ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟ กระตุกต่อม ‘รักงาน’ ที่ Engagement อย่างเดียวไม่พอ ต้องเติมด้วย Work Passion

BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟ กระตุกต่อม ‘รักงาน’ ที่ Engagement อย่างเดียวไม่พอ ต้องเติมด้วย Work Passion

29 กันยายน 2021


ข่าวประชาสัมพันธ์

BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟ กระตุกต่อม ‘รักงาน’ ที่ Engagement อย่างเดียวไม่พอ ต้องเติมด้วย Work Passion

เมื่อ ‘วิกฤติโควิด-19’ คือ ตัวสร้างความผันผวนของห่วงโซ่ธุรกิจ พนักงานทุกคน ก็เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ ‘ไปต่อ’ หรือ ‘พอแค่นี้’ หลายองค์กรต้องรู้จักปรับตัว Upskill และ Reskill เพื่อยกระดับการทำงานผสานทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เน้นให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสูด แต่บางครั้งแม้องค์กรส่วนใหญ่ดำเนินการด้วยกลยุทธ์และเครื่องมือใหม่ แต่กลับเกิดคำถามว่าทำไมประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงไม่เท่ากัน ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าไว้ สิ่งหนึ่งที่เราค้นพบ นั้นคือ บริษัทฯ เน้นการสร้าง Engagement ระหว่างองค์กรและพนักงานเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงทำเพียงเท่านั้นยังไม่พอ บริษัทฯ ต้องรู้จักศาสตร์การบริหารแรงจูงใจพนักงานคือ Employee Work Passion

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “ยิ่งสถานการณ์โควิด-19 ยาวนานขึ้น สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา บริษัทฯ และพนักงานทุกคนอาจเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานมากขึ้น จนเกิดภาวะช็อต หรือ ที่เราเรียกว่า ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)’ ซึ่งหลักๆ เป็นผลพวงจากความเครียดสะสมในการทำงานทั้งออฟฟิศและที่บ้าน อย่างการทำงานที่หนักต่อเนื่องเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง หรือขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วนล่าสุดที่บริษัทฯ ต้องหันมาใส่ใจต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงานก่อนจะรุนแรงจนถึงขั้นหมดไฟในการทำงาน ซึ่งการสร้าง Engagement ระหว่างบริษัทฯ และพนักงานเป็นตัวช่วยหนึ่งที่เสริมสร้างความผูกพันในองค์กรได้ อีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่บริษัทฯ ต้องรู้ คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของพนักงานแบบมีใจรักในการทำงาน (Employee Work Passion) ที่จะเสริมประสิทธิภาพของตัวพนักงานเองและสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรแบบทวีคูณ”

SEAC ได้ร่วมกับ The Ken Blanchard Companies สถาบันชั้นนำด้านการพัฒนาผู้นำและบุคลากรระดับโลกประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ครั้งนี้มาพร้อมงานวิจัยล่าสุด สำหรับผู้นำองค์กรและบริษัทฯ ในการบริหารพนักงาน กับ ‘Employee Work Passion’ โดยได้อธิบายว่า “ปัจจุบัน การมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร (Employee Engagement) เพียงแค่ทำให้งานเสร็จลุล่วงนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปสำหรับองค์กร แต่ยังต้องอาศัยการสร้างพนักงานในรูปแบบ Passionate Employee ที่ไม่ได้เพียงแค่ทำงานให้สำเร็จลุล่วงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรักในงานที่ทำ และ “ความตั้งใจ” (Intention) ในการทำงานให้ได้ผลลัพธ์สูงกว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อองค์กรและงานชิ้นนั้นให้ออกมาดีที่สุด และพร้อมที่จะเติบโตและผลักดันองค์กรให้ก้าวหน้าในฐานะฟันเฟืองหนึ่งขององค์กร”

