ThaiPublica > เกาะกระแส > กางงบ ‘อปท.’ 78 แห่ง – 7,850 พื้นที่ ใช้ทำอะไร? เทียบงบกรุงเทพมหานครกับจ.ระนอง ต่างกัน 60 เท่า

กางงบ ‘อปท.’ 78 แห่ง – 7,850 พื้นที่ ใช้ทำอะไร? เทียบงบกรุงเทพมหานครกับจ.ระนอง ต่างกัน 60 เท่า

5 มีนาคม 2025


อปท. หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งในกลไกการบริหารราชการแผ่นดินที่ส่วนกลางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารราชการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป ประกอบด้วย (1) อบจ. หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (2) อบต. หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล และ (3) เทศบาล ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษคือ (1) เมืองพัทยา และ (2) กรุงเทพมหานคร

อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 240 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 “มีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น”

แหล่งรายได้ อปท.

ปีงบประมาณ 2566 อปท. มีรายได้รวม 732,676.58 ล้านบาท โดยมีรายได้จาก 3 แหล่ง คือ (1) จัดเก็บเอง 13 ประเภท (2) รัฐจัดสรร 12 ประเภท และ (3) เงินอุดหนุน แบ่งเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ

รายได้จัดเก็บเอง 13 ประเภท ได้แก่ (1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (2) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (3) ภาษีบำรุงท้องที่ (4) ภาษีป้าย (5) ภาษีบำรุง อบจ. จากสถานค้ายาสูบ (6) ภาษีบำรุง อบจ./กทม. จากสถานค้าน้ำมัน (7) ค่าธรรมเนียมบำรุง อบจ. จากผู้เข้าพักโรงแรม (8) อากรการฆ่าสัตว์ (9) อากรรังนกอีแอ่น (10) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าปรับ (11) ทรัพย์สิน (12) สาธารณูปโภคและการพาณิชย์ และ (13) เบ็ดเตล็ด

รายได้จากรัฐจัดสรร 12 ประเภท ได้แก่ (1) ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์หรือล้อเลื่อน (2) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร 5% (อบจ.) (3) ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายท้องถิ่น (4) ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนฯ (5) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (6) ภาษีสุรา (7) ภาษีสรรพสามิต (8) ค่าภาคหลวงไม้ (9) ค่าภาคหลวงแร่ (10) ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม (11) รายได้จากกฎหมายอุทยานแห่งชาติ และ (12) ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน

ส่วนเงินอุดหนุน แบ่งเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ

อปท. 7,850 แห่ง

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ประเทศไทยมี อปท. ทั้งหมด 7,850 แห่ง ดังนี้

อบจ. หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง

เทศบาล 2472 แห่ง แบ่งเป็น

  • เทศบาลนคร 30 แห่ง
  • เทศบาลเมือง 195 แห่ง
  • เทศบาลตำบล 2,247 แห่ง

อบต. หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่ง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง

  • กรุงเทพมหานคร 1 แห่ง
  • เมืองพัทยา 1 แห่ง

อบต. ถือเงินสูงสุด

เอกสารจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พบว่า รายได้ที่รัฐจัดสรรเป็นเม็ดเงินที่ อปท. ได้รับสูงสุด ตามด้วยรายได้จากเงินอุดหนุน ขณะที่รายได้จัดเก็บเองถือว่ามีสัดส่วนไม่ถึง 10%

เมื่อแบ่งตามประเภทพื้นที่ พบว่า อบต. คือหน่วยพื้นที่ที่ได้รับงบประมาณสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือเทศบาล และปิดท้ายด้วย อบจ. (ไม่นับกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา)

รายได้ของ อปท. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยปีงบประมาณ 2566 งบ อบต. เพิ่มขึ้น 1.82% ส่วนงบ อบจ. เพิ่มขึ้น 21.21% และเทศบาลเพิ่มขึ้น 3.68%

อย่างไรก็ตาม ในบางปีงบประมาณก็มีรายได้ลดลง เช่น ปีงบประมาณ 2563 ได้รับงบประมาณลดลงจากปี 2562 น้อยลงทุกกลุ่ม เช่น อบต. ลดลง 3.89% ส่วน อบจ. ลดลง 9.53% และเทศบาลลดลง 5.68% แต่ทั้งนี้โดยภาพรวมถือว่า อปท. ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี

งบอปท.ไปทำอะไร?

