ThaiPublica > Native Ad > กสิกรไทยพลิกโฉมสาขาสยามสแควร์ “THE RIGHT CYCLE LIVING” ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์หลากหลายรูปแบบ

กสิกรไทยพลิกโฉมสาขาสยามสแควร์ “THE RIGHT CYCLE LIVING” ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์หลากหลายรูปแบบ

12 มิถุนายน 2020


กสิกรไทยพลิกโฉมสาขาสยามสแควร์ Sustainable Building for Learning&Living&Lifestyle ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์หลากรูปแบบ

การเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารกสิกรไทยตลอด 75 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ในแต่ละยุค ผนวกกับยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนองค์กร ตั้งเป้าหมายเพิ่มอำนาจแก่ลูกค้าให้สามารถใช้ชีวิตและทำธุรกิจให้ดีที่สุด ด้วยการไปอยู่ทุกที่ที่ลูกค้าต้องการ ให้ลูกค้าใช้บริการอย่างไม่มีสะดุด สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์หลากหลายรูปแบบได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น

เมื่อสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬา (PMCU) มีแผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสยามสแควร์ ให้เป็น Walking Shopping Street โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ ความคิดที่สร้างสรรค์สู่สิ่งใหม่ ๆ (Learning) นำไปสู่การใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ มีความเป็นอยู่ที่ดี (Living) และตอบสนองความต้องการที่ครอบคลุมทุกรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของทุกคน

ธนาคารกสิกรไทยจึงได้ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประกวดการออกแบบอาคารธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ที่ได้ให้บริการทางการเงินที่สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงของสยามสแควร์ ศูนย์กลางแห่งไลฟ์ไตล์ในแต่ละยุคมาร่วม 50 ปี

โดยได้วางกรอบแนวคิดการออกแบบปรับปรุงอาคารธนาคารกสิกรไทยสาขาสายามสแควร์ให้เป็นอาคารสัญลักษณ์ใหม่ (Landmark) ของย่านสยามสแควร์ รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาปรับใช้ได้จริงอย่างเหมาะสม ภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะสร้างต้นแบบอาคารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Building) ที่มีความสมดุล ในทุกมิติ พร้อมมีพื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยภายในที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในปัจจุบัน และมีความน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจให้บุคคลทั่วไปเข้ามาใช้บริการ

ตอบรับความต้องการของคนในสังคมอย่างแท้จริง

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยมีความมุ่งมั่นในการสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าและเพิ่มอำนาจให้กับลูกค้าทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร (Empower Every Customer’s Life and Business) และมีปณิธานในเรื่องของการเป็น Bank of Sustainability

จุฬาฯ และธนาคารกสิกรไทยมีเจตนารมณ์เดียวกัน ในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดเป็นรูปธรรมในสังคมและประเทศชาติ

การสร้างความยั่งยืนนี้จะต้องคำนึงถึงมิติด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วน คือ มิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยสร้างสรรค์แนวคิดนี้ผ่านการให้บริการ (Service) การให้ความรู้ (Education) สร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) สู่การลงมือปฏิบัติ (Practice) ในครั้งนี้ทางจุฬาฯ กสิกรไทยและพันธมิตรมีเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้สาขาสยามสแควร์เป็นแหล่งเรียนรู้และต้นแบบของการให้บริการรูปแบบใหม่ตามหลักของความยั่งยืน

“เรามั่นใจว่า สาขาของเราที่สยามสแควร์ซึ่งเป็นแหล่งศูนย์กลางของผู้คนอยู่แล้ว จะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นต้นแบบในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จับต้องได้ต่อไปในอนาคต”

การจัดกิจกรรมให้นิสิตจุฬาฯ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบสาขาสยามสแควร์ เป็นการเปิดรับแนวความคิดที่สะท้อนมาจากมุมมองและความต้องการของ New Generation ที่มีความเข้าใจไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการในบริเวณจุดให้บริการอย่างแท้จริง ทำให้ได้การออกแบบที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในสังคมบริเวณโดยรอบสยามสแควร์ ทั้งยังสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเรื่องความยั่งยืนของประเทศต่อไป

อาคารนี้จะดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมหลากหลายในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรโลกอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มากกว่าการให้บริการทางการเงิน

