ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ > ธนาคารกรุงเทพ เอสเอ็มอีไทย ปี 68 ต้อง ‘ปรับตัว-เติบโต-ยั่งยืน’

ธนาคารกรุงเทพ เอสเอ็มอีไทย ปี 68 ต้อง ‘ปรับตัว-เติบโต-ยั่งยืน’

25 ธันวาคม 2024


ข่าวประชาสัมพันธ์

ปี 2568 ที่กำลังจะมาถึง นอกจากโอกาสใหม่ๆ ที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตแล้ว อีกมุมที่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน ก็คือ ปัจจัยความท้าทาย ทั้งจากเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศที่ฟื้นตัวแบบชะลอตัว สถานการณ์เงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน อัตราดอกเบี้ยในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ที่มีจำนวนกว่า 3.2 ล้านราย ที่นอกจากจะเจอกับปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว ยังถูกแทรกแซงตลาดจากสินค้าราคาต่ำจากต่างประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

ในฐานะนักการเงินที่อยู่ในตลาดนี้มาหลายสิบปี นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ปัจจุบันแม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็มาพร้อมกับต้นทุนที่ถูกและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ เช่น การใช้ระบบ Automation ในสายการผลิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยในการวางแผนและบริหารธุรกิจ การทำ Digital Marketing เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางขึ้น หรือการใช้ระบบ CRM – Customer Relationship Management เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าและวิเคราะห์เพื่อวางแผน ปรับปรุง ทางธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมอบความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าได้

ในขณะเดียวกัน เรื่องของภาวะโลกร้อน (Climate Change) และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ESG เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญและมีทิศทางที่ผู้ซื้อจะคำนึงถึงมากขึ้นหลังจากนี้ ทั้งอาจกลายเป็นข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ด้านการค้าที่จะบังคับให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“หากผู้ประกอบการปรับตัวได้เร็ว ก็เพิ่มโอกาสในการขยายตลาด ไปยังตลาดคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูงได้มากขึ้นอีกด้วย” นี่คือคำแนะนำของ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

ด้วยความเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้ ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็น “ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค” ที่มีความเข้าใจบริบททางเศรษฐกิจและธุรกิจ จึงตั้งใจที่จะเดินหน้าบทบาท “เพื่อนคู่คิด” ที่พร้อมช่วยคิด ช่วยแนะนำ และสนับสนุนผู้ประกอบการให้ปรับตัวพร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการทำงานผ่าน “ชมรมบัวหลวงเอสเอ็มอี” ที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 ด้วยเป้าหมายการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถของเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมีธนาคารเป็นศูนย์กลางและให้การสนับสนุนใน 4 มิติ ได้แก่

  • มิติที่ 1 การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงธุรกิจกันเป็น Supply Chain ที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันและเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
  • มิติที่ 2 ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลความรู้ โดยธนาคารทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลเชิงลึกให้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการค้า รวมถึงข่าวสาร ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมามีการจัดสัมมนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยประสานความร่วมมมือกับหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา ตลอดจนบริษัทเอกชนรายใหญ่ เพื่อเชิญวิทยากรมาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิต การเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านเครือข่าย Supply Chain
  • มิติที่ 3 ช่วยเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ตลาดใหม่ จากพันธมิตรทางธุรกิจและเครือข่ายของธนาคาร ทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนามและอินโดนีเซีย ขณะเดียวกัน ธนาคารยังมีกิจกรรมช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นประจำทุกปี เช่น งานบัวหลวงเอสเอ็มอีแฟร์ มหกรรมสินค้าราคาพิเศษส่งท้ายปี ซึ่งธนาคารได้จัดสรรพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการได้ร่วมนำเสนอสินค้าโดยตรงแก่ผู้บริโภค ทั้งช่วยเพิ่มโอกาสเปิดตลาดใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย
  • มิติที่ 4 คำแนะนำและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์อย่างเข้าใจ ธนาคารมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและการเงิน ตลอดจนผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ช่วยสนับสนุนลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สินเชื่อ “Bualuang Green และ Bualuang Green Solar Energy” ที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับหลัก ESG สินเชื่อบัวหลวงกรีนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดการสร้างมลพิษ รวมถึง สินเชื่อบัวหลวงเพื่อการปรับตัวธุรกิจ (Bualuang Transformation Loan) สำหรับธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงกิจการในยุคดิจิทัลและภาวะปกติใหม่ (Next Normal) เช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือใช้นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต

“ท่ามกลางความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ ธนาคารกรุงเทพยังคงยืนหยัด เคียงข้าง เป็น “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการปรับตัว ตั้งแต่การศึกษาหาข้อมูลเพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกิจการ การเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน     ไปจนถึงการปรับเปลี่ยน Business Model เพื่อให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้และเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน” นายชาติศิริกล่าว

นอกจากนี้ ธนาคารได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญและปรับตัวไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมกับคัดสรรค์ผู้ประกอบการต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างความสำเร็จ โดยได้มอบรางวัล “Bangkok Bank SME Award” ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน “บัวหลวงเอสเอ็มแฟร์” เพื่อเป็นการยกย่องธุรกิจที่มีการปรับตัวจนประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน Digital Transformation ด้านความยั่งยืน และด้านการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจแล้ว ยังเป็นตัวอย่างความสำเร็จให้สมาชิกชมรม ฯ และผู้ประกอบการอื่น ๆ ได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้

 

ชาติศิริ โสภณพนิช

ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ความโดดเด่นในด้านการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย จนได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “Bangkok Bank SME Award” ในปี 2567 นี้ เล่าว่า ในฐานะที่เป็นหมอและเห็นผลงานวิจัยมีมากมาย จึงได้ต่อยอดและพัฒนาโดยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อให้สามารถให้บริการและการรักษาทางการแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น เช่น การตรวจยีน การตรวจสารทางพันธุกรรมดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ มาวินิจฉัย คัดกรอง และปรับใช้เพื่อค้นหาความเสี่ยงถึงระดับต้นเหตุของโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดต่าง ๆ เพื่อประโยชนน์ในการรักษาและการป้องกันที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงลดโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคในอนาคต เช่น โรคมะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้คนไทยและคนในภูมิภาคได้เข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาโรคใหม่ๆ ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและมีอายุที่ยาวนานขึ้น

“ขอขอบคุณธนาคารกรุงเทพ ที่ให้การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี และมอบรางวัล “Bangkok Bank SME Award” เป็นสิ่งยืนยันและแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของธนาคารกรุงเทพที่สนับสนุนผู้ประกอบการไทย มุ่งมั่นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งรางวัลทั้ง 3 ด้าน คือ Digital Transformation ด้านความยั่งยืน และด้านการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล” ศ.ดร.นพ.วิปรกล่าว

แม้ปี 2568 จะมีความท้าทายหลายด้านรออยู่ แต่การเข้าใจโจทย์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการเตรียมพร้อมและปรับตัวได้เร็ว ก็อาจพลิกปัจจัยเหล่านั้นให้กลายเป็น “โอกาส” ของการขยายตลาดไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน และการปรับตัวนั้นจะง่ายขึ้น เมื่อมี “เพื่อนคู่คิด” ที่ช่วยให้ข้อมูลความรู้ คำแนะนำ มีประสบการณ์ และมีโซลูชันที่ตอบโจทย์ มาช่วยสนับสนุน ดังเช่นที่ “ธนาคารกรุงเทพ” ได้อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการไทยจนได้รับความไว้วางใจมาตลอด 80 ปี./