ตัวอย่างโครงการของ อปท. นอกจาซ่อมสร้างถนน แก้ปัญาหลุมบ่อ หรือแก้ปัญหาประปรายรายพื้นที่แล้ว อปท. ยังมุ่งเน้นไปที่บริการสาธารณะและจัดการศึกษา โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ยกตัวอย่างโครงการที่เป็นไฮไลท์ลงในรายงานประจำปี ดังนี้

  • เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม)
  • เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวัน
  • เงินอุดหนุนสำหรับส่งเสริมศักยภาพการจัดการศึกษาท้องถิ่น
  • เงินอุดหนุนสำหรับส่งเสริมศักยภาพการจัดการศึกษาท้องถิ่น (ค่าปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน)
  • เงินอุดหนุนสำหรับการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • เงินอุดหนุนสำหรับการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ
  • เงินอุดหนุนสำหรับการก่อสร้างสระว่ายน้ำในโรงเรียน สังกัด อปท.
  • เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนการจัดการศึกษาของ อปท. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • โครงการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ
  • โครงการขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า
  • เงินอุดหนุนเฉพาะกิจสำหรับการก่อสร้าง/ปรับปรุง และพัฒนาแห่งกักเก็บน้ำให้แก่ อปท.
  • เงินอุดหนุนสำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคแก่ประชาชน
  • เงินอุดหนุนค่าปรับปรุง ซ่อมแซมสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า
  • เงินอุดหนุนสำหรับก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนทางหลวงท้องถิ่น
  • โครงการสร้างหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุ
  • โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมให้แก่คนพิการหรือทุพพลภาพ
  • โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง และพัฒนาการบริหารจัดการน้ำระบบธนาคารน้ำใต้ดิน
  • โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  • โครงการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยระบบกล่องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV System)
  • โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย – สิ่งปฏิกูล
  • เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
  • โครงการพัฒนาศักยภาพเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ

กางข้อมูล 78 พื้นที่

ประเทศไทยมี อปท. ทั้งหมด 78 พื้นที่ มีจำนวน อปท. 7,850 แห่งโดยในปีงบประมาณ 2566 แต่ละพื้นที่มีรายได้รวม เรียงจากเม็ดเงินสูงสุดไปต่ำสุด โดยกรุงเทพมหานครมีรายได้รวมมากสุด 116,048.35 ล้านบาท ขณะที่จังหวัดระนอง มี อปท. 31 แห่ง รายได้รวมน้อยสุด 1,820.51 ล้านบาท ต่างกันประมาณ 60 เท่า