Sustainable Building for Learning & Living & Lifestyle เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สยามสแควร์เป็นพื้นที่มีร้านค้าหลายประเภท และมีกิจกรรมมากมาย ทั้งการตลาด เพื่อสังคม หรือเทศกาลต่าง ตามสถิติก่อนการระบาดของโควิด-19 มีคนมาสยามฯ วันละกว่า 20,000 คน วันหยุดอาจถึง 50,000 คน ซึ่งเป็นศูนย์รวมสิ่งดี ๆ หลายด้าน และหลังโควิด-19 ผ่านไป แม้มี new normal ก็เชื่อว่าสยามฯ จะเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ต่อไป

นางสาวขัตติยากล่าวถึงแนวคิดการปรับปรุงอาคารใหม่ว่า เป็นไปตามยุทธศาสตร์หลักที่ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปีว่า จะอยูในทุกที่ทุก ecosystem ของลูกค้า เอาตัวเองไปอยู่ในการใช้ชีวิตของลูกค้า ซึ่งหากลูกค้ามาใช้พื้นที่อาคารใหม่ ก็อาจจะมาโหลดแอปของกสิกรไทยหรือใช้บริการการเงินบ้าง

“สยามสแควร์เป็นที่รวมของคนรุ่นใหม่ และเป็นที่รวมของคนหลายแบบ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พาลูกมาเรียนพิเศษ เพราฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะทดสอบแนวคิดว่า ใช่สำหรับเขาหรือไม่ เช่น บริการดิจิทัล หรือการออมเพื่อการเกษียณ”

นางสาวขัตติยา กล่าวอีกว่า กสิกรไทยอยู่คู่กับสยามสแควร์มาร่วม 50 ปี แม้เป็นหนึ่งในชุมชน แต่ต้องการสร้างความแตกต่างด้วยความคิดใหม่มาสร้างแรงบันดาลใจ ทั้งการเติบโตอย่างยั่งยืน ในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม สิ่งที่สำคัญคือ ในการออกแบบอาคารใหม่นี้ได้ใช้คนรุ่นใหม่มาออกแบบ ซึ่งจะได้แนวคิดใหม่ เป็นการยกระดับความร่วมมือของคณะสถาปัตยกรรมและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่อิงทั้งเทคโนโลยีและสร้างแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดความรู้สึกว่าจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อม

“การมีส่วนร่วมในปรับสาขาสยามสแควร์นี้ มีความพยายามเอาแนวคิดใหม่มาสร้างความแตกต่างให้กับสาขาสยามสแควร์ มีการผสมผสานเทคโนโลยีควบคู่ไปกับแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคม และการนำสิ่งใหม่ๆ ที่สำนักงานทรัพย์สินจุฬานำมาเป็นแนวคิดคือ Learning, Living และ Lifestyle กสิกรไทยจะนำไปต่อยอดการปรับปรุงอาคารใหม่”

อาคารใหม่จะปรับปรุงเสร็จเดือนธันวาคม 2564 เป็นอาคารสีเขียวหรือ Green Building ประหยัดพลังงาน ส่วนภายในจะมีทั้งบริการทางการเงิน co-working space, co-learning เป็นพื้นที่เปิดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาใช้ รวมทั้งนำแนวคิด zero-waste มาปรับใช้ ทั้งในพื้นที่นิทรรศการ หรือการประชุม พร้อมนำพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มารองรับไลฟ์สไตล์

กสิกรไทยได้ให้ความสำคัญกับอาคารสีเขียวอยู่แล้ว ทั้งอาคารแรกที่แจ้งวัฒนะซึ่งเป็นอาคารสีเขียวในระดับดีเด่น และอาคารของ KBTG ที่ยกระดับอาคารสีเขียวขึ้นจากเดิมเป็นระดับ Lead Platinum และจะพยายามปรับให้เป็น Sustainable Building ทั้งธนาคาร อาคารที่สร้างใหม่พยายามให้ได้มาตรฐานใหม่ตลอด

นอกจากนี้อาคารใหม่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และใช้ชีวิต ที่ตอบสนองความต้องการที่ครอบคลุมทุกรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ของสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬา กสิกรไทยเองมีความรู้ ความเชี่ยวชาญจากการให้บริการทางการเงิน จึงสามารถให้ความรู้ด้านการลงทุน การออม สินเชื่อที่เหมาะสมกับแต่ละคน อีกทั้งตลอดเวลาที่ได้เข้ามาใช้พื้นที่นี้จะได้รับความรู้มากมาย รวมทั้งเรียนรู้ผ่านการใช้เทคโนโลยีได้ โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยี 5G เริ่มให้บริการ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในต่างประเทศที่เทคโนโลยีมีความหมายต่อชีวิตมากขึ้น 5G เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ได้มาก ทั้งทางการแพทย์ การศึกษา