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน

โดยจากการวิจัยจาก The Ken Blanchard Companies กับงานวิจัยเรื่อง Employee Work Passion Assessment (EWPA) เผยให้เห็นถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่หลากหลาย ที่ช่วยให้องค์กรสามารถปลดล็อค Passion ของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ

  • ปัจจัยทางด้านองค์กร ที่ช่วยสร้าง Passion ให้กับพนักงานได้ ได้แก่ งานที่ได้รับการแบ่งอย่างเท่าเทียม สามารถประเมินผลงานได้ และได้รับการตอบแทนอย่างถูกต้องตามผลงาน และการเติบโตในหน้าที่การงานนั้นเปิดกว้างและได้รับการสนับสนุน
  • ปัจจัยทางด้านเนื้องาน ที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานเกิด Passion ได้แก่ เนื้องานที่มีความหมาย แปลกใหม่มีปริมาณที่เหมาะสม และได้รับการประเมินคุณภาพของงาน
  • ปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ ภายในองค์กรที่ส่งผลให้เกิด Passion กับพนักงาน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับหัวหน้า หรือ กับเพื่อนร่วมงานที่อบอุ่น เปิดกว้างและให้การสนับสนุน การทำงานร่วมกันที่จริงใจต่อกัน การให้ฟีดแบ็กที่ตรงไปตรงมาและส่งเสริมกับการทำงานให้พัฒนาได้ดียิ่งขึ้น
  • นอกจากนี้ บริษัทฯ ต้องเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานมากขึ้น โดยมี 8 หัวใจหลักที่พนักงานมองหาจากบริษัทฯ ระหว่างที่ยังคงสภาวะพนักงาน คือ Meaningful Work การรับรู้ภาพรวมขององค์กรและนำมาเปรียบเทียบกับงานที่ได้ปฏิบัติ ว่าผลงานที่ออกมานั้นมีความสำคัญ มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายหรือไม่ Autonomy ความอิสระในการทำงานหรือขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ Collaboration การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ เกิดการประสานงานในการทำงาน ทำให้สอดคล้องกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างทีมงาน เพื่อให้เป้าหมายหลักที่มีร่วมกันขององค์กรเสร็จสมบูรณ์ Fairness ความเป็นธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ Recognition การยอมรับหรือยกย่องในผลงานและการกระทำของพนักงาน Career Growth การเติบโตในหน้าที่การงาน Connectedness to Colleagues การสร้างสัมพันธ์หรือความสนิทสนมกับพนักงานคนอื่นๆ และ Connectedness to Leader การสร้างสัมพันธ์หรือซื้อใจระหว่างเราและหัวหน้างานหรือผู้บริหารของบริษัทฯ และเมื่อบริษัทฯ เข้าใจความต้องการของพนักงานมากขึ้นย่อมส่งผลเชิงบวกให้กับสภาพจิตใจของพนักงานเป็นอย่างดี และส่งผลสอดคล้องเพื่อชะลอปัญหา ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)’ ที่อาจเกิดขึ้นแถมช่วยสร้าง Passionate Employee อีกด้วย

    ที่ผ่านมา SEAC เป็นหนึ่งในองค์กรที่มุ่งเดินหน้าพัฒนาศักยภาพผู้นำและบุคลากรไทยทุกระดับ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันให้กับองค์กรไทย ด้วยหลักสูตรคุณภาพจากสถาบันชื่อดังระดับโลก และยังป็นเพียงองค์กรเดียวในประเทศไทย ที่ได้ลิขสิทธิ์นำหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำจาก The Ken Blanchard Companies เข้ามาสอนอย่างเป็นทางการ เพื่อให้องค์กรรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อเติมเสถียรภาพทางธุรกิจให้มั่นคง สู่การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน

    เปิดประตูเพื่อปูทางสู่ความสำเร็จและขจัดปัญหา ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)’ และสร้าง Passion ให้เกิดในตัวพนักงาน สู่การสร้างผลลัพธ์ของงานที่มีประสิทธิภาพและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://zfrmz.com/Sos4B7d4keWHSc5mPDNT