  1. กรุงเทพมหานคร มี อปท. 1 แห่ง รายได้รวม 116,048.35 ล้านบาท
  2. นครราชสีมา มี อปท. 334 แห่ง รายได้รวม 25,061.36 ล้านบาท 
  3. ชลบุรี มี อปท. 98 แห่ง รายได้รวม 21,295.55 ล้านบาท
  4. สมุทรปราการ มี อปท. 49 แห่ง รายได้รวม 18,869.43 ล้านบาท
  5. เชียงใหม่ มี อปท. 211 แห่ง รายได้รวม 17,694.66 ล้านบาท
  6. ขอนแก่น มี อปท. 225 แห่ง รายได้รวม 17,386.96 ล้านบาท
  7. อุบลราชธานี มี อปท. 239 แห่ง รายได้รวม 15,679.61 ล้านบาท
  8. สงขลา มี อปท. 141 แห่ง รายได้รวม 14,942.42 ล้านบาท
  9. นนทบุรี มี อปท. 46 แห่ง รายได้รวม 14,766.54 ล้านบาท
  10. นครศรีธรรมราช มี อปท. 185 แห่ง รายได้รวม 14,211.99 ล้านบาท
  11. ปทุมธานี มี อปท. 65 แห่ง รายได้รวม 13,861.90 ล้านบาท
  12. อุดรธานี มี อปท. 181 แห่ง รายได้รวม 13,821.75 ล้านบาท
  13. ศรีสะเกษ มี อปท. 217 แห่ง รายได้รวม 12,998.73 ล้านบาท
  14. บุรีรัมย์ มี อปท. 209 แห่ง รายได้รวม 12,673.17 ล้านบาท
  15. ระยอง มี อปท. 68 แห่ง รายได้รวม 12,378.05 ล้านบาท
  16. ร้อยเอ็ด มี อปท. 203 แห่ง รายได้รวม 12,105.03 ล้านบาท
  17. เชียงราย มี อปท. 144 แห่ง รายได้รวม 11,593.68 ล้านบาท
  18. สุรินทร์ มี อปท. 173 แห่ง รายได้รวม 11,497.85 ล้้านบาท
  19. สุราษฎร์ธานี มี อปท. 138 แห่ง รายได้รวม 11,208.48 ล้านบาท
  20. พระนครศรีอยุธยา มี อปท. 158 แห่ง รายได้รวม 10,467.61 ล้านบาท
  21. ชัยภูมิ มี อปท. 143 แห่ง รายได้รวม 10,300.01 ล้านบาท
  22. นครสวรรค์ มี อปท. 143 แห่ง รายได้รวม 10,075.61 ล้านบาท
  23. สกลนคร มี อปท. 141 แห่ง รายได้รวม 9,777.02 ล้านบาท
  24. นครปฐม มี อปท. 117 แห่ง รายได้รวม 9,630.78 ล้านบาท
  25. กาฬสินธุ์ มี อปท. 151 แห่ง รายได้รวม 9,429.80 ล้านบาท
  26. สุพรรณบุรี มี อปท. 127 แห่ง รายได้รวม 8,710.93 ล้านบาท
  27. มหาสารคาม มี อปท. 143 แห่ง รายได้รวม 8,622.53 ล้านบาท
  28. กาญจนบุรี มี อปท. 122 แห่ง รายได้รวม 8,257.28 ล้านบาท
  29. เพชรบูรณ์ มี อปท. 128 แห่ง รายได้รวม 8,252.77 ล้านบาท
  30. ฉะเชิงเทรา มี อปท. 109 แห่ง รายได้รวม 8,202.22 ล้านบาท
  31. พิษณุโลก มี อปท. 103 แห่ง รายได้รวม 8,197.64 ล้านบาท
  32. ราชบุรี มี อปท. 112 แห่ง รายได้รวม 8,172.95 ล้านบาท
  33. สระบุรี มี อปท. 109 แห่ง รายได้รวม 8,136.43 ล้านบาท
  34. ลำปาง มี อปท. 103 แห่ง รายได้รวม 7,508.58 ล้านบาท
  35. สมุทรสาคร มี อปท. 38 แห่ง รายได้รวม 7,469.01 ล้านบาท
  36. กำแพงเพชร มี อปท. 90 แห่ง รายได้รวม 7,350.72 ล้านบาท
  37. ลพบุรี มี อปท. 126 แห่ง รายได้รวม 6,891.97 ล้านบาท
  38. ปัตตานี มี อปท. 114 แห่ง รายได้รวม 6,797.38 ล้านบาท
