
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT : UN Global Compact Network Thailand)ผลักดันโมเดล Inclusive Business for Equitable Society สร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน ผ่านประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum 2024 ที่ร่วมกับสหประชาชาติในประเทศไทย (UN in Thailand) และสมาชิกจัดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม 2567
ดร. ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย(UNGCNT) เปิดเผยถึงที่มาของการใช้ Inclusive Business for Equitable Society พลิกธุรกิจแห่งอนาคต สร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน เป็นหัวข้อของการประชุมประจำปีว่า ปีที่ผ่านมาสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยได้หารือระหว่างสมาชิกพร้อมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้นำธุรกิจกิจสามารถช่วยกันสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อให้เกิดการสร้าง “คน” ที่ตอบโจทย์ความต้องการของการของธุรกิจและประเทศ มีศักยภาพให้ไปถึงตามเป้าหมายทั้งเชิงธุรกิจและการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน และขยายผลไปถึงการสนับสนุนเศรษฐกิจ 5.0 ให้มี Growth Mindset มีความคิดสร้างสรรค์ และได้รับการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติ และลงมือทำ ตั้งแต่ในโรงเรียน ให้สามารถเข้าสู่โลกการทำงานที่วัดผลงาน และจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเป็นธรรม โดยสมาชิกประกาศความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม วัดผลและขยายผลใต้ มุ่งไปสู่การสร้างสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศไทยเห็นถึงความท้าทายของการดำเนินตามเป้าหมายที่ล่าช้า หากขาดการพัฒนาที่ถูกทาง จากการส่งสริมการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในระดับผู้นำองค์กร เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางพหุภาคีที่ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์เป็นแกนหลัก เพื่อขับเคลื่อนศักยภาพมนุษย์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนในทุกระดับ
ดร.ธันยพรกล่าวว่า ประชากรส่วนใหญ่ของไทยเกินครึ่งหนึ่งเป็นคนยากจน แม้ตัวเลขค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของทั้งประเทศอาจจะไม่สะท้อนความยากจน แต่หากดูข้อมูลลึกลงไปเป็นรายครัวเรือนก็ถือว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มฐานราก ขณะที่คนในกลุ่ม 20% บนถือครองความมั่งคั่ง 80% ของทั้งประเทศ ตัวอย่างของกลุ่มคนฐานรากได้แก่ กลุ่มที่ได้รับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ รายได้แต่ละวันพอเพียงกับการเลี้ยงชีพ แต่อาจจะยังไม่ทําให้คุณภาพชีวิตดี
ดร.ธันยพรกล่าวว่า แนวคิดการทํา Inclusive Business ซึ่งเป็นโมเดลการทําธุรกิจ ที่ตอบโจทย์ในแต่ละยุคสมัยและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คือการทําธุรกิจแบบมีส่วนร่วม โดยที่การทําธุรกิจนั้นยังคงมีผลกำไร แต่การมีกําไรนั้นมาจากการให้คนส่วนใหญ่ประเทศไทย ประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดทางเศรษฐกิจ(Base of the Pyramid) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดแต่มีรายได้ต่ำที่สุดให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ในฐานะผู้จัดหา ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก หรือผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจแบบ Inclusive Business ไม่เพียงสร้างทำไรแก่ตัวธุรกิจเอง แต่ยังนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมถึงช่วยลดความยากจนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
