ThaiPublica > จับเท็จ: บุคคล > นักการเมือง > อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

5 สิงหาคม 2014


นักการเมือง นายกรัฐมนตรีคนที่ 27

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2551 จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่ง ในปี 2554 และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2548

เนื่องจากเป็นหัวหน้าพรรคใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรด้วย

ประวัติ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ มีเชื้อสายจีนฮั่นจากฮกเกี้ยน เป็นลูกชายคนเดียวและ คนสุดท้องใน จำนวน 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ  เมื่ออภิสิทธิ์มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชาชีวะก็เดินทางกลับเมืองไทย

 

มีพี่สาว คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน

 

เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร โดยที่สุรนันทน์เป็นบุตรของนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายของบิดาอภิสิทธิ์

 

ป็นหลาน รองศาสตราจารย์ ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด อดีตรองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นลูกพี่ลูกน้องพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรีกับศุภกรณ์ เวชชาชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทโพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ปราง เวชชาชีวะ และปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปัณณสิทธิ์นั้นเป็นโรคออทิซึมมาแต่กำเนิด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของอภิสิทธิ์ผู้เป็นบิดาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2555

 

การศึกษา

  • เข้าเรียน ชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธรและต่อมาได้

  • เข้าเรียน ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  • หลังจากนั้นก็เดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษในโรงเรียนสเกทคลิฟ และที่โรงเรียนอีตันนับเป็น ช่วงที่อภิสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำเป็นเวลาหลายปี

  • ปริญญาตรี สาขาปรัชญาการเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)

  • ศึกษาระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1

  • ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

  • และต้นปี พ.ศ. 2554 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

การทำงาน: การเมือง

อภิสิทธิ์ เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ฃ

 

ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

 

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอก สุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลสุจินดา คราประยูร

 

อภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม 2548 หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย 2548 และอภิสิทธิ์ได้ลาออกจาตำแหน่งภายหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้ง 2554 แต่ก็ได้รับเลือกกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน

 

วันที่ 23 เมษายน 2548 อภิสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่ 7 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี 2548 และมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรี และได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

 

อภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2550 ให้กับสมัคร สุนทรเวช และต่อมาในวันที่ 9 กันยายน 2551 สมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

 

เป็นผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา จวบจนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการยุบพรรคพลังประชาชน และเป็นเหตุให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จึงทำให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง

 

ผลปรากฏว่า อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเสียงในสภามากกว่า จึงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ธันวาคม 2551 และหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งไปชั่วคราว จนกระทั่งอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

 

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 และพ้นจากตำแหน่งไป จากนั้นไม่นาน เขาก็ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย สมัยที่ 3 ในวันที่ 16 กันยายน 2554 และได้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ก็พ้นจากตำแหน่งไปเนื่องด้วย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร 

 

ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org

ภาพจาก www.siamintelligence.com

Homepage:

https://www.facebook.com/Abhisit.M.Vejjajiva

ป้ายคำ :