ThaiPublica > จับเท็จ: ประเด็น > มาร์ค ย้ำชัดผ่านรายการเชื่อมั่นประเทศ ขอให้มั่นใจไม่ใช้ความรุนแรง

มาร์ค ย้ำชัดผ่านรายการเชื่อมั่นประเทศ ขอให้มั่นใจไม่ใช้ความรุนแรง

6 กันยายน 2014


บริบท

กระแสต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์เริ่มมีตั้งแต่ปี 2552  เนื่องจากผู้ชุมนุแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคน “เสื้อแดง” มีข้อสงสัยว่ากองทัพไทยอยู่เบื้องหลังการยุบพรรคพลังประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งเริ่มมีการชุมชุมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงช่วงปี 2552 และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภา และเปิดให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม

 

ต่อมานายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอฉ. ประกาศกฎอัยการศึกเป็นลำดับถัดมา รวมทั้งได้ใช้กำลังทหารปิดล้อมพื้นที่สลายการชุมนุมที่ให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมชุมนุม จากปฏิบัติการกระชับพื้นที่ของรัฐบาล รวม 91 ราย

 

ซึ่งลำดับเหตุการณ์การชุมนุมและการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลมีดังนี้ 

 

 

คลิกดูแผนที่ผู้เสียชีวิตได้ที่ 

 

วิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกรสลายการชุมนุม (ศปช.) และข้อมูลจากรายงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีผลรายงานตรงกันว่าเจ้าหน้าที่มีการใช้กระสุนจริง กระทำเกินกว่าเหตุ และบกพร่องต่อหน้าที่ในการสลายการชุมนุมในปี 2553 

 

บัญชีสรุปยอดการใช้กระสุนของเจ้าหน้าที่ทหาร

ภาพเรายงานการใช้กระสุนจากเฟสบุ๊ก ศปช. โดยนำมาจากเฟสบุ๊กของนักข่าวสารทหารชื่อดัง  (เอกสารอื่นๆ)

 

อีกทั้งยังมีคลิปวีดีโอ และภาพจากสื่อต่างๆ ที่สามารถยืนยันได้ว่ารัฐบาลใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม

 

ภาพทหารอยู่หน้าป้ายประกาศพื้นที่ใช้กระสุนจริง

 

 

 

กรณีดังกล่าวได้มีการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติพิจารณา ในกรณีใช้อำนาจโดยมิชอบเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิต และถูกจัดอยู่ในคดีพิเศษของดีเอสไอ ซึ่งอัยการฝ่ายคดีพิเศษได้มีการยื่นฟ้องต่อศาลอาญาแก่ นายอภิสิทธ์ และนายสุเทพ ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 และ 84 กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 7เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 

 

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งคู่ โดยศาลเห็นว่า จำเลยได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธและกระสุนปืนจริง จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิติ แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องมาการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี

 

จึงพิพากษาว่า คดีอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะวินิจฉัย ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจ ซึ่งหากป.ป.ช.พิจารณาสำนวนคดีแล้วชี้มูลว่ามีความผิดก็จะต้องส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยต่อไป ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในคดีนี้ยังคงอยู่ระหว่างการไต่สวน และรวบรวมพยานหลักฐาน

 

สรุป

จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีคำสั่งสลายการชุมนุม อันเป็นเหตุนำไปสู่ความรุนแรง ตามข้อมูลต่างๆ ข้างต้น ซึ่งถือเป็นการใช้ความรุนแรงทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 1000 ราย เสียชีวิต 91 ราย และจากคำพิพากษาของศาลอาญาแม้จะมีการยกฟ้องในคดีดังกล่าว แต่ในคำตัดสินศาลเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของนายอภิสิทธิ์ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ และมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธและกระสุนปืนจริง จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

 

รวมไปถึงคำสั่งเข้ากระชับพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 14-19 พฤษภาคม 2553 ที่เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 300 ราย เสียชีวิต 39 ราย โดยเฉพาะการเข้ากระชับพื้นที่ในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่มีการใช้อาวุธหนัก อาทิ รถหุ้มเกราะรถลำเลียงพล และยีเอ็มซีรวมเกือบ 100 คัน ในปฏิบัติการดังกล่าว

 

ดังนั้น คำกล่าวของนายอภิสิทธิ์ ว่า “รัฐบาลนี้ไม่มีความคิดที่จะเข้าไปปราบปรามประชาชน…หรือใช้ความรุนแรงกับพี่น้องประชาชนที่มาชุมนุม  เพราะฉะนั้นขอให้มั่นใจได้” จึงอยู่ในเกณฑ์ “เป็นเท็จ”

ป้ายคำ :