“หัวใจสำคัญของธุรกิจ Inclusive Business คือการมุ่งเน้นไปที่ประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ ในระดับสากล กลุ่มฐานรากคือผู้ที่มีรายได้ไม่ เกิน 8.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน ครอบคลุมกลุ่มคนยากจน (รายได้ต่ำกว่า 2.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และกลุ่มรายได้ได้ต่ำ (2.98-8.44 ดอลลาร์สหรัฐ)”
ดร.ธันยพรกล่าวว่าไทยมีความก้าวหน้าในการลดความยากจนอย่างมีนัยสำคัญ จาก 58% ในปี 1990 เหลือ 6.8% ให้ประเทศก้าวสู่สถานะรายได้ปานกลางระดับสูง อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในการลดความยากจนเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2015 แม้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยจะลดลงบ้าง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในชนบทมีเพียง 68% ของครัวเรือนในมืองในปีเดียวกัน โดยครัวเรือนในชนบทยังเผชิญกับข้อจำกัดด้านการศึกษา มี ภาระพึ่งพิงสูง และ สภาพความเป็นอยู่ยากลำบาก

แนวคิดธุรกิจ Inclusive Business ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 2005 โตย World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD โดยนำแสนอแนวทางในการยกระดับบทบาทของภาคเอกชนจากการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ใปสู่การยกระดับระดับรายได้ให้ชุมชน ผ่านการนำชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่า จากนั้นในปี 2015 แนวคิดนี้ก็ได้รับการรับรองนิยามและกรอบการดำเนินงานอย่างเป็นทางการโดย G20 ปัจจุบันแนวคิดธุรกิจ Inclusive Business ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้กรอบธุรกิจแบบองค์รวมของอาเซียน (ASEAN Inclusive Business Framework)
ธุรกิจ Inclusive Business มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างผลกระทบทางสังคมและและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยให้ผลกระทบทั้งสองเสริมสร้างกัน ธุรกิจ Inclusive Business ยังแตกต่างจาก CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคม ตรงที่การดำเนินงานหลักทั้งหมดมีเป้าหมายในการสร้างประโยชน์ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน รวมถึงมุ่งเน้นการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อสร้างผลกระทบที่กว้างขึ้น
“การมีส่วนร่วมของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจและต้องใส่ใจผู้คนที่มีรายได้ขั้นต่ํา หมายถึงควรจัดหาสินค้าหรือจัดหาบริการให้ตอบโจทย์การดํารงชีพของเขา เช่น การการตัดพ่อค้าคนกลาง ประเทศมีระบบเศรษฐกิจที่มีทั้งพ่อค้าคนกลาง ตั้งแต่ปลูกข้าว มาจนการถึงการแปรรูป และการตลาด มีคนส่งมอบสินค้า 3-4 ขั้นตอนอยู่ในห่วงโซ่คุณค่า ที่แต่ละขั้นตอนก็มีการบวกเพิ่ม แน่นอนว่าการเป็นเอเย่นต์ไม่ได้ผิดเพราะเพิ่มและเสริมคุณค่าซึ่งหากคิดต่อละ 10% หรือ 3 ต่อก็ 30% ฐานแรกคือผู้ผลิตได้เพียง 10% เหลือเป็นกําไรไม่มาก แนวคิดของ Inclusive Business ก็บอกว่าเราไม่ควรจะมีพ่อค้าคนกลางเราควรจะให้ผู้ผลิตมีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่า” ดร.ธันยพรกล่าว
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยต้องการผลักดัน Inclusive Business ธุรกิจที่มีการมีส่วนร่วม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาหลักที่เป็นเรื่องสําคัญของประเทศไทยสองเรื่อง ได้แก่ เรื่องแรกปัญหาความยากจน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวไม่สูง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยภาครัฐ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เรื่องที่สองที่เป็นปัญหาหลักของประเทศไทยที่ต้องแก้ไข คือ การศึกษา การพัฒนาทักษะ แต่ภาคธุรกิจไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้ จึงต้องทํางานโดยตรงกับภาคประชาชน โดยการให้องค์ความรู้ในการพัฒนาทักษะ
