ทักษิณ ชินวัตร

…เชื่อว่าสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องเสร็จตามกำหนด พร้อมเปิดให้บริการในปี 2548 อย่างแน่นอน

พ.ต.ท. ทักษิณกล่าว่า นโยบายที่ได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) คือ เรื่องค่าบริการของสนามบินแห่งใหม่ ต้องแข่งขันกับสนามบินประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ได้

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 26/03/2547

บริบท

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ชื่อเดิมสนามบินหนองงูเห่า) เป็นสนามบินที่มีแนวคิดจากการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้าง ก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ จนสัมปทานถูกยกเลิก

ภาพสนามบินสุวรรณภูมิขณะกำลังก่อสร้าง จาก i.nova

ภาพสนามบินสุวรรณภูมิขณะกำลังก่อสร้าง จาก i.nova

กระทั่งถึงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีความคืบหน้าของการก่อสร้างท่าอากาศยานมากที่สุด เพราะการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่งจะสามารถเริ่มขึ้นได้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 สืบเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้น มีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540–2544) และต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มีการโอนหน้าที่อำนวยการก่อสร้างและการจัดการให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งปิดกิจการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด

ภาพสนาบบินสุวรรณภูมิที่เปิดให้บริการแล้ว

ภาพสนาบบินสุวรรณภูมิที่เปิดให้บริการแล้ว

วิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อ 27 ก.ย.47 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ยืนยันอีกครั้งว่า การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิจะแล้วเสร็จทันกำหนดแน่นอน โดยคาดว่าจะเปิดให้มีการทดสอบการบินได้ในวันที่ 29 ก.ย. 2548 (ดู time line การก่อสร้างที่นี่)

หลังมีกระแสข่าวการทุจริตในโครงการสร้างท่าอากาศยานมากมาย เช่น พ.ศ. 2548 ในรัฐบาลทักษิณ 1 มีการกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัยในการจัดซื้อและติดตั้งระบบตรวจวัตถุระเบิดในสัมภาระ โดยอาจมีการล็อกข้อกำหนดคุณสมบัติของเครื่องรุ่น CTX 9000 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับเหมา (บริษัทแพทริออต ซึ่งมีวรพจน์ ยศะทัศน์ เป็นผู้บริหาร) และบริษัทผู้ผลิต (บริษัท อินวิชั่น สหรัฐอเมริกา) โดยมีมูลค่าสัญญา 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เหตุการณ์นี้นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ 28 มิถุนายน 2548 แต่ก็ไม่สามารถลงมติไม่ไว้วางใจนายสุริยะได้ตามข้อกล่าวหา

ต่อมา สนามบินสุวรรณภูมิเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน 2548 และในวันที่ 29 กันยายน 2548 คณะรัฐมนตรีโดยสารเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากท่าอากาศยานกรุงเทพสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ฝั่งรันเวย์ตะวันออก เที่ยวบินแอร์บัส 340-600 โดยที่ผิวรันเวย์ ระบบสื่อสารจราจรทางอากาศ รวมถึงระบบนำร่องอากาศยานมีความพร้อมสมบูรณ์เต็มที่

ขณะที่รันเวย์ฝั่งตะวันตก สื่อมวลชนและคณะทำงานอื่นๆ จะโดยสารมาในเที่ยวบินโบอิ้ง 747-400 ซึ่งระบบต่าง ๆ มีความพร้อมใกล้สมบูรณ์แล้วเช่นกัน ส่วนบริเวณทางเดินเชื่อมต่อจากเครื่องบินเข้าสู่อาคารที่พักผู้โดยสาร หรือ เกท อี 1 ที่นายกรัฐมนตรีจะเดินผ่านเข้าสู่ตัวอาคาร ขณะนั้นอยู่ระหว่างการตกแต่งพื้นและเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ให้มีความสวยงาม ปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์เปิดใช้บริการมาแล้วกว่า 10 ปี

สรุป

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้การดำเนินงานก่อสร้างสนามบินสุวรรรณภูมิจะมีการติดขัดด้วยกรณีต่างๆ แต่ในที่สุดสนามบินก็ได้เปิดบริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กันยายน 2548 ซึ่งเป็นไปตามที่ พ.ต.ท. ทักษิณให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 และเมื่อ 27 กันยายน 2547

ดังนี้นข้อความที่ว่า "…เชื่อว่าสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องเสร็จตามกำหนด พร้อมเปิดให้บริการในปี 2548 อย่างแน่นอน" จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ "เป็นจริง"