อาคารสยามสแควร์ยังจะเป็นแลนด์มาร์กในพื้นที่ ในลักษณะเดียวกับตึกแอมะซอนในสหรัฐฯ ที่ผู้ที่เดินทางไปต้องเข้าไปดูไปศึกษาและถ่ายรูป เพราะด้านนอกสวย ด้านในก็คล่องตัวปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะการใช้งาน อาคารกสิกรไทยสยามแควร์ก็จะเป็นในลักษณะนั้น

“เราต้องการที่จะตอบแทนสังคมด้วย เราอยู่รวมกับสังคมได้อย่างเป็นมิตร เบื้องต้นคือสังคม ถัดไปอยากผสมสานความยั่งยืน และเทคโนโลยี ดังนั้นเราจะนำพันธมิตรเข้าไปอยู่ในอาคารใหม่ด้วยเพื่อให้มีส่วนร่วมในโครงการดี ๆ ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์เดียวกัน เช่น พันธมิตรด้านเทคโนโลย 5G และเราก็อยากจะแบ่งปันทั้งในมุมเทคโนโลยี zero waste ซึ่งจุฬาฯ เองก็มีการจัดการบนแนวคิด zero waste หากนำมาผสมกับอาคารใหม่ของกสิกรไทย ก็จะสร้างผลได้กว้างขึ้น ซึ่งหวังมาเมื่อคนเข้ามาดู ก็เกิดแรงบันดาลใจนำกลับไปใช้”

ดึงพันธมิตรร่วมสร้างความยั่งยืน

ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ของธนาคารกสิกรไทยที่ต้องการผนึกกำลังพันธมิตรเชิงลึกเพื่อเชื่อมต่อธุรกิจ ตอบโจทย์ชีวิตทุกชนชั้นและให้บริการลูกค้าในทุกมิติของไลฟ์สไตล์ การประกวดการออกแบบอาคารกสิกรไทยสาขาสยามสแควร์จึงได้เชิญพันธมิตรที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการตัดสิน นอกเหนือจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีพันธมิตรที่มาร่วมเป็นกรรมการตัดสินการออกแบบจาก บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (PTTGC) บริษัทเอสซีจีซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ บริษัท กรีน ดเว็ล จำกัด (GreenDwell)

คณะกรรมการตัดสินโดยให้นำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ยินดีที่ธนาคารกสิกรไทยเชิญให้เข้าร่วมโครงการประกวดการออกแบบอาคาร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบริษัทฯ ที่ยึดความความยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ซึ่งมีหลักปฏิบัติ 3 ด้านได้แก่ Smart Operating ลดการเกิดของเสียในวัสดุที่ใช้ Responsible Caring ความรับผิดชอบในการออกแบบผลิตภันฑ์รวมทั้งบริการ อายุขัยของวัสดุที่นำมาใช้ และ Loop Connecting สำคัญที่สุด วันนี้มีตัวอย่างที่ดีมีความร่วมมือจากหลายส่วน และการเข้าร่วมในการโครงการประกวดจะทำให้มีบทบาทต่อความยั่งยืนในอนาคต

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัทเอสซีจีซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวถึงการออกแบบของนิสิตถือว่ามีความสามารถ ตีโจทย์ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่ยากได้ดีมาก และทำการบ้านดีในการเจาะลึกเรื่องไลฟ์สไตล์บวกสยามสแควร์และความเป็นกสิกรไทย รวมทั้งผสมสานเทคโนโลยี

นิสิตควรตระหนักถึงการออกแบบงานในอนาคตต้องเข้าใจแนวคิดปัจจุบัน อนาคต ทั้งความยั่งยืน หรือ new normal ซึ่งความยั่งยืนไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนในสังคม ก็จะเจอ

