ThaiPublica > Native Ad > เบื้องหลัง ‘ทรู’ คว้าที่ 1 DJSI 4 ปีซ้อน บทพิสูจน์ ‘ความยั่งยืน’ กับการสร้างมาตรฐานระดับโลก

เบื้องหลัง ‘ทรู’ คว้าที่ 1 DJSI 4 ปีซ้อน บทพิสูจน์ ‘ความยั่งยืน’ กับการสร้างมาตรฐานระดับโลก

9 สิงหาคม 2022


ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ความยั่งยืนยังคงเป็นหมุดหมายที่สำคัญของ “ทรู” ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ตั้งแต่มิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG (Environment, Social and Governance) ทำให้ทรูเป็นหนึ่งในองค์กรที่ยั่งยืนของไทย

ในปี 2565 ทรูได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน (2017 – 2021) และได้เป็นที่ 1 (Industry Leader) ของโลกในหมวดธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม 4 ปีต่อเนื่อง โดยปีล่าสุดได้คะแนนสูงที่สุดเหนือผู้นำจากทั้งหมด 61 อุตสาหกรรม โดยประกาศเผยแพร่คะแนน บนเว็บไซต์รายงานความยั่งยืนระดับโลก ประจำปี 2022 (The Sustainability Yearbook 2022) จัดทำโดย S&P Global

นอกจากนี้ ทรู ยังได้รับการคัดเลือกจาก FTSE4Good Index สถาบันจัดทำดัชนีหลักทรัพย์จากประเทศอังกฤษ ติดต่อกัน 6 ปี ซ้อน โดยปี 2022 ได้รับการจัดอันดับที่ 1 ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

รางวัลระดับโลก คือบทพิสูจน์ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค สร้างคุณค่าระยะยาว ตลอดจนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม บนพื้นฐานของบรรษัทภิบาลที่แข็งแกร่ง ขณะเดียวกันเป็นการประเมินการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีของกลุ่มทรู ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนดิจิทัล บุคลากร (School Partner และ ICT Talent) เข้ามาสนับสนุนด้านการศึกษาของไทยอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการต่างๆ

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น มอง ‘มาตรฐานความยั่งยืน’ ผ่านรางวัลระดับโลกที่ได้รับมาต่อเนื่องหลายปีว่า “การที่ทรูได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI ต่อเนื่องมาห้าปี จากนี้ไปจะเป็นความท้าทายมาก เพราะเกณฑ์ของ DJSI เป็นแค่กรอบให้เราทำ แต่สิ่งที่ท้าทายคือบริบทของโลก บริบทประเทศ และอุตสาหกรรม ตอนนี้ทุกองค์กรในโลกรู้ว่า Landscape การแข่งขันเปลี่ยนไปแล้ว ฉะนั้นเราต้องปรับตัวให้รับการแข่งขันใหม่ ผู้เล่นใหม่ วันนี้คู่แข่งทางธุรกิจมาจากทุกประเทศทั่วโลก”

พร้อมกล่าวต่อว่า “การที่ทรูให้ DJSI ประเมิน ทำให้ทรูสามารถเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมได้ เราอาจจะคิดว่าทำดีอยู่แล้ว แต่จริงๆ แล้วหลายเรื่องที่ทำ อาจจะมีเรื่องที่คนอื่นทำได้ดีกว่า เป็นเรื่องที่ทรูได้เรียนรู้จากเขา และมีคำถามใหม่ๆ ในแต่ละปี ทำให้รู้ว่าทั่วโลกสนใจเรื่องอะไร ดังนั้นการเป็นสมาชิก DJSI ทำให้เราได้พัฒนาว่ามีอะไรที่ยังไม่ได้ทำและต้องทำเพิ่มเติมอีก”

“แต่ละปี DJSI คาดหวังการพัฒนาที่ดีขึ้น และแต่ละปี สิ่งที่ทุกองค์กรต้องเริ่มทำเลยคือ Materiality Analysis แปลว่าการฟังเสียง Stakeholder ในแต่ละปี เขาจะบอกเรา เช่น บอกว่าผู้บริโภค ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คำนึงถึงอะไร สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือโจทย์หลักที่คนคาดหวังจากเรา แล้วเราทำได้ดีหรือไม่ดี ต้องทำอันนี้ก่อน ไม่ใช่ทำคะแนนสูงๆ ก่อน”

ดร.ธีระพลกล่าวว่าแต่ละปีจะมีเกณฑ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา แต่ไม่ใช่ว่าเรื่องใหม่ๆ จะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่อาจจะเป็นเรื่องเก่าที่เขาพูดมานานแล้วก็ได้ อย่างปีนี้คือ Customer Data privacy และ Data Security ที่เขามองว่าสำคัญมากสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม

