World Econoic Forum เผยแพร่รายงานดัชนีช่องว่างระหว่างชายและหญิง Global Gender Gap Report 2022 ว่า จากการประเมินเปรียบเทียบความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงใน 145 ประเทศที่อยู่ในการจัดอันดับ คะแนนความเท่าเทียมกันทางเพศโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 67.9% เป็น 68.1%
ในตัวชี้วัด 4 มิติ ความเท่าเทียมกันทางเพศด้านการส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ(Economic Participation and Opportunity )ก็เพิ่มขึ้นจาก 58.7% เป็น 60.3% เช่นเดียวกับความเท่าเทียมกันทางเพศด้านสุขภาพและการอยู่รอด(Health and Survival)จาก 95.7% เป็น 95.8% ความเท่าเทียมกันทางเพศด้านการสำเร็จการศึกษา(Educational Attainment)ลดลงจาก 95.2% เป็น 94.4% ขณะที่ความเท่าเทียมกันทางเพศด้านอำนาจทางการเมือง(Political Empowerment) ยังคงเท่าเดิมที่ 22%
จากอัตราความคืบหน้าในปัจจุบัน จะใช้เวลา 132 ปี ถึงจะเข้าสู่ความเท่าเทียมกัน แต่สถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อยในรอบสี่ปีเมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ในปี 2021 ว่าจะใช้เวลา 136 ปีถึงจะมีความเท่าเทียม อย่างไรก็ตามถ้าไม่เกิดภาวะคนหายไปรุ่นหนึ่งในช่วงปี 2020 และ 2021 แนวโน้มช่องว่างทางเพศตามแนวโน้มของปี 2020 จะหายไปใน 100 ปี
นอกจากนี้จะใช้เวลา 155 ปีในการปิดช่องว่างทางเพศด้านอำนาจทางการเมือง 151 ปีสำหรับช่องว่างทางเพศของการมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ และ 22 ปีสำหรับช่องว่างทางเพศด้านการสำเร็จทางการศึกษา ส่วนการปิดช่องว่างทางเพศด้านสุขภาพและการอยู่รอดยังคงไม่ได้ประเมินเวลาไว้เนื่องจากความคืบหน้าของความเท่าเทียมกันได้ชะงักงัน
ในปีนี้ ดัชนีช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลก(Global Gender Gap Index)ประเมิน 146 ประเทศ ในจำนวนนี้ มี 102 ประเทศที่อยู่ในการรายงานดัชนีทุกฉบับตั้งแต่ปี 2549 ดัชนีช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลกจะวัดคะแนนในระดับ 0 ถึง 100
ไอซ์แลนด์ยังครองอันดับหนึ่ง
แม้ว่าจะยังไม่มีประเทศใดที่บรรลุความเท่าเทียมกันทางเพศอย่างสมบูรณ์ แต่ประเทศใน 10 อันดับแรกได้ปิดช่องว่างทางเพศอย่างน้อย 80% โดยไอซ์แลนด์ (90.8%) เป็นผู้นำในการจัดอันดับโลก ไอซ์แลนด์ยังคงเป็นประเทศเดียวที่ปิดช่องว่างทางเพศได้มากกว่า 90%
ใน 10 อันดับแรกนั้น ประเทศสแกนดิเนเวียอยู่ใน 5 อันดับแรกของ Global Gender Gap Index โดยฟินแลนด์อยู่ในอันดับ 2 (86%), นอร์เวย์ อันดับ 3 (84.5%) และสวีเดนอันดับ 5 (82.2%) ่ส่วนประเทศในยุโรปอื่น ไอร์แลนด์ (80.4%) และเยอรมนี (80.1%) ) ติดอันดับ 9 และ 10 ตามลำดับ
ประเทศในแถบแอฟริกาเหนือซาฮารา รวันดา ติดอันดับ 6(81.1%) และนามิเบีย อันดับ 8 (80.7%) พร้อมกับหนึ่งประเทศในละตินอเมริกา ได้แก่ นิการากัวอันดับ 7 (81%) และหนึ่งประเทศจากเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก นิวซีแลนด์ ที่ติดอันดับ 4 (84.1 %)
