ThaiPublica > จับเท็จ: ประเด็น > ชัชชาติ ยืนยัน GPS ช่วยลดสถิติอุบัติเหตุ บขส.

ชัชชาติ ยืนยัน GPS ช่วยลดสถิติอุบัติเหตุ บขส.

6 สิงหาคม 2014


นายชัชชาติ กับข้อความบนเฟสบุ๊ก

 

บริบท

ข้อความในเฟสบุ๊กของนายชัชชาติ ระบุว่า ตนได้มาถึง จ.ตาก เวลาประมาณตีสี่ครึ่ง รถขับมาเรียบร้อยดี รถของ บขส. ทุกคันได้มีการติดตั้งระบบ GPS ทำให้สามารถตรวจสอบความเร็วของรถได้ตลอดเวลา คนขับระวังขึ้น สถิติอุบัติเหตุลดลงอย่างชัดเจน นอกจากกำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งกับรถร่วม บขส. และรถตู้

 

พร้อมระบุว่า ตนได้ออกเดินทางไปตรวจเส้นทางสาย 12 ที่เชื่อมแม่สอด-ตาก ระยะทาง 85 กม. โดย 51 กม. หลังแวะอาบน้ำในเมือง ซึ่งถนนสายนั้นยังเป็นถนนสองเลนอยู่ มีจุดที่เป็นทางลงเขา คดเคี้ยว ลาดชัน หลายจุด เช่น ที่ดอยรวก ซึ่งในรอบเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุใหญ่ 2 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 45 คน

 

จากผลสำรวจของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พบว่า ปัจจุบัน ในขณะที่ความนิยมในการใช้บริการขนส่งสาธารณเพิ่มขึ้น การเกิดอุบัติเหตุก็ทวีความรุนแรง และมีความถี่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งข้อมูลจากหน่วยสืบสวนอุบัติเหตุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามโครงการ Accident Investigation Unit พบว่า พฤติกรรมของผู้ขับขี่ ยังคงเป็นปัจจัยหลักในการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารประจำทาง

 

จากผลการศึกษาชี้ไปถึงการใช้เทคโนโลยีระบบจีพีเอส ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการเดินรถ การนำจีพีเอสมาใช้ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุของรถสาธารณะได้อย่างชัดเจน หลายประเทศที่พัฒนาแล้วก็ได้นำเทคโนลยีนี้มาใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

 

ในประเทศไทยช่วงต้นปี 2556 ขบ. ได้จัดทำโครงการติดตั้งศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) เพื่อควบคุมดูแลด้านความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ ในระยะแรกจะนำร่องเฉพาะรถโดยสารประจำทางของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ที่วิ่งในเส้นทางหมวด 2 คือรถที่วิ่งจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด ประมาณ 800 คัน

 

ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่อาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เนื่องจากต้องอาศัยการเชื่อมโยงข้อมูล อาทิ ศูนย์บูรณาการการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบแห่งชาติ ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งจะกำกับดูแลในภาพรวมของการเดินรถ เพื่อวางนโยบายทางด้านความปลอดภัยในการเดินรถโดยสารประจำทาง ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะควบคุมการเดินรถให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างทั่วถึง

 

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 นายพ้อง ชีวานันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบแนวนโยบายให้ บขส. ศึกษาแนวทางการติดตั้ง “กล้องวงจรปิด (CCTV)” โดยกำหนด 5 จุดภายในตัวรถ เช่น บริเวณที่นั่งคนขับ เพื่อบันทึกพฤติกรรมคนขับรถฝ่าฝืนกฎหมายหรือขับรถด้วยความประมาท จนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งติดตั้งกล้องบริเวณห้องโดยสาร บริเวณรอบตัวรถด้านนอกทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างตัวรถ เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมโดยรอบในขณะที่รถวิ่งให้บริการ

 

นายพ้องกล่าวว่า กล้องวงจรปิดจะทำหน้าที่คล้ายกับกล่องดำบนเครื่องบิน ที่เป็นตัวบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ หากเกิดอุบัติเหต ุเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถหาสาเหตุได้จากกล้องวงจรปิดเหล่านี้ ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้

 

