ThaiPublica > จับเท็จ: ประเด็น > ปณิธานยันไม่ใช้กระสุนจริง

ปณิธานยันไม่ใช้กระสุนจริง

5 สิงหาคม 2014


 

บริบท

กระแสต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์เริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552  เนื่องจากผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคน “เสื้อแดง” มีข้อสงสัยว่ากองทัพไทยอยู่เบื้องหลังการยุบพรรคพลังประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลผสม

 

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเริ่มมีการชุมชุมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนถึงช่วงปี 2552 และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 กลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ประกาศยุบสภา และเปิดให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม ต่อมานายอภิสิทธิ์ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้ง ศอฉ. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอฉ. ประกาศกฎอัยการศึกเป็นลำดับถัดมา รวมทั้งได้ใช้กำลังทหารปิดล้อมพื้นที่สลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าว และผู้ร่วมชุมนุม จากปฏิบัติการกระชับพื้นที่ของรัฐบาล รวม 91 ราย

 

ซึ่งลำดับเหตุการณ์การชุมนุมและการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลมีดังนี้ 

 

เปิดรายงาน ศปช. , คอป. และข้อมูลลับจากนักข่าวสายทหาร

สถิติตำแหน่งบาดแผลของผู้เสียชีวิต

 

จากการพิสูจน์ข้อมูลต่างๆ ของทางศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ที่มีการใช้หลักทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาทิ วิถีกระสุน ช่วงเวลาการเข้ามาของชายชุดดำ รอยกระสุนบนตัวศพ เป็นต้น

 

ตามรายงานผู้เสียชีวิตเบื้องต้นรายงานว่า มีผู้ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลังเสียชีวิตก่อนถึง รพ. ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า  เสียชีวิตก่อนถึง รพ. ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน เสียชีวิตก่อนถึง รพ.

 

ผู้ชุมนุมที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณศีรษะ

ภาพทหารกับป้ายพื้นที่การใช้กระสุนจริง

 

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้ออกมาพูดผ่านสื่อทางรายการ "ตอบโจทย์" ถึงการวิเคราะห์เหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งยืนยันได้ว่ามีการใช้กระสุนจริงในเหตุการณ์ และมีรายงาน สรุปวิเคราะห์เหตุการณ์สลายการชุมนุมเผยอยู่ทางสื่อออนไลน์ 

กราฟวงกลมแสดงสัดส่วนการใช้กระสุน โดย คอป.

รายงานจาก คอป.

ตารางสรุปการใช้กระสุนของเจ้าหน้าที่่

ข้อมูลที่นักข่าวสารทหารนำมาเปิดเผย

 

ตารางรายงานการเบิกใช้เครื่องกระสุน โดย ศปช.

รายงานจาก ศปช.

และทางเฟสบุ๊คของ ศปช. เองก็มีการนำข้อมูลการเบิกกระสุนาของทหารมาตีแผ่ให้ทราบโดยได้ข้อมูลนี้มาจากนักข่าวสายทหารชื่อดังที่นำมาโพสสรุปผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว โดยสรุปแล้ว มีการเบิกจ่ายกระสุนไป 9 ชนิด รวม 778,750 นัด และมีการส่งยอดคืน จำนวน 586,801 นัด สรุปใช้ไปจำนวน 191,949 นัด ซึ่งเพิ่มจากยอดเดิมที่ระบุไว้ในรายงานของ ศปช. 74,026นัด แต่ยอดการใช้กระสุนไนเปอร์มีเพียง 500 นัด ลดลงจากรายงาน ศปช.ที่ระบุว่ามีการใช้ไป 2,120 นัด

 

อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขรายการงานใช้กระสุนของแต่จะแหล่งจะมีความคลาดเคลื่อนกัน แต่ข้อมูลจากทุกแหล่งระบุตรงกันว่าทหารมีการใช้ "กระสุนจริง" ในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในปี 2553 (ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ)

 

รัฐบาลยอมรับใช้กระสุนจริง

 

 

ซึ่งทางนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวบีบีซี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 ต่อเห็นเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นว่ามีการใช้กระสุนจริง จริงๆ 

 

ปลอกกระสุน

 

ทางฝ่าย พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ออกมายอมรับเช่นกันว่าทางทหารได้มีการใช้อาวุธในการสลายการชุมนุม และมีการใช้กระสุนจริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพราะ ทางฝ่ายผู้ชุมนุมก็มีอาวุธ มีการขโมยอาวุธไปจากเจ้าหน้าที่ทหาร และมีเหตุการณ์แทรกซ้อนคือชายชุดดำ รายงานจากเว็บไซต์ Voice TV วันที่ 8 ตุลาคม 2555

 

สรุป

จากข้อมูลต่างๆ คลิปวีดีโอเหตุการณ์ในวันนั้น ภาพปลอกระสุน ภาพพื้นที่การใช้กระสุนจริง พร้อมกันนี้ยังมีรายงานการเบิก การใช้กระสุนจริงจาก คอป. ศปช. และข้อมูลจากนักข่าวสายทหารข้างต้น รวมไปถึงผลการชัน\สูตรศพผู้เสียชีวิต แสดงให้เห็นว่ามีการใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุมในปี 2553

 

ดังนั้น คำแถลงของนายปณิธานในส่วนที่ว่า “รัฐบาลขอยืนยันว่าการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ นั่นก็คือการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเอง การใช้อาวุธยิงขึ้นฟ้า ขณะนี้ไม่มีหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธกับประชาชน อาวุธที่ใช้ก็เป็นเรื่องของเครื่องมือในการควบคุมฝูงชน โดยเฉพาะแก๊สน้ำตา และกระสุนยาง” โดยหลักฐานแล้วถือว่า“เป็นเท็จ”

ป้ายคำ :