คุณศิริทิพย์ หาญทวีวงศา Executive Officer บริษัท กรีน ดเว็ล จำกัด (GreenDwell) ให้ความเห็นว่า การประกวดในลักษณะนี้ สายสาขาวิชาชีพมาทำงานร่วมกันมีน้อย แต่การจัดประกวดของกสิกรไทยทำให้มีความประสานงาน การมีวินัย ผลงานมีความเป็นไปได้จริง นิสิตได้เรียนรู้ถึงกระบวนการทำงานจริง เป็นประสบการณ์ที่ดี ก่อนไปสู่การทำงานจริง

สำหรับปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ คน จิตสำนึก ที่ผ่านมามีการสร้างจิตสำนึกเฉพาะสิ่งแวดล้อม ไม่เน้นคน ถ้ามีคนมีความเชื่อมั่นว่าคนในอนาคต สุขภาวะที่ดี ทุกคนจะมีความพร้อมที่จะตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม สร้าง engagement ได้มากขึ้น

3 รางวัลโดดเด่นบนแนวคิด-โครงสร้าง

การประกวดการออกแบบอาคารธนาคารกสิกรไทยสยามแสควร์ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563 นำโดย ผศ.เสก สวัสดี หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.วัฒนชัย สมิทธากร รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอาจารย์ที่ปรึกษาจากทั้งสองคณะ รวมถึงพันธมิตรมาร่วมเล่าถึงโครงการให้นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั้ง 8 ทีมให้เข้าใจถึงแนวคิดโดยรวม ทั้งยังได้พาไปดูพื้นที่จริงที่สาขาสยามสแควร์อีกด้วย


การกำหนดขอบเขตการออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงสร้าง มีวัตถุประสงค์ถึงการเป็นต้นแบบอาคาร “ธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Bank of Sustainability) มีพื้นที่ใช้สอยทั้งภายในและภายนอกที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของลูกค้าในปัจจุบัน และมีความน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมอาคาร เป็นอาคารที่สะท้อนปรัชญาการพัฒนาของการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวคิด “SUSTAINABLE BUILDING” THE RIGHT CYCLE LIVING สร้างความสมดุลย์ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้แสดงออกมาในรูปแบบของงานออกแบบทั้งภายนอกและภายในอาคาร รวมถึงงานโครงสร้าง ด้วยการคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ให้สามารถสร้างความน่าสนใจและความต้องการมีส่วนร่วมให้เกิดกับบุคคลทั่วไปได้

การตัดสินจะพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

    1. หลักเกณฑ์ภาพรวมโครงการ
    2. หลักเกณฑ์ทางด้านงานสถาปัตยกรรมภายใน
    3. หลักเกณฑ์ทางด้านงานวิศวกรรมโครงสร้าง

วันที่ 5 มิถุนายน 2563 คณะกรรมการได้พิจารณาผลงานของเพื่อตัดสิน และประกาศผลผู้ชนะการประกวดผ่าน Online Event (Video Conference) หลังจากที่ได้พิจารณารายละเอียดของงาน

ผลการตัดสิน คณะกรรมการประกาศให้…
ทีม K Move รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมด้านการออกแบบและงานโครงสร้าง
ทีม KLOUD รับรางวัลผลงานดีเด่นด้านออกแบบสร้างสรรค์
ทีม Kommunity รับรางวัลผลงานดีเด่นด้านโครงสร้างสร้างสรรค์

กสิกรไทยตอบสนองได้ในทุกมิติของไลฟ์สไตล์
“K Move” the Future of KBank ซึ่งได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมด้านการออกแบบและงานโครงสร้าง เปิดเผยความรู้สึกว่า “รู้สึกหายเหนื่อยกับรางวัลที่ได้ เพราะใช้เวลานาน และน่าจะเป็นโครงงานที่นานที่สุดที่นำส่งอาจารย์ในคณะ และมาปรับเพิ่มตามคำแนะนำ ทำให้เต็มที่สุดเพื่อพรีเซ้นต์ในวันจริง” ทั้งทีม มี 6 คน จากคณะสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมเท่า ๆ กัน

ทีมตั้งใจที่จะทำอาคารแห่งนี้ให้คนเข้ามาใช้งานได้ โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขว่ามาใช้บริการบางอย่าง จึงเกิดเป็นความคิดที่จะผลักให้คนที่มาเดินสยามสแควร์สามารถเดินเข้ามาใช้งานได้เลย เป็นที่มาของแนวคิด KMOVE Green Grow and Flow Forward Together for Sustainability บนความยั่งยืน