“ภาคธุรกิจที่เป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ก็จะนําเรื่องราวของสมาชิกที่เป็นต้นแบบของนวัตกรรม หรือ การทำกิจกรรมที่นำไปสู่การยกระดับรายได้ให้ชุมชน มาเล่าสู่กันฟังในกิจกรรม GCNT Forum 2024 ซึ่งจะมีการเสวนา ที่ครอบคลุมตั้งแต่ว่าธุรกิจโมเดลแบบไหนที่สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กเศรษฐกิจฐานราก ครอบคลุมนโยบายอะไรบ้างสามารถที่จะตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาทักษะด้วย ที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจเพื่อที่จะได้มาสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก” ดร.ธันยพรกล่าว
ดร.ธันยพรกล่าวว่า สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยคาดหวังว่า GCNT Forum 2024 จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และให้เรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับคนทุกระดับ พอมีคนเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น ประโยชน์ของ การให้บริการในการระดมทุน ประโยชน์จะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันการเสวนานาจะช่วยให้มีการร่วมออกแบบนโยบายและกลยุทธ์ธุรกิจ ที่สอดคล้องกับ กรอบอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเท่าเทียมในสังคมได้ ตลอดจนในมุมของผู้บริโภคก็จะให้มีความสนใจให้คุณค่ากับบริษัทที่ทำธุรกิจโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งหมายรวมถึงทั้งด้านของสิ่งแวดล้อมชุมชม และสังคมด้วย และ“ข้อสำคัญที่สุดก็คือ ความร่วมมือกันทุกภาคส่วน รัฐบาลเองก็พร้อมที่จะปรับบริบทของประเทศไทย เหลือแต่เพียงว่าธุรกิจทุกขนาดเราพัฒนาและปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมที่เท่าเทียม ซึ่งจะทำให้เติบโตร่วมกันอย่างยิ่งยืนได้อย่างไร”
สิ่งที่คาดหวังจากสมาชิกคือความมุ่งมั่น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนรุ่นอนาคต และระดับองค์กรธุรกิจ ให้ตั้งพันธกิจที่ชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม ประกอบด้วยการพัฒนาระบบนี้เวศที่เอื้อต่อการพัฒนาความเสมอภาค ความเท่าเทียม ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจฐากและหลักประกันทางสังคม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก
ภายในงาน GCNT Forum 2024 ยังมีช่วง เสวนา CEO Financial Business เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้ตลาดทุนไทยทำงานให้กับทุกคน เพราะฉะนั้นการวางแผนต้องมองการที่จะทำให้คนที่อยู่ใน ห่วงโซ่คุณค่า(Value Chain) ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งประกอบตั้งแต่ ผู้ระดมทุน บริษัทจดทะเบียน บริษัทตัวกลางที่เป็นธนาศาร ธุรกิจวิสาหกิจ รวมถึง นักลงทุนนักลงทุนทั้งรายย่อยรายใหญ่ทั้งในประเทศทั้งต่างประเทศ จะได้ประโยชน์จากตลาดทุนทั้งหมด รวมไปถึงการวางแผนที่ต้องคำนึงถึงการเป็นพันธมิตรอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้ธุรกิจใหญ่ขึ้นทั้งหมด ทำให้แต่ละธุรกิจได้ประโยชน์มากขึ้น และแผนงานที่ได้ออกมาจะส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละส่วน ให้ได้ประโยชน์ ตอบโจทย์ของคนที่มาเกี่ยวข้องในแผนการทำงานของธุรกิจ
ดร.ธันยพรกล่าวถึงลักษณะสำคัญของธุรกิจ inclusive business ว่ามีด้วยกัน 4 ข้อ ได้แก่
-
1) มีความยั่งยืนทางธุรกิจและมุ่งแสวงหากำไร ใช้รูปแบบธุรกิจที่ทำกำไรได้จริง และเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานงานของบริษัท
2) มอบวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ มุ่งแก้ไขปัญหาที่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและประชากรที่ยากจนอย่างยั่งยืน
