัวไม่มีงานแสดง ขอเป็นกำลังใจให้และจะติดตามผลงานทุกรายการของคุณ”

“เข้าใจนะคับว่าดาราก็มีสิทธิ์ในการคิด ในการแสดงออก ในการฝักใฝ่ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทางการเมือง แต่อย่าลืมว่า ดาราคือคนของประชาชน ควรแสดงออกในทางที่เป็นกลางจะดีกว่า ”

เรื่องที่ห้า ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งในวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2557 ให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้กับนายถวิล เปลี่ยนศรี ภายใน 45 วัน ก่อนที่จะเกษียณในเดือนตุลาคม 2557 หลังจากนายถวิลได้มีการต่อสู้คดีเพื่อให้ได้ตำแหน่งกลับมา ตั้งแต่รักษาการนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ให้นายถวิลไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ

นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้เคยยืนเคียงข้างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับช่วงเวลาที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งยังเคยอยู่ในกองบัญชาการต้านม็อบแดง ในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ได้กล่าวต่อสื่อถึงการต่อสู้ดังกล่าวไว้ด้วยว่า ตนเองต่อสู้เรื่องดังกล่าวมา 2 ปี 6 เดือน โดยไม่ได้ต่อสู้เพื่อให้ได้ตำแหน่งคืนมา แต่สู้เพื่อหวังความยุติธรรม และไม่ได้ต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ มากไปกว่าเกียรติและศักดิ์ศรีที่ข้าราชการพึงมี ฝ่ายการเมืองต้องเคารพศักดิ์ศรีของข้าราชการประจำ สมช. พร้อมฝากข้อความไปถึงรักษาการนายกรัฐมนตรี ว่าไม่ควรใช้ระบบอุปถัมภ์พวกพ้องเพื่อสนองประโยชน์ของตนเอง เพราะจะเป็นการทำลายระบบข้าราชการอย่างย่อยยับ

นายถวิล เปลี่ยนศรี“เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
นายถวิล เปลี่ยนศรี

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ชาวโซเชียลเน็ตเวิร์กให้ความสนใจกันมาก เพราะต่างก็มีความคิดข้องใจในเหตุผลของคำสั่งการย้ายตำแหน่งเมื่อครั้งเดือนกันยายน 2554 เป็นอย่างมาก

“ขอบพระคุณศาลปกครองสูงสุด ที่ให้ความเป็นธรรมแก่คนดีที่ถูกกลั่นแกล้ง โดยรัฐบาลที่ลุแก่อำนาจที่มีอยู่ในมือ”

“ขอแสดงความยินดีกับข้าราชการอย่างคุณถวิล และขอประนามพวกการเมืองที่ชอบกลั่นแกล้งคนที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตัวเอง”

“ถวิล กับ รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ทำงานด้วยกันไม่ได้ ในเมื่อคน ทำงานร่วมกันไม่ได้ เค้าก็ต้องเปลี่ยน เพื่อความเหมาะสม แต่เค้าก็ไม่ได้ลดตำแหน่งนี่ ใครก็ตามในเมื่อคุณเป็นหัวหน้า หากทำงานด้วยกันไม่ได้คุณ หรือลูกน้อง ไม่คนใดก็คนหนึ่งจะต้องไป”

“หลักการบริหารจัดการที่ดีมีธรรมาภิบาลก็ดี แต่ถ้าเห็นต่างสีต่างพวกแนวคิดต่างกันจะบริหารเป็นทีมได้อย่างไร ตัวอย่างนายพลทหารก็ย้ายไม่ได้ เส้นใหญ่ก็แตะไม่ได้ ดูสากลโลกบ้างเน้อ”

“ข้าราชการไทยดูเป็นตัวอย่าง อย่าให้นักการเมืองมาข่มเหงข้าราชการ บอกตรงๆ”

“เมื่อรัฐบาลโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม ได้ตำแหน่งคืนมา ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรอยู่แล้ว ดีใจกับคุณถวิลและครอบครัวด้วยนะค่ะ”

“จะแน่ทางกฏหมายแค่ไหน (ก็อย่างที่ท่านถวิลว่า จะเป็นฮีโร่หลายสนาม เป็นไปไม่ได้) ความถูกต้อง ยุติธรรม ความสงบของบ้านเมือง ต้องมาก่อน หากผู้ถือกฏหมายทำไม่ดีทำผิดต่อหน้าที่และจรรยาบรรณเสียเอง ก็ต้องสะดุดขาตัวเองแน่นอน แล้วเมื่อวันนั้นมาถึง ฮีโร่ ก็จะเหลือแค่ ซีโร่”