MOVE มาจาก Movement ของคนที่จะเข้ามาในอาคารและหมายถึงความก้าวหน้าในอนาคต

รวมทั้งได้ผสมผสานไลฟสไตล์ของสยามสแควร์กับความเป็นธนาคารของกสิกรไทยบนหลักคิดที่ว่า ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่ประสานช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กหรือ SMEs ที่ธนาคารได้สนับสนุนอยู่ ให้มาได้เจอกับผู้ใช้งานสยามสแควร์



“เรามองว่า ธนาคารทำได้มากกว่าการเป็นธนาคาร ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของธนาคาร ทำหน้าที่บทบาทได้พิเศษมากกว่าธนาคาร การเป็นสถาบันการเงิน ที่ตอบโจทย์ได้ครบมากกว่าลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้าที่มาเดินสยามสแควร์”

กสิกรไทยสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถืออย่างมาก มีข้อมูลและสิ่งต่าง ๆ ที่คอยให้การสนับสนุน ซึ่งผู้ที่ได้รับจะมีความรู้สึกไว้วางใจ รู้สึกว่ากสิกรไทยสามารถตอบสนองได้ในทุกมิติของไลฟ์สไตล์

“เสมือนว่า เมื่อเราได้รับอะไรมา นี่คืออยู่บนพื้นฐานของความสบายใจ เชื่อใจ เพราะนี่คือกสิกรไทย ซึ่งคิดว่าเป็นจุดที่สำคัญ”

สยามสแควร์มีเอกลักษณ์ในตัวเองอยู่แล้ว การสร้าง KMOVE มาจากสิ่งที่สยามสแควร์ยังขาดและเป็นการทำให้ผสมผสานกลมกลืนกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เป็นหัวใจของกสิกรไทย จะทำให้เรื่องนี้เป็นเอกลักษณ์และส่งเสริมภาพของสยาม ให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้นเมื่อรวมกับสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจในพื้นที่สีเขียว
ทีม KLOUD Financial Innovative Center ซึ่งได้รับรางวัลผลงานดีเด่นด้านออกแบบสร้างสรรค์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจกับรางวัลที่ได้ คิดว่าคุ้มค่ากับการทุ่มเท และจากการทำงานร่วมกันของสองคณะ ได้ฝึกให้รู้จักโลกภายนอกมากขึ้น ทั้งการทำงานร่วมกับคนอื่น ผลที่ตามมาคือต้องเป็นทีมเวิร์ก ต้องมีความสามัคคี และต้องมีการพูดคุยกัน ทำให้เป็นมืออาชีพมากขึ้น มีทักษะในการใช้ความรู้ที่มีมาออกเป็นผลงานที่ใช้ได้จริงมากขึ้น

แนวคิดการออกแบบ มาจากการศึกษานโยบายด้านความยั่งยืนของกสิกรไทยที่มี 3 ด้าน รวมทั้งศึกษากระบวนการธุรกิจของธนาคารที่มุ่งสร้าง Business Ecology และนำมาออกให้สะท้อนไปถึงนโยบายด้านความยั่งยืนใน 4 ด้านที่จะมาปรากฎในอาคาร คือ 1) พื้นที่ให้ความรู้ทางการเงิน 2) พัฒนาสังคมและสาธารณประโยชน์ 3) พัฒนาบุคคลากรและ 4) สนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกัน ก็ได้ใช้นวัตกรรมาส่งเสริมทั้ง 4 ด้าน เพราะเห็นว่ากสิกรไทยมีความสามารถที่จะสร้างนวัตกรรมที่เชื่อมต่อได้



นอกจาก Business Ecology แล้ว การออกแบบยังได้คำนึงถึง Ecology ของพื้นที่ใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนลูกค้าของกสิกรไทยทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ โดยพื้นที่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก Financial Innovative Center เป็นพื้นที่หลัก ส่วนที่ตัวสองคือ Innovative Platform จะเป็นตัวเชื่อมต่อเข้าด้วยกันตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ KLoud Space รูปแบบใหม่

“เราออกแบบภาพลักษณ์ใหม่ของ Public Space ให้มีพื้นที่สีเขียวและธุรกิจเข้ามาผสมผสานในอยู่พื้นที่นี้ และธุรกิจเหล่านี้ก็ได้ใช้นวัตกรรมทำให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถเป็นส่วนหนึ่งใน Public Space เล็ก ๆ ได้ สื่อถึง Building Ecology ในอนาคต ถ้าในอนาคตนวัตกรรมพัฒนาไปถึงจุดนั้น อาจจะสร้างให้ทั้งตึกเป็น Public Space ได้เลย โดยที่ไม่ต้องกั้นหน้าร้าน หรือกั้นพื้นที่แล้ว เพราะมีนวัตกรรมมาช่วยทำให้ธุรกิจนี้กลายเป็น kios เล็ก ๆ แทรกใน Public Space

