ThaiPublica > จับเท็จ: ประเด็น > สลายการชุมนุมที่ตากใบ ฉบับทักษิณ

สลายการชุมนุมที่ตากใบ ฉบับทักษิณ

4 กันยายน 2014


บริบท

วันที่ 25 ตุลาคม 2547 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ (สภอ.ตากใบ) เมื่อการเจรจาไม่เป็นผล ผู้ชุมนุมขว้างปาข้าวของ เจ้าหน้าที่ได้แก๊สน้ำตา และมีการยิงตอบโต้ผู้ชุมนุม เมื่อเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ประชาชนซึ่งเป็นคนท้องถิ่นหลายร้อยคน ส่วนใหญ่เป็นชายวัยรุ่น ได้ถูกจับกุม ในสภาพที่ถูกถอดเสื้อ ผูกมือไพล่หลัง และถูกจัดท่าให้นอนราบไปกับพื้น

 

ต่อมาชายเหล่านี้ได้ถูกลำเลียงขึ้นรถโดยถูกจัดให้เรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ เพื่อนำตัวไปสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งใช้เวลาเดินทางกว่า 5 ชั่วโมง จึงทำให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต เนื่องจากขาดอากาศหายใจ และสภาพร่างกายอ่อนแอ ในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตรวม 78 ราย

 

โดยเหตุการณ์ชุมนุมนี้เริ่มต้นจากที่เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวชาย 6 คน ที่เป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) กรณีอาวุธปืนหาย ไว้ทำการสอบสวน เป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ จึงมีการชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวชายทั้ง 6 คน ในวันที่ 25 ตุลาคม ซึ่งมีผู้มาร่วมชุมนุมร่วม 1,000 คน บริเวณหน้า สภอ.ตากใบ 

 

วิเคราะห์ข้อมูล

ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศ The AGE ประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2547 ระบุว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำร้ายผู้ชุมนุม และบางรายถูกเจ้าหน้าที่ยิง

 

Villagers do not believe the 78 men died of suffocation, but rather from beatings by the military in detention. Mada-Oh Mama, from Narathiwat near Tak Bai, who saw the bodies of his nephew and another man, said they were difficult to identify because they were "toothless and their faces were swollen".

Of another 22 bodies, which were covered in shrouds and plastic, nearly a third appeared to have weeping wounds.

"What the Government did was sadistic," said Awea Magsoh, a rice farmer from Tak Bai. His son was arrested, but survived and is being held for questioning. Another protester, 21-year-old Nimu Hussein (not his real name), said he didn't see anyone carrying weapons. "We threw rocks… they shot and hit us, to die," he said.

 

และเมื่อสังเกตตามคลิปวีดีโอจะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมจริง

 

 

ซึ่งภายหลังเมื่อผลตัดสินคดีความต่างๆ จากกรณีสลายการชุมนุในครั้งนั้นออกมา สื่อต่างๆ ได้ทำการสรุปเหตุการณ์ และนำเสนอต่อประชาชน ทำให้เห็นข้อเท็จจริงต่างๆ ชัดเจนขึ้น

 

 

 

อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายได้ตั้งข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุ จึงมีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริง โดยมี นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน ซึ่งผลสรุปว่าการเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง และขาดความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ ของทหารที่ควบคุมสถานการณ์ในวันนั้น ส่วนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุมนั้นกระทำการไปตามสมควรแก่เหตุ และจากภาพที่พบว่ามีเจ้าหน้าที่ทำร้ายผู้ชุมนุมนั้นเป็นการกระทำโดยพลการของเจ้าหน้าที่บางรายเท่านั้น (รายงานฉบับเต็ม)

 

ซึ่งต่อมาในการฟ้องดำเนินคดีทางแพ่งจากญาติผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีการประนีประนอมยอมความ โดยทางกระทรวงกลาโหมได้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนแก่ญาติผู้เสียหาย 79 ราย

 

สรุป

จากข้อมูลข้างต้น โดยเฉพาะภาพยืนยันจากวีดีโอที่มีการบันทึกจากชาวบ้าน และสื่อมวลชน และรายงานข่าวจากสื่อต่างประเทศ เป็นเครื่องยืนยันชัดเจนว่ามีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม อีกทั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์อำเภอตากใบลงความเห็นว่า เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่บางราย และกระทำไปโดยพลการ ทั้งยังมีกรณีการใช้ปืนยิงผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ราย

 

มีการคุมตัวผู้ชุมนุมโดยการจับให้นอนราบกับพื้น มัดมือไพล่หลัง ลำเรียงขึ้นรถ โดยจัดให้นอนทับกันเป็นชั้นๆ เพื่อนำตัวไปสอบสวนต่อที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจอีกกว่า 80 ราย

 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ว่า “มีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรง ” อยู่ในเกณฑ์ “เป็นเท็จ”

ป้ายคำ :