นิการากัวและเยอรมนีติด 10 อันดับแรกในปี 2565 ขณะที่ลิทัวเนีย (79.9%) และสวิตเซอร์แลนด์ (79.5%) หลุดไปอยู่ที่อันดับ 11 และ 13 ตามลำดับ”

อเมริกาเหนือผู้นำก้าวหน้าสุด
อเมริกาเหนือเป็นผู้นำทุกภูมิภาค ใน Global Gender Gap Index โดยปิดช่องว่างทางเพศได้ 76.9% ตามมาด้วยยุโรปอย่างใกล้ชิด ซึ่งปิดช่องว่างไปแล้ว 76.6% อันดับที่ 3 คือ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน ซึ่งช่องว่างทางเพศได้ถึง 72.6% ส่วนเอเชียกลางกับเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก อยู่ในระดับกลางๆ โดยปิดช่องว่างได้ 69.1% และ 69% ตามลำดับ มีความก้าวหน้าไปสู่ความเท่าเทียม อันดับที่ 6 คือ Sub-Saharan Africa(ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ตั้งอยู่ใต้ทะเลทรายซาฮารา) อยู่ที่ 67.9% รองลงมาและตามหลัง Sub-Saharan Africa คือตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือซึ่งปิดช่องว่างทางเพศได้ 63.4% สุดท้าย เอเชียใต้มีความก้าวหน้าต่ำสุด โดยปิดช่องว่างทางเพศ 62.4% ในปี 2022
อเมริกาเหนือเป็นภูมิภาคที่ก้าวหน้าที่สุดในแง่ของการปิดช่องว่างทางเพศ คะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักประชากรของรับภูมิภาคนี้อยู่ที่ 76.9% ซึ่งลดจำนวนปีที่ใช้ในการปิดช่องว่างจาก 62 เป็น 59 ปี คะแนนที่ดีขึ้นมาจากการคะแนนช่องว่างทางเพศของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่ปีที่แล้วและจากคะแนนแคนาดาที่คงที่
ยุโรปมีความเสมอภาคทางเพศสูงเป็นอันดับ 2 โดยปัจจุบันอยู่ที่ 76.6% เมื่อประเมินจาก 102 ประเทศที่อยู่ในการจัดอันดับมาตั้งแต่ปี 2006 ภูมิภาคนี้ต้องใช้เวลา 60 ปีเพื่อปิดช่องว่าง โดยมีไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกและในภูมิภาค
ละตินอเมริกาและแคริบเบียนอยู่ในอันดับที่ 3 ของทุกภูมิภาค รองจากอเมริกาเหนือและยุโรป ภูมิภาคนี้ปิดช่องว่างทางเพศได้ 72.6% ด้วยกความก้าวหน้าในปัจจุบัน ละตินอเมริกาและแคริบเบียนจะปิดช่องว่างได้ใน 67 ปี อย่างไรก็ตาม ภายในภูมิภาคนี้ มีเพียง 6 จาก 22 ประเทศในการจัดทำดัชนีในฉบับนี้ มีคะแนนการปิดช่องว่างทางเพศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ในเอเชียกลาง ความคืบหน้าโดยรวมในการปิดช่องว่างทางเพศไม่เปลี่ยนแปลงจากฉบับที่แล้วที่ 69.1% ด้วยอัตราความก้าวหน้าระดับนี้ จะต้องใช้เวลา 152 ปีในการปิดช่องว่างทางเพศในระดับภูมิภาค ในปี 2022 เอเชียกลางรายงานคะแนนระดับภูมิภาคสูงสุดเป็นอันดับ 4 จาก 8 ภูมิภาค รองจากอเมริกาเหนือ ยุโรป ละตินอเมริกาและแคริบเบียน
เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกปิดช่องว่างทางเพศ 69% โดยเพิ่มประสิทธิภาพในระดับภูมิภาคเล็กน้อยเมื่อเทียบกับรุ่นปี 2564 โดย 13 จาก 19 ประเทศปรับปรุงคะแนน ภูมิภาคนี้จะต้องใช้เวลา 168 ปีในการปิดช่องว่างทางเพศ อย่างไรก็ตาม ภายในภูมิภาค มีความแตกต่างที่สำคัญในความก้าวหน้าของประเทศต่างๆ