“ทุกวันมีคนพยายามจะแฮคเป็นหมื่นครั้งต่อปี และทุกวันเราต้องไปดูหน้าต่างทุกบาน ทำเสร็จอย่าลืมใส่โค้ด ใส่รหัสล็อค เพราะบางทีมันเกิดจากความเลินเล่อได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเพิ่มระบบ จ้างที่ปรึกษาาด้านเทคโนโลยีมาดูและทดสอบว่าถ้าเกิดแล้วจะทำยังไง”

ในแง่ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จริงๆ DJSI ให้น้ำหนักคะแนนที่สูสีกัน ในแต่ละเรื่อง เราต้องมาเช็คลิสต์ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับฝ่ายนี้ คนนี้ ที่เหลือไปขับเคลื่อนปิด Gap ถามว่าแต่ละปีต่างกันยังไง ปีนี้เราได้คะแนนสูงสุด คนอื่นในอุตสาหกรรมจะเรียนรู้จากเรา เราก็เรียนรู้จากเขา คงไม่มีใครยอมให้เราสูงสุดทุกปี เราก็ต้องพัฒนาตลอดเวลา นี่คือความยาก”

สำหรับกลุ่มโทรคมนาคม ปีที่ผ่านมา DJSI เพิ่มประเด็น Biodiversity เข้ามา ทำไมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ เขามองว่าการขยายเน็ตเวิร์ก ของทรู 25,000 เสาสัญญาณ ทั่วประเทศมีบางเสาอยู่บนภูเขา ในป่า ใกล้ทะเล ไปกระทบกับสิ่งมีชีวิตไหม

“เผอิญเป็นคำถามปีนี้ปีแรก เราก็เล่าถึงวิธีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเราจะพัฒนาอย่างไรจากปัจจุบันที่เป็นอยู่ ดังนั้นจากนี้ไปกระบวนการเซอร์เวย์พื้นที่ที่จะขยายสัญญาณ ไม่ใช่แค่ดูเน็ตเวิร์กจะแรงสุด ครอบคลุมสูงสุด เราต้องมีระบบตรวจประเมินว่ามีอะไรอยู่ เช่น แหล่งของนกชนิดนี้ พืชชนิดนี้ เราต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นเราต้องวางนโยบายและกรอบว่าจากนี้ต้องทำอะไรก่อนลงเสาสัญญาณ รวมทั้งการจะวัดผลยังไง ผมมีโอกาสได้ลงพื้นที่สมุทรสาครไปดูป่าโกงกาง ว่าเราไปทำลายระบบนิเวศไหม นี่คือเรื่องใหม่ๆที่มีทุกปี ซึ่งผมคิดว่าเป็นประโยชน์ที่เราเอาบริบทความยั่งยืนของโลกมาปรับใช้กับองค์กรไทย”

กระบวนการ 5 ขั้นสู่องค์กรที่ยั่งยืน

สำหรับรางวัลปีนี้ที่ได้คะแนนสูงสุด ดร.ธีระพลกล่าวว่าเป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาการบริหารองค์กรไปสู่ความยั่งยืนในขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1. สร้างองค์กรให้โปร่งใสในทุกด้านทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การแสดงผลความโปร่งใส มีทั้งเรื่องที่ทำดีและไม่ดี และสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไป โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

2. สร้างการเชื่อมโยงกลไกการตลาด การพัฒนาความยั่งยืน ต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน เช่น การรีไซเคิลขยะโทรศัพท์ที่ไม่ใช้แล้ว ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมเอาโทรศัพท์มาคืนแล้วได้พ้อยท์ จากนั้นเชื่อมต่อกับซัพพลายเออร์ว่าจะหาประโยชน์จากชิ้นส่วนรีไซเคิลได้ยังไง ชิ้นส่วนอันไหนรีไซเคิลไม่ได้ ส่งต่อไปไหน สุดท้ายเกิดความเชื่อมโยงการทำงานกับซัพพลายเออร์ในระดับต่างๆ และลูกค้าที่รับผิดชอบร่วมกัน

3. ผู้นำขับเคลื่อนความยั่งยืน หมายถึงผู้นำทุกระดับต้องมี Mindset ที่ถูกต้องในเรื่องความยั่งยืน และลงมือปฏิบัติจริง

