ThaiPublica > จับเท็จ: ประเด็น > จิตตราโพสเฟสบุ๊ก วันสตรีสากลถือเป็นวันเรียกร้องสิทธิ์ในการเลือกตั้งของสตรี

จิตตราโพสเฟสบุ๊ก วันสตรีสากลถือเป็นวันเรียกร้องสิทธิ์ในการเลือกตั้งของสตรี

6 สิงหาคม 2014


ข้อความที่นางจิตตราโพสผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว

 

ปูมหลัง

จากเหตุการณ์ผู้ชุมนุม กปปส. มีการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 รวมไปถึงการเลือกตั้งล่วงหน้า และทำการปิดล้อมเขตเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปใช้สิทธิในหลายเขตของกรุงเทพฯ และในอีก 28 เขตเลือกตั้งไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงส่งผลให้การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็น “โมฆะ” จากผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557

 

ตั้นนำผู้ชุมนุมปฏิญาณตนหน้าวัดพระแก้วในวันสตรีสากล

 

ขณะเดียวกันเมื่อถึงวันที่ 8 มีนาคม 2557 ที่ถูกระบุว่าเป็นวันสตรีสากล เป็นวันที่ย้อนระรึกถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของเหล่านักสตรีนิยม และกลุ่มสตรีต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1900 ทำให้บทบาทสตรีในปัจจุบันมีสิทธิ เสรีภาพมากขึ้นในการดำเนินชีวิต และได้รับการยอมรับจากฝ่ายชายมากขึ้นในการเปิดโอกาส รวมไปถึงการแข่งขันด้านต่างๆ ซึ่งทางกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันนี้จึงมีการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นเช่นเดียวกับที่อื่นๆ ทั่วโลก

ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่กลุ่มผู้ชุมนุมทำการประท้วงไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และขัดขวางการเลือกตั้ง อาจเป็นประเด็นที่ทำให้นางสาวจิตราออกมาโพข้อความนี้ทางเฟสบุ๊ก

 

บทวิเคราะห์: ความเป็นมาของวันสตรีสากล

วันสตรีสากลเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มแรงงานในศตวรรษที่ 20 ในแถบอเมริกาเหนือ และยุโรป เป็นผลพวงจากการขยายตัว และความวุ่นวายของโลกอุสาหกรรมที่มีอัตราการเกิดเฟื่องฟู และอุดมการณ์ของคนในยุคนั้นก็ทวีความเข้มข้นขึ้น

1908 – ในภาวะระส่ำระสาย ได้มีการถกเถียงกันในหมู่สตรี ประเด็นการถูกกดขี่ และความไม่เท่าเทียมกันได้กลายเป็นประเด็นหลักในการรณรงค์สร้างความเปลี่ยนแปลง ในปีนี้เองกลุ่มสตรีกว่า 15,000 คนได้เดินขบวนประท้วงในนิวยอร์ก เพื่อเรียกร้องให้มีการปรับเวลาการทำงาน ค่าจ้าง และการมีสิทธิในการออกเสียงในการเลือกตั้ง

1909 – วันสตรีสากลได้เริ่มต้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พรรคสังคมนิยมของอเมริกาได้กำหนดวันนี้ขึ้นเพื่อรำลึงถึงการต่อสู้ของคนงานหญิงโรงงานทอผ้าในกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่การต่อสู้จบลงด้วยการฆาตรกรรมหมู่ เมื่อปี 1908

1910 – การประชุม International Conference or Working Women ครั้งที่ 2 ถูกจัดขึ้นที่กรุงโคเปเฮเกน โดยคลาร่า เซทกิ้น นักสังคมนิยมจากเยอรมัน ได้เสนอให้มีวันสตรีสากลจัดขึ้นในวันเดียวกัน ข้อเสนอได้รับการตอบรับจากบรรดาผู้ร่วมประชุมกว่า 100 คนที่เป็นตัวแทนจาก 17 ประเทศ รวมไปถึง 3 สตรีที่ได้รับเข้าดำรงตำแหน่งในรัฐสภาของฟินแลนด์

1911 – ผลจากการประชุมที่ผ่านมา วันสตรีสากลถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกคือวันที่ 19 มีนาคม ในออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิสแลนด์ โดยมีชายหญิงกว่าหนึ่งล้านคนเข้ารวมรณรงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้ง การฝึกฝนงาน ไปจนถึงยกเลิกการเลือกปฏิบัติกับสตรีในด้านการทำงาน และด้านอื่นๆ

1913-1914 – วันสตรีสากลได้กลายเป็นกลไกสำคัญในการต่อต้านการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฐานะที่เป็นขบวนการสันติภาพ และการเปลี่ยนวันสตรีสาลกทั่วโลกเป็นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่กลุ่มสตรีรวมตัวอย่างเป็นทางการในการต่อต้านสงคราม

1917 – ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธุ์ (ตรงกับวันที่ 8 ในปฏิทินเกรกอเรียน) สตรีรัสเซียทำการประท้วงหยุดงานเพื่อต่อต้านการเสียชีวิตของทหารกว่า 2 ร้อยนายที่ตายในสงคราม 4 วันให้หลังองค์จักรพรรดิได้ประกาศสละราชสมบัติ และรัฐบาลเฉพาะกาลได้ให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งแก่สตรี

นับแต่นั้นเป็นต้นมาวันสตรีสากลได้กลายเป็นมิติใหม่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีได้เติบโตขึ้น และยกระดับความเข้มแข็งจากการสนับสนุนโดยองค์กรสหประชาชาติ สร้างการสนับสนุนในด้านสิทธิสตรี การมีส่วนร่วมทางการเมือง และเศรษฐกิจของสตรี นำไปสู่การปรับทัศนคติใหม่ในการมอง และการสนับสนุนบทบาทสตรีในด้านต่างๆ มากขึ้น

 

สรุป

จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวันสตรีสากล จะให้ได้ว่าประเด็นการต่อสู้เรียกร้องที่ดำเนินมาในยุคแรกๆ เพื่อยกระดับความเท่าเทียมให้กับเหล่าสตรีในสังคมคือ สิทธิในด้านการทำงาน และการสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีส่วนให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยยอมรับ และเปิดโอกาสให้ทุกเพศได้มีสิทธิที่จะเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง

ดังนั้นข้อความ “สตรี กปปส. กำลังเฉลิมฉลองวันสตรีสากล แต่พวกเธอคงลืมหรือไม่รู้ว่า ที่มาของวันนี้คือเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งด้วย” ของนางสาวจิตราจึงอยู่ในเกณฑ์ “เป็นจริง”

ป้ายคำ :