Sub-Saharan Africa มีคะแนนระดับภูมิภาคสูงสุดเป็นอันดับที่ 6 ของ Global Gender Gap Index และปิดช่องว่างทางเพศได้ 67.9% ดีกว่าตะวันออกกลางและอัฟริกาเหนือ ภูมิภาคนี้ได้คะแนนสูงสุดในรอบ 16 ปี และด้วยอัตราความก้าวหน้าในปัจจุบันจะใช้เวลา 98 ปีในการปิดช่องว่างทางเพศในภูมิภาค
ด้วยคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของประชากรที่ 63.4% ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีช่องว่างทางเพศที่กว้างมากเป็นอันดับ 2 รองจากเอเชียใต้ ความคืบหน้าของภูมิภาคนี้ยังคงไม่ต่างจากครั้งที่แล้ว ทำให้ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีกรอบเวลาในการปิดช่องว่าง 115 ปี
ในบรรดา 8 ภูมิภาค เอเชียใต้อยู่ในอันดับต่ำที่สุด โดยปิดช่องว่างทางเพศได้เพียง 62.3% การขาดความคืบหน้านี้นับตั้งแต่ฉบับที่แล้วได้ขยายเวลาการปิดช่องว่างระหว่างเพศเป็น 197 ปี เป็นผลจากความชะงักงันในวงกว้างของคะแนนความเท่าเทียมกันทางเพศในหลายประเทศในภูมิภาค บังกลาเทศและเนปาลเป็นผู้นำในภูมิภาคโดยปิดช่องว่างทางเพศมากกว่า 69%

ช่องว่างทางเพศด้านแรงงานคือวิกฤติใหม่
รายงาน Global Gender Gap Index ชี้ว่าช่องว่างระหว่างเพศในแรงงานได้รับแรงผลักดันและได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย รวมถึงอุปสรรคด้านโครงสร้างที่มีมายาวนาน การเปลี่ยนโฉมทางเศรษฐกิจและสังคมและเทคโนโลยี ตลอดจนผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นได้เข้าไปสู่การทำงานที่ได้รับค่าจ้างและตำแหน่งผู้นำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความคาดหวังของสังคมทั่วโลก นโยบายของนายจ้าง สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย และความพร้อมในการดูแลยังคงมีบทบาทสำคัญในการเลือกเส้นทางการศึกษาและเส้นทางอาชีพ
ทศวรรษแห่งความเข้มงวดหลังจากวิกฤติการเงินโลกปี 2008 เป็นข้อจำกัดของภาคส่วนที่เป็นแกนหลักของโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ส่งผลกระทบต่อผลที่จะเกิดกับครอบครัวและผู้ดูแลหลัก ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิง ในช่วงการระบาดใหญ่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่า นอกจากนี้ การคาดการณ์ว่าวิกฤติค่าครองชีพในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าย่ำแย่ลง ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิงรุนแรงกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงยังคงหารายได้และสะสมความมั่งคั่งในระดับที่ต่ำกว่า
เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดวิกฤติที่มีผลไปทั่ว รายงานสำรวจสถานะของช่องว่างทางเพศในแรงงานผ่านข้อมูลเสริมที่มีอยู่ในข้อมูลเศรษฐกิจ(Economy Profiles)และตัวชี้วัดใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกับ LinkedIn, Coursera, Hologic และ WTW