3) สามารถขยายตัวได้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการขยายทั้งการดำเนินงานและผลกระทบทางสังคม ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจ
4) นวัตกรรม นำเสนอแนวทางใหม่ๆเพื่อลดความเสี่ยง สร้างผลกระทบที่มีความหมาย และรักษาความสามารถในการทำกำไร ในขณะเดียวกันก็สร้างความมีส่วนร่วมกับประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ
ดร.ธันยพรอธิบายเพิ่มเติมว่า สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อให้ธุรกิจ Inclusive Business เกิดขึ้น มีแนวโน้มเติบโต และประสบความสำเร็จได้ดี ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ สถาบันต่างๆ และผู้นำที่มีบทบาทสำคัญ โดยต้องมีการให้ข้อมูลที่จำเป็น มีการพัฒนานโยบายและมาตรการจูงใจที่เหมาะสม รวมถึงมีการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งทุน และมีการส่งเสริมผู้นำธุรกิจและผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานในการพัฒนาโมเดลธุรกิจ Inclusive Business เช่น รัฐบาล ให้ความสำคัญกับธุรกิจ inclusive business ผ่านการลงทุน กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมและ SME และจัดตั้งโครงการเฉพาะเพื่อ
สนับสนุนธุรกิจ Inclusive Business
โดยสมาคมธุรกิจ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของภาคเอกชนและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความตระหนักรู้และสนับสนุนการ แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ Inclusive Business ส่วนนักลงทุนเชิงผลกระทบ (Impact Investors) มุ่งสร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่สามารถวัดได้ ทั้งในมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับผลตอบแทนทางการเงิน โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับธุรกิจ Inclusive Business และร่วมรับความเสียงในการลงทุน และผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ที่มีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับการออกแบบและดำเนินการโมเดล Inclusive Business ช่วยให้คำแนะนำและเชื่อมโยงธุรกิจกับนักลงทุน ตลอดจนสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยและโรงเรียนช่วยยผลักดันความรู้ด้าน Inclusive Businesss และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมแก่ผู้นำธุรกิจในอนาคต
“ประเด็นสำคัญของศรษฐกิจฐานราก ประชากรฐานราก คือต้องมีองค์ความรู้ ต้องใส่องค์ความรู้เข้าไป สิ่งแรกที่ควรจะทําคือการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ให้พร้อมเป็นคู่ค้า เช่น ธุรกิจ OTOP ที่มีผลิตภัณฑ์คุณภาพแต่ยังไม่มีศักยภาพในด้านกำลังการผลิต บริษัทขนาดใหญ่ก็อาจจะมาช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับขยายกําลังการผลิต วิธีการผลิตลดความสูญเสีย การถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ก็อาจจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพให้เติบโต โดยที่ต้องไม่อาศัยการซื้อสินค้าจากบริษัทใหญ่เพียงอย่างเดียว การที่จะมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปด้วยกัน ชุมชนต้องสร้างให้เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น โดยที่ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะเป็นผู้สนับสนุน หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง จากการท่องเที่ยว ซึ่งการพัฒนาทักษะชุมชน ที่ไม่ใช่เพียงการฝึกแค่ภาษาอังกฤษ แต่อาจจะเป็นการทำการท่องเที่ยวของชุมชนร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม บริการรถให้เช่า ทําแบบนี้ระบบนิเวศจะเกิดขึ้น” ดร.ธันยพรกล่าว
