ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > กสิกรไทยตั้งเป้าปี 64 สินเชื่อโต 4-6%

กสิกรไทยตั้งเป้าปี 64 สินเชื่อโต 4-6%

29 มกราคม 2021


ข่าวประชาสัมพันธ์

กสิกรไทยตั้งเป้าหมายปี 64 สินเชื่อโต 4-6% ลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันระยะยาวต่อเนื่อง

กสิกรไทยตอบรับนิว นอร์มอล ปรับแผนยุทธศาสตร์ มุ่งสร้างการเติบโต แบรนด์แข็งแกร่งเชื่อถือได้ และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันระยะยาว เพื่อเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในทุกกลุ่ม ตั้งเป้าหมายสินเชื่อโต 4-6% มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ ท่ามกลางความท้าทายจากผลกระทบของโควิด-19

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทั่วโลกยังเผชิญความท้าทายและความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกระดับ แม้จะเริ่มมีความหวังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอาจจะค่อย ๆ ฟื้นตัว สำหรับ ธนาคารกสิกรไทยได้กำหนดเป้าหมายทางการเงินในปี 2564 ดังนี้

การเติบโตของเงินให้สินเชื่อ (Loan Growth) ตั้งเป้าที่ 4-6% สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการเติบโตสินเชื่อลูกค้าบุคคลที่ 11-13% จากการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโต 2-4% และสินเชื่อบรรษัทธุรกิจ ตั้งเป้าเติบโต 1-3%

ผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin:NIM) ตั้งเป้าที่ 3.1-3.3% สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
การเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ (Net Fee Income Growth) ตั้งเป้าเติบโตเล็กน้อยที่ Low single digit จากธุรกิจบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมรับจากการให้สินเชื่อ และธุรกิจจัดการกองทุน

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้ จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) ตั้งเป้าที่ Mid-40s ด้วยแรงกดดันด้านรายได้ที่ชะลอตัว แต่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนและการปรับปรุงผลิตภาพ (Productivity) รวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Ratio (Gross)) ตั้งเป้าที่ 4.0-4.5% โดย โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเงินให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคารจะมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

Credit Cost ตั้งเป้าที่ Up to 160 bps ภายใต้สมมติฐานเกี่ยวกับโควิด-19 รวมทั้งการที่ธนาคารยังคงใช้หลักความระมัดระวังและนโยบายทางการเงินที่รอบคอบในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

นางสาวขัตติยา กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ กล่าวคือ ธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจบนหลักการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) และมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในทุกๆกลุ่ม โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ 3 ด้าน

1. พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้า

    – เป็นผู้นำในการให้บริการชำระเงินทางดิจิทัล (Dominate Digital Payment) เพื่อเข้าถึงและให้บริการลูกค้าในสถานที่และเวลาที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงได้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมแก่ลูกค้าต่อไป
    – ยกระดับการปล่อยสินเชื่อทั้งด้านธุรกิจและบุคคล (Reimagine Commercial & Consumer Lending) เพื่อสร้างรายได้ด้วยการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเจาะกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายย่อย การนำข้อมูลธุรกรรมทางธุรกิจที่ได้จากคู่ค้าใน Value Chain มาวิเคราะห์เพื่อหาลูกค้าใหม่ รวมถึงการบริหารต้นทุนด้านความเสี่ยงและการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    – ขยายการให้บริการลงทุนและประกันไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงการลงทุนและประกัน (Democratize Investment & Insurance) ด้วยผลิตภัณฑ์ของธนาคารฯ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึงการให้บริการจากพันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร ด้วยแพลทฟอร์มการลงทุนที่ช่วยให้ลูกค้าสะดวกและมีข้อมูลในการตัดสินใจได้
    – รุกตลาดภูมิภาค AEC (Penetrate Regional Market) เพื่อให้ธนาคารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและทำธุรกิจใน AEC ที่กำลังเติบโตทั้งทางด้านประชากรและเศรษฐกิจ
    – ยกระดับประสบการณ์บริการและการขาย (Strengthen Sales and Service Channel Experience) พัฒนาบริการของช่องทางต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าทำรายการได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงมีรูปแบบการขายและบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
    – เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อสร้างคุณค่าที่มากขึ้นจากการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรบุคคล ข้อมูล การเงิน และเทคโนโลยี (Improve Value-Based Productivity)

2. สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ (Strong Trusted Brand) ผ่านการสื่อสารและบริหารประสบการณ์ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับจากการทำธุรกิจกับธนาคาร

3. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ตามโครงการ Transformation ทั้ง 8 โครงการ

    – การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการสร้าง Ecosystem ควบคู่กับการพัฒนาช่องทางการขายและให้บริการของธนาคาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า (Ecosystem Partnership & Harmonized Channel)
    – การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอสินเชื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Intelligent Lending)
    – บริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ และแนวทางการป้องกันในเชิงรุก (Proactive Risk & Compliance Management)
    – การพัฒนาบริการรับชำระเงินระหว่างประเทศ (Regional Payment & Settlement)
    – การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Data Analytics)
    – ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security)
    การพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อมุ่งสู่การเป็น Agile Organization (Performing Talent and Agile Organization)
    – พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ธนาคารเป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในระดับภูมิภาค (Modern World Class Technology Capability)

นางสาวขัตติยา กล่าวตอนท้ายว่า ด้วยแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการทางการเงินอย่างรอบคอบ ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรให้สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต จะช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน

…….

