ThaiPublica > Native Ad > Advertorial > วัยใสไกลแอลกอฮล์ SMASHED PROJECT แก้ปัญหา “นักดื่มก่อนวัย” สำรวจพบร้อยละ 50 ของเยาวชนไทย เริ่มดื่มตั้งแต่อายุ 15 ปี

วัยใสไกลแอลกอฮล์ SMASHED PROJECT แก้ปัญหา “นักดื่มก่อนวัย” สำรวจพบร้อยละ 50 ของเยาวชนไทย เริ่มดื่มตั้งแต่อายุ 15 ปี

5 เมษายน 2019


การที่ประเทศไทยมีนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดความรู้…และที่น่าเป็นห่วงคือ ประมาณร้อยละ 50 ของเยาวชนที่ดื่มแอลกอฮอล์เริ่มดื่มเมื่ออายุต่ำกว่า 15 ปี

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความพยายามในการรณรงค์เรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่กระนั้นเมื่อดูจากสถิตินักดื่ม พบว่า สถานการณ์ปัญหาไม่ได้คลี่คลายไปมากนัก โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของกลุ่ม “นักดื่มหน้าใหม่” ที่เป็น “เยาวชน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหญ่ไม่น้อยไปกว่า การดื่มแล้วขับ รวมไปถึง การดื่มเกินขนาด

ไทย รองแชมป์นักดื่ม (เยาวชน) หน้าใหม่

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกล่าสุด พบว่า ประเทศไทยมี “นักดื่มหน้าใหม่” เป็นเยาวชน ถึง 27.3% โดยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชีย ไทยนั้นครองอันดับ 2 รองจากเกาหลี

“การที่ประเทศไทยมีนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขาดความรู้ความตระหนักถึงโทษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัยและที่น่าเป็นห่วงคือ ประมาณร้อยละ 50 ของเยาวชนที่ดื่มแอลกอฮอล์ เริ่มดื่มเมื่ออายุต่ำกว่า 15 ปี “ ปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ.) ฉายภาพสถานการณ์ปัญหานักดื่มหน้าใหม่ก่อนวัย ที่กำลังเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ในการแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเป็นอันตราย ซึ่งเป็นอีกปัญหาใหญ่ไม่แพ้เรื่องการดื่มแล้วขับ และการดื่มเกินขนาด

ในฐานะที่มูลนิธิแก้ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ มีประสบการณ์ทำงานเรื่องนี้มายาวนาน “ปริญ” มีมุมมองเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ว่า “ เราทำงานบนฐานคิดเดียวกันกับกลยุทธ์ขององค์การอนามัยโลกในการลดปัญหาการดื่มอย่างเป็นอันตราย หรือ harmful use of alcohol อาทิ การดื่มแล้วขับ นักดื่มก่อนวัย และการดื่มเกินขนาด โดยร่วมกับพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมรณรงค์รูปแบบต่างๆ กับกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง”

ดังนั้นสำหรับ “นักดื่มก่อนวัย” เขามองว่า “การป้องกัน” เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังให้เยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงโทษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ

แก้ตั้งแต่วัยเด็ก บทเรียนจากสหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในประเทศที่มีควาพยายามในการต่อสู้กับปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัยอันควร เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้ง ความรุนแรง การคุกคามทางเพศ ตลอดจนปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ฯลฯ

ในปี 2547 สถาบัน Collingwood learning (องค์กรกระบวนการเรียนรู้สำหรับเยาวชน สหราชอาณาจักร) จึงได้มีความพยายามในการนำกระบวนการละครเพื่อการศึกษา (Theatre-in-Education)มาเป็นสื่อหลักในการณรงค์ ให้ความรู้เรื่องแอลกอฮอล์ เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีโอกาสดูละคร ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมา และมีความมั่นใจในการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ มากขึ้น ภายใต้ชื่อ SMASHED PROJECT

โครงการนี้เป็นการสร้างส่วนผสมในการใช้ละครเวลาร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง “คุณครูนักแสดง” (Teacher Actor) และผู้ชมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จมากในการแก้ปัญหาการดื่มสุราก่อนวัยในสหราชอาณาจักร ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จนปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ขยายไปในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ เวียดนาม ไต้หวัน ไอร์แลนเหนือ จาเมกา เปรู จีน โมซัมบิก ฯลฯ

สำหรับประเทศไทย โครงการ SMASHED PROJECT เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2559 ในชื่อ “วัยใสไกลแอลกอฮล์ SMASHED PROJECT ” โดยความร่วมมือระหว่าง สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย สถาบัน Collingwood learning (องค์กรกระบวนการเรียนรู้สำหรับเยาวชน สหราชอาณาจักร) และมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์(มปอ.) โดยที่ผ่านมามีการจัดแสดงและอบรมเชิงปฏิบัติการไปแล้ว 25 รอบใน 13 โรงเรียนและมีเด็กนักเรียน เข้าร่วม 1,553 คน และครู 34 คน

ผลการสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการในปี 2561 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการดื่มสุราในวัยเรียน เพิ่มจาก 20.35% เป็น 47.75% รู้และความเข้าใจเพียงพอในการเลือกทาสิ่งที่ถูกต้องจากการดื่มสุรา เพิ่มจาก 52.82% เป็น 74.45% ทราบถึงอายุของบุคคลที่สามารถซื้อสุราได้อย่างถูกกฏหมาย เพิ่มจาก 35.90% เป็น 78.36% นักเรียนเข้าใจคาว่า “การคุกคามทางเพศ” เพิ่มจาก 29.21% เป็น 56.74% นักเรียนส่วนใหญ่ (92.71%) รู้สึกพอใจกับ SMASHED PROJECT และคุณครูทั้งหมด (100%) มีความเห็นว่าการแสดงและกิจกรรมหลังการแสดงที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการดื่มสุราก่อนวัยอันควร ซึ่งเกี่ยวข้องกับเยาวชนในวัยนี้

SMASHED PROJECT หยุดวัฒนธรรมดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัย

หากดูจากผลลัพธ์ในโครงการ สิ่งที่น่าสนใจก็คือทำไมกระบวนการละครถึงประสบความสำเร็จ สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง และแตกต่างจากวิธีการอื่น

“ละครจะเดินเรื่องเพื่อเน้นพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง กระตุ้นให้วิเคราะห์สถานการณ์ และยังมอบอำนาจให้นักเรียนในการช่วยกันพลิกบทให้ตัวละครได้คิดและตัดสินใจที่แตกต่างจากเดิม” ข้อความดังกล่าวระบุอยู่ในแนวคิดของการทำงานที่กลุ่มละครอนัตตาในฐานะผู้ดำเนินการในโครงการ

เรื่องเล่าในละครประเด็นศึกษา คือการพานักแสดงและผู้ชม ให้เกิดปฏิสัมพันธ์กัน แตกต่างจากการดูละครปกติที่ผู้ชมเป็นเพียงผู้ดูเท่านั้น
ทุกการแสดงและการอบรมเชิงปฏิบัติการ จะใช้ละครในการเปิดเรื่องราว 30 นาที โดยการจัดแสดงในไทยเป็นเรื่องราวของ วัยรุ่น 3 คน เจมส์ บอยและกาก้า ที่เป็นนักดื่มซึ่งยังอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายที่แตกต่างกันทั้งบุคลิกและแรงจูงใจ ทั้งสามคนมักนัดกันเพื่อไปดื่มแอลกอฮอล์เสมอ เจมส์ เด็กเรียนดีที่ถูกพ่อแม่กดดันจนการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เสียการเรียน บอย นิสัยเกเร อยู่กับย่าไม่สนใจเรียน และกาก้า เด็กสาวผู้ใฝ่ฝันจะเป็นนางแบบ แต่ผลลัพธ์จากการดื่มแอลกอฮอล์ก็ทำให้ทั้งสามพบชะตากรรมที่แตกต่างกันออกไป ทำให้อนาคตจบอย่างน่าเศร้า

หลังละครจบ นักเรียนจะมีโอกาสถามคุณครูนักแสดงเกี่ยวกับ เหตุผลทางความคิดของตัวละครในเรื่อง พวกเขายังจะถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น หากตัวเองต้องตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับตัวละคร ว่าเราจะทำอย่างไร เราปฏิบัติตนแตกต่างไปหรือไม่ เหล่านี้เป็นกระบวนการ ขั้นตอนที่ทำให้เด็กได้เกิดความคิดซ้ำๆ และตระหนักและเข้าใจขั้นตอนการตัดสินใจ รวมไปถึงสาเหตุและผลลัพธ์จากการดื่มสุรา รวมไปถึงการดื่มที่จะนำไปสู่ผลผลัพธ์ของการเกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น การคุกคามทางเพศ ฯลฯ เพื่อให้พวกเขามีภูมิต้านทานต่อสิ่งยั่วยุ

ไม่เพียงช่วยให้เขามีทัศนคติและพฤติกรรมที่ถูกต้อง แต่ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการ Smashed ส่งต่อไปสู่เพื่อนๆ และคนรอบข้าง นำไปสู่การหยุดยั้งวัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัย และการแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเป็นอันตรายได้อย่างยั่งยืน

ในปี 2562 นี้โครงการจะได้มีการต่อยอดโดยเตรียมการจัดแสดงและการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 40 รอบใน 22 โรงเรียน ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆในภาคกลาง โดยคาดว่าจะมีนักเรียนเข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 3,446 คน และครู 59 คน

จากประสบการณ์การดำเนินโครงการในไทยใน 2 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ได้ว่า แม้จะแตกต่างกันในบริบททางสังคม แต่กระบวนการเรียนรู้ผ่านละครประเด็นศึกษาและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถป้องกันและยับยั้งการเกิดนักดื่มหน้าใหม่ก่อนวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากกว่าการห้ามเพียงอย่างเดียว