4. กระบวนการให้อำนาจ (Empowerment) หลายเรื่องเราทำคนเดียวไม่ได้ เราต้อง Empower ให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสทำและตัดสินใจ โดยสร้าง Ecosystem ที่เอื้อให้คิดค้นนวตกรรมใหม่ๆ เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอน แต่การวัดเส้นรอบวงของต้นไม้ ถ้าต้องใช้คนทำ ค่าจ้างคนก็แพงกว่าการลดคาร์บอนอีก ฉะนั้นเราก็ใช้นวัตกรมาช่วยในการใช้โดรนทำหน้าที่แทน หากปลูกต้นไม้แสนต้น แล้วเอาคนไปวัดเส้นรอบวงทุกปี จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ดังนั้นยังมีโจทย์อีกมาก ที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำให้วัดผลได้จริง

5. เทคโนโลยี การทำเรื่องนวัตกรรมต้องมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาตลอด

ดร.ธีระพลกล่าวว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ต้องทำทั้งองค์กร แต่ละเรื่องต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันผลักดัน เพื่อให้กลมกลืนเข้าไปในเนื้องาน ทีมต้องสามารถประสานสิบทิศในการให้ทุกคนลุกขึ้นมาผลักดันและทำเรื่องความยั่งยืน

“สัญชาตญาณมนุษย์มักจะคิดว่าที่ทำอยู่ มันดีอยู่แล้ว ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง การให้ลุกมาทำอะไร ใช้วิธีสั่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างวิธีคิดใหม่ และการขับเคลื่อนของผู้นำ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ใช่กำหนดนโยบายเฉยๆ แต่ต้องลงมาช่วยขับเคลื่อน ให้คนทั้งองค์กรเห็นว่าทำจริง รู้ปัญหาจริง”

ธุรกิจ-ความยั่งยืน เรื่องเดียวกัน

ดร.ธีระพลให้แนวคิดว่า “ธุรกิจและความยั่งยืนเป็นเรื่องเดียวกัน อย่ามองแยกกันว่าทำธุรกิจแล้ว ยังต้องมาทำเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม ถ้าคิดแบบนี้ต้นทุนจะสูงและทำไม่ได้ในที่สุด ถ้าบอก เอาธุรกิจให้รอดก่อน สังคม สิ่งแวดล้อม รอไปก่อน แต่ถ้าเราคิดใหม่ว่านี่คือเรื่องเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มทรูเวลาทำโครงการอะไรก็ตาม เราจะประเมิน Carbon Pricing ว่าทำโครงการนี้ เปรียบเทียบแล้วปล่อยคาร์บอนเท่าไร เราเรียกว่า Internal Carbon Pricing พูดง่ายๆ มีต้นทุนเสมือนในการปล่อยคาร์บอน ทำให้เวลาคิดโครงการด้านเศรษฐกิจ ก็จะมีสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในวิธีคิด หรือบอกว่าจะทำอินเทอร์เน็ตไปที่โรงเรียนและหมู่บ้าน เราคิดด้วยเลยว่ามันจะไปด้วยแอปพลิเคชัน ‘หมอดี’ จะอยู่บนเขาหรือทะเลก็เจอหมอเก่งๆ ได้ จะต่างจากยุคสมัยก่อนที่ว่าเหลือกำไรแล้วค่อยแบ่งมาทำ CSR แต่ยุคนี้ต้องให้สินค้าและบริการที่ทำ สามารถส่งประโยชน์ทันที”

แอปพลิเคชันหมอดี

ขณะที่โจทย์ใหญ่ของประเทศคือเรื่องความเหลื่อมล้ำ และเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของรัฐบาล แต่เอกชนจะมีส่วนร่วมอย่างไรที่จะเอาสินค้าและบริการมาช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ กลุ่มทรูพยายามทำคือการเข้าถึงการศึกษา Crowdfunding โน็ตบุ๊กและอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน หรือกระทั่งสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพผ่านกองทุน

“หลายคนถามว่าทำไมทรูไปลงทุนสตาร์ทอัพระดับ Seeding หรือระดับวุ้น ทั้งที่โอกาสล้มเหลวเยอะมาก เราบอกว่าถ้าเราไม่สร้างปลาเล็ก จะโตเป็นปลาใหญ่ได้ยังไง มันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ Inclusive Capital”

ทรูทำด้านเทคโนโลยี จะมีส่วนในการทำ ‘Digital Transformation’ อย่างไร ที่จะช่วยพัฒนาระบบการให้บริการของภาครัฐให้เป็น ‘Smart Government’ ซึ่งทรูได้เข้าไปทำระบบคิว ให้กับโรงพยาบาลส่งผลให้จองคิวได้เร็วและง่าย หรือทำกับเกษตรกร มีระบบ IOT ทำระบบน้ำ ระบบสแกนโรงงาน การเพาะปลูก เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู ปลูกข้าว ใช้ระบบดาวเทียมเข้ามาช่วย ทำให้ดิจิทัลเข้าไปอยู่ในทุกภาคส่วนของประเทศเป็นภารกิจที่เราต้องทำร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ

‘แอปออทิสติก’ เป็นอีกตัวอย่างที่เริ่มจากทำให้เด็กพิเศษในประเทศ แต่ปรากฏเป็นท็อปดาวน์โหลดในตะวันออกกลาง เพราะที่นั่นก็มีปัญหานี้ เขาก็เอาไปใช้ได้ บางครั้งการที่เราสร้างนวัตกรรมมันอิมแพคได้มากกว่าที่เราคิด อย่างทรูมันนี่ก็ไปหลายประเทศในอาเซียน หรือหลายอย่างที่เราขยายออกไป ทรูไอดีก็ไปกัมพูชา

แอปออทิสติก
โครงการสามเณรปลูกปัญญา

“ตัวอย่างอีกอันที่ดีมาก ‘โครงการสามเณรปลูกปัญญา’ ผมว่าเป็นนวัตกรรมที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี เป็นนวัตกรรมด้านความคิด พูดง่ายๆ คือทำให้ศาสนาไม่ใช่เรื่องล้าสมัย เอาคุณธรรมมาถ่ายทอดผ่านความน่ารักของเด็ก พวกนี้ผมเชื่อว่าเวลาเรามีโอกาส มีส่วนร่วม จะเป็นความสุขในการทำงานด้วย”

นอกจากนี้ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระทบต่อผลผลิตและสิ่งมีชีวิตอย่างมาก สัตว์ที่หายากจะหายไป ทรูได้ทำแอปดูนก ช่วยอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย เป็นต้น

นี่คือการตอบโจทย์ในมิติที่ใหญ่กว่าธุรกิจ/องค์กรทำ

อยู่ที่ไหนทำให้โลกยั่งยืนได้

วันนี้นวัตกรรมของกลุ่มทรูขยายไปทั่วโลกแล้ว สอดคล้องยุทธศาสตร์ของเครือ ‘แนวคิดค่านิยมสามประโยชน์ คือทำประโยชน์ให้ประเทศที่อยู่ ประชาชน และคนต้องได้ประโยชน์ เมื่อสองส่วนนี้ได้ประโยชน์ บริษัทก็จะได้ประโยชน์ ไปด้วย”

ดร.ธีระพลบอกว่า “ไม่ใช่วลีสวยงาม แต่มันคือสัจธรรม แปลว่าเราจะไปอยู่ที่ไหนก็ตามถ้าเราไม่สร้างประโยชน์ไม่มีใครต้อนรับเรา วันนี้เครือซีพี ขยายไป 22 ประเทศ เอาแหล่งโปรตีนไปให้คนเข้าถึงในราคาถูก ตอนนี้ทุกคนเข้าถึงอาหารหมดเพราะเป็นอุตสาหกรรม คนไทยในน้ำมีปลาในนามีข้าวอาจจะไม่รู้สึก แต่ในบางประเทศเขารู้สึกว่าเราเอาอาหารและเกษตรกรรมไปให้เขา”

ดร.ธีระพลกล่าวต่อว่า “สิ่งที่เครือซีพีทำ ก็มีความท้าทาย ไม่ได้หมายความว่าเครือทำดีที่สุด เราเปิดหูเปิดตารับฟังและกลับมาพัฒนาตัวเอง ผมทำงานได้เห็นการพัฒนาหลายเรื่อง ทั้งทำดีอยู่แล้วและต้องปรับปรุง และเห็นความมุ่งมั่นในการปรับปรุง เช่น Contract Farming ที่ผมเห็นการแก้ไขสัญญาจากหนาๆ เหลือไม่เกินสิบหน้า ให้คนทั่วไปอ่านรู้เรื่อง การแก้ปัญหาไม่ขายเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ที่มีการทำผิดกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องพีอาร์จริงๆ พีอาร์มันมาทีหลัง แต่ต้องทำจริงๆ ก่อน”

ดังนั้นไม่ว่าองค์กรขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ กระทั่งตัวบุคคล สามารถเอาความยั่งยืนมาปรับใช้ได้หมด องค์กรขนาดเล็กสามารถเอากรอบมาคิดว่า ทำยังไง จะคิดถึงผู้อื่นและไม่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน พูดง่ายๆ คือทำให้คนอื่นก่อน แล้วความดีจะสะท้อนกลับมาเอง หลายครั้งที่ธุรกิจขนาดเล็ก-กลางประสบความสำเร็จเพราะเขาสร้างคุณค่าให้ลูกค้ามากกว่าที่เขาคาดคิด มันทำให้ย้อนกลับมาหลายเท่า

