ThaiPublica > Sustainability > Global Issues > SDG การพัฒนาเพื่อคนรุ่นหลัง กระบวนทัศน์และห้วงสำนึกใหม่ “ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย การทำผลกำไรที่ชอบธรรม”

SDG การพัฒนาเพื่อคนรุ่นหลัง กระบวนทัศน์และห้วงสำนึกใหม่ “ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย การทำผลกำไรที่ชอบธรรม”

6 กันยายน 2015


Stephen B. Young
Stephen B. Young

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดงาน Caux Round Table’s Thank you Dinner: Perspective on Resilient Future โดยมูลนิธิมั่นพัฒนา (TSDF) ร่วมกับ Caux Round Table (CRT) เครือข่ายระดับโลกของผู้นำทางธุรกิจที่ส่งเสริมการดำเนิธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม (Moral Capitalism) ณ ห้องประชุมเทเวศร์ อาคาร 4 สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพบปะสังสรรค์ผู้นำทางความคิดจาก 17 ประเทศและร่วมรับฟังการนำเสนอ CRT White Paper on Sustainable Development โดย Stephen B. Young, CRT Global Executive Director ข้อสรุปวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนสำหรับโลกอนาคต

ที่ผ่านมามีการพูดถึงตัวชี้วัดที่ชื่อว่า Sustainable Development Goals: SDG หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่กำหนดโดย United Nation มีทั้งหมด 17 ข้อ ซึ่งกล่าวว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเป้าหมายของการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และนิเวศน์หลอมรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันที่มุ่งไปในทางเดียวกัน โดยไม่กระทบระบบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์ ขณะเดียวกันก็ให้ความใส่ใจต่อคนรุ่นถัดมาด้วย ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้จะนำไปใช้กับทุกการตัดสินของทุกภาคส่วน เป็นหลักการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย การคิดถึงการทำผลกำไรที่ชอบธรรมและยั่งยืน นอกจากนั้นยังเป็นหลักการเป็นทิศทางสำหรับการพัฒนาระดับรัฐชาติ

ภายในงานนายสตีเฟนได้ให้ข้อสรุปการประชุมของ Caux Round Table ที่ผ่านมาโดยมีการกล่าวถึงทศพิธราชธรรมของพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นข้อบัญญัติที่ทำให้ผู้นำรู้จักการรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในการทำธุรกิจ ว่าเราจะเดินไปสู่จุดประสงค์ที่มีร่วมกันในอนาคตด้วยกันอย่างไร เพื่อตระหนักถึงความยั่งยืนด้วยความใส่ใจต่อโลกและผู้คน ในปีที่จะถึงมานี้โดยใช้หลักการของโคฟี อันนัน เมื่อปี 2006 ด้วยเหตุนี้เราจำเป็นต้องมีการปฏิบัติที่เป็นมติเอกฉันท์ในรายประเด็นต่างๆ อย่างเช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ไปด้วยกันกับเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะพวกเรากำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่สำคัญ และการที่จะเปลี่ยนสาเหตุหรือหยุดยั้งสาเหตุนั้น เราต้องมีห้วงสำนึกใหม่ (new mindset) โดยเฉพาะในเรื่องการทำธุรกิจที่มุ่งแสวงผลกำไร ที่ควรยึดหลักการทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม

นายสตีเฟนชี้ว่า สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรอันรวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในเมืองหลวง การอพยพที่ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้มีหนทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมคือ การมีผู้นำที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของปัจเจกที่อยู่ร่วมกันในสังคม อนึ่งต้องรักษาทุนทางสังคมไม่ให้นำไปสู่การสิ้นเปลืองทรัพยากร โดยมีแผนที่จะเพิ่มคุณภาพของการศึกษา และดำเนินตามหลักทางสายกลาง

เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่จะสำเร็จในเดือนกันยายน 2015 ทั้งภาคการเงินและตลาด เราจำเป็นต้องมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเงินและความเป็นผู้นำที่ดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ สู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ยิ่งไปกว่านั้น การบริโภคและการผลิตที่ไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา จากการไปทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติและสังคม หรือการสนใจแต่เรื่องความมั่งคั่งก็จะส่งผลเสียต่อธรรมชาติ สังคม และการเมืองได้ ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ก็จะเป็นการสร้างสมดุลใหม่ของความเป็นผู้มีส่วนร่วมและการร่วมมือ ที่เป็นกระบวนทัศน์และะห้วงสำนึกใหม่สู่เป้าหมายชุมชนที่ดีไปพร้อมกับความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม

การเปลี่ยนแปลงหลักของการแสดงออกทางการเมือง เศรษฐกิจ และศาสนาเพื่อที่จะทำให้พื้นฐานของรัฐเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอันนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคมและความเข้าใจต่อเสรีภาพที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เป้าหมายเรื่องความยั่งยืนเป็นจริงได้ในเร็ววัน โดยต้องดำเนินไปพร้อมกับรัฐบาลที่ดี เพราะรัฐบาลเป็นกลไกการดำเนินการของรัฐในทางปฏิบัติให้เป้าหมายขับเคลื่อนไปได้จริง แน่นอนว่ามันจะต้องสร้างนิติรัฐที่โปร่งใสที่มีศีลธรรมอันดีและอนุรักษ์วัฒนธรรม

ผู้นำทางธุรกิจที่เหมาะสมต้องใส่ใจบริษัท ผู้ถือประโยชน์ ลูกค้า พนักงาน และทรัพยากรธรรมชาติ และต้องสร้างกำไรโดยไม่ทำให้ทำลายแหล่งทรัพยากร ด้วยการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ด้วยการใส่ใจเรื่องเทคนิคที่เป็นไปได้และสร้างแรงบันดาลใจ กล่าวคือควรมีความรับผิดชอบและใส่ใจสังคม ทั้งนี้ต้องตระหนักถึงการทำธุรกิจที่มีจริยธรรมในระยะยาว ไม่ใช่เพียงแสวงหาผลกำไร เพื่อให้มีความสามารถที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ และภาคการผลิต

อีกทั้งรัฐบาลจะต้องให้ความใส่ใจต่อเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่รัฐบาลนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ความใส่ใจเรื่องสิทธิมนุษยชนเพราะมันจะผูกพันกับชีวิตของผู้คน เหล่านี้จะทำให้สถาบันในมิติต่างๆยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ซึ่งนายสตีเฟนเน้นย้ำว่าความเชื่อมั่นมีความสำคัญต่อองค์กรและการดำเนินการต่างๆให้ราบรื่น

อ่านเพิ่มเติมSufficiency Economy Philosophyและ มิติใหม่การคุ้มครองผู้บริโภค