ภัยพิบัติสาธารณภัยประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีความเสี่ยงภัยพิบัติสาธารณภัยด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น อาทิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหวอาคารถล่ม ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งภัยพิบัติอื่นๆ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจะติดตามและนำเสนอชุดข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภัยพิบัติสาธารณภัยต่างๆในซีรี่ย์นี้
11 ข่าวในประเด็นนี้
วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 วันนี้เมื่อ 1 ปีที่แล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นใน จ.เชียงราย ผลกระทบจากแผ่นดินไหวในครั้งนั้นสร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก ผ่านไป 1 ปี สภาพความเสียหายค่อยๆ ถูกลบเลือนไป และแม้ช่วงเวลาทีผ่านมาจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นหลายครั้ง ชาวบ้านหลายคนอาจเริ่มคุ้นชินกับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่แต่ความหวาดกลัวยังคงอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว
วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 เป็นวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ จ.เชียงราย ถือเป็นอีกวันที่ชาวบ้านใน อ.แม่ลาว หลายหลังคาเรือนยังคงหวาดผวา กันเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี 2557 ปัจจุบันนักวิชาการระบุ อาฟเตอร์ช็อกยังคงสามารถเกิดได้ต่อเนื่องเกือบ 2 ปี วอนประชาชนอย่าหวั่นวิตกโอกาสเกิดแผนดินไหวขนาดใหญ่ในไทยเป็นไปได้ยาก หลายฝ่ายชี้ชัดแผ่นดินไหวที่เนปาลไม่ส่งผลกระทบต่อไทย ด้านกรมอุตุฯ เตรียมจับมือ กระทรวงทรัพย์ฯ-กฟผ.-กรมชลประทาน แชร์ข้อมูลจากสถานีตรวจแผ่นดินไหวของแต่ละหน่วยงาน สร้างประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
โดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากกว่า 4 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และปี 2554 ปีเดียว ความเสียหายจากภัยพิบัติทั่วทั้งโลก ก็คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 380,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 55% ของมูลค่าความเสียหายเกิดจากภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น) ชุมชนที่ยากจนมักเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบหนักและยาวนานที่สุด โดยรายงานนี้พยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวิธีรับมือจากการ “ตอบสนองตามภัยพิบัติ” เป็น “วัฒนธรรมการป้องกันและยืดหยุ่น” เหมือนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะสามารถช่วยรักษาและป้องกันการสูญเสียเหล่านี้ได้
เหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (earthquake disaster) ที่เกิดเมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ซึ่งมีศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (earthquake focus) ขนาดกำลัง 6.0 Mw หรือขนาด 6.3 (MI) ตามมาตราริกเตอร์ ทางตอนเหนือของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ทำให้ประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้นและใกล้เคียงตกใจและวิตกกังวลว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้คงจะเกิดอีก ความรู้สึกกลัวและหวั่นวิตกถึงการไหวสะเทือนจากแผ่นดินไหวครอบคลุมไปแทบทุกจังหวัดในภาคเหนือ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวยังส่งผลต่ออาคารสูงในกรุงเทพฯ เช่น ตึกคอนโดมิเนียมมากกว่า 10 ชั้น การเกิดแผ่นดินไหวอำเภอพาน-แม่ลาวในครั้งนี้ จัดเป็นการเกิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกจากเครื่องตรวจวัดในรอบ 100 ปี
กสทช. เตรียมออกประกาศ “วิทยุ โทรทัศน์”ถ่ายทอดกรณีเกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน
“ดร.ทวิดา กมลเวชช” นักจัดการภัยพิบัติ ประเมินความพร้อมประเทศไทย ต้องหยุด”บูรณาการ”แบบงานวัดงานกฐิน
สัตว์รู้ล่วงหน้าก่อนเกิดแผ่นดินไหวจริงหรือ?
ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว – มายาคติ ทำไมแผ่นดินไหวเกิดบ่อยขึ้น?
ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ
คนไทยกับความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว
ปี 2011 ขึ้นแท่นที่สุดแห่งหายนภัยราคาแพง ส่วนปี 2012 โลกยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากหลายปัจจัย รวมถึงปรากฏการณ์ลานีญา