ส่วนพื้นที่หลัก Cloud ซึ่งเป็น Innovative Platform ตั้งแต่ Public Space ขึ้นไปจนถึงชั้น 4 ซึ่ง Cloud มาจากคำว่า Cloud of Technology และยังสะท้อนว่า กสิกรไทยยังเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่เปรียบเสมือน Cloud ทางเทคโนโลยี

อาคารใหม่นี้เป็น Sustainable Building ตรงการออกแบบพื้นที่ ให้เป็นรากฐานของตึกในอนาคต เพราะเมื่อมี Public Space มาก ก็จะเป็นพื้นที่ให้คนมาใช้จำนวนมาก ในพื้นที่สีเขียว

Bank of Time ทำธุรกรรมการเงินเร็วใช้เวลาเรียนรู้
Kommunity ได้รับรางวัลดีเด่นโครงสร้างสร้างสรรค์กล่าวถึงการออกแบบ ว่า อย่างแรกอิงจากสมาชิกในทีมซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานสยามสแควร์ ใช้ชีวิตในสยามสแควร์ เพราะเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเติบโตมากับสยามสแควร์ ตั้งแต่มาเรียนพิเศษขณะที่เรียนมัธยม

จึงได้นำสยามสแควร์ที่เป็นศูนย์รวมไลฟ์สไตล์มาหลายยุคมาผนวกกับกสิกรไทย ออกมาเป็นอาคารบนแนวคิด Bank of Time

“แนวคิด Bank of Time คือต้องการให้พื้นที่ตรงนี้เป็นจุดพักเบรก หลังจากที่เดินในสยามฯ ทั้งชอปปิ้งหรือทำงาน ถ้าต้องการรู้สึกอยากจะพักผ่อน หรือต้องการใช้เวลาที่เราออกแบบไม่ได้ก็เข้ามาที่นี่ และเป็นพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนที่กสิกรไทยจะมอบให้ เพราะนอกจากกสิกรไทยจะเป็นสถาบันการเงินแล้ว ยังเป็นแหล่งความรู้ให้ด้วย”

พื้นที่ภายในจึงออกแบบเป็นอุโมงค์หนังสือ ให้คนที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่ได้จับกับหนังสือ แม้จะมีอีบุ๊กด้วย แต่ก็อยากให้มีปฏิสัมพันธ์กับหนังสือ พยายามให้คนได้ย้อนกลับไปอ่านหนังสือ ได้ค้นหาหนังสือที่ตัวเองชอบอีกครั้ง ต้องการหาความรู้เองเหมือนกับครั้งที่ยังเรียนหนังสือที่เข้าห้องสมุด ได้เห็นหนังสือจำนวนมาก ได้ความรู้มากขึ้น

โจทย์การออกแบบที่ได้รับคือ ความยั่งยืน (Sustainable) ประสบการณ์ทางการเงิน (Banking Experience) แลนด์มาร์กของตัวอาคาร ซึ่งในแง่ประสบการณ์ทางการเงิน เมื่อเข้ามาใช้บริการก็จะได้รับประสบการณ์ใหม่จากอาคารที่เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม



บางคนเมื่อเข้ามาใช้บริการธนาคารอาจจะรู้สึกเสียเวลา ทีมจึงคิดให้เป็น Bank of Time เป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะได้ไม่รู้สึกเสียเวลา และยังได้พักผ่อนหย่อนใจในพื้นที่ที่แบ่งไว้ ทั้งการหาความรู้ การพบปะเพื่อนฝูงหรือร่วมกิจกรรมต่างๆ ขณะที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินที่รวดเร็วขึ้น เพราะมีธนาคารคอยจัดการให้ ทำให้สามารถรักษาเวลาไปลงทุนในเรื่องอื่นๆ ได้

ส่วนด้านโครงสร้างออกแบบแนวคิด การประหยัดต้นทุน ประหยัดเวลา ลดภาวะในการขนส่ง การก่อสร้าง พร้อมใช้วัสดุรีไซเคิล เป็นโครงสร้างเหล็กเสากับคาน ใช้ซ้ำได้ หรือขายออกไปก็ได้เงิน เพื่อให้สอดคล้องแนวคิดความยั่งยืน

