ThaiPublica > Sustainability > Sustainable Business > SCG ทุ่ม 10,000 ล้าน พัฒนานวัตกรรมกรีน- คาร์บอนต่ำ หนุนพลัง ‘คน’ เดินหน้าองค์กรแห่งโอกาส

SCG ทุ่ม 10,000 ล้าน พัฒนานวัตกรรมกรีน- คาร์บอนต่ำ หนุนพลัง ‘คน’ เดินหน้าองค์กรแห่งโอกาส

9 พฤษภาคม 2024


SCGทุ่มงบลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท เดินหน้าความเป็น “องค์กรแห่งโอกาส” หนุนพลังคน เปลี่ยนไอเดียให้เป็นจริง-พัฒนานวัตกรรมระดับโลก-ปั้นนวัตกรรมกรีน- คาร์บอนต่ำ สร้างคุณภาพชีวิตดี เศรษฐกิจโต สังคม สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ภายใต้ The Possibilities for Inclusive Green Growth เอสซีจีพร้อมจะเปลี่ยนแปลงทุกธุรกิจไปสู่เป้าหมาย นับตั้งแต่ Low-carbon ไปสู่ Carbon Neutrality และเอสซีจีตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ในปีค.ศ. 2050 หรืออีก 26 ปีข้างหน้า

“เป้าหมายดังกล่าว จะใช้ CEO 3 คน โดยผม มีหน้าที่ทำให้บริษัทลดการปล่อยคาร์บอนลง 25% CEO คนถัดไป เดินหาสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutrality)และ CEO คนที่3 ผลักดันให้ SCC บรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050”

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความท้าทายใน 3 ด้าน คือ 1.เทคโนโลยี ที่จะใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทั้งแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล และการเปลี่ยนกระบวนการผลิต ที่ผ่านมาเราได้เปลี่ยนการใช้พลังงานถ่านหินลงไปกว่า 40 % และในปีนี้ (2567) เราคาดหวังว่าจะลดการใช้ถ่านหินลง 50 %

ส่วนความท้าทายที่ 2 คือ ลูกค้าและตลาด ซึ่งเราต้องการลูกค้า 100 % ที่ต้องการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน และความท้าทายที่ 3 คือเรื่องของกฎหมาย ระเบียบทั้งในเรื่อง กฎหมายโลกร้อน มี CBAM หรือกลไกการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนสหภาพยุโรป เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก

“ความท้าทายทั้ง 3 ข้อ เราต้องใช้เวลา 26 ปีที่จะเดินไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายขึ้นอยู่กับ ‘คน’ หรือพลังของ ‘คน’ เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้”

นายธรรมศักดิ์ กล่าวว่าเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น เอสซีจีจึงเปิดพื้นที่ สร้าง ‘องค์กรแห่งโอกาส’ (Organization of Possibilities) เพื่อให้ทุกคนทั้งพนักงาน พาร์ตเนอร์ คนทุกเจน มีพื้นที่แสดงพลังและปล่อยแพสชันไร้ขีดจำกัด คิดทำนอกกรอบ ทดลองเรียนรู้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมกรีนที่ตอบโจทย์ลูกค้า สังคม สิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจเอสซีจี

สำหรับองค์กรแห่งโอกาสต่าง ๆ ประกอบด้วย

1. โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม เช่น ให้พนักงานก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกับโครงการสตาร์ตอัปภายในองค์กร ‘ZERO TOONE by SCG’ โดยติดอาวุธทักษะความรู้ ตั้งแต่เริ่มทำความเข้าใจลูกค้า ค้นหาปัญหา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า และการขยายฐานลูกค้าเพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม ปัจจุบันมีสตาร์ตอัปในโครงการ 100 สตาร์ตอัป เช่น ‘Wake Up Waste’ แพลตฟอร์มรถบีบอัดขยะ ช่วยให้ขยะเล็กลง ขนส่งได้ปริมาณมากขึ้น

