อาร์ม ตั้งนิรันดร
19 ข่าวในคอลัมน์นี้
เมื่อจีนซื้อการเมืองออสเตรเลีย
กระแสข่าว “ทุนจีนซื้ออิทธิพลในออสเตรเลีย” มาพร้อมๆ กับข่าวดังเรื่องรัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ จนทรัมป์ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดี แม้แต่ฮิลลารี คลินตัน ก็ออกมาเตือนว่า ให้จับตามองพฤติกรรมการซื้ออิทธิพลในออสเตรเลียของจีน เพราะเป็นตัวอย่างว่า เราต้องระวังกลยุทธ์การขยายอิทธิพลของมหาอำนาจอีกขั้วอย่างจีนและรัสเซีย ผ่านกลไกทางการเมืองของประเทศประชาธิปไตย
ความท้าทายของการศึกษาเรื่องเมืองจีน
คนจีนเองก็รู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินภายในเวลา 1 ชั่วคน เมื่อตอนสี จิ้นผิง เป็นวัยรุ่น ยังเป็นยุคปฏิวัติวัฒนธรรมที่จีนยังยากจน ล้าหลัง และวุ่นวาย แต่ตอนนี้สี จิ้นผิง กลายมาเป็นผู้นำประเทศยักษ์ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก, เมื่อ 40 ปีที่แล้ว นักธุรกิจเป็นอาชีพต้องห้าม แต่ในวันนี้ รัฐบาลจีนประกาศว่าเป็นยุค “ทุกคนสร้างตัว ทุกหมู่สร้างสรรค์”
สงครามการค้าสหรัฐฯ – จีน: ละครหรือของจริง?
นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกไม่เข้าใจว่าทรัมป์กำลังทำอะไรอยู่ เพราะถ้าเกิดสงครามการค้าขึ้นจริง มีแต่จะพาไปสู่ความพินาศทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่แค่จีนจะเจ็บตัว เพราะส่งของไปขายในสหรัฐฯ ไม่ได้ แต่สหรัฐฯ เองนั่นแหละจะเจ็บตัวด้วย
ชวนคนจีนมองสี จิ้นผิง: “ไม่แคร์”, “อึดอัด”, “รับได้”, หรือ “รักเลย”
การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนทั่วไป บางทีก็ช่วยให้เราเข้าใจสังคมหนึ่งได้ดีกว่าการอ่านหนังสือหรือฟังผู้เชี่ยวชาญบรรยายเสียอีกนะครับ แต่แน่นอนว่า การพูดคุยกับเพื่อนชาวจีนของผมก็มีข้อจำกัด เพราะผมได้คุยกับเพื่อนเพียงไม่กี่คน คนที่ผมคุยด้วยจึงไม่อาจเป็นตัวแทนความรู้สึกนึกคิดของคนจีนทั้งหมดได้ แต่อย่างน้อย เพื่อนจีนกลุ่มเล็กๆ ของผม ก็ช่วยฉายภาพความหลากหลายของมุมมองในจีนได้อย่างชวนคิดทีเดียว
ฉงชิ่ง vs. กว่างตง: โมเดลไหนเป็นอนาคตของจีน?
หลายคนมักชอบพูดถึงการพัฒนาแบบจีน หรือโมเดลจีน (The China Model) ซึ่งแตกต่างจากการพัฒนาในแนวเสรีนิยมประชาธิปไตยแบบตะวันตก แต่จริงๆ แล้วรูปแบบการพัฒนาภายในจีนเองก็มีความหลากหลาย และไม่ได้มีเพียงโมเดลเดียว
การศึกษาเพื่อไทยแลนด์ 4.0: วิทยาศาสตร์? สังคมศาสตร์? เลือกเรียนหรือส่งเสริมอะไรดี?
คำถามจึงไม่ใช่ว่าทำอย่างไรเราจะได้บัณฑิตวิทยาศาสตร์แทนสายสังคม? ไม่ใช่ทำอย่างไรเราจะส่งเสริมบัณฑิตในสาขาใหม่ตามวิสัยทัศน์ในยุทธศาสตร์ชาติแทนที่สาขาดั้งเดิม? คำถามที่ถูกต้อง คือ ทำอย่างไรเราจะได้บัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มาพร้อมกับวัฒนธรรมการศึกษาใหม่ ที่พร้อมปรับตัวกับงานใหม่ และพร้อมสร้างสรรค์งานใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วย
ข้อคิดการเมืองจาก The Last Jedi: ล้างไพ่ หรือวังวนเดิม?