ช่องว่างระหว่างเพศในการเป็นผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรม: สัดส่วนผู้หญิงที่ทำงานแบบได้รับค่าจ้างที่ก้าวสู่ผู้นำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 33.3% ในปี 2016 เป็น 36.9% ในปี 2022 นอกจากนี้ข้อมูลความถี่สูงจาก LinkedIn จาก 22 ประเทศให้ภาพรวมของการเป็นตัวแทนของสตรีในการเป็นผู้นำในปี 2022 เฉพาะอุตสาหกรรมที่คัดเลือกมาเท่านั้น ที่มีระดับความเท่าเทียมทางเพศในการเป็นผู้นำที่ใกล้เคียงกัน เช่น องค์กรพัฒนาเอกชนและสมาชิก (47%), การศึกษา (46%) และการบริการส่วนบุคคลและความเป็นอยู่ที่ดี (45%) ในภาคอื่นๆ ได้แก่ พลังงาน (20%) การผลิต (19%) และโครงสร้างพื้นฐาน (16%) ขณะที่สัดส่วนแบ่งของผู้หญิงในการเป็นผู้นำเพิ่มขึ้น แต่ผู้หญิงไม่ได้รับการว่าจ้างในอัตราที่เท่าเทียมกันในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นที่ทำงานได้ค่าจ้างขึ้นเป็นผู้นำนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่ผู้หญิงเป็นตัวแทนในระดับสูงอยู่แล้ว
ช่องว่างระหว่างเพศในการเป็นตัวแทนทางการเมือง:การมีผู้หญิงจำนวนมากขึ้นในการเป็นผู้นำทางการเมือง มีแนวโน้มที่จะสร้างผลกระทบจากการเป็นแบบอย่างที่ทรงพลัง รวมถึงการตัดสินใจที่เป็นตัวแทนของประชาชนในวงกว้าง ข้อมูลจาก Global Gender Gap Index ทั่วโลกแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของผู้หญิงในการเป็นผู้นำสาธารณะ ในบรรดาผู้นำที่เป็นผู้หญิงทั่วโลก ผู้ที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดคือในเยอรมนีเป็นเวลา 16.1 ปี ไอซ์แลนด์เป็นเวลา 16 ปี โดมินิกาเป็นเวลา 14.9 ปี และไอร์แลนด์เป็นเวลา 14 ปี สัดส่วนเฉลี่ยทั่วโลกของผู้หญิงในตำแหน่งรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าระหว่างปี 2006 และ 2022 เพิ่มขึ้นจาก 9.9% เป็น 16.1% และสัดส่วนเฉลี่ยทั่วโลกของผู้หญิงในรัฐสภาเพิ่มขึ้นจาก 14.9% เป็น 22.9
ช่องว่างระหว่างเพศในการสะสมความมั่งคั่ง: ผลของตลาดแรงงานที่บิดเบือนมีผลกระทบอย่างมากต่อการสะสมความมั่งคั่งของผู้หญิงเมื่อคำนวณตลอดช่วงชีวิต นอกจากนี้ การเข้าถึงและควบคุมทรัพยากรที่สร้างความมั่งคั่งอย่างไม่เท่าเทียมกัน เช่น การธนาคาร การลงทุน มรดก และทรัพย์สิน สามารถนำไปสู่ความแตกต่างของความมั่งคั่งได้ จากการวิเคราะห์ความเท่าเทียมของความมั่งคั่งที่ดำเนินการร่วมกับ WTW ใน 39 ประเทศ ผู้หญิงเสียเปรียบในเรื่องการสะสมความมั่งคั่งตลอดช่วงชีวิตการทำงาน
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของความมั่งคั่งตามเพศ ได้แก่ ช่องว่างการจ่ายค่าจ้าง วิถีความก้าวหน้าในอาชีพที่ไม่เท่าเทียมกัน ช่องว่างทางเพศในความรู้ทางการเงิน และเหตุการณ์ในชีวิต สำหรับบทบาทการปฏิบัติงานแนวหน้า ช่องว่างความมั่งคั่งทางเพศโดยรวมอยู่ที่ 11%; สำหรับมืออาชีพและด้านเทคนิค มีช่องว่างความมั่งคั่งทางเพศเกือบ 3 เท่าเป็น 31% และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาวุโสและนผู้นำ มีช่องว่างจะขยายเป็น 38%
ช่องว่างระหว่างเพศในการก่อตั้งธุรกิจ:ข้อมูล ความถี่สูงLinkedIn ใน 22 ประเทศแสดงให้เห็นว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้หญิงได้จัดตั้งธุรกิจในอัตราเฉลี่ยที่สูงกว่าผู้ชายเล็กน้อย สัดส่วนของผู้ก่อตั้งหญิงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่สัดส่วนแบ่งของผู้ก่อตั้งชายเพิ่มขึ้น 55%
