
17 สิงหาคม 2567 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำข่าวเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา” สำหรับสื่อมวลชนไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ให้กับสาธารณชนโดยการให้ข้อมูลของสื่อมวลชน
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค กล่าวปาฐกาพิเศษว่า ปี 2567 จนถึงตอนนี้ถือเป็นปีที่มีการเลือกตั้งมากที่สุดในทั่วโลก ภายในสิ้นปี กว่าครึ่งหนึ่งของประชากร 70 ประเทศทั่วโลกจะได้เข้าคูหาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วันที่จะมีผู้คนให้ความสนใจมากที่สุดวันหนึ่งคือ วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 60 ของสหรัฐอเมริกา
โลกกำลังเฝ้าดูอเมริกาอยู่ เราจึงต้องทำอย่างถูกต้อง เราต้องเป็นผู้น้าโดยการเป็นตัวอย่าง และหาหนทางที่จะสนับสนุนให้คนทั่วโลกได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกระบอบการปกครองของตนเอง ระบอบประชาธิบไตยมิได้สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นระบบที่ดีที่สุดที่เรามี และตลอดเวลาที่ผ่านมา ก็เป็นระบบที่บุรุษและสตรีผู้กล้าทั้งหลายได้สละชีพของตนเพื่อปกป้อง
ระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต่อการรับมือความท้ามท้ายที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังเช่นที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้กล่าวไว้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและระบอบประชาธิปไตยกำลังเผชิญกับความท้าทายในทั่วโลก ความท้าทายเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีรัฐและนักปกครองเผด็จการที่แข็งกร้าวมากขึ้น อีกทั้งยังมีการแข่งขันและความขัดแย้งระหว่างชาติต่าง ๆ มากขึ้นด้วย
เราไม่อาจมองข้ามความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยไปได้ พลเมืองจะต้องปกป้องและทะนุบำบำรุงระบอบดังกล่าว พลเมืองที่มีส่วนร่วมและเข้าใจระบอบประชาธิปไตย กระบวนการประชาธิปไตย และสิทธิของตนเอง
“เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมสื่อปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลบิดเบือนและข่าวปลอมแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และถูกครอบงำโดยผู้ที่พยายามปอนทำลายระบอบประชาธิปไตยในทั่วโลก ในฐานะสื่อมวลชนซึ่งส่งเสริมข่าวที่ถูกต้องเที่ยงตรงและปกป้องความโปร่งใส ท่านจึงมีบทบาทที่สำคัญและเหมาะกับสถานการณ์ในในระบอบประชาธิปไตยมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา ท่านจะช่วยอำนวยให้เกิดการสนทนาที่มีข้อมูลถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในสื่อไทย และช่วยให้สาธารณชนไทยทราบถึงวิธีการของระบบการเลือกตั้งของเรา”
ก่อนหน้าการอบรมในวันนี้ ท่านได้รับคำถามว่าต้องการอะไรจากการอบรมนี้มากที่สุด พวกท่านส่วนใหญ่บอกว่าอยากจะมีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ และวิธีการรายงานข่าวการเลือกตั้งที่ดียิ่งขึ้น ในการเสวนาวันนี้ ท่านจะมีโอกาสเข้าร่วมการอภิปรายกับสื่อมวลขนมากประสบการณ์ และทำกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ เช่น การเรียนรู้ค่าศัพท์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการฝึกรายงานข่าวเลือกตั้ง ผมหวังว่าท่านจะกลับไปฟร้อมกับความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับขั้นตอนการเลือกตั้งของเรา
ตัวเลือกที่เราเลือกในการเลือกตั้งของเราจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออนาคตของเราและลูกหลานของเรา ผมเชื่อว่าประเทศไทยและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมิตรกันมาช้านาน จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่ง ๆ ขึ้นไปในอนาคตข้างหน้า ด้วยการทำงานร่วมกันใกล้ชิดกว่าที่เป็นมาเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยของเรา เราจะสามารถตอบรับความท้าทายแห่งปี 2567 หลังจากนี้ เมื่อร่วมมือกัน เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับชาวไทย ชาวอเมริกัน และผู้คนทั่วโลกได้

ความเป็นหุ้นส่วนสหรัฐ-ไทยยังเหนียวแน่น
หลังจากนั้นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต ได้ให้เวลาสำหรับการซักถาม โดยคำถามแรก ได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐหรือไม่และจะมีผลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต กล่าวว่า นโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงฝ่ายบริหาร ภายใต้ประธานาธิบดีแต่ละสมัย ขึ้นอยู่กับว่าในยุคนั้นนโยบายการต่างประเทศ และนโยบายด้านอื่นๆจะเป็นอย่างไร แต่ที่เป็นจริงและไม่เกินเลยไป ก็คือ หลักการนำทาง(guiding principal) ทั่วไปก่อนนโยบายการต่างประเทศยังคงสม่ำเสมอเช่นเดิม ตลอดหลายปี ไม่ว่าจะเป็นความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความรุ่งเรือง ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและเป็นหุ้นส่วนกับมิตรประเทศต่างๆทั่วโลก ดังนั้นพื้นฐานของนโยบายทั้งหมดจึงสอดคล้องกัน ไม่ว่าช่วงเวลาใดหรือสถานการณ์ใด ตลอดในช่วงเวลาที่สอดคล้องกันในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
“สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโดแปซิฟิกมาระยะหนึ่งแล้ว ผมคิดว่าก็ไม่เกินจริงที่จะบอกว่า สำหรับทั้งของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน และประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรรายแรกๆในภูมิภาคนี้ ความเป็นหุ้นส่วน(partnership)ของเรายาวนานกว่า 190 ปีแล้ว ผมคิดว่าผมบอกได้อย่างแน่นอนว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เข้ามาสู่ทำเนียบขาว และไม่ว่าจะยุคสมัยนั้นจะเป็นเช่นไร ประเทศไทย จะยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆสำหรับรัฐบาลของเรา ความเป็นหุ้นส่วนของเรายังคงแข็งแกร่ง และเราจะยังคงเป็นพันธมิตร(ally)ที่มุ่งมั่น”
…เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต กล่าว
คำถามต่อมา หากรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า สาธารณชนจะยอมรับในตัวรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริสซึ่งจะเป็นประธานาธิบดีเชื้อสายอินเดียคนแรกหรือไม่ และจะมีการประท้วงเกิดขึ้นหรือไม่
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต กล่าวว่า “การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมเป็นรากฐานของประชาธิปไตย” ซึ่งจะช่วยให้พลเมืองมีสิทธิและเสียงในวิถีทางพื้นฐานที่แสดงออกด้วยการเลือกผู้ที่จะมาบริหาร การเลือกตั้งยังให้มีการคานอำนาจจากมือประชาชนไปสู่ผู้แทนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย อีกทั้งการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งไปยังผู้สืบทอดก็สงบเรียบร้อยเช่นกัน ประชาธิปไตยก็เป็นรากฐานของสหรัฐอเมริกา
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต กล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญของสหรัฐปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการเชิดชูในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าผลลัพธ์ของการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร ชาวอเมริกันก็ยังคงมีสิทธิ เสรีภาพในการสมาคม การแสดงออก การแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ หรือ การจัดการต่างๆเมื่อการเปลี่ยนแปลง หรือการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่ตัวเองได้เลือกตั้งมาแล้วให้เป็นตัวแทนของตนเอง
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ตย้ำว่า สิทธิในการประท้วงอย่างสงบก็ได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญในสหรัฐเหมือนเช่นที่ผ่านมา และต่อไปในอนาคต แต่การประท้วงที่ก่อการจลาจล และรุนแรงจะไม่ได้รับการยอมรับ ดังที่ประธานาธิบดีไบเดนได้กล่าวไว้ หลังเหตุการณ์พยายามลอบสังหารที่เลวร้ายอดีตประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา “ไม่มีที่ให้กับความรุนแรงในระบอบประชาธิปไตยของเรา”
คำถามต่อมา ท่านมีคำแนะนำให้กับสื่อในการรายงานข่าวเลือกตั้งอย่างถูกต้องและเป็นกลางหรือไม่ อย่างไร และสถานทูตจะอนุญาตให้สื่อมวลชนได้ร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่สถานทูตสหรัฐฯหรือไม่
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต กล่าวว่า ขอย้ำอีกครั้งว่า สื่อมวลชนมีความสำคัญ และมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องอย่างทันการณ์ ทันท่วงทีต่อเวลาให้กับสาธารณชน และขอบคุณทุกคนที่เข้ารวมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในวันนี้
การรายงานข่าวอย่างถูกต้องเริ่มจากการเข้าใจกระบวนการเลือกตั้งอย่างถูกต้อง เพราะเป็นกระบวนที่ซับซ้อน ซึ่งสื่อมวลชนที่เข้าร่วมในวันนี้จะได้รับทราบ และสิ่งที่อยากให้เข้าใจ คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการเลือกตั้งสำคัญของสหรัฐก็จริง แต่ในสหรัฐมีการเลือกตั้งนับร้อยการเลือกตั้งในแต่ละปี มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งผู้พิพากษา การเลือกตั้งผู้นำระดับท้องถิ่น มีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติประจำรัฐ หรือการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ และการเลือกตั้งอื่นอีกมาก ซึ่งมีการจัดการภายใต้ระบบที่แตกต่างกัน ภายใต้ท้องถิ่นหรือรัฐต่างๆ นับพันระบบ ไม่ใช่ภายใต้ระบบเดียวที่บูรณการทั้งชาติ ดังนั้นทั่วประเทศมีระบบการเลือกตั้งที่ต่างกัน ทั้งในระดับรัฐ ระดับเทศบาล มีระบบการนับคะแนนที่ต่างกัน แต่ท้ายที่สุด มีการคุ้มครอง มีการตรวจสอบและถ่วงดุลที่ครอบคลุม เป้าหมายสำคัญคือ “เพื่อให้ผลการเลือกตั้งนั้นชัดเจน และสะท้อนความต้องการของประชาชนที่แท้จริง”
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ตกล่าวว่า อีกประเด็นที่สำคัญ คือ ข้อมูลที่ผิด หรือ misinformation ข้อมูลบิดเบือน หรือ disinformation กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน ทั้งในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทย และทุกหนแห่งทั่วโลก และยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี AI(Generative AI) ซึ่งอาจะสร้างภาระงานมากขึ้นในการทำงานของสื่อมวลชน
“ดังนั้นผมขอเรียกร้องและเชิญชวนให้สื่อให้ความสำคัญกับการรายงานข่าว ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเลือกตั้งเช่นนี้ ด้วยการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือจริง และอาจจะต้องตรวจสอบหลายรอบ และตรวจสอบจากแหล่งต่างๆให้ได้มากที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าได้ข้อมูลที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ในการนำเสนอต่อสาธารณชน ซึ่งสถานทูตก็มีทีมงานด้านสื่อที่พร้อมให้ข้อมูลและตอบคำถาม ช่วยเหลือในการหาข้อมูลที่ถูกต้อง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐ เรายินดีเต็มที่เพื่อที่จะให้มีการรายงานข้อมูลที่ถูกต้องที่าุดแก่สาธารณชน” เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โรเบิร์ต