ThaiPublica > คอลัมน์ > พลังของความเปราะบาง: The Power of Vulnerability

พลังของความเปราะบาง: The Power of Vulnerability

30 เมษายน 2019


ณัฐวุฒิ เผ่าทวี www.powdthavee.co.uk

Brené Brown ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=iCvmsMzlF7o

Brené Brown เป็นนักวิชาการและนักพูดที่ผมชอบมากๆ คนหนึ่ง Brené เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน vulnerability และ TED talk ของเธอเป็นหนึ่งใน TED talk ที่คนดูบน YouTubeมากที่สุด (แถมตอนนี้เธอยังเป็นนักวิชาการคนแรกที่มี talk ฉายอยู่ใน Netflix อีกด้วย)

มาวันนี้ผมก็เลยอยากจะเขียนถึงงานวิจัยในเรื่องของ vulnerability ที่เธอนำมาพูดใน talk ของเธอสักหน่อย แต่พอผมลองเขียนคำว่า vulnerability ลงไปใน google translate (ให้แปลจากภาษาอังกฤษไปเป็นภาษาไทย) คำแปลที่ผมได้คืนกลับมากลับเป็นคำว่า “ความอ่อนแอ” ซึ่งผมว่าไม่ใช่

ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า Brené ได้พูดเอาไว้ว่า “vulnerability is not weakness” ซึ่ง weakness ในที่นี้ก็คือความอ่อนแอ

แล้วถ้า vulnerability ไม่ใช่ความอ่อนแอล่ะก็ มันคืออะไรกันแน่

สำหรับ Brené นิยามของคำว่า vulnerability ก็คือ “การอ้าแขนรับความไม่แน่นอน การยอมเสี่ยงที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง หรือในสิ่งที่เราอยากจะทำ ถึงแม้ว่าผลอาจจะออกมาไม่ตรงตามที่เราคาดหวังไว้ก็ตาม”

และด้วยเหตุผลนี้นี่เอง vulnerability ก็คือการออกจาก comfort zone ที่เราอยู่ การ “put yourself out there” ในโลกที่อาจจะไม่มีความกรุณากับเรามากนัก

มันจึงเป็นอะไรที่ไม่น่าแปลกใจเลยว่า vulnerability จึงเป็นที่มาของ courage หรือความกล้าหาญของคนเราในการที่จะทำอะไรสักอย่างที่อาจจะทำให้เราต้องผิดหวังหรือเสียใจได้ อย่างเช่น การบอกรักใครซักคนก่อนเป็นคนแรก หรือการเลือกทำงานที่เรารักทั้งๆ ที่มันอาจจะ fail ก็ได้ เป็นต้น

เพราะฉะนั้น vulnerability จึงเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับคำว่าอ่อนแอมากๆ

“แล้วถ้าเรายอมอ้าแขนรับความไม่แน่นอนนี้โดยการ put ourselves out there แล้วเราเจอด่า เจอว่าแบบเละๆ เลยล่ะ เราจะทำยังไง”

Brené ได้กล่าวในเรื่องของการโดนคนอื่นตำหนิ ว่า และด่าเอาไว้ว่า

“If you’re not in the arena also getting your ass kicked, I’m not interested in your feedback.”

“ถ้าคุณไม่ได้เป็นคนหนึ่งที่กำลังอ้าแขนรับความไม่แน่นอน แล้วกำลังเจอความพ่ายแพ้เหมือนกันกับฉัน ฉันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปแคร์ในคำแนะนำที่คุณมี”

มันเป็นเรื่องที่ตลกตรงที่ว่าคนที่ด่า หรือที่ว่าคนอื่นๆ ที่ยอมอ้าแขนรับความอาจจะ fail ส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นคนที่ไม่เคยอ้าแขนรับความไม่แน่นอน (หรือ vulnerability) เอง ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าคนที่ยอมเป็นคนที่ยอมกล้าเสี่ยงที่จะทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ตัวเองต้องเสียใจหรือผิดหวังเท่านั้นที่จะเข้าใจคนอื่นๆ ที่กำลังพยายามทำในสิ่งที่คล้ายๆ กันว่ามันเป็นอะไรที่กล้าหาญมากขนาดไหน ส่วนคนที่ไม่เคยทำเป็นคนที่ไม่มีทางรู้ความกล้าหาญตรงนี้ได้เลย เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเลือกฟังคนที่ตำหนิเรา ถ้าคนที่ตำหนิเราไม่เคยอ้าแขนรับ vulnerability ล่ะก็ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปสนใจ

ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?

ท้ายที่สุดนี้ Brené ยังได้กล่าวเอาไว้อีกว่า vulnerability ก็คือการที่เราเลือกที่จะ embrace ตัวเราเอง เป็นการยอมรับว่าตัวเราไม่ได้เพอร์เฟกต์และไม่จำเป็นที่จะต้องเพอร์เฟกต์ แค่เราเป็นตัวเราแค่นี้ก็ “พอ” (I am enough)

แถม vulnerability ยังเป็นกุญแจสำคัญของ empathy หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า vulnerability เท่านั้นที่สามารถทำให้เราเปิดรับความรู้สึกของคนอื่นรอบข้างว่าเขารู้สึกยังไง เพราะถ้าเราไม่ยอมปล่อยให้ตัวเองรู้สึก vulnerable ล่ะก็ เราก็ไม่สามารถรู้สึกถึงความทุกข์ และความเจ็บปวดของคนอื่นๆ ได้ ซึ่งก็ไม่สามารถทำให้ empathy เกิดขึ้นในใจของเราได้เช่นเดียวกัน