แนวโน้มนี้ยังคงต่อเนื่องทั้งในระหว่างและตั้งแต่การระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น และรวมถึงการเพิ่มขึ้น 43% ของอัตราการก่อตั้งธุรกิจของผู้หญิงระหว่างปี 2019 ถึง 2020 ซึ่งส่วนหนึ่งรวมถึง “ผู้ก่อตั้งด้วยความจำเป็น” ที่เกิดขึ้นจากการระบาดใหญ่ด้วย เนื่องจากงานหายากทำให้ต้องประกอบอาชีพอิสระ ในขณะเดียวกัน ข้อมูลบ่งชี้ว่าการก่อตั้งธุรกิจไม่ได้มากจากความจำเป็นทั้งหมด ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ จำนวนบริษัทยูนิคอร์นที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าจาก 18 ราย ในปี 2020 เป็น 83 รายในปี 2021 ซึ่งคิดเป็น 14% ของบริษัท 595 แห่งที่เข้าร่วม Crunchbase Unicorn Board ในปี 2021
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นนี้สะท้อนบริบทที่การลงทุนในธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของยังคงเป็นส่วนน้อยของจำนวนเงินที่มุ่งสู่ธุรกิจที่ก่อตั้งโดยผู้ชาย ในปี 2019 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนทั้งหมดในธุรกิจหญิงล้วนคือ 3% ลดลง 4% จากปี 2018 ในปี 2020 ลดลงไปอีกเป็น 2% และทรงตัวที่ 2% ในปี 2021 แต่ที่กลับกันคือ ปริมาณของข้อตกลงเกี่ยวข้อง ธุรกิจหญิงล้วน
ช่องว่างทางเพศในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและให้ความสำคัญของทักษะ: ผู้หญิงยังคงมีบทบาทมากเกินไปในด้านการศึกษาและสุขภาพและสวัสดิการเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย และมีบทบาทน้อยในสาขา STEM เป็นช่องว่างทางเพศที่ยังมีมากที่สุดในสองสาขานี้ เมื่อคำนึงถึงผู้สำเร็จการศึกษาจากทุกสาขา เปอร์เซ็นต์ของผู้สำเร็จการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คือ 1.7% เทียบกับ 8.2% ของผู้สำเร็จการศึกษาชาย ในสาขาวิศวกรรมและการผลิตผู้ชายสำเร็จการศึกษา 24.6% แต่ผู้หญิง 6.6% ในขณะที่การแบ่งกลุ่มเพศในการเลือกการศึกษาระดับปริญญายังคงมีในการศึกษาแบบดั้งเดิม
ข้อมูลความถี่สูง(high-frequency data)จาก Coursera ในรายงานประจำปีนี้พบว่า มีผู้หญิงจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมที่มีทักษะ เปลี่ยนทักษะ(re-skilling) และยกระดับทักษะ(upskilling) ผ่านทางออนไลน์ นอกจากนี้ ช่องว่างทางเพศในการลงทะเบียมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการศึกษาแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น ในด้าน ICT ความเท่าเทียมกันทางเพศเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมออนไลน์ระหว่างปี 2019 ถึง 2021 อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการลงทะเบียนแสดงให้เห็นว่าความชอบในทักษะของผู้ชายและผู้หญิงยังคงตอบสนองต่อรูปแบบเดิมๆ ทำให้เกิดช่องว่างทางเพศสำหรับทั้งชายและหญิง