ดร.ธันยพรกล่าวต่อว่า เทคโนโลยีและวัตกรรม จะส่งเสริมให้กับผู้ประกอบการหรือผู้ที่อยากจะมีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยี สามารถทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีหลายๆอย่าง สามารถทำให้ประหยัดต้นทุน บริษัทเทคโนโลยีที่มีโชลูชั่นแล้วก็มีมิติสังคม โดยนวัตกรรมในโมเดลธุรกิจ Inclusive Business ที่ช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตแก่ประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 2 แนวทางหลัก คือ
มีบทบาทเป็นผู้จัดหาแรงงาน ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ถือหุ้น
“บางครั้งกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก อาจจะยังไม่เคยมีแม้กระทั่งแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน หรือชุดข้อมูลที่สามารถใช้ได้ ดังนั้นหากบริษัทขนาดใหญ่ที่รับทราบกันดีอยู่แล้วว่า การใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน แล้วก็มีมิติสังคมมองถึงการเดินหน้าทำธุรกิจแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มองถึงปัญหาและโอกาส มองว่าถ้าโลกเพื่อรอดธุรกิจก็รอด ถ้าลูกค้าหรือผู้ใช้บริการประสบความสำเร็จธุรกิจก็ประสบความสำเร็จ ถ้าคู่ค้าเจริบโตธุรกิจก็เจริญเติบโต ถ้าบริษัท Supplier (Dealer, Contractor, Vendor) ขององค์กรแข็งแรงธุรกิจก็จะแข็งแรง ก็อาจจะต้องเอื้อเฟื้อ อาจจะต้องเปิดใจนำเทคโนโลยีที่มี โซลูชั่นที่มีไปให้บริษัทที่เป็น SME ร่วมใช้ด้วย ซึ่งก็จะลดต้นทุนทั้งคู่ค้าและคู่ขาย ซัพพลายเออร์ ดีลเลอร์ คอนแทรคเตอร์ ไม่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง ก็ใช้ของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งก็จะเกิดความแข็งแรงของธุรกิจมากขึ้น สามารถใช้เทคโนโลยีไปสร้างงา นสร้างโอกาสสร้างรายได้ จะมีความสุข ธุรกิจก็จะเติบโตแบบยั่งยืนให้ทุกคนสามารถนำเทคโนโลยี รวมกลุ่มคนที่ underserve สามารถเอาเทคโนโลยีไปทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น” ดร.ธันยพรกล่าว
ดร.ธันยพรกล่าวว่า นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นด้านเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่เป็นนวัตกรรมทางสังคม เช่น ในภาคเกษตร ที่เกษตรกรอาจจะไม่ถนัดใช้เทคโนโลยีแต่บริษัทที่มีชุดข้อมูลอยู่สามารถที่จะทําการสื่อสารการคาดการณ์แจ้งเกษตรกรถึงสภาวะการณ์ก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก แม้เกษตรกรอาจจะไม่ได้เป็นคู่ค้าโดยตรงกับบริษัทแต่เป็นเกษตรในพื้นที่
“นวัฒกรรมทางสังคมยังเป็นเรื่องของการหาการลงทุนที่ทําให้มีการกระจายรายได้ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย 2 ใน 3 ทําการเกษตร แต่ยังไม่มีรายได้สูงขึ้น เพราะขาดเงินทุน เกษตรกรแต่ละรายไม่มีกำลังซื้ออุปกรณเครื่องจักรเพื่อทำการเกษตรแบบสมาร์ทฟาร์เมอร์ได้ แต่หากว่าสหกรณ์ลงทุนแล้วให้สมาชิกยืม อุปกรณ์ ก็จะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล หรือ สหกรณ์อาจจะซื้อปุ๋ย และเปิดให้วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ประชากรฐานล่างสามารถยืมไปใช้ก่อนฤดูกาล หลังฤดูกาลเอามาคืน ด้วยการเอาข้าวเอาของมาแลก ช่วยลดต้นทุนในการแปรรูป นี่คือนวัตกรรมทางสังคมอีกแบบหนึ่ง ” ดร.ธันยพระกล่าว
ปัจจุบันมีสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยจำนวนหนึ่ง ที่เป็นผู้ผลิตทางการเกษตร และก็รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร โดยที่จ่ายเงินเป็นเงินสดผ่านวอลเล็ตได้ ซึ่งแอปพลิเคชันวอลเล็ตนี้พัฒนาโดยธนาคารที่เป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย แต่กลุ่มธุรกิจได้นำมาใช้กับเกษตรกรที่เป็นผู้ค้า ดร.ธันยพรกล่าวและว่า ในวงเสวนาภายในงานก็จะมีการนำเสนอกรณีนี้เป็นตัวอย่าง
