ThaiPublica > เกาะกระแส > ศบศ. อุ้มเด็กจบใหม่ – แจก 3 สิทธิ “เที่ยวด้วยกัน” ช่วยค่าครองชีพฐานราก 15 ล้านคน หาบเร่แผงลอย 8 หมื่นราย

ศบศ. อุ้มเด็กจบใหม่ – แจก 3 สิทธิ “เที่ยวด้วยกัน” ช่วยค่าครองชีพฐานราก 15 ล้านคน หาบเร่แผงลอย 8 หมื่นราย

2 กันยายน 2020


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ผลการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2563 อุ้มเด็กจบใหม่ 260,000 ตำแหน่ง แจก 3 สิทธิกระตุ้นเที่ยวด้วยกัน ช่วยค่าครองชีพฐานราก 15 ล้านคน หายเร่แผงลอย 8 หมื่นราย

  • ประชุม “ศูนย์บริหารเศรษฐกิจ” นัดแรก “วางกรอบเยียวยา” เร่ง 4 มาตรการ “ท่องเที่ยว-SME-จ้างงาน-กระตุ้นใช้จ่าย”
  • ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ(ศบศ.)จากผลกระทบการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ครั้งที่2/2563 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทาเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาเห็นชอบวาระที่สาคัญ สรุปได้ดังนี้

    1.ในวาระรับทราบ

    1)รับทราบการแต่งต้ังผู้แทนสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ผู้แทน สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจเพิ่มเติมและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะกรรมการ บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ 3 ชุด ประกอบด้วย (1) คณะอนุกรรมการเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน (2) คณะอนุกรรมการ เสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว และ (3) คณะอนุกรรมการสนับสนุนข้อมูล เศรษฐกิจรายสาขา

    2) รับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจ ในเดือนกรกฎาคม 2563 เศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจทั้งด้านการใช้จ่ายและด้านการผลิต สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองและจากัดการเดินทาง ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้จากนักท่องเที่ยว ต่างชาติ ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศพบว่าอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยทั่วประเทศปรับตัว ดีขึ้น แต่การเดินทางยังกระจุกอยู่ในบางพื้นที่รอบ ๆ กรุงเทพฯ และปริมณฑล

    สาหรับสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด ในเดือนสิงหาคม 2563 สะท้อนจากเครื่องชี้วัดที่มีความถี่สูง (High frequency data) พบว่ายังคงมีสัญญาณของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเดินทางภายในประเทศอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับในช่วงที่มี การดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน นอกจากนี้ มูลค่าการใช้ จ่ายผ่านบัตรเครดิตและเดบิตภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและเดบิต เพื่อการทาธุรกรรมออนไลน์ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง

    3) รับทราบความคืบหน้าโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลายรายให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้ และให้มีกลไกในการจัดการหนี้กับสถาบันการเงินทุกแห่งได้อย่างบูรณาการ (One stop service) ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกันในรูปแบบมาตรฐาน และการกาหนดบทบาทของเจ้าหนี้หลักในการดูแลลูกหนี้และ ประสานกับเจ้าหนี้อื่น ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ

    (1) แก้ไขหนี้เดิม อาทิ การลดค่างวด ขยายเวลาชาระหนี้ และ/หรือ ปรับเงื่อนไขให้เหมาะสมตามศักยภาพของลูกหนี้ รวมท้ังมีเวลาปลอดหนี้และการผ่อนชาระหนี้ที่ เหมาะสม และทบทวนการให้ใช้วงเงินที่เหลืออยู่ (2) สินเชื่อใหม่ โดยธนาคารเจ้าหนี้ร่วมกันพิจารณาให้สินเชื่อใหม่ แก่ลูกหนี้ที่มีประวัติชาระหนี้ดี มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ทั้งนี้ ในระยะแรก ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องมี คุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม (2) เป็นหนี้กับธนาคารหลายแห่ง วงเงินหนี้ รวม 50-500 ล้านบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาขยายขอบเขตในระยะต่อไปของโครงการ (3)มีสถานะหนี้ปกติหรือเป็นNPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่1มกราคม2562เป็นต้นไปเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 และ (4) ต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหนี้ถอนฟ้อง โดยกาหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 เป็นต้นไป และมีกาหนดการพิจารณาให้ แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับข้อมูลและเอกสารจากลูกหนี้ครบถ้วน

    2.วาระสำคัญได้แก่

    1) เห็นชอบการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มเติมภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกันนําเสนอโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่

    • เห็นชอบให้มีการเพิ่มสิทธิให้ผู้ลงทะเบียนจำนวน 3 สิทธิ ได้แก่ (1) เพิ่มส่วนลดค่าที่พักร้อยละ 40 จำนวน 10 คืนต่อคน (2) เพิ่มคูปองอาหารต่อการท่องเที่ยว สูงสุดมูลค่า 900 บาทต่อวัน โดยหากท่องเที่ยว ในวันจันทร์-พฤหัสบดี จะอุดหนุน 900 บาท ขณะที่วันศุกร์-อาทิตย์ จะอุดหนุน 600 บาท และ (3) ให้เงินคืนค่าตั๋ว เครื่องบินจำนวน 2,000 บาทต่อที่นั่ง โดยเริ่มดำเนินการนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563
    • เห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถลาพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่มได้ 2 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อลงทะเบียนและใช้สิทธิในแพ็คเกจเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดาเพิ่มความถี่การพักค้าง และกระตุ้นการใช้จ่ายกลุ่มที่มีศักยภาพ รวมทั้งดึงดูดกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ อาทิ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้ออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น

    2) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สําหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและภาคเอกชน นําเสนอโดยกระทรวงแรงงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้จบการศึกษาใหม่ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รวมจานวน 260,000 อัตรา โดยมีอัตราค่าจ้าง ตามวุฒิการศึกษาดังนี้ ปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท ประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง (ปวส.) เดือนละ 11,500 บาท และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เดือนละ 9,400 บาท ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเงินค่าจ้าง ร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน โดยจะมีระยะเวลาการจ้างงานทั้งสิ้น 12 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ เงื่อนไขสาคัญ คือ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม มีการยืนยันตัวตนผ่าน กระทรวงแรงงาน และต้องมีเงื่อนไขเลิกจ้างลูกจ้างเดิมไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ภายในระยะเวลา 1 ปี (กรณีที่ลูกจ้าง ลาออกในระหว่างโครงการ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการสามารถหาลูกจ้างใหม่ทดแทนได้) ขณะที่ลูกจ้างที่จะเข้าร่วมโครงการจำเป็นต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) มีสัญชาติไทย และ (2) อายุไม่เกิน 25 ปี หรืออายุเกิน กว่า 25 ปี ซึ่งสาเร็จการศึกษาในปี 2562 หรือปี 2563

    3)เห็นชอบในหลักการของมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย นําเสนอโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภค และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป ที่ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอยโดยรัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 และจำกัดการใช้จ่ายต่อคน ตลอดโครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน ประมาณ 15 ล้านคน และกลุ่มร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการจะมุ่งเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อยทั่วไปครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการหาบเร่ แผงลอย ประมาณ 80,000 ร้านค้า ผ่านกลไกการดำเนินงานผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของรัฐบาล ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการคลังจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอต่อศูนย์บริหาร สถานการณ์เศรษฐกิจเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ภายในเดือนตุลาคม