กนง. ลดดอกเบี้ยต่อเนื่องตามคาด SCB EIC มองดอกเบี้ยนโยบายจะลดอีก 2 ครั้ง ไปอยู่ที่ 1.25% ณ สิ้นปีนี้
กนง. มีมติ 5:2 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.75% โดยมีกรรมการฯ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.0% การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มีที่มาจากการประเมินของ กนง. ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวลดลง และมีความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น ตามนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และการตอบโต้ของประเทศเศรษฐกิจหลัก ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงกว่าที่เคยประเมินไว้ ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ขณะที่ภาวะการเงินยังคงตึงตัว มองไปข้างหน้า กนง. เห็นว่าสถานการณ์สงครามการค้ามีแนวโน้มยืดเยื้อ และทอดยาวไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าและการผลิตโลก ซึ่งทำให้การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอนสูงมาก
ครั้งนี้ กนง. ไม่ได้ให้ประมาณการ Baseline ของเศรษฐกิจไทย แต่มองเป็นฉากทัศน์จากความไม่แน่นอนที่ยังสูงมาก
-
1) Reference Scenario มีสมมติฐานว่าสหรัฐฯ จะคงระดับภาษีสินค้านำเข้าเท่ากับอัตราที่มีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าไทยจะถูกเก็บภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตรา 10% (ยกเว้นสินค้าบางหมวดที่มีการเก็บภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มเติม) โดยสถานการณ์ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าสหรัฐฯ จะทอดยาวถึงสิ้นปี 2026 ในกรณีนี้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 และ 2026 จะขยายตัวได้ที่ 2.0%YOY และ 1.8%YOY ตามลำดับขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2025 และ 2026 อยู่ที่ 0.5% และ 0.8% ตามลำดับ
2) Alternative Scenario มีสมมติฐานว่าสหรัฐฯ จะเก็บภาษี reciprocal tariff ครึ่งหนึ่งของที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ technical recession ภายในปีนี้ ในกรณีนี้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 และ 2026 จะขยายตัวได้ที่ 1.3%YOY และ 1.0%YOY ตามลำดับขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2025 และ 2026 อยู่ที่ 0.2% และ 0.4% ตามลำดับ

กนง. สื่อสารชัดว่านโยบายการเงินจำเป็นต้อง “ผ่อนคลาย”
ในการสื่อสารครั้งนี้ กนง. มองว่านโยบายการเงินจำเป็นต้องอยู่ในระดับที่ผ่อนคลาย เอื้อต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจและครัวเรือนต่อสถานการณ์การค้าโลกที่มีความตึงเครียดและผันผวน โดยไม่ได้ให้คำนิยามว่าเป็น easing cycle แต่อย่างใด เนื่องจาก shock ที่เข้ามากระทบกับเศรษฐกิจไม่ได้มีลักษณะที่เป็น shock ครั้งเดียวและรุนแรงดังเช่นในวิกฤติการเงินโลก (global financial crisis) แต่พร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งแตกต่างจากการสื่อสารในครั้งก่อนๆ ที่พยายามเน้นย้ำว่านโยบายการเงินยังควรมีสถานะเป็นกลาง (neutral) ต่อเศรษฐกิจ กล่าวคือไม่ได้เร่งหรือฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ
IMPLICATIONS
SCB EIC ประเมินว่านโยบายการเงินจะต้องผ่อนคลายเพิ่มเติมอีก เนื่องจาก


SCB EIC จึงมองว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้ สู่ระดับ 1.25% ภายในสิ้นปี 2025 เพื่อรองรับเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอลงตามความไม่แน่นอนที่ปรับสูงขึ้นมาก จากนโยบายการค้าสหรัฐฯ ประกอบกับความตึงตัวของภาวะการเงินที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ ประเมินว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปีนี้จะต่ำกว่าช่วงปี 2018-2019 ที่เกิดสงครามการค้า 1.0 ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งขณะนั้นไทยยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง
บทวิเคราะห์โดย… https://www.scbeic.com/th/detail/product/policy-rate-300425