ThaiPublica > ข่าวประชาสัมพันธ์ (archive) > ดีแทคชวนเยาวชนร่วมแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ออกแบบ “ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่”

ดีแทคชวนเยาวชนร่วมแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ออกแบบ “ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่”

21 มิถุนายน 2021


ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีแทค ขอชวนเยาวชนร่วมออกแบบ “ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่” โดยเยาวชนเพื่อเยาวชนเป็นครั้งแรกในไทย ผ่านแพลตฟอร์มระดมสมองในแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

21 มิถุนายน 2564 – #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา คือแคมเปญเปิดพื้นที่สำหรับคน GEN Z ร่วมระดมสมอง-ออกแบบ “ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่” ผ่านแพลตฟอร์มที่ได้รับการออกแบบในรูปแบบ JAM Ideation ต้อนรับเยาวชนให้เข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเข้มข้นต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง เริ่มเปิดแจมตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ถึงวันที่ 28 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ข้อเสนอแนะทั้งหลายจากเยาวชนจะเป็นแก่นตั้งต้นของการแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างเข้มข้นผ่านการพูดคุยในคอมมูนิตี้บนโซเชียลมีเดียระหว่างคนทุกเพศวัยในระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม พร้อมนำข้อสรุปชงหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่ห่วงใยในประเด็นไซเบอร์บูลลี่ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในสังคม และกฎหมายเทียบเท่านานาชาติ ปักหมุดความก้าวหน้าเชิงนโยบายรับวันต่อต้านการกลั่นแกล้งออนไลน์สากล 2564 (Stop-Cyberbullying Day)

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “จากกลยุทธ์ของดีแทคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Business) ภายใต้โครงการ dtac Safe Internet ซึ่งกรอบการดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งคือ การร่วมเสนอทางออกในการแก้ปัญหาหรือลดความรุนแรงจากภัยออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย (Policy drive) ภายใต้การดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 7 นี้ ดีแทคเล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่างและพัฒนาหลักปฏิบัติและมาตรฐานการกำกับดูแลปัญหาการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าโซเชียลมีเดียประกอบไปด้วยข้อความที่สร้างความเกลียดชัง 39 ข้อความต่อนาที พบการเกิดขึ้นของปัญหาในสถานศึกษามากที่สุด และเพื่อนมักเป็นผู้กระทำการกลั่นแกล้งรังแก”

ทั้งนี้ ดีแทคเชื่อว่าหลักปฏิบัติหรือมาตรฐานการกำกับดูแลนั้นควรได้รับการร่างและพัฒนาจากประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงจรแห่งการบูลลี่อย่างแท้จริง โดยเน้นไปที่กลุ่มนักเรียน เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ร่างโดยเยาวชนเพื่อเยาวชนด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงได้ร่วมกับหน่วยงานการศึกษา ภาคสังคมที่ใช้เทคโนโลยีในการสร้างการมีส่วนร่วมของมวลชนออกแบบแพลตฟอร์มและกระบวนการจัดระดมสมองและพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น โดยอาศัยแนวคิด Design Thinking ผสานกับเทคโนโลยี Crowdsourcing เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด

กว่าจะมาเป็นพื้นที่ JAM Ideation เพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่

โครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

    1. Domain setting หรือการทำวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลตั้งต้นจากเยาวชนและงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นกรอบการระดมความคิดเห็นผ่านแพลตฟอร์ม
    2. การระดมความเห็นบนแพลตฟอร์มที่เริ่มเปิดตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายนนี้
    3. การสรุปความคิดเห็น เพื่อพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในการหยุดปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์

“การระดมความคิดเห็นขนาดใหญ่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือ Jam ideation เป็นกระบวนการระดมความคิดเห็นในระยะเวลาที่จำกัด ให้พื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมและเป็นกลางต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง วิธีการนี้จะต่างจากการระดมความเห็นในรูปแบบเดิมที่มีข้อจำกัดเชิงปริมาณและอคติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ซึ่งนี่ถือเป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาสังคม สะท้อนความต้องการและแก้ไขปัญหาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ” …นางอรอุมากล่าว

ภายหลังการระดมความคิดเห็น ดีแทคและคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ศึกษาวิจัยจะร่วมสรุปประเด็นและแนวทางยื่นต่อหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดเป็นกฎหมายในลำดับถัดไป เช่นเดียวกับนานาชาติ เช่น อังกฤษ​ สวีเดน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น

3 ข้อสังเกตสู่การระดมความเห็น

ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ศึกษางานวิจัย กล่าวว่า “จากการวิจัยในขั้นตอนแรกเพื่อพัฒนาสู่แพลตฟอร์มระดมความคิดเห็น พบข้อสังเกตที่น่าสนใจ 3 ประการ ได้แก่

1.การให้คำนิยาม (Definition) พบว่า อายุ และประสบการณ์มีผลต่อความเข้าใจความหมายของปัญหากลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์

2.การลำดับความสำคัญ (Prioritizing) พบว่า เหตุของการแกล้งกันบนออนไลน์เกิดจากในชีวิตจริงก่อน โดยผู้ถูกกลั่นแกล้งมักด้อยค่าตัวเองเพราะความแตกต่างจากผู้อื่น นอกจากนี้ ยังพบว่าบุคคลที่สาม (Bystander) ได้ นักสืบ นักแชร์ มีความสำคัญต่อวงจรการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ทั้งยังไม่ถูกเอาผิดโดยตรงจากสังคม

3.การแก้ไข (Solving) พบว่า การจัดการความรู้สึกต่อการถูกบูลลี่ทางออนไลน์ “ยากกว่า” การจัดการในชีวิตจริง และผู้ถูกกลั่นแกล้งมักเลือกแก้ไขหรือจัดการความรู้สึกด้วยตัวเอง ด้วยเหตุผลว่าการกลั่นแกล้งทางออนไลน์นั้นพบเจอได้ในชีวิตประจำวันและไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น

“การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ควรเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับความสนใจมากขึ้น แคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จะเปิดรับความคิดเห็นข้อเสนอแนะทางออก เพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่ใน 3 ประเด็นที่วัยรุ่นไทยเผชิญอยู่มากที่สุดคือ การเหยียดรูปร่างหน้าตา (Body Shaming) การเหมารวมและอคติทางเพศ (Gender Inequality) และ การกล่าวล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment) ดังนั้น การปลูกฝังและสร้างความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงการนิยามขอบเขตเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันของสังคม จากข้อสังเกต 3 ประการดังกล่าว จึงได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกรอบการระดมความคิดเห็นความแพลตฟอร์ม Jam Ideation ต่อไป”

นางสาวธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง พั้นช์อัพ สตูดิโอ กล่าวว่า แพลตฟอร์ม Jam ideation ถือเป็น Collaborative technology ที่เข้ามาช่วยทำให้การระดมความเห็นขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้และมีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้นในต่างประเทศ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และเชื่อว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม

ทั้งนี้ ขอเชิญน้องๆ เยาวชน หน่วยงานและองค์กรที่มีความสนใจในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ร่วมระดมความเห็นได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ถึงวันที่ 28 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ได้ที่ www.safeinternetlab.com/brave


dtac launches online brainstorming platform for teenagers to fight cyberbullying

June 21, 2021 – dtac is about to launch its annual 72-hour brainstorming platform which allows Thai teenagers to meet online and devise solutions against cyberbullying. Launched in conjunction with Stop Cyberbullying Day, the #BraveAgainstCyberBullying (#ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา) campaign is key to dtac’s continued efforts to make the internet a safe space for all.

The focus this year is on modernizing Thailand’s regulatory environment and lifting standards that would lead to better online safety for teens and children. A mass ideation session will run online from June 25 at 8 pm to June 28 at 8 pm The inputs from the campaign will then be summarized and proposed to relevant organizations.

On-uma Rerkpattanapipat, Head of Corporate Communications and Sustainability at Total Access Communication Plc or dtac, said: “As part of our continuous efforts to create a safer online environment, dtac has run its flagship Safe Internet program for seven years. This year, dtac will focus on driving public policy and regulatory compliance against growing cyberbullying problems. We see more and more countries developing codes of conduct, standards or even regulations to ensure the rights of victims and address the problems across bullying food chain. And it’s time Thailand join this effort.”

According to a study conducted by dtac last year, social media in Thailand generates 39 messages of hate speech every minute. The research also showed educational institutions are a key site to tackle cyberbullying as the bully-victim relationships often occur among groups of students who know each other in real life.

Thailand lacks a foundation of standards and regulations to set a shared baseline to break the cycle of cyberbullying, particularly among teenagers. To remedy this, dtac has partnered with the Faculty of Economics, Chulalongkorn University and data storytelling studio, Punch Up. The jointly-developed “jam ideation” program is designed to allow teenagers to express themselves in a safe space.

The campaign is divided into three phases. First, the initiative’s framework was established by conducting focus groups and academic research. Second is the jam session, starting from June 25. Last is the inputs summary to develop anti-cyberbullying guidelines.

“The #BraveAgainstCyberBullying jam will bring together our key stakeholders, teenagers, so that they can respond to the specific challenge of online abuse. Within 72 hours, we will compile their ideas, opinions and votes in a socially mediated process. This approach replaces ’top-down’ decision-making with the democratic values of ‘bottom-up’ creativity,” said Ms. On-uma

Following the campaign, dtac and the Faculty of Economics of Chulalongkorn University will publish a white paper on recommended anti-cyberbullying guidelines. It will then be proposed to the authorities as support for Thailand to develop specific regulations that address online abuse, as can be seen in the UK, Sweden, Japan, Singapore and the Philippines.

Thanee Chaiwat, Director of the Center for Behavioral and Experimental Economics, Faculty of Economics, Chulalongkorn University, said, “There are three key points to consider. First, the definition of cyberbullying varies among individuals, depending on their age or background. Second, bullying is an offshoot from the offline world, where victims often blame themselves for being bullied, simply because of physical differences; and where ‘bystanders’ play an important role in the bullying ecosystem. Thirdly, cyberbullying is more damaging than real-life bullying. It takes longer for victims to heal from the trauma of being bullied online.”

“Our study clearly showed that society should not take cyberbullying for granted. This campaign truly matters for the digital native generation as body shaming, gender inequality and sexual harassment are the top three concerns among teenagers. Thus, understanding cyberbullying patterns and promoting a new culture is our priority, and we hope it will result in a more peaceful society,” he added.

Thanisara Ruangdej, co-founder of Bangkok-based data storytelling studio Punch Up said, “Ideation jams are enabled by collaborative technology. They act as a catalyst to drive transformation through a transparent conversation and comprehensive discussion. This kind of session is gaining popularity globally, meeting the needs of younger generations who believe that every voice must be heard to make real change happen.”

Come join dtac’s ideation jam starting from June 25 at 8 pm till June 28 at 8 pm via www.safeinternetlab.com/brave