โดยจะติดกล้องวงจรปิดทั้งภายในห้องโดยสาร และบริเวณตัวรถ จากจำนวนรถของ บ.ข.ส. ปัจจุบันที่มีประมาณ 800 คัน ต้องใช้กล้องวงจรปิดประมาณ 4,000 ตัว ขณะนี้ได้ดำเนินการติดกล้องจีพีเอสไปแล้ว 731 คัน

 

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีนโยบายที่จะเร่งรัดการติดตั้งระบบบันทึกข้อมูลการเดินทางหรือจีพีเอส โดยเบื้องต้นตั้งเป้าหมายติดตั้งในรถร่วมบริการ บขส. ทั้งระบบ จำนวน 13,000 คัน แบ่งเป็นรถร่วมบริการขนาดใหญ่ 7,000 คัน และรถตู้ร่วมบริการอีกประมาณ 5,000-6,000 คัน

 

ขณะนี้ บ.ข.ส.กำลังศึกษาแนวทางดังกล่าว เพราะการติดตั้งระบบต้องใช้เงินลงทุนสูง ต้องมีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการอีกครั้งถึงงบประมาณที่จะนำมาใช้ โดยปัจจุบันรถโดยสารของ บ.ข.ส.ได้นำร่องติดตั้งระบบจีพีเอสแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว 800 คัน ก่อนที่จะขยายไปยังรถ บ.ข.ส.ร่วมบริการฯ และรถตู้ทั่วประเทศ ทางศูนย์ควบคุมสามารถตรวจวัดอัตราความเร็วที่ใช้วิ่งบนถนนได้อย่าง รวดเร็ว ทำให้สามารถควบคุมพนักงานขับรถให้ขับรถ ตามอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด

 

วิเคราะห์ข้อมูล

สถิติอุบัติเหตุ กับการติด GPS

ข้อมูลเบื้องต้นของการดำเนินการติดจีพีเอสนำร่องในรถโดยสารของ บขส.  นายวิวัฒน์ สืบเส็ง ฝ่ายงานสื่อสารและควบคุมการเดินรถของ บขส.  ระบุว่า ณ ปัจจุบันได้ดำเนินการติดจีพีเอสไปแล้วกว่า 700 คัน เหตุที่ยังไม่ครบทั้งหมดนั้นเนื่องจากจำนวนรถยังไม่คงที่ มีทั้งรถที่อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ยังเหลือรถเก่าที่รอหมดสัญญาเช่า และจะดำเนินการเปลี่ยนรถเก่าที่หมดสัญญานั้นเป็นรถใหม่ทั้งหมด ทำให้ยังไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอนได้ แต่ส่วนของรถที่มีสภาพดี และยังอยู่ในสัญญาได้ดำเนินการติดจนครบทุกคันแล้ว

 

นายวิวัฒน์ เผยว่าได้เริ่มดำเนินการมาได้ปีกว่าแล้ว พบว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุ และระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุลดลง เนื่องจากผู้ขับใช้ความเร็วในการขับลดลง มีความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น

 

สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถ บ.ข.ส. และรถร่วมบริการ บ.ข.ส. ระหว่างปี 2554-2556
ปี

รถยนต์โดยสารของบริษัทขนส่งจำกัด

รถร่วม รวม
เกิดอุบัติเหตุ (ครั้ง)

บาดเจ็บ

(คน)

เสียชีวิต

(คน)

รวม

อุบัติเหตุ

(ครั้ง)

บาดเจ็บ

(คน)

เสียชีวิต

(คน)

ฝ่ายถูก สุดวิสัย

รอผล

ทางคดี

ฝ่ายผิด รวม
54

153

24 38 132 347 261 23 284 57 652 65 717
55

145

16 93 130

384

276 37 313 86 703 75 778
56*

137

 

2 81 110 330 267 44 311

84

454 55 600

ข้อมูลจากกองกฎหมาย บริษัท ขนส่ง จำกัด            *ปีที่เริ่มติด GPS เฉพาะรถของบริษัท ขนส่ง จำกัด

 

สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถ บ.ข.ส. และรถร่วมบริการ บ.ข.ส. ระหว่างปี 2554-2556 เฉพาะช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม
เดือน/ปี รถยนต์โดยสารของบริษัทขนส่งจำกัด รถร่วม รวม
เกิดอุบัติเหตุ (ครั้ง)

บาดเจ็บ

(คน)

เสียชีวิต

(คน)

