ThaiPublica > ThaiPublica Channel > ThaiPublica Podcast > Thaipublica Channel ตลาดหลักทรัพย์พร้อมสร้าง Ecosystem “คน-เครื่องมือ” ลุย ESG-Adaptation รับโลกเดือด

Thaipublica Channel ตลาดหลักทรัพย์พร้อมสร้าง Ecosystem “คน-เครื่องมือ” ลุย ESG-Adaptation รับโลกเดือด

31 ตุลาคม 2024


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในฐานะตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาเครื่องมือ อำนวยความสะดวก ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ และร่วมสร้างเครือข่ายบุคลากรที่ทำงานด้านความยั่งยืนให้มากขึ้น

ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการเพื่อให้บริษัทจดทะเบียน action ในมิติ SDGs ภายใต้กรอบ ESG มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการดำเนินการในลักษณะ mitigration เพื่อชะลอภาวะโลกเดือด ขณะเดียวกันก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการสร้างความตระหนักรู้ให้การเกิดปรับตัวหรือadaptaion เพื่อสังคม/เศรษฐกิจอยู่รอดในภาวะโลกเดือด

“ผมว่า adaptation เผลอๆ อาจสำคัญกว่า mitigation อีก เพราะว่าโลกร้อนมันคงร้อนขึ้น…”

ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกล่าว พร้อมบอกว่า “ดังนั้น ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์ เราจะโฟกัส adaptation มากขึ้น เพราะ mitigation ตอนนี้มีคนพูดเยอะแล้ว หลักๆ เราจะผลักดันเรื่อง awareness เรื่อง guidance ใครทำอะไรที่ดีที่สุดในโลกเราต้องมาโชว์เคส”

ดร.ศรพลกล่าวถึงพัฒนาการด้านความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าที่ผ่านมาได้ทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันได้นำเรื่องความยั่งยืนเข้ามาฝังอยู่ในการทำงาน กลยุทธ์ของบริษัท เพื่อเป้าหมายของบริษัทไม่ใช่แค่เรื่องของกำไร แต่เป็นเป้าหมายที่มีความสมดุลระหว่างกำไร สิ่งแวดล้อม คน และชุมชน ก็คือเรื่องของ “ESG” (environment, social, governance) เรื่อง ESG ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีขอบข่ายที่กว้างขึ้น มีตัวชี้วัด และก็เป็นกระแสหลักมากขึ้น

ดร.ศรพลตัวมองว่า 4 ปัจจัยที่จะทำให้ประเทศไทยพร้อมในเรื่องของการรองรับความยั่งยืน ปัจจัยแรกที่สำคัญคือเรื่อง awareness ไม่ใช่แค่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น แต่เป็น awareness ในเชิงของทัศนคติด้วยว่าเราทำได้ บริษัทเล็กก็ทำได้ ไม่ใช่เรื่องของบริษัทใหญ่ถึงจะทำเรื่องนี้ได้ แล้วก็เราสามารถสร้างความแตกต่างเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น

ปัจจัยที่สอง คือเรื่องความชัดเจนของกฎเกณฑ์กติกาทั้งโลกและไทย เรื่องไหนเป็นเรื่องที่ต้องทำ มาตรฐานไหนควรจะไปใช้ในการรายงาน กฎเกณฑ์การรายงาน เรื่องภาษี เรื่องอะไรต่างๆ คือกฎเกณฑ์ยิ่งชัดเท่าไหร่ การปรับตัวมันจะง่ายขึ้น

ปัจจัยที่สาม เรื่องของต้นทุนในการทำ อันนี้ได้พูดไปแล้วข้างต้น บางทีเรารู้แล้ว ทุกอย่างชัดแล้ว แต่ทำไม่ไหว ถ้ามันสามารถลดต้นทุนดำเนินการได้ เช่น ตลาดหลักทรัพย์เราพยายามทำหน้าที่เป็นคนสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางเรื่องการรายงานข้อมูล เขาไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน เป็นการลดต้นทุน หรือการสร้างคน verifier จะได้ไม่เป็นคอขวดที่ทำให้การประเมินคาร์บอนใช้เวลานาน

ปัจจัยที่สี่ น่าจะเป็นเรื่องของคน ที่ทำในด้านความยั่งยืนจริงๆ ยังมีไม่มาก ตอนนี้ดีมานด์ทุกบริษัทต้องการทำในเรื่องนี้หมด แต่จำนวนคนยังไม่พอ อาจจะต้องเร่งผลิตคนในสาขา ESG มากขึ้น

ดังนั้น 4 ข้อนี้ ถ้ามันเกิดขึ้น เราก็น่าจะขับเคลื่อน ESG ของไทยได้สำเร็จ หากทุกคนมีความตระหนักรู้ว่าฉันทำได้ ไม่ต้องรอบริษัทใหญ่ๆ หรือประเทศยุโรปทำไปคนเดียว

อ่านเพิ่มเติมฉบับเต็ม https://thaipublica.org/2024/10/set-ecosystem-esg-adaptation/