ThaiPublica > เกาะกระแส > ประมวลภาพริ้วขบวนที่ 2 ขบวนพระบรมราชอิสริยยศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ประมวลภาพริ้วขบวนที่ 2 ขบวนพระบรมราชอิสริยยศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

26 ตุลาคม 2017


การอัญเชิญพระบรมศพจากพระมหาปราสาทไปสู่พระเมรุมาศ หรืออัญเชิญพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศมาสู่พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุหรือลอยพระอังคาร ตามโบราณกาลจะอัญเชิญด้วยขบวนพระราชอิสริยยศ ซึ่งเรียกว่า “ริ้วขบวน” โดยแต่ละริ้วขบวนมีคนหาม คนฉุดชักจํานวนมาก พร้อมด้วยเครื่องประกอบพระอิสริยยศ การจัดริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีขบวนพระบรมราชอิสริยยศ
จำนวน 6 ริ้วขบวน โดยมีการบูรณะตกแต่งราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ เพื่อให้พร้อมสำหรับการอัญเชิญพระบรมศพพระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร รวมทั้งซักซ้อมการเคลื่อนขบวนให้งดงามประหนึ่งราชรถเคลื่อนบนหมู่เมฆส่งเสด็จสู่สวรรค์

ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาค จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปทางถนนสนามไชย โดยยาตราขบวนแห่เชิญพระโกศทองใหญ่ จากถนนสนามไชย เข้าสู่ถนนราชดำเนินใน
จากนั้น ขบวนพระบรมราชอิสริยยศแห่เชิญพระโกศทองใหญ่เข้าสู่ท้องสนามหลวง รวมระยะทาง 890 เมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org

ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org
ที่มาภาพ : thaipublica.org

ดูภาพทั้งหมดได้ที่นี่
หมายเหตุ: ที่มาภาพhttp://www.kingrama9.th

เส้นทางริ้วขวนที่2

ริ้วขบวนที่ ๒ เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาค จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปทางถนนสนามไชย


ยาตราขบวนแห่เชิญพระโกศทองใหญ่ จากถนนสนามไชย เข้าสู่ถนนราชดำเนินใน

จากนั้น ขบวนพระบรมราชอิสริยยศแห่เชิญพระโกศทองใหญ่เข้าสู่ท้องสนามหลวงรวมระยะทาง 890 เมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

เกรินบันไดนาค คืออุปกรณ์ที่ใช้เชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นหรือลงจากราชรถและพระเมรุมาศแทนการใช้นั่งร้านไม้ต่อยกสูงแบบสมัยโบราณ ที่ใช้กำลังคนยกขึ้นลงซึ่งมีความยากลำบาก ไม่สะดวก โดยทำเป็นรางเลื่อนขึ้นลงด้วยกว้านหมุน ลักษณะการใช้งานเหมือนลิฟต์ในปัจจุบัน มีแท่นที่วางพระโกศเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลง ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ขอบฐานแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ท้ายเกรินเป็นพื้นลดระดับลงมา ซึ่งเป็นที่สำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้นนั่งประคองพระโกศพระบรมศพ มีลักษณะคล้ายท้ายสำเภา ด้านข้างบุผ้าตาดทอง มีราวทั้งสองข้างตกแต่งเป็นรูปพญานาค จึงเรียกว่า “เกรินบันไดนาค”

เกรินบันไดนาค คิดค้นโดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2354 ใช้ครั้งแรกในงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2355

กรินบันไดนาค มีความกว้าง 1.525 เมตร ยาว 2.365 เมตร สูง 4.40 เมตร ส่วนฐานมีความกว้าง 1.786 เมตร ยาว 3.06 เมตร จำนวนพลในการควบคุม 20 นาย

พระมหาพิชัยราชรถอยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 2 ในงานพระราชพิธี วันที่ 26 ตุลาคม 2560 พระมหาพิชัยราชรถมีลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบก ทำด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้เพื่อการอัญเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ออกพระเมรุ เมื่อพุทธศักราช 2339 ต่อมาใช้อัญเชิญพระบรมโกศพระมหากษัตรย์ และพระโกศพระบรมวงศ์จนถึงปัจจุบัน

พระมหาพิชัยราชรถเป็นราชรถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ด้วยความสูง 11.20 เมตร กว้าง 4.84เมตร ยาว 18 เมตร เเละด้วยน้ำหนักถึง 13.7 ตัน จึงต้องใช้พลฉุดชักเพื่อเคลื่อนพระมหาพิชัยราชรถทั้งหมด 216 นาย แบ่งเป็นส่วนด้านหน้า 172 นาย ด้านหลัง 44 นาย เเละพลควบคุม 5 นาย