ThaiPublica > จับเท็จ: ประเด็น > ปณิธานแถลง กรณี 91 ศพ

ปณิธานแถลง กรณี 91 ศพ

5 สิงหาคม 2014


ปูมหลัง

การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ ต่อมา รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน จากนั้น อภิสิทธิ์ประกาศแผนปรองดอง ซึ่งผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป และอภิสิทธิ์ก็ประกาศยกเลิกวันเลือกตั้งใหม่ตามแผนปรองดอง ก่อนจะใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม จนกระทั่ง แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โดยในช่วงแรก การชุมนุมเกิดขึ้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศบนถนนราชดำเนินและเป็นไปโดยสงบ กลุ่มผู้ชุมนุมใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การเดินขบวนรอบกรุงเทพมหานคร การรวบรวมเลือดไปเทที่หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านพักอภิสิทธิ์เพื่อกดดันรัฐบาล จากนั้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมสองครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะมีการยุบสภา แต่ไม่สามารถสรุปวันเวลาได้

โดยทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม มีการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 หลายสิบครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมปิดการจราจรที่แยกราชประสงค์ รวมทั้งสร้างแนวป้องกันในบริเวณโดยรอบ

วันที่ 8 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่าห้าคนขึ้นไป และในวันที่ 10 เมษายน กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 ศพ มีช่างภาพชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตรวมอยู่ด้วย 1 คน และทหารเสียชีวิต 5 นาย ตลอดจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 800 คน วันที่ 14 เมษายน แกนนำประกาศรวมที่ชุมนุมไปยังแยกราชประสงค์เพียงแห่งเดียว

 วันที่ 22 เมษายน เหตุปาระเบิดมือทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 86 คน กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อหาตัวผู้ลงมือ แต่หาไม่พบ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ในภายหลังชี้ว่าโรงพยาบาลอาจเป็นแหล่งของผู้ลงมือ แต่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 28 เมษายน ระหว่างที่ผู้ชุมนุมจากแยกราชประสงค์ กำลังเดินทางไปให้กำลังใจกลุ่มผู้ชุมนุมที่ตลาดไท ย่านรังสิต ชานกรุงเทพมหานคร แต่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแนวขวางกั้น กลางถนนวิภาวดีรังสิต จนเกิดการปะทะกัน โดยมีทหารเสียชีวิต 1 นาย ในเหตุการณ์นี้

อภิสิทธิ์เสนอแนวทางปรองดอง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเสนอให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อภิสิทธิ์ก็ยกเลิกข้อเสนอดังกล่าวไปเอง  หลังจากที่แกนนำ นปช. ยื่นข้อเรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้ามอบตัวกับตำรวจ แม้จะมีท่าทียอมรับในระยะแรกก็ตาม

ต่อมา รัฐบาลสั่งการให้กำลังทหารเข้าล้อมพื้นที่แยกราชประสงค์ ด้วยกำลังรถหุ้มเกราะและพลซุ่มยิง ในระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 41 ศพ และบาดเจ็บกว่า 250 คน ซึ่งกองทัพอ้างว่า พลเรือนถูกยิงโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือไม่ก็ถูกยิงเพราะติดอาวุธ หรือถูกผู้ก่อการร้ายยิง และชี้ว่าผู้ก่อการร้ายบางคนแต่งกายในชุดทหาร ทหารเสียชีวิตนายหนึ่งเพราะถูกพวกเดียวกันยิง

กองทัพได้ประกาศ "เขตใช้กระสุนจริง" โดยทุกคนที่พบเห็นในเขตดังกล่าวจะถูกยิง และเจ้าหน้าที่แพทย์ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ จนวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทหารเข้ายึดพื้นที่เป็นครั้งสุดท้าย จนถึงแยกราชประสงค์ จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม และยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เป็นผลให้ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ จากนั้น เกิดการก่อจลาจลและวางเพลิงสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ในช่วงค่ำ รัฐบาลประกาศห้ามออกจากเคหสถานในหลายจังหวัด และให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องนำเสนอรายการของรัฐบาลเท่านั้น โดยทหารได้รับคำสั่งให้ใช้อาวุธปืนยิง ผู้ที่ทำการปล้นสะดม วางเพลิง หรือก่อความไม่สงบได้ทันที ผู้ชุมนุมจำนวน 51 คนยังคงหายสาบสูญจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน รัฐบาลอ้างว่าการประท้วงดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนถึง 150,000 ล้านบาท

 

บทวิเคราะห์: เปิดรายงาน ศปช. และ คปอ.