  39. นราธิวาส มี อปท. 89 แห่ง รายได้รวม 6,770.71 ล้านบาท
  40. ภูเก็ต มี อปท. 19 แห่ง รายได้รวม 6,704.82 ล้านบาท
  41. เลย มี อปท. 101 แห่ง รายได้รวม 6,634.80 ล้านบาท
  42. สุโขทัย มี อปท. 91 แห่ง รายได้รวม 6,553.31 ล้านบาท
  43. ตรัง มี อปท. 100 แห่ง รายได้รวม 6,251.53 ล้านบาท
  44. นครพนม มี อปท. 104 แห่ง รายได้รวม 6,098.51 ล้านบาท 
  45. น่าน มี อปท. 100 แห่ง รายได้รวม 5,825.79 ล้านบาท
  46. จันทบุรี มี อปท. 82 แห่ง รายได้รวม 5,763.02 ล้านบาท
  47. พิจิตร มี อปท. 102 แห่ง รายได้รวม 5,700.23 ล้านบาท
  48. พัทลุง มี อปท. 74 แห่ง รายได้รวม 5,608.01 ล้านบาท
  49. ประจวบคีรีขันธ์ มี อปท. 61 แห่ง รายได้รวม 5,513.10 ล้านบาท
  50. ตาก มี อปท. 69 แห่ง รายได้รวม 5,383.07 ล้านบาท
  51. ยโสธร มี อปท. 88 แห่ง รายได้รวม 5,307.59 ล้านบาท
  52. เพชรบุรี มี อปท. 85 แห่ง รายได้รวม 5,298.20 ล้านบาท
  53. ปราจีนบุรี มี อปท. 70 แห่ง รายได้รวม 5,254.02 ล้านบาท
  54. ชุมพร มี อปท. 79 แห่ง รายได้รวม 5,236.45 ล้านบาท
  55. ยะลา มี อปท. 64 แห่ง รายได้รวม 5,192.01 ล้านบาท
  56. อุตรดิตถ์ มี อปท. 80 แห่ง รายได้รวม 5,124.56 ล้านบาท
  57. สระแก้ว มี อปท. 66 แห่ง รายได้รวม 4,988.13 ล้านบาท
  58. พะเยา มี อปท. 72 แห่ง รายได้รวม 4,870.02 ล้านบาท
  59. แพร่ มี อปท. 84 แห่ง รายได้รวม 4,647.39 ล้านบาท
  60. หนองบัวลำภู มี อปท. 68 แห่ง รายได้รวม 4,579.37 ล้านบาท
  61. กระบี่ มี อปท. 62 แห่ง รายได้รวม 4,539.71 ล้านบาท
  62. ลำพูน มี อปท. 58 แห่ง รายได้รวม 4,536.85
  63. หนองคาย มี อปท. 68 แห่ง รายได้รวม 4,487.97 ล้านบาท
  64. เมืองพัทยา มี อปท. 1 แห่ง รายได้รวม 4,287.25 ล้านบาท
  65. อำนาจเจริญ มี อปท. 64 แห่ง รายได้รวม 3,851.30 ล้านบาท
  66. บึงกาฬ มี อปท. 58 แห่ง รายได้รวม 3,608.73 ล้านบาท
  67. ชัยนาท มี อปท. 60 แห่ง รายได้รวม 3,596.39 ล้านบาท
  68. อุทัยธานี มี อปท. 64 แห่ง รายได้รวม 3,592.23 ล้านบาท
  69. อ่างทอง มี อปท. 65 แห่ง รายได้รวม 3,364.74 ล้านบาท
  70. มุกดาหาร มี อปท. 55 แห่ง รายได้รวม 3,308.35 ล้านบาท
  71. พังงา มี อปท. 52 แห่ง รายได้รวม 3,136.24 ล้านบาท
  72. สตูล มี อปท. 42 แห่ง รายได้รวม 3,011.01 ล้านบาท
  73. นครนายก มี อปท. 46 แห่ง รายได้รวม 2,652.58 ล้านบาท
  74. ตราด มี อปท. 44 แห่ง รายได้รวม 2,430.22 ล้านบาท
  75. แม่ฮ่องสอน มี อปท. 50 แห่ง รายได้รวม 2,352.20 ล้านบาท
  76. สิงห์บุรี มี อปท. 42 แห่ง รายได้รวม 2,334.14 ล้านบาท
  77. สมุทรสงคราม มี อปท. 36 แห่ง รายได้รวม 2,124.74 ล้านบาท
  78. ระนอง มี อปท. 31 แห่ง รายได้รวม 1,820.51 ล้านบาท