2.โอกาสพัฒนานวัตกรรมระดับโลก สนับสนุนการวิจัยภายในองค์กรและร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เช่น ร่วมกับ ‘Norner AS’ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสติก ประเทศนอร์เวย์ และ ‘มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด’ ประเทศอังกฤษ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน รวมทั้ง ร่วมมือกับสตาร์ตอัปจากสหรัฐอเมริกา ‘Rondo Energy’ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ เช่น แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด

3.โอกาสร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เพื่อรวมพลังสร้างสังคมคาร์บอนต่ำที่เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน เช่น ขับเคลื่อน ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ สร้างเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย พาไทยมุ่งสู่ Net Zero

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี

นายธรรมศักดิ์กล่าวด้วยว่า ในปี 2567 บริษัทตั้งงบลงทุนในการพัฒนากระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำและนวัตกรรมกรีนกว่า 10,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีซีเมนต์ แอนด์กรีนโซลูชัน และเอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ซึ่งต้องปรับกระบวนการผลิตพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

สำหรับในปีนี้ตั้งเป้าหมายขายผลิตภัณฑ์สีเขียว(SCG Green Choice) มีสัดส่วน 53-55% ของรายได้ ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีสัดส่วนราว 53% เพราะโครงการปิโตรเคมีครบวงจรลองเซิน เคมิคอลส์(LSP)ที่ประเทศเวียดนามจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3นี้ ทำให้สัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียวแกว่งตัวอยู่ที่ 53%  ส่วนในปี 2573 คาดว่าจะมี ยอดขาย SCG Green Choice จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 67%

การปรับเปลี่ยนองค์กรตามแนวทาง Inclusive Green Growth ประกอบด้วย เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน ออกแบบกระบวนการผลิตให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่กับเพิ่มฟังก์ชันใช้งานที่ตอบโจทย์ลูกค้า สังคม สิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น อาทิ พลิกโฉมการก่อสร้างและอยู่อาศัยให้กรีนครบวงจร ตั้งแต่นวัตกรรมงานโครงสร้างจนถึงระบบเทคโนโลยีภายในและการตกแต่ง ก่อสร้างบ้าน อาคาร โครงการต่าง ๆ ด้วย ‘ปูนคาร์บอนต่ำและคอนกรีตคาร์บอนต่ำ’ ได้ ‘ปูนคาร์บอนต่ำและคอนกรีตคาร์บอนต่ำ’ ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 15-20 %

ส่วน “เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง’ นำเสนอ ‘วัสดุก่อสร้างครบทั้งหลัง’ ดีไซน์สวยงาม ทนทาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้รับการรับรอง SCG Green Choice และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งยังมีเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานครบวงจร ตั้งแต่การลดการใช้พลังงานจากระบบปรับอากาศในอาคาร ด้วย ‘SCG Air Scrubber’ และสร้างพลังงานสะอาดสำหรับใช้ภายในบ้าน-อาคารตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย ‘SCG Solar Hybrid Solutions’  ตลอดจนโซลูชันใหม่อย่าง ‘Microgrid and Energy Storage System’ ที่ช่วยให้การบริหารจัดการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด กักเก็บพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ไว้สำหรับใช้งานในช่วงต่าง ๆ ของวัน

นอกจากนี้‘เอสซีจี เดคคอร์’ พร้อมเสิร์ฟนวัตกรรมตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจร ล่าสุด เปิดตัว ‘COTTO CLAY DECOR COLLECTION’ ดูดซับความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านเย็น ประหยัดพลังงาน และนวัตกรรม ‘ก๊อกน้ำรุ่น GEO Series’ ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ Non-Foundry Process ดีไซน์ก๊อกน้ำที่ใช้ท่อทองเหลืองมาเป็นส่วนหนึ่งในงานออกแบบสามารถลดใช้พลังงานในการหลอมขึ้นรูปและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าร้อยละ 10 ยกระดับไลฟ์สไตล์ให้สะดวกผู้ใช้ สบายโลกมากยิ่งขึ้น ด้วยนวัตกรรมจาก ‘SCGP’ ที่ช่วยสร้างความยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

