ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ กรุงศรี เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ได้รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาอย่างต่อเนื่องทั้งภายในองค์กรและภาคส่วนอื่นๆ โดยคณะกรรมการได้กำหนดนโยบายหรือเป้าหมายด้านความยั่งยืน คือ การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย ที่ถือเป็น vision mission statement ด้านความยั่งยืนขององค์กร
ปี 2567 นี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้รับรางวัล Sustainability Excellence Highly Commended Sustainability Awards จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน กรุงศรี กล่าวว่า จากวิสัยทัศน์องค์กรนำมาสู่การปฏิบัติ ด้วยการตั้งทีม ESG (environment, social, governance) ในปี 2561 และศึกษาหามาตรฐานเพื่อเป็นกรอบในการทำงาน โดยเลือกใช้ PRB: Principles of Responsible Banking FI ของ United Nations ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความยั่งยืนของภาคธนาคารพาณิชย์ มาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดนโยบาย
ด้วยธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ หัวใจในการทำธุรกิจ คือ นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนั้นได้ใช้ปัจจัยด้าน ESG risk เป็นหนึ่งในตัวกรองเพื่อการตัดสินใจอำนวยสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยแบ่งประเภทธุรกิจ มีทั้ง negative list คือ รายการต้องห้ามที่คิดว่าในอนาคตหรือแม้กระทั่งปัจจุบันก็อาจจะไม่ได้สนับสนุน อีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า positive list คือ มีเป้าหมายที่จะทำเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ธุรกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทนั้นๆ จะเป็นกิจกรรมหรือเป็นธุรกรรมที่พึงจะสนับสนุนและควรให้การสนับสนุน เพื่อที่จะให้สามารถไปถึงเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้
สินเชื่อ ESG ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และโตเร็วกว่าสินเชื่อปกติ ธนาคารตั้งเป้าที่จะขยายสินเชื่อด้าน ESG จากปีฐาน 2564 จำนวน 1 แสนล้าน ให้ได้ภายในปี 2573 ซึ่ง ณ ไตรมาส 2 ของปี 2567 สามารถโตได้ถึง 73,000 ล้านบาทแล้ว
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Sustainability-Linked ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะมีส่วนสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือมีส่วนช่วยทำให้มีผลกระทบด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันลูกค้าสนใจที่จะเข้ามาระดมทุนหรือเข้ามากู้เงินกับธนาคารด้วยผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่จะเป็น green 100% แต่จะมีองค์ประกอบความเป็น green บางครั้งลูกค้าเองอาจจะไม่ได้มีความต้องการที่จะไปลงทุนในกิจกรรมที่เป็น green 100% หรืออาจจะไม่สามารถหาโปรเจกต์ที่เป็น green ได้ 100%
ส่วนด้าน adaptation project บางครั้งเป็นโปรเจกต์ที่ใช้เม็ดเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงอาจจะไม่ได้อยู่ในความสนใจของการลงทุนภาคเอกชน แต่ถ้ามีส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาล ส่วนหนึ่งมาจากภาคเอกชนด้วยกลไกของ PPP (private public partnership) ก็จะช่วยลดความเสี่ยง และมีแรงจูงใจที่จะมีการลงทุนใน adaptation project มากขึ้น
นายพูนสิทธิ์กล่าวว่า “adaptation ในปัจจุบันยังไม่ได้มีความสนใจเท่ากับ mitigation เพราะ mitigation ชัด มีกฎ มีระเบียบที่จะกระทบ อาจจะกระทบความสามารถในการแข่งขัน แต่ adaptation ส่วนหนึ่งเป็นคล้ายๆ risk mitigation หรือ risk prevention เพราะฉะนั้นความสนใจในปัจจุบันจะมีแนวโน้มไปฝั่งของ climate mitigation มากกว่า adaptation
อ่านบทความฉบับเต็ม กรุงศรีมุ่งสู่ธนาคารพาณิชย์ยั่งยืนที่สุดของไทย ชูสินค้า Green หลายเฉด – ชี้เทรนด์ Adaptation รับโลกเดือดต้องทำแล้ว ได้ที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้า