ข้อมูลย้อนหลังท็อป 10 จังหวัด

เมื่อไล่เรียง อปท. ที่ได้รับงบประมาณสูงสุด 10 ลำดับ ดังนี้

  1. กรุงเทพมหานคร: ปี 2566 116,048.35 ล้านบาท, ปี 2565 108,030.37 ล้านบาท, ปี 2564 88,960.48 ล้านบาท, ปี 2563 91,943.39 ล้านบาท, ปี 2562 103,377.94 ล้านบาท, ปี 2561 105,463.85 ล้านบาท และปี 2560 98,169.20 ล้านบาท
  2. นครราชสีมา: ปี 2566 25,061.36 ล้านบาท, ปี 2565 23,806.48 ล้านบาท, ปี 2564 23,579.18 ล้านบาท, ปี 2563 22,124.12 ล้านบาท, ปี 2562 22,970.91 ล้านบาท, ปี 2561 21,500.49 ล้านบาท และปี 2560 20,416.45 ล้านบาท
  3. ชลบุรี: ปี 2566 21,295.55 ล้านบาท, ปี 2565 18,710.19 ล้านบาท, ปี 2564 16,949.99 ล้านบาท, ปี 2563 15,368.00 ล้านบาท, ปี 2562 18,714.28 ล้านบาท, ปี 2561 18,062.42 ล้านบาท และปี 2560 16,980.19 ล้านบาท
  4. สมุทรปราการ: ปี 2566 18,869.43 ล้านบาท, ปี 2565 16,910..94 ล้านบาท, ปี 2564 15,313.09 ล้านบาท, ปี 2563 13,244.35 ล้านบาท, ปี 2562 16,255.53 ล้านบาท, ปี 2561 15,830.58 ล้านบาท และปี 2560 14,882.36 ล้านบาท
  5. เชียงใหม่: ปี 2566 17,694.66 ล้านบาท, ปี 2565 16,706.99 ล้านบาท, ปี 2564 16,085.45 ล้านบาท, ปี 2563 15,097.15 ล้านบาท, ปี 2562 16,475.54 ล้านบาท, ปี 2561 15,639.94 ล้านบาท และปี 2560 14,743.87 ล้านบาท
  6. ขอนแก่น: ปี 2566 17,387.96 ล้านบาท, ปี 2565 16,314.36 ล้านบาท, ปี 2564 15,745.96 ล้านบาท, ปี 2563 14,863.94 ล้านบาท, ปี 2562 15,529.16 ล้านบาท, ปี 2561 14,749.49 ล้านบาท และปี 2560 13,990.83 ล้านบาท
  7. อุบลราชธานี: ปี 2566 15,679.61 ล้านบาท, ปี 2565 15,437.36 ล้านบาท, ปี 2564 15,306.48 ล้านบาท, ปี 2563 14,131.04 ล้านบาท, ปี 2562 15,219.19 ล้านบาท, ปี 2561 13,677.52 ล้านบาท และปี 2560 13,240.01 ล้านบาท
  8. สงขลา: ปี 2566 14,942.42 ล้านบาท, ปี 2565 13,479.68 ล้านบาท, ปี 2564 13,226.97 ล้านบาท, ปี 2563 12,676.85 ล้านบาท, ปี 2562 13,835.90 ล้านบาท, ปี 2561 13,128.12 ล้านบาท และปี 2560 12,208.35 ล้านบาท
  9. นนทบุรี: ปี 2566 14,766.54 ล้านบาท, ปี 2565 13,936.41 ล้านบาท, ปี 2564 12,722.11 ล้านบาท, ปี 2563 11,783.15 ล้านบาท, ปี 2562 13,789.21 ล้านบาท, ปี 2561 13,570.64 ล้านบาท และปี 2560 12,927.69 ล้านบาท
  10. นครศรีธรรมราช: ปี 2566 14,211.99 ล้านบาท, ปี 2565 13,826.48 ล้านบาท, ปี 2564 14,138.84 ล้านบาท, ปี 2563 13,642.56 ล้านบาท, ปี 2562 13,433.10 ล้านบาท, ปี 2561 12,612.63 ล้านบาท และปี 2560 11,757.22 ล้านบาท