ตั้งแต่การพัฒนายูคาลิปตัสเพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทน (Renewable Resource)การเพิ่มประสิทธิภาพการนำกระดาษรีไซเคิลสู่กระบวนการผลิตพัฒนากระบวนการผลิตให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย Machine Learning และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเพิ่มทางเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลและใช้ซ้ำได้เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน รวมถึงมุ่งพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสินค้าใหม่ ๆ อย่างกลุ่มวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อเตรียมรองรับเทรนด์การใส่ใจสุขภาพไปกับความยั่งยืน

‘เอสซีจี เคมิคอลส์ (SCGC)’ มุ่งพัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์ ‘SCGC GREEN POLYMER TM ’ พร้อมนำเสนอกรีนโซลูชันตามแนวทาง Low Waste, Low Carbonโดยได้ขยายกำลังการผลิตพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป ได้แก่ ‘ซีพลาสต์’ (Sirplaste) โปรตุเกส เพิ่มขึ้น 9,000 ตันต่อปี เป็น 45,000 ตันต่อปี และ ‘คราส’ (Kras) เนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้น 9,000 ตันต่อปี เป็น 18,000 ตันต่อปี ตอบโจทย์ความต้องการนวัตกรรมกรีนในระดับโลก ขณะที่ในภูมิภาค SCGC ร่วมกับคู่ธุรกิจมุ่งเปลี่ยนของใกล้ตัวผู้บริโภคให้กรีนยิ่งขึ้น อาทิ ร่วมกับ HomePro พัฒนา‘เครื่องใช้ไฟฟ้ารักษ์โลก’ ครั้งแรกในไทย โดยรีไซเคิลพลาสติกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วให้กลับมาผลิตใช้ใหม่

นอกจากนั้น ร่วมกับ Braskem ผลิต ‘พลาสติกชีวภาพ’ หรือ Bio-Polyethylene ที่เปลี่ยนการใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากฟอสซิลเป็นวัตถุดิบชีวภาพมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ ร่วมกับ Denka ผลิต ‘Acetylene Black’ซึ่งเป็นสารนำไฟฟ้าสำคัญสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ EV มุ่งสู่ Green Mobility พร้อมทั้งนวัตกรรมสุดล้ำล่าสุดที่ SCGC พัฒนาร่วมกับ Avantium ในการ ‘เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นพอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ’ (Carbon-Negative Plastic) นอกจากนี้ SCGC ยังได้รุกสู่ธุรกิจโซลูชันในการปรับปรุงและแก้ปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Solutions) ภายใต้แบรนด์ ‘REPCO NEX’ พร้อมส่งมอบ Innovative & Digital โซลูชันเพื่อความยั่งยืน อาทิ พลังงานสะอาด (Renewable Energy) ระบบการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตรวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

‘เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่’ ช่วยก้าวข้ามข้อจำกัดในการใช้พลังงานสะอาดของภาคอุตสาหกรรม เร่งการเปลี่ยนผ่านให้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานสะอาดอัจฉริยะ ‘Smart Grid’ เพื่อเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งนวัตกรรมแห่งอนาคตอย่าง ‘แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานความร้อนจากพลังงานสะอาด’ ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำความร้อนหรือไอน้ำในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจน ‘เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์’ พร้อมเป็นตัวกลางเชื่อมต่อสังคมโลว์คาร์บอน ซัพพอร์ทลูกค้าและคู่ธุรกิจมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ใน Scope 3 ด้วยบริการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ‘กลุ่มธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็น’ (Cold Chain Business) มีการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บและจ่ายสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage Retrieval System) หรือ ASRS พร้อมด้วยระบบ ‘Solar Roof’ เปลี่ยนสู่การเป็นคลังสินค้าประหยัดพลังงาน ลดการใช้เชื้อเพลิง ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนั้น ยังมีนวัตกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อื่น ๆ เช่น ‘รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า’ ‘ระบบคำนวณเส้นทางอัจฉริยะ (AI Route Optimization)’ ‘หุ่นยนต์ลำเลียงอัตโนมัติ (AGV & Robotics)’ ที่ช่วยสร้างความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ”