ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > Who run the World? Girls! SHEconomy: พลังหญิงที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

Who run the World? Girls! SHEconomy: พลังหญิงที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

27 พฤศจิกายน 2017


ข่าวประชาสัมพันธ์

ในยุคแห่งศตวรรษที่ 21 ความเชื่อเดิมที่ว่าผู้หญิงไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เท่ากับผู้ชายนั้น คงเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้ว เพราะปัจจุบันมีผู้หญิงเก่งจำนวนมากที่ทุ่มเทชีวิตไปกับการทำงาน พัฒนาทักษะความสามารถจนไต่ระดับไปถึงจุดสูงสุดในองค์กรหรือสาขาอาชีพในแวดวงต่างๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้หญิงได้กลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนโลกทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ กระแสผู้หญิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือ SHEconomy จึงนับว่าเป็นหนึ่ง Global Mega-trends ที่กำลังมาแรง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านทำให้ผู้หญิงกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามอง หลายธุรกิจสินค้าและบริการเริ่มให้ความสนใจและหันมาเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าผู้หญิงตามภูมิภาคต่างๆ เพราะมีการคาดการณ์ว่ากำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าผู้หญิงทั่วโลกนั้นจะมีมากถึง 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 นับเป็นสัดส่วนที่ใหญ่เทียบเท่ากับตลาดในประเทศจีนหรืออินเดีย

มาทำความรู้จักกับคำว่า SHEconomy ให้มากขึ้นและดูกันว่าทำไมผู้หญิงถึงกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ทรงพลังในยุคนี้

ผู้หญิงมีส่วนช่วยจุนเจือครอบครัวและมีความมั่งคั่งมากขึ้น

จากภาพเดิมของผู้หญิงที่ถูกจำกัดบทบาทให้เป็นเพียงผู้ดูแลบ้านเลี้ยงลูก แต่สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้หญิงต้องออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้น ผลสำรวจจาก The Economist เมื่อปี 2014 ระบุว่า 41% ของผู้หญิงในเอเชียทำงานช่วยกันกับสามีเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว และ 8% ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว

รายงานปี 2016 ของ Boston Consulting Group ยังระบุว่า ผู้หญิงมีความมั่งคั่งมากขึ้น เพราะกว่า 30% ของมูลค่าทรัพย์สินทั่วโลกมีเจ้าของเป็นผู้หญิง โดยทรัพย์สินของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงที่สุดเมื่อวัดจากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และถึงแม้ว่าที่มาของความมั่งคั่งจำนวนมากจะเป็นการสืบทอดทรัพย์สินจากครอบครัว แต่ก็มีผู้ประกอบการหญิงจำนวนไม่น้อยที่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาได้จากธุรกิจของตนเอง ข้อมูลนี้จึงแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังพัฒนาบทบาทนอกบ้านและมีกำลังซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้หญิงก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าในฐานะเจ้าของธุรกิจและผู้นำองค์กร

ไม่เพียงแต่บทบาทและกำลังซื้อของผู้หญิงที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีสิ้นสุด ความสามารถและความสำเร็จของผู้หญิงในแวดวงธุรกิจเองก็ยิ่งฉายแววโดดเด่นมากขึ้นเช่นกัน เมื่อมองไปรอบๆ จะพบว่าผู้หญิงต่างขึ้นมาเป็นเจ้าของกิจการหรือมีบทบาทสำคัญในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานของ Grant Thornton ในเดือนมีนาคม 2017 ระบุว่าในปี 2016–2017 อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีผู้บริหารหญิงในภาคธุรกิจสูงที่สุดถึง 36%

ตัวอย่างหนึ่งของผู้บริหารหญิงคนเก่งของประเทศไทย “เป้ ชาตยา สุพรรณพงศ์” CEO แห่งบริษัท Food Passion หรือ Bar B Q Plaza แบรนด์ร้านอาหารปิ้งย่างที่สามารถครองใจคนไทยทั้งประเทศมานานกว่า 30 ปี ด้วยรสชาติอาหารและคุณภาพการบริการสุดเยี่ยม ซึ่งความสำเร็จในการบริหารงานที่คุณเป้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือ คนในองค์กร

เธอบริหารงานด้วยแนวคิดที่ว่า “ทุกสิ่งที่ลูกค้าได้พนักงานจะต้องได้ด้วย หรือทุกสิ่งที่ลูกค้าได้พนักงานต้องได้ก่อน” เช่น การได้ชิมเมนูใหม่ๆ หรือได้บัตรทานอาหารไปทานกับเพื่อนหรือครอบครัว เป็นการสร้างความสุขให้พนักงานและพนักงานเป็นผู้ส่งต่อความสุขนี้ต่อไปยังลูกค้า