สถิติตำแหน่งบาดแผลของผู้เสียชีวิต

ตามรายงานผู้เสียชีวิตเบื้องต้นรายงานว่า มีผู้ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลังเสียชีวิตก่อนถึง รพ. ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า  เสียชีวิตก่อนถึง รพ. ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน เสียชีวิตก่อนถึง รพ.

จากการพิสูจน์ข้อมูลต่างๆ ของทาง ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ที่มีการใช้หลักทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาทิ วิถีกระสุน ช่วงเวลาการเข้ามาของชายชุดดำ รอยกระสุนบนตัวศพ เป็นต้น

ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมถูกยิงที่ศีรษะ

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คปอ.) ได้ออกมาพูดผ่านสื่อ ทางรายการตอบโจทย์ ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งยืนยันได้ว่ามีการใช้กระสุนจริงในเหตุการณ์ และมีรายงานสรุปวิเคราะห์เหตุการณ์สลายการชุมนุมเผยอยู่ทางสื่อออนไลน์ ที่นำเสนอประเด็นโต้แย้งจากทาง ศปช. และ คปอ. ที่มีต่อกัน

และทางเฟสบุ๊คของ ศปช. เองก็มีการนำข้อมูลการเบิกกระสุนาของทหารมาตีแผ่ให้ทราบ ว่าสรุปออกมาว่า มีการเบิกจ่ายกระสุนไป 9 ชนิด รวม 778,750 นัด และมีการส่งยอดคืน จำนวน 586,801 นัด สรุปใช้ไปจำนวน 191,949 นัด แม้ตัวเลขรวมจะมากกว่ารายงานของ คอป. แต่ยอดกระสุนสไน้ป์เปอร์จริงๆรวม 500 นัดสรุปออกมาว่า มีการเบิกจ่ายกระสุนไป 9 ชนิด รวม 778,750 นัด และมีการส่งยอดคืน จำนวน 586,801 นัด สรุปใช้ไปจำนวน 191,949 นัด แม้ตัวเลขรวมจะมากกว่ารายงานของ คอป. แต่ยอดกระสุนสไน้ป์เปอร์จริงๆรวม 500 นัดสรุปออกมาว่า มีการเบิกจ่ายกระสุนไป 9 ชนิด รวม 778,750 นัด และมีการส่งยอดคืน จำนวน 586,801 นัด สรุปใช้ไปจำนวน 191,949 นัด แม้ตัวเลขรวมจะมากกว่ารายงานของ คอป. แต่ยอดกระสุนสไน้ป์เปอร์จริงๆรวม 500 นัด

ข้อมูลจำแนกผู้เสียชีวิตจากากรสลายการชุมนุม

 

รัฐบาลยอมรับใช้กระสุนจริง

ซึ่งทางนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวบีบีซี ต่อเห็นเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นว่ามีการใช้กระสุนจริง จริงๆ

 ทางฝ่าย พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ออกมายอมรับเช่นกันว่าทางทหารได้มีการใช้อาวุธในการสลายการชุมนุม และมีการใช้กระสุนจริง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพราะ ทางฝ่ายผู้ชุมนุมก็มีอาวุธ มีการขโมยอาวุธไปจากเจ้าหน้าที่ทหาร และมีเหตุการณ์แทรกแซงคือชายชุดดำ

 

สรุป

ดังนั้นจากข้อมูลต่างๆ ข้างต้น ทำให้เห็นว่าคำแถลงของนายปณิธาน ในส่วนที่ว่า “รัฐบาลขอยืนยันว่าการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ นั่นก็คือการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเอง การใช้อาวุธยิงขึ้นฟ้า ขณะนี้ไม่มีหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธกับประชาชน อาวุธที่ใช้ก็เป็นเรื่องของเครื่องมือในการควบคุมฝูงชน โดยเฉพาะแก๊สน้ำตา และกระสุนยาง” โดยหลักฐานแล้วถือว่า เป็น“เท็จ”

ป้ายคำ :