“จุดเด่นของชิ้นงานนี้คือ วัสดุสำเร็จรูปให้ก่อสร้างได้เร็ว และเลือกใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน ลดมลภาวะ ลดผลกระทบขณะก่อสร้าง ไม่รบกวนสังคม ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานจึงไม่บดบังทัศนียภาพนาน และยังได้ประโยชน์ในด้านธุรกิจ เพราะสร้างเร็วก็ใช้งานได้เร็ว แต่สิ่งสำคัญอย่างแรกต้องมีความปลอดภัยด้านวิศวกรรม”

สำหรับแนวคิดของอีก 6 ทีม ได้แก่

ทีม First Step to Sustainable Future มีแนวคิดว่า ก้าวแรกของจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการฝากอนาคต ทั้งการฝากอนาคตทางการเงิน ด้วยการสร้างความรู้ทางการเงิน, ฝากอนาคตสิ่งแวดล้อม ด้วยการปลูกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้แก่คนในสยามสแควร์, ฝากอนาคตธุรกิจ ด้วยพื้นที่แห่งโอกาส ในการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน และฝากอนาคตสังคมที่ K Squre: Creative Lifestyle Community และ Creative Network สู่ Connection และจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนเองไปสู่อนาคตที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

K Inspire แนวคิดคือ ถ้าเปรียบสยามฯเหมือนเพื่อนของวัยรุ่น ธนาคารกสิกรไทยก็คงเป็นเหมือนเพื่อนสนิทอีกคนที่คอยช่วยเหลือและให้ความรู้ทางด้านการใช้ชีวิตในเรื่องของการเงินและการลงทุนได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งการส่งต่อความรู้และประสบการณ์เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแรงบันดาลใจที่ดี ความยั่งยืนจึงเกิดขึ้นในรูปแบบของการเป็นผู้รับแรงบันดาลใจและพร้อมที่จะส่งต่อประสบการณ์ดีดีให้ผู้อื่น กิจกรรมและบรรยากาศทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตัวอาคารถูกออกแบบให้ตอบรับกับสยามฯ คือเพื่อน โดยมีผู้คอยสนับสนุนและให้แรงใจสำคัญคือ กสิกรไทย

K Lounge มีแนวคิดมาจากความตั้งใจที่จะเป็นพื้นที่แห่งการสร้างโอกาสและสามารถตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่สยามสแควร์ได้ เพื่อสื่อถึงความเข้าใจในคนรุ่นใหม่และพร้อมสนับสนุนทุกความเชื่อของเขา ซึ่งจะทำให้ธนาคารได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของธนาคารที่เข้าใจในคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารและคนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืน

KASIKORN Glass House การออกแบบอาคารให้ตอบสนองความยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน ผ่านแรงบันดาลใจจาก “glass house” ด้านสังคม คืนพื้นที่ให้กับสังคม ทั้งพื้นที่แสดงความสามารถ พื้นที่พักผ่อน พื้นที่เรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจ มุ่งออกแบบให้เป็นสถานที่รวบรวมเทรนด์ใหม่ๆ ผ่านการร่วมมือของร้านค้าในสยามสแควร์และธนาคารเพี่อให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขอผู้ใช้งาน

KBank of Memories มีแนวคิดว่า การที่เราเดินสยามเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่มัธยมหรือเข้ามหาวิทยาลัย จึงรู้สึกว่า สยามเป็นสถานที่ที่มีความทรงจำของผู้คนในวัยรุ่น และยังเป็นสถานที่ที่นิยมของคนไทย รวบรวมสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยไว้มาก ธนาคารกสิกรไทยก็ตั้งอยู่ที่สยามสแควร์แห่งนี้มาเป็นระยะเวลานาน เราก็มีความจดจำธนาคารกสิกรไทยสาขานี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยทำเลที่ตั้งอาคาร และโฆษณาที่ติดตั้งบนผนังอาคารภายนอก ที่มีการปรับเปลี่ยนตามแต่ละช่วงเวลาเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะทำให้เป็นธนาคารแห่งความทรงจำ ที่ไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ทางด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่รวบรวมความทรงจำของทุกๆ คนเอาไว้ด้วย