นอกจากนั้นจำนวนของผู้หญิงในกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนประชากรชายเป็นใหญ่อย่างธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล หรือวงการ Tech ก็มีการเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด Forbes’ World’s 100 Most Powerful Women ในปี 2017 มีรายชื่อผู้หญิงจากวงการ Tech อยู่ถึง 18 คน สูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีผู้หญิงหลายคนที่ทยอยเข้ามาสร้างความสำเร็จในวงการนี้และกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในตัวอย่างผู้หญิงในวงการ Tech ของไทย คือ “จุ๊ย ชื่นชีวัน วงษ์เสรี” Co-Founder บริษัท Globish สถาบันสอนภาษาอังกฤษผ่านสื่อออนไลน์ เธอได้สร้างธุรกิจจนประสบความสำเร็จด้วยวัยเพียง 25 ปี จนขึ้นแท่นเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่โตเร็วที่สุดในประเทศไทย ตัวเลขการเติบโตของจำนวนผู้หญิงในวงการนี้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าในอนาคตจะมีผู้หญิงอีกจำนวนมากค่อยๆ ก้าวเข้ามาสร้างสัดส่วนที่มากขึ้นในทุกวงการที่มีผู้หญิงน้อยได้อย่างแน่นอน

กลุ่มธุรกิจต้องปรับแผนการตลาดให้ตอบรับกับกระแสการเติบโตของผู้บริโภคหญิง

เมื่อผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ด้วยตนเอง ทำให้ปัจจุบันหลายกลุ่มธุรกิจได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้มากขึ้น และเริ่มเล็งเห็นโอกาส จนเกิดการปรับตัวและทำการตลาดที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงโดยเฉพาะ ตัวอย่างหนึ่งในประเทศไทยที่แสดงถึงการปรับตัวของธุรกิจให้รองรับกับกระแสการเติบโตของเศรษฐกิจในยุค SHEconomy คือ บริษัททิพยประกันภัยที่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ Tip Lady ประกันภัยที่เข้าใจผู้หญิง ในช่วงต้นปี 2560 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าผู้หญิงที่ต้องการความปลอดภัยและการดูแลเป็นพิเศษตลอด 24 ชั่วโมง Tip Lady ประกันภัยได้ผลตอบรับจากกลุ่มลูกค้าผู้หญิงเป็นอย่างดีจนสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 441.42 ล้านบาท ตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรกของปี โดยทางทิพยประกันภัยกล่าวว่าส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้มาจากการเน้นสร้างฐานลูกค้าผู้หญิงกลุ่มใหม่นี้ มาจากพื้นฐานการศึกษา ทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงทำให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงได้ กลายเป็นโอกาสและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจได้ต่อมา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาททางสังคมและอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้หญิงก็ไม่ได้เป็นเพียงกลไกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในฐานะผู้จับจ่ายใช้สอยเท่านั้น ผู้หญิงยังขึ้นมามีบทบาทสำคัญในองค์กร ไม่ว่าจะในฐานะผู้นำบริษัท องค์กร หรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เศรษฐกิจหมุนเวียนและเติบโตมากขึ้นอย่างมีคุณภาพ

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน ผู้หญิงในฐานะฟันเฟืองสำคัญตัวหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ต้องเตรียมพร้อมปรับตัวด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในทุกบทบาทและหน้าที่ในชีวิตที่ผู้หญิงยุคใหม่ต้องเผชิญในทุกๆ วัน จนท้ายที่สุดพลังหญิงจะสามารถช่วยกันขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไปพร้อมๆ กับบทบาทหน้าที่ผู้หญิงที่ก้าวไกลสู่จุดสูงสุดในทุกวงการอาชีพ

มาร่วมทำความเข้าใจเรื่อง กระแสผู้หญิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือ SHEconomy ให้มากขึ้น กับทอล์กในหัวข้อ สำเร็จอย่างมีความสุขในยุค SHECONOMY ในวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ณ SEAC ชั้น 4 อาคาร FYI Center จัดโดย Iconic Women Alliance (IWA) คอมมูนิตี้เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองสำหรับผู้หญิง

ภายในงานเป็นพูดคุยสัมภาษณ์ 5 ผู้หญิงต่างวัยต่างความฝัน ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวบันดาลใจ พร้อมแง่คิดและประสบการณ์ชีวิตสู่เส้นทางสำเร็จอย่างมีความสุขในยุค SHEconomy โดยมี 5 วิทยากร 5 คือ “จุ๊ย ชื่นชีวัน” ผู้ร่วมก่อตั้ง Globish Academia “ปรางค์ อภินรา” ผู้ร่วมก่อตั้ง U drink I drive “เป้ ชาตยา” Chief Engagement Officer CEO Food Passion (Bar B Q Plaza) “แต้ว กมลวรรณ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) “ป้อม ป้อมเพ็ชร” เจ้าของ Eco dealership outlet แห่งแรกในประเทศไทย และปิดท้ายด้วยหลักคิดในการใช้ชีวิตจาก ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ นักเขียนเจ้าของเพจ Japan Gossip by เกตุวดี Marumura และอาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกา “เกตุวดี”

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณโบ 089-718-1362 หรือเข้าไปที่: https://www.zipeventapp.com/e/IWA-Talk-SHEconomy