รวม

อุบัติเหตุ

(ครั้ง)

บาดเจ็บ

(คน)

เสียชีวิต

(คน)

ฝ่ายถูก สุดวิสัย

รอผล

ทางคดี

ฝ่ายผิด รวม

ม.ค. 54

13 0 4 9 26 0 1 1 7 56 7 63

ก.พ. 54

9 1 5 9 24 1 0 1 5 67 6 73

มี.ค. 54

19 4 3 19 45 48 2 50 9 183 11 194

รวม

41 5 12 31 95 49 3 52 21 306 24 330
ม.ค. 55

5

1 15 18 39 21 0 21 6 52 6 58

ก.พ. 55

11

0 6 10 27 0 0 0 7 115 10 125
มี.ค. 55

20

3 6 10 39 79 2 81 7 54 10 64
รวม

36

4 27 38 105 100 2 102 20 221 26 247
ม.ค. 56

17

1 8 9 35 5 1 6 7 55 11 66
ก.พ. 56

12

0 6 5 23 11 0 11 8 54 9 63
มี.ค. 56

15

0 8 9 32 0 1 1 7 36 11 47
รวม* 44 1 22 23 90 16 2 18 22 145 31 176
ม.ค. 57 9 0 8 6 23 0 0 0 7 38 11 56

ก.พ. 57

10 2 3 4 19 0 0 0 5 36 2 43

มี.ค. 57

2 1 12 5 30 7 2 7 12 96 6 190
รวม* 31 3 21 15 72 7 2 7 24 170 18 289

ข้อมูลจากกองกฎหมาย บริษัท ขนส่ง จำกัด            *ปีที่เริ่มติด GPS เฉพาะรถของบริษัท ขนส่ง จำกัด

 

ด้านนิติกรของ บขส.  ให้ความเห็นว่า การติดจีพีเอสนั้นสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้จริง แต่เป็นไปในทางอ้อมมากกว่า คือ ช่วยควบคุมให้ผู้ขับรถไม่ใช้ความเร็วเกินกำหนด มีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น เพราะมีบทลงโทษของทางบริษัทกำกับอยู่ และการติดจีพีเอสทำให้สามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

 

ในเรื่องของบทลงโทษ นิติกรของ บขส.  ให้ความเห็นว่ายังคงต้องมีการปรับปรุง เพราะหากไม่เข้มงวดพอก็ไม่สามารถควบคุมพนักงานได้ ประโยชน์ของจีพีเอสอีกประเด็น คือ ช่วยในเรื่องการดำเนินคดีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยสามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้ และระบุได้ว่าพนักงานขับรถของบริษัทขับรถโดยประมาทหรือไม่

 

นับตั้งแต่มีการติดตั้งจีพีเอส เห็นได้ชัดว่าการใช้ความเร็วในการขับรถของพนักงานลดลง โดยอยู่ที่ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้การร้องเรียนในเรื่องการขับรถโดยประมาทลดลง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้รับร้องเรียนมาเพิ่มเติมแทนคือ การถึงจุดหมายปลายทางล่าช้า

 

สรุป

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการดำเนินการติดตั้งจีพีเอสของ บขส.  นั้นยังไม่ได้ดำเนินการครบร้อยเปอร์เซ็นต์ คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะให้จำนวนรถคงที่เสียก่อน ด้านข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุในการเดินรถของ บขส.  ในระยะเวลา 1 ปีที่ติดจีพีเอสนั้น เห็นได้ว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุลงลง และจำนวนผู้เสียชีวิตก็ลดลงเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถิติการเกิดอุบัติเหตุของ บขส.  ไปอีกสักระยะ เนื่องจากโครงการเพิ่งเริ่มดำเนินการ ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่ลดลงเมื่อดูจากตารางทั้ง 2 ข้างต้นนั้น เกิดจากการติดตั้งจีพีเอสจริงหรือไม่

 

ดังนั้นข้อความของนายชัชชาติ ที่ว่า “รถของ บขส. ทุกคัน ได้มีการติดตั้งระบบ GPS ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบความเร็วของรถได้ตลอดเวลา คนขับระวังขึ้น สถิติอุบัติเหตุลดลงอย่างชัดเจน” อยู่ในเกณฑ์ “ยังพิสูจน์ไม่ได้”

ป้ายคำ :