“ถ้าเราใช้ความยั่งยืนกับตัวเรา ประโยชน์คือลดความเสี่ยง ประเมินทุกอย่างแล้วไปปิดช่อง พอเรากลับมาใช้กับตัวเราเอง ถ้าอยากเป็นคนยั่งยืนอย่างแรกต้องประเมินตัวเอง เหมือนการประเมินของ DJSI ว่าเวลาชาวบ้านติเรา เราทนฟังได้ไหม ต้องทำใจและรับฟัง พอเรารู้ตัวเราเอง DJSI บอกว่าเราต้องรู้ Gap และมี Action เราก็หา Action มาพัฒนาตัวเรา ลดความเสี่ยงด้วย”

ถ้าบริษัททำเรื่องความยั่งยืนจะได้เรื่อง ‘Trust และ Brand’ นักลงทุนอยากลงทุน ใครก็อยากมาทำงาน สุดท้ายองค์กรได้คือประหยัดค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันแรงกดดันจากกระแสโลก แม้วันนี้ความยั่งยืนไม่ใช่เรื่อง ‘อยากทำ ไม่อยากทำ’ แต่เป็นกติกาใหม่ของโลก เป็นการจัดระเบียบโลกใหม่ วันนี้ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ก็ไม่มีใครต้อนรับ หรือเป็นองค์กรที่ไม่ได้คำนึงถึงสวัสดิภาพพนักงาน สิ่งแวดล้อม ก็ไม่สามารถทำให้เราเป็นผู้เล่นที่เป็นผู้นำระดับโลกได้

ขณะที่ลูกค้าก็เลือกธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม ที่เรียก ‘Brand Love’ การเป็นองค์กรในใจผู้บริโภค ไม่ได้ดูแค่ราคาถูก แต่เขามององค์กร มองแบรนด์ที่รับผิดชอบ เช่นเดียวกับพนักงานเก่งๆ ก็เลือกอยู่บริษัทดีๆ รับผิดชอบต่อสังคม พวกนี้เป็นทั้งแรงผลักแรงดึงที่ทำให้องค์กรเห็นความสำคัญของเรื่องความยั่งยืน

ความยั่งยืนที่งอกงามท่ามกลาง Digital Disruption

ทุกการสร้างความยั่งยืนในวันนี้ ดร.ธีระพลกล่าวว่า เป็นเพียงจุดเริ่มต้นสำหรับการขับเคลื่อนต่​อไปในอนาคต เพราะยังมีความท้าทายหลากหลายด้านที่ยังต้องเผชิญ​ทั้งจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา​ รวมถึงเป้าหมายในการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่บริษัทด้านเทคโนโลยี ที่ต้องพร้อมรับทั้งการแข่งขันจากคู่แข่งทั่วโลก รวมทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเองที่ต้องก้าวตามให้ทัน ขณะเดียวกันต้องไม่หยุดที่จะใช้ศักยภาพที่มีเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่ยังคงมีอยู่ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันให้ผู้คนทุกกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง

“โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม การสื่อสาร เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศและถูกกำกับดูแลโดยทางกสทช.อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้มีความแข็งแรง ผมรู้สึกว่ามีความท้าทายอีกมากที่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้องปรับตัว ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถที่จะให้บริการแก่คนไทยอย่างเต็มกำลัง สามารถที่จะอยู่ยั่งยืนในอุตสาหกรรม โดยสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้กับประเทศไทยและในภูมิภาคได้ ผมเชื่อมั่นว่าบริษัทไทยสามารถเป็นผู้เล่นในระดับภูมิภาค และมีความเก่งไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะกลุ่มทรูเองก็มีโครงการสตาร์ทอัพ มีกองทุนที่ช่วยส่งเสริมสตาร์ทอัพ เราไม่ได้โตคนเดียว แต่เราสร้าง ecosystem ที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายเติบโตไปพร้อมๆกัน”

พร้อมกล่าวว่า “อยากฝากว่าอย่าไปทำให้ความยั่งยืนเป็นศัพท์หรูหรา จริงๆ มันคือการอยู่รอดในการทำธุรกิจและการดำรงชีวิตผ่านการคิดให้ครบทุกมิติในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แปลว่าการแคร์คนอื่น คนรอบข้างและตัวเราเองเพราะฉะนั้นเราก็จะมุ่งมั่นทำต่อไป และเปิดเวทีให้ทุกคนร่วมเดินไปด้วยกัน”