ภายใต้ความมืด เราต้องการนักต่อสู้ที่จุดคบไฟ ให้แสง ให้ทาง ให้แรงใจแก่คนรุ่นใหม่ ช่วยกันรักษาสิ่งและคุณค่าที่เรารัก แต่เราเริ่มไม่แน่ใจเมื่อต่างฝ่ายต่างใช้ไฟเผาทำลายล้างกันเพื่อประโยชน์ตน หากการต่อสู้ทางการเมืองของผู้ใหญ่เป็นไปอย่างขาดความรับผิดชอบ ขาดกลยุทธ์ และสุดท้ายมีแต่หวนกลับมาที่วังวนเดิม ก็อย่าแปลกใจที่คนหนุ่มสาวที่เคยมีอุดมคติอาจกลายมาเป็นคนกะล่อน ไม่เหลือหลักการ หรืออาจกลายมาเป็นตาแก่ไร้น้ำยา ผิดหวังและปิดตัวเองจากพลัง
เป็น ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ ในยุคนี้ ช่างยากลำบากนัก
คำเตือนจากธนาคารโลกถึงนักวางแผนยุทธศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาก็คือ ต้องประเมินความได้เปรียบของประเทศใหม่ โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและระบบธุรกิจโลกประกอบด้วย อย่ามองง่ายๆ แบบทฤษฎีในสมัยก่อน นอกจากนั้น การลอกเลียนแบบการยกระดับเทคโนโลยีของประเทศที่ใกล้เคียงในอดีตก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเขาอีกแล้ว
กุนซือใหญ่ของสีจิ้นผิง
ในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เพิ่งผ่านพ้นไป นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้มีการแต่งตั้งนักวิชาการเข้าไปนั่งเป็นหนึ่งในคณะผู้นำสูงสุด 7 คน ของพรรคคอมมิวนิสต์ นักวิชาการท่านนี้ชื่อ หวังฮู่หนิง เขาเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ก้าวขึ้นเป็นคณะผู้นำสูงสุด ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์บริหารกระทรวง มณฑล หรือมหานครมาก่อน
วิธีมองทรัมป์
ทรัมป์เป็นตัวอย่างมหาเศรษฐีที่เล่นการเมืองแล้วมุ่งแสวงหาประโยชน์เพื่อพวกพ้องของตัว ขณะเดียวกันก็ปั่นกระแสประชานิยม เล่นบทเป็นคนนอกที่อาสาเข้ามาชำระความเน่าเฟะของระบบการเมือง ผู้นำในอดีตที่มีลักษณะคล้ายๆ ทรัมป์ (คือเป็นทั้งมหาเศรษฐี ปลุกกระแสประชานิยม และมีปัญหาจริยธรรม) ก็เช่น อดีตนายกฯ แบร์ลุสโกนีของอิตาลี อดีตนายกฯ ทักษิณของไทย และอดีตประธานาธิบดีเอสตราดาของฟิลิปปินส์
One Belt One Road: “Marshall Plan” ของจีน?
การเปรียบเทียบความคล้าย-ความต่าง ระหว่าง One Belt One Road ในปัจจุบันของจีน และ Marshall Plan ในอดีตของสหรัฐฯ จะช่วยทำให้เราเข้าใจความมุ่งหมายและความสำคัญของยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีนต่อการเมืองระหว่างประเทศได้อย่างลึกซึ้งขึ้น
รถไฟไทย-จีน จะคุ้มไม่คุ้ม ดูตรงไหน?
สิ่งที่ผมอยากย้ำเน้นก็คือ รถไฟไทย-จีน จะคุ้มไม่คุ้ม อยู่ที่ปัจจัย 5 ข้อ ที่จะเป็นตัวกำหนดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ว่ารถไฟความเร็วสูงจะนำไปสู่ความเจริญ หรือเป็นรถไฟร้างที่ไม่นำไปสู่อะไรเลย เพราะความคุ้มไม่คุ้ม สุดท้ายอยู่ที่ว่าเราจะสามารถใช้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงได้เต็มที่เพียงใด รวมทั้งประชาชนและภาคธุรกิจมีความเข้าใจโอกาสที่จะเกิดขึ้นเพียงใด ไม่ใช่ว่าสุดท้ายเร่งรัดสร้างรถไฟขึ้นมาได้ แต่แผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมีอยู่แต่ในกระดาษบนหิ้งในกระทรวงใดสักแห่ง ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีใครร่วมขับเคลื่อนให้การลงทุนครั้งใหญ่นี้เกิดผลคุ้มค่าอย่างแท้จริง