ช่องว่างระหว่างเพศในการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน: การวิเคราะห์อนุกรมเวลาของความเท่าเทียมกันทางเพศในการมีส่วนร่วมของแรงงานจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น 102 ประเทศที่อยู่ในดัชนีช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าความเท่าเทียมทางเพศทั่วโลกของการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานลดลงอย่างช้าๆ นับตั้งแต่ 2009 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มรุนแรงขึ้นในปี 2020 เมื่อคะแนนความเท่าเทียมทางเพศลดลงอย่างรวดเร็วในการจัดอันดับสองครั้งติดต่อกัน ส่งผลให้ในปี 2022 ความเท่าเทียมทางเพศในแรงงานอยู่ที่ 62.9% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการรวบรวมดัชนีครั้งแรก ในบรรดาแรงงานที่ยังอยู่ในกำลังแรงงาน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้หญิง
ช่องว่างระหว่างเพศในงานดูแล: ผลกระทบด้านลบของตลาดแรงงานของการระบาดใหญ่ที่ไม่เท่ากัน สามารถอธิบายได้ส่วนหนึ่งผ่านองค์ประกอบของวิกฤติ และส่วนหนึ่งผ่านปริมาณงานดูแลที่ตกอยู่กับผู้หญิง เนื่องจากมีการปิดสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนซึ่งเป็นรูปแบบของความรับผิดชอบในงานดูแลก่อนเกิดโรคระบาด จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2019 จาก 33 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 54% ของประชากรวัยทำงานทั่วโลก ส่วนแบ่งเวลาของผู้ชายที่ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างตามสัดส่วนที่ใช้ในงานทั้งหมดคือ 19% ในขณะที่ผู้หญิงคือ 55% ด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กที่เพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่ความต้องการที่ไม่สมดุลในการจัดหางานดูแลเด็กที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจะยังคงส่งมอบให้กับผู้หญิงต่อไป
ช่องว่างระหว่างเพศในระดับความเครียด: จากข้อมูลของ Hologic รายงานว่าระหว่างปี 2021 ถึง 2022 ความเครียดในผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย 4% ซึ่งเพิ่มภาระด้านสุขภาพทั่วโลกจากความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้หญิงมากกว่า
การปิดช่องว่างทางเพศยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของความเจริญก้าวหน้าของชาติ ประเทศที่ลงทุนในทุนมนุษย์ทั้งหมดและทำให้ประชากรสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตครอบครัวได้ง่ายขึ้นมักจะมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น รายงานพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความเท่าเทียมกันทางเพศและรายได้ต่อหัวเมื่อเปรียบเทียบดัชนีช่องว่างระหว่างเพศทั่วโลกกับ GDP ต่อหัว
แม้ว่าความสัมพันธ์จะไม่แสดงถึงความเป็นเหตุเป็นผล ไม่ว่าระดับรายได้ในปัจจุบันจะเป็นเท่าไร ประเทศต่างๆ ควรลงทุนในการปิดช่องว่างทางเพศในการเข้าถึง ทรัพยากร และโอกาส
ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนมากขึ้น การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพลวัตของทุนมนุษย์ทั้งหมดของประเทศจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเอาชนะวิกฤติการณ์ในปัจจุบันและเร่งการฟื้นตัว