KBank sets target of loan growth at 4-6% for 2021, focusing on cost cutting, productivity enhancement and greater competitiveness over the long term

To be in step with the ‘new normal’ era, KASIKORNBANK (KBank) has redefined its strategies focusing on growth, being a strong, trusted brand and boosting its competitiveness over the long term with the aim of empowering every customer’s life and business. KBank is aiming for loan growth of 4-6 percent. Amid myriad challenges from the COVID-19 crisis, KBank continues to prioritize effective cost management and productivity enhancement.

Ms. Kattiya Indaravijaya, KBank Chief Executive Officer, noted that countries worldwide remain beset by challenges stemming from the COVID-19 pandemic which has stifled economic activity across all levels. Hopes now rest upon coronavirus vaccinations as the solution. However, the overall global economy may see only a gradual recovery. Given this shared Thai and global context, KBank has announced its financial targets for 2021 as follows:

    -Loan Growth: 4-6%; Sensible loan growth in line with economic growth. The Bank expects strong retail loan growth at 11-13%, by using data analytics capability, while expects SME loan growth at 2-4% and Corporate loan growth at 1-3%
    -NIM: 3.1-3.3%, in line with interest rate trend.
    -Net Fee Income Growth: Low single digit growth. Net fee income will grow from credit card business, loan-related, and fund management business.
    -Cost to Income Ratio: Mid-40s. Revenue growth is under pressure due to slow economic recovery. However, the Bank remain focus on cost management and productivity improvement, with new investments for future growth.
    -NPL Ratio (Gross): 4.0-4.5%. COVID-19 impacts asset quality, while the Bank closely monitor and constantly review asset quality.
    -Credit Cost: Up to 160 bps. Maintain conservative assumptions and prudent financial policy amid high uncertainties related to COVID-19.

Ms. Kattiya said that amid drastic changes in consumer behavior and economic conditions as a result of the impacts of the COVID-19 pandemic, KBank has reviewed its business strategies so that they are consistent with the new business context. These include a continued commitment to operating business in line with the principles of a “Bank of Sustainability”, with adherence to the “Customer Centricity” philosophy and a goal to empower every customer’s life and business through offering the best service experience for customers in such forms as end-to-end services that meet all customers’ needs anywhere, anytime, and being attentive to the needs of customers and society. With the trust earned from customers and the abovementioned goals, KBank has set strategic imperatives as follows:

1. Development of strategies for business growth and customer responsiveness

    – Dominate Digital Payment in order to embed in select financially relevant ecosystems to serve customers whenever they need. We focus on data analytics in order to offer products and services appropriate for customers. To this end, K PLUS has been upgraded to be a digital platform to accommodate payment of any form and channel with the aim of embedding in customers’ ecosystems. We have developed payment innovations both domestically and internationally to allow customers to keep track of financial data, business transaction data and product delivery to strengthen their confidence and support their business operations.
    – Reimagine commercial and consumer lending to meet customers’ lifestyle and business needs while also increasing income for KBank with acceptable risk appetite. We have used data and digital channels to gain access to retail borrowers and considered risk-based pricing. Along with this, we have conducted analytics based on transaction data obtained from our suppliers within value chains in order to acquire customers with debt servicing ability who are interested in borrowing and to allow the Bank to undertake cost management of risks and operations more efficiently.
    – Democratize investment and insurance, focusing on retail customers and previously inaccessible groups through introduction of our Relationship Managers (RMs). We focus on products of KBank and other companies within KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE, including services provided by our business partners. For retail customers, investment platforms have been developed to facilitate our customers in making informed decisions based on a cost-effective approach.
    – Penetrate the regional market in order to increase opportunity to access customers in other AEC countries with brighter growth prospects in terms of population and economy.
    – Strengthen sales and service channel experience by integrating all service channels to allow our customers to conduct transactions anytime, anywhere. Our sales and service formats are suited to the demands of customers at different levels.
    – Improve value-based productivity by optimizing human resources, data, financial and technological capabilities.

2. Create a strong, trusted brand via communication and management of experience gained by all related parties from doing business with KBank.

3. Enhance competitiveness over the long term through the eight transformation journeys as follows:

    – Ecosystem Partnership & Harmonized Channel: Orchestrating ecosystems with partners and providing excellent experiences throughout customer journeys
    – Intelligent Lending: Leveraging customer data to offer a personalized lending experience and achieve fair, risk-adjusted returns
    – Proactive Risk & Compliance Management: Proactively identifying potential risks and establishing loss prevention and detection
    – Regional Payment & Settlement
    – Data Analytics: Expanding data analytics capability to enhance business opportunities and operational
    – Cyber Security
    – Performing Talent & Agile Organization: Developing employee potential in the drive towards an agile organization
    – Modern, World-Class Technology Capability: Adopting modern, world-class technology to make KBank the top regional financial service provider

Ms. Kattiya concluded that, with a strategic plan to move the company forward efficiently, prudent financial management and our personnel’s preparedness in dealing with future uncertainties, as well as the ability to enhance competitiveness over the long term, KBank will continue to maintain its strength, empower every customer’s life and business, and help the Thai economy to successfully navigate this crisis.