ประเด็นที่หายไปในสื่อ
มีคำกล่าวแต่โบราณว่า “สื่อที่ดีต้องเปรียบดังสุนัขเฝ้าบ้าน” ในยุคที่สื่อถูกตั้งคำถามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนว่ายังเฝ้าบ้านอยู่หรือไม่ ไทยพับลิก้าเสนอซีรีส์ข่าวที่ควรจะเป็นข่าวใหญ่ แต่กลับเลือนหายไปในสื่อไทย
มีคำกล่าวแต่โบราณว่า “สื่อที่ดีต้องเปรียบดังสุนัขเฝ้าบ้าน” ในยุคที่สื่อถูกตั้งคำถามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนว่ายังเฝ้าบ้านอยู่หรือไม่ ไทยพับลิก้าเสนอซีรีส์ข่าวที่ควรจะเป็นข่าวใหญ่ แต่กลับเลือนหายไปในสื่อไทย
‘หมานิลมังกร’ ตั้งคำถามในตอนสุดท้ายของซีรีส์ – พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ซึ่งสื่อมักอ้างว่าเป็น “สิทธิ เสรีภาพสื่อ” เป็นการปล่อยปละละเลยให้สื่อสามารถละเมิดสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องรับผิดหรือไม่ ซึ่งอาจจะส่งผลให้การเผยแพร่ตีพิมพ์ข่าวเป็นไปอย่างหละหลวม หรือใช้ข่าวสารเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะมีช่องทางให้ไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย
‘หมานิลมังกร’ ตั้งคำถาม ร่างแก้ไข พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ บังคับใช้ในทางกฎหมายได้หรือไม่ และแถลงการณ์คัดค้านโดยองค์กรสื่อมวลชน มุ่งปกป้องแต่สิทธิเสรีภาพแต่เฉพาะของตนเอง ละเลยเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์อื่นใช่หรือไม่
14 ปี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ‘ไทย’ ถึงเวลาปรับเป็นเชิงรุก
ตามต่อปัญหาในร่างแก้ไข พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ฉบับกระทรวงวัฒนธรรม ประเด็นที่สื่อมวลชนกระแสหลักส่วนใหญ่เป็นกังวล กลับไม่ใช่เรื่องห้ามการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่เป็นเรื่องเดียวคือ เนื้อหาที่ “กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”
ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ที่เสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรมสำคัญอย่างไร การจัดประเภทและเรตติ้งสุ่มเสี่ยงว่าจะเป็นการละเมิดเสรีภาพทางปัญญาอย่างไรบ้าง ‘หมานิลมังกร’ เรียบเรียงประเด็นมานำเสนอในบทประเดิมซีรีส์นี้
รัฐบาลนานาชาติในสภาสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นกว่า 15 ประเทศ พร้อมกันยื่นข้อเสนอแนะ ประเทศไทยควรแก้กม. อาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องหลักสิทธิมนุษยชนสากล ชี้เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออก ด้านทางการไทยปัด กฎหมายหมิ่นฯ – พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน
เหตุใดสื่อไทยจึงไม่รายงานคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งที่ถือว่ามี “ความเป็นข่าว” สูงมาก และมีกรณีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละหลายร้อยคดี? ปัณณ์ พาทิศ ชวนติดตามในรายงานพิเศษฉบับนี้
62 รามอินทรา 5 แยก 3 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
โทร. 02-9706998 | อีเมล [email protected]