ThaiPublica > Sustainability > Climate Action > ADB ลงนามเงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมข้ามพรมแดน สปป.ลาว แห่งแรกในเอเชีย

ADB ลงนามเงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมข้ามพรมแดน สปป.ลาว แห่งแรกในเอเชีย

1 มีนาคม 2023


ข่าวประชาสัมพันธ์

ที่มาภาพ: https://www.adb.org/news/adb-signs-loan-first-cross-border-wind-power-project-asia-first-plant-lao-pdr-and-largest

เอดีบีลงนามเงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมข้ามพรมแดนแห่งแรกในเอเชีย โรงงานแห่งแรกใน สปป.ลาว และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เวียงจันทน์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (1 มีนาคม 2566) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และ Monsoon Wind Power Company Limited (Monsoon) ลงนามในข้อตกลงทางการเงินมูลค่า 692.55 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการที่ผู้ลงทุนไม่ต้องมีการันตีให้กับผู้กู้ (nonrecourse) เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 600 เมกะวัตต์ ในแขวงเซกองและแขวงอัตตะปือทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ( สปป.ลาว) เพื่อส่งออกและขายไฟฟ้าไปยังเวียดนามซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน โครงการนี้จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นแห่งแรกใน สปป.ลาวเพราะมีกังหันลมถึง 133 ตัว

ในฐานะผู้จัดการเงินกู้ผู้มีอำนาจและนายทะเบียน(Mandated Lead Arrangers and Bookrunners) ADB ได้จัดเตรียม จัดโครงสร้าง และจัดหาเงินทุนทั้งหมด ซึ่งเป็นธุรกรรมการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาประเทศอาเซียนในขณะนี้ แพคเกจประกอบด้วยเงินกู้ประเภท A มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ จากแหล่งเงินทุนสามัญ(ordinary capital resources)ของ ADB เงินกู้ร่วมประเภท B มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง 50 ล้านดอลลาร์เป็นเงินกู้แบบมีเงื่อนไข อีก 382.55 ล้านดอลลาร์เป็นเงินกู้คู่ขนาน และเงินช่วยเหลือ 10 ล้านดอลลาร์ การใช้เงินกู้แบบผสมผสานที่ล้ำสมัยมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเอาชนะอุปสรรคด้านความมั่นคงทางการเงิน(bankability)ของโครงการเพื่อดึงดูดเงินทุนเชิงพาณิชย์

“ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิกลงทุนไม่มากพอด้านสภาพอากาศ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเส้นทางสู่การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การที่โครงการนี้มีส่วนผสมของทั้งการพัฒนาและการจัดหาเงินทุนเชิงพาณิชย์ ก็เป็การลดช่องว่างนี้ โดยการระดมเงินทุนเอกชนเพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานลม ไปสู่การผลิตไฟฟ้าที่สะอาด ซึ่งสามารถกระตุ้นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค” Suzanne Gaboury ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเอกชนของ ADB กล่าว “การจัดหาเงินทุนจาก ADB และพันธมิตรจะช่วยปลดล็อกแหล่งพลังงานลมที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ของ สปป.ลาว และเป็นพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดและการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

การส่งกระแสไฟฟ้าข้ามพรมแดนเป็นเสาหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรลมสามารถสร้างความหลากหลายด้านพลังงานได้ เนื่องจากฤดูกาลของทรัพยากรลมนั้นตรงกันข้ามกับฤดูฝน ซึ่งสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของประเทศ โครงการดังกล่าวจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีได้อย่างน้อย 748,867 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

เงินกู้ประเภท B ประกอบด้วยเงิน 100 ล้านดอลลาร์จากธนาคารไทยพาณิชย์ และ 50 ล้านดอลลาร์จาก Sumitomo Mitsui Banking Corporation ขณะที่การให้สินเชื่อแบบผ่อนปรนที่บริหารโดย ADB ประกอบด้วย 20 ล้านดอลลาร์จาก Leading Asia’s Private Infrastructure Fund (LEAP) และ 30 ล้านดอลลาร์จาก Canadian Climate Fund for the Private Sector ในเอเชีย (CFPS, CFPS II) เงินกู้คู่ขนานประกอบด้วย 120 ล้านดอลลาร์จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น 100 ล้านดอลลาร์จากธนาคารกสิกรไทย 72.55 ล้านดอลลาร์จากธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย 60 ล้านดอลลาร์จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ 30 ล้านดอลลาร์จากฮ่องกงมอร์เกจ คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด เงินช่วยเหลือ 10 ล้านดอลลาร์จาก Asian Development Fund (ADF) หรือ Private Sector Window (ADB-PSW) ของ ADB จะช่วยลดความเสี่ยงที่สำคัญของโครงการ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งเป็นประเด็นหลักด้านความมั่นคงทางการเงินสำหรับผู้ให้กู้

“ในการร่วมกับ ADB เราได้ใช้ก้าวสำคัญครั้งนี้ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ควบคู่ไปกับพันธกิจขององค์กรของเราเองในการยกระดับความเป็นอยู่และความสุขของชุมชนท้องถิ่นที่เราทำงานอยู่” นายวรมน ขำขนิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อิมแพค อิเลคตรอนส์ สยาม จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ กล่าว “เราขอขอบคุณ ADB ที่เป็นผู้นำในการจัดทำข้อตกลงทางการนี้ เป็นตัวเร่งที่ดึงหลายฝ่ายทั้งจากภาคการค้าและภาคการพัฒนามาร่วมกัน”

LEAP เป็นกองทุนที่บริหารโดย ADB โดยมี Japan International Cooperation Agency สนับสนุน มูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ LEAP ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 มุ่งเน้นโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนที่มีคุณภาพสูงและยั่งยืน ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา และการสื่อสารที่เข้าถึงได้และราคาไม่แพงแก่ประเทศสมาชิกกำลังพัฒนาของ ADB

CFPS และ CFPSII เป็นกองทุนสัมปทานที่บริหารโดย ADB ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยเงินบริจาค 231.5 ล้านดอลลาร์จาก Global Affairs Canada กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากขึ้นในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กที่มีรายได้ปานกลางบนในเอเชียและแปซิฟิก กองทุนยังส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและการเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง

ADB-PSW เป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติจากผู้บริจาคของ ADF ในปี 2020 ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาของภาคเอกชนในตลาดชายขอบ โดยเป็นการให้เปล่าเพื่อเป็นทุนสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยแก้ไขและลดข้อจำกัดทางการเงินทั่วไปที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกรรมของภาคเอกชนจำนวนมาก

เอดีบี มุ่งมั่นในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้เจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังคงพยายามในการขจัดปัญหาความยากจนต่อไป เอดีบีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1966 มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 68 ประเทศ โดย 49 ประเทศ มาจากประเทศในภูมิภาค