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บริการแก่ตลาดที่มีรายได้น้อยและยังคงทำกำไรใต้ ธุรกิจ Inclusive Business จำเป็นต้องมีนวัดกรรมทั้งในด้านการออกแบบธุรกิจและการลดความเสี่ยง เช่น มีการรับประกันเงินกู้และมีแผนการชำระเงินแบบยืดหยุ่น ที่สอดคคล้องกับความสามารถทางการเงินของประชากรกลุ่มฐานราก หรือมีกลไกการจัดส่งสินค้า ที่ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและลดความเสี่ยงให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
ดร.ธันยพรกล่าวว่า ธุรกิจ Inclusive Business ยังมีส่วนต่อการสร้างสังคมที่เท่าเทียม ทุกวันนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนธุรกิจ Inclusive Business อย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 แห่งที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและขยายการดำเนินงานงานตามโมเดลธุรกิจ Inclusive Business เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาติเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ที่กำลังทำงทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสำคัญในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมเจรจาระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ และสนับสนุนสนุนฟอรัมการลงทุน Inclusive Business แห่งชาติ ทั้งยังร่วมมือกับ มูลนิธิ Bill & Melinda Gates สนับสนุนธุรกิจ Inclusive Business ด้านเกษตรกรรมและระบบอาหาร และได้จัดทำรายงานศึกษาภาพรวมของโมเดลธุรกิจInclusive Business ในอาเซียนและประเทศไทยอย่างครอบคลุมในส่วนของการพัฒนาทักษะให้กับธุรกิจและผู้ประกอบการ
” Inclusive Business เป็นโมเดลที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ธุรกิจไม่ได้โตอยู่เพียงรายเดียว การเติบโตขององค์กร ไปพร้อมกับการเติบโตของสังคม ชุมชน ลูกค้าและสิ่งแวดล้อม เป็นการเติบโตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อแนวคิดการทำธุรกิจในยุคใหม่” ดร.ธันยพรกล่าว
ประเทศไทยมีโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ครอบคลุมการฝึกอบรมด้านพัฒนาธุรกิจ การเข้าถึงข้อมูล แหล่งเงินทุน เครือข่าย และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ผ่านระบบness Development Service (BDS) จากผลการสำรวจพบว่า ธุรกิจ Inclusive Business หลายแห่งในภาคเกษตรและอาหารของไทยเป็นธุรกิจขนาดกลางหรือสดาร์ทอัพขนาดเล็ก สสว. จึงมีศักยภาพในการสนับสนุน SIME โดยจัดหาโปรแกรมโค้ชชิ่ง ฝึกอบรมต้านการวัดและจัดการผลกระทบ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงนักลงทุน พันธมิตรการพัฒนา และหน่วยงานรัฐที่สามารถให้ทุนและทรัพยากรได้
เครือข่าย UN Global Compact Network Thailand (UNGCNT) ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านหลักสูตรต่าง ๆ เช่น CIRCO ที่มุ่งพัฒนาโมดดธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Cicular Economy) หลักสูตรในลักษณะนี้สามารถปรับใช้เพื่อ สนับสนุนการพัฒนาโมเดล Inclusive Business ได้เช่นกัน
ChangeFusion สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างผลกระทบทางสังคม
โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดธุรกิจ ซึ่งให้คำปรึกษาเรื่องแผนธุรกิจ ทุนพัฒนา และโอกาสในการสร้างเครือข่าย
Impact Flow (ครื่องมืออออนไลน์สำหรับจัดการผลกระทบ) และ SE School (หลักสูตรออนไลน์สำหรับผู้สนใจเริ่มต้นธุรกิจเพื่อสังคม)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ส่งเสริมการสร้างความยังยืนให้กับธุรกิจในประเทศไทยผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Impact Volunteer Program ที่มี CEO จากบริษัทจดทะเบียน 25 รายให้บริการโค้ชชิ่ง
Impact Co-creation Program ซึ่งเชื่อมโองธรจเพื่อสังคมและบริษัทจดทะเบียนในการแบ่งปันข้อมูลและร่วมกันสร้างผลกระทบ โดยธุรกิจ Inclusive Business เช่น Jasberry และ Thai Wah ก็ได้เข้าร